การบูชาพระพรหม


การบูชาพระพรหม

การบูชา คือ การแสดงความเคารพ การกราบไหว้ การยกย่องนับถือบุคคลที่ควรเคารพนับถือ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจไม่เสแสร้งแกล้งทำ มีกิริยาที่เคารพนอบน้อมทั้งต่อหน้าและลับหลัง การบูชาเป็นการตระหนักในคุณงามความดีของท่าน เลื่อมใสผูกใจเราให้มีจิตใจอยากที่จะปฏิบัติตาม ยกจิตใจของเราสูงขึ้นไปเรื่อยๆ มีด้วยกัน ๒ ประการได้แก่

๑. อามิสบูชา คือ การบูชาด้วยสิ่งของ สิ่งที่เป็นรูปธรรม สุดแล้วแต่เจตนาศรัทธาของแต่ละบุคคล เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน ปัจจัยเงินทอง เป็นต้น

๒. ปฏิบัติบูชา คือ การบูชาท่านด้วยการตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่าน ด้วยการเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ

"ต้นไม้เมื่อยังเล็กเป็นต้นกล้าอยู่ จำเป็นต้องมีหลักค้ำประกันไม่ให้ล้ม รากขาด ตายเสียก่อนฉันใด ผู้ที่หวังความเจริญก้าวหน้า ก็จำเป็นต้องบูชาบุคคลที่ควรบูชาไว้เป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิตที่ถูก เป็นหลักใจ ป้องกันความเห็นผิดและอกุศลกรรมต่าง ๆ มิให้ย้อนกลับกำเริบขึ้นมาอีกฉันนั้น" การบูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติตามถือว่าเป็นการบูชาสูงสุด เราควรบูชาด้วยการปฏิบัติตามให้มาก องค์พ่อพรหมท่านสรรเสริญคนปฏิบัติบูชามากกว่าอามิสบูชา

สิ่งของที่เราถวายท่าน มีผลไม้เป็นต้น ท่านไม่ได้รับวัตถุสิ่งของนั้นเลย หากแต่ท่านรับที่น้ำใจของเรา และสิ่งของที่เราถวายนั้นท่านกลับปลุกเสกกลับคืนมาเป็นผลไม้มงคล นำมาแจกจ่ายสู่กันกินเพื่อเป็นสิริมงคลกับตนและบุคคลอื่น
   

7,571







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย