ชื่นชมแต่ไม่หลงใหล


ชื่นชมแต่ไม่หลงใหล

วันหนึ่งผมได้ไปงานศพ แล้วเขาก็นำร่างวิญญาณนั้นขึ้นสู่เชิงตะกอน แล้วทำการเผาร่างอันไร้ซึ่งวิญญาณนั้น ทำให้ผมปลงว่าสิ่งเหล่านั้นมันเป็นอนิจจังที่ต้องเปลี่ยนแปลง

แต่พอกลับมาบ้าน เปิดมือถือทางอินเตอร์เน็ต เจอสาวสวย งามๆ ใจก็น้อมไปยังความสวย ความงาม เขาสวยมาก

แล้วเราก็กลับย้อนกลับมาคิดถึงภาพเผาศพ แล้วหวนคิดถึงผู้หญิงสาวสวย คิดกันไป สลับกันไปสลับกันมา จนไม่รู้จะตัดสินใจยังไงดี

คนเราตายไปก็เน่าต้องเอาไฟเผา แต่นี้สาวสวยยังเต่งตึง น่าจูบ น่ากอด แล้วเราจะคิดยังไงดีล่ะ

เราก็ชื่นชอบแต่อย่างหลงใหล เป็นวาระแห่งธรรมต้องคืนสู่ธรรมแล้ว มันเป็นปกติ ถึงเวลานั้นต้องเป็นเช่นนี้ คืนสู่ธรรม หลงใหลไม่ได้ เพราะว่า สุดท้ายก็เป็นอย่างนั้น ถ้าเราไปหลงใหล อยากให้มันยั่งยืน ให้มันสวยงามอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เราก็ต้องมีตัวเบรค เราจะไปทุ่มเททั้งหมดไม่ได้

ทุ่มเทไปก็ลุ่มหลง ก็ตาย ทุ่มเทไปก็เสียใจ ก็เหมือนกับลูกตายแล้วไปหาพระพุทธเจ้า

อันนี้หลงใหลให้ชื่นชอบตลอดไม่ได้ สักวันหนึ่งต้องเปลี่ยน แต่เราบอกไม่เปลี่ยนตาม เราก็บ้า

ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามวาระแห่งธรรม นี่แหละอุเบกขา เวลาเราเห็นทั้งสองสิ่งต้องมีอุเบกขาขึ้นมา ถ้าหากเราเห็นสองสิ่งแล้ว ยังไม่เกิดอุเบกขา เราก็จะสับสน ทุกข์ ทุกข์ภาวะอย่างนี้ เราก็จะพยายามจะให้ดู มันเน่าๆ มันเน่าไม่ได้ เพราะเราฟังเขามา ปลงอสุภะ มันปลงไม่ลง จะปลงยังไงก็ปลงไม่ลง บางคนบอกว่า ในเมื่อปลงอสุภะไม่ลง ขอใช้ก่อนไม่ได้เหรอ ได้สิ แต่เราใช้อย่าหลงใหล เราใช้ติดใจแล้วใจจะยุ่ง

เราก็เลยเกิดความคิดในใจว่า อันนี้เน่าๆ ไม่เอาล่ะ เอาที่สวยๆ งามๆ ดีกว่า

เราเอาอย่างนี้ดีกว่า เราความสวยงาม แต่หลงใหลไม่ได้ สวยงามตลอดไม่ได้ ถ้าสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลง เราก็ทุกข์

แต่ถ้าสิ่งนั้นเราไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลงไปตามโน้น เราก็ทุกข์ อันนี้ก็จะเศร้า เศร้าไปมากๆ อันนี้ก็จะเตลิด

ผิดหมด ไม่อยู่ตรงสายกลาง คำสายกลางของพระพุทธเจ้าคือ วาระแห่งธรรม นี่คือสายกลางแท้ วาระแห่งธรรมคือเช่นนี้ เป็นเช่นนี้แล แต่ถึงอีกอย่างหนึ่งวาระแห่งธรรมเช่นนั้น จะต้องเน่าก็ต้องเน่า

แล้วเราจะรู้ได้ไงว่า ณ เวลานี้เป็นวาระแห่งธรรมเช่นนั้น ต้องปฏิบัติเช่นนี้

รูปปรากฏให้เห็น เราก็เห็น ทั้งหมดคือมารยาแห่งธรรมใช่เปล่า แต่สุดท้ายของแท้ คือ กฎอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราไม่สามารถควบคุมยั่งยืนอย่างนั้นได้ เราจะให้สวยตลอดไม่ได้ เราจะให้เน่า ให้เน่าตลอดก็ไม่ได้ เราต้องให้เป็นไปตามจริงวาระแห่งธรรม นี่แหละ ต้องอุเบกขา

แล้วเมื่อเราดูคนตายเน่า ของเน่า สิ่งต่างๆ เน่า แล้วเราจะคิดยังไงต่อ

เราก็ต้องคิดว่า ก็ต้องเน่า เป็นไปตามวาระแห่งธรรม ต้องคืนสู่ธรรม เราจะคิดลึกกว่านี้ก็ได้ สิ่งเหล่านี้ย่อยตามสลาย สิ่งนี้จะไปทำตามหน้าที่ คืนสู่ธาตุ ต้องแปรเปลี่ยนคืนสู่ธาตุ ความเป็นธาตุ สลายไปกับธาตุ

ถ้าเรามาคิดถึงความสวยๆ งามๆ คนสวย คนงาม ของสวย ของงาม

สมมติว่าย่อยสลายไปกับธาตุ แล้วเราบอกว่าเราไม่ยอม ทุกข์ไหม เราคิดถึงสวยๆ งามๆ ถ้าหากว่ามันไม่แปรเปลี่ยน เราไม่ยอมให้มันแปรเปลี่ยนได้ไหม? ย่อมไม่ได้ ทุกข์อีก

วันนี้ชื่นชอบ รักกัน อีก ๓ วัน เกลียดกัน เราไม่ชอบแล้ว ยกเขาออกจากอกแล้ว ตอนนั้นไม่เห็นคนรัก ๓ วัน ทุกข์เป็นบ้า แต่เวลานั้นยกเขาออกจากอก เห็นหรือไม่? แปรเปลี่ยนไปทุกเวลา ฉะนั้น อนิจจัง เราต้องไม่ลืมคำว่า "อนิจจัง"

คำว่า "อนิจจัง" คือ แปรเปลี่ยนไปตามวาระแห่งธรรม

อยากก็ตัดไม่ขาด ปลงตรงนี้ ก็ปลงไม่ลง ตัวเองทุกข์ เพราะอะไร เพราะไม่ยอมรับความจริงแห่งธรรม แห่งธรรมเป็นเช่นนี้แล ตถตา

ตถตา เวลานี้เขายังสวย สาวยังสวย ต้นไม้ออกมา เขาเพิ่งแตกใบมา ยังสวย พอถึงวาระแห่งธรรม ถึงฤดูใบไม้ร่วง สิ่งนั้นก็ต้องร่วง

ถ้าเรามองตัวเรา สมมติว่า ผมไปเกิดอุบัติแขนขาด ถ้าเราคิดว่า เราไปเกิดอุบัติแขนขาดแล้วทุกข์ไหม? ทุกข์ ถ้าหากว่าไม่ยอมรับความจริง แขนขาดไปเราทุกข์ไหม ทุกข์ วาระแห่งธรรม แขนต้องขาด เราก็ต้องยอม เราไม่ยอมไม่ได้ เราก็ต้องเจ็บปวด มันเจ็บปวด แต่ก็ต้องรับความจริง ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงจะปวดกว่าไหม? เสียสามเท่า แต่ถ้าเรายอมรับความจริง เท่าเดียว

คนๆ นี้ เขาพิการ เขายอมรับความจริงว่าเขาพิการ แต่เขาซ่อมมอเตอร์ไซค์ได้ โดยเขาใช้ปาก เขายอมรับความจริง

แต่ถ้าเขาไม่ยอมรับความจริง เขาก็จะคร่ำครวญ ร้องไห้ เหมือนกับอนที่เป็นอัมพาต ที่เป็นนักเทศน์ (อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม) ทีแรกไม่ยอมทุกข์ ฉันทำไมต้องเป็นอย่างนี้ ชะตาฉันทำไมต้องเป็นเช่นนี้ ต่อไปเรียนรู้แห่งอนิจจัง รับได้ มีความสุข มันเป็นวาระแห่งธรรม เป็นวาระแห่งกรรม เป็นชะตาของเราต้องยอมล่ะ พอยอมรับแล้ว ปากฉันยังอยู่ สมองฉันยังอยู่ ใช้ให้เป็นประโยชน์ ท่านมีความสุข ปิติเห็นไหม?

ถ้าเราไม่เข้าถึงธรรม เราก็จะไปคร่ำครวญกับตรงนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อีกแล้ว ทุกข์ แต่ถ้าหากว่าเราเข้าใจ ปั้บ มีทางอื่นให้ เห็นแล้ว

เหมือนกับงานศพงานหนึ่ง เมียตาย ผัวร้องไห้ พอลูกหลานมาที ก็ร้องไห้ คนนั้นมาหาก็ร้องไห้ ถ้าสมตติว่าเราสรุปไม่ได้ ชีวิตต่อจากนี้เราก็ทุกข์ อยู่ด้วยความทุกข์ คร่ำครวญคิดถึง บางคนไม่ยอมให้เผา ยึดศพไว้

คำว่าคำนี้ "ชื่นชม แต่อย่าหลงใหล" เป็นคำง่ายๆ เป็นคำสุดยอดของธรรม ทุกอย่าง ตรงนี้นะ สมมติว่าทางลบ "เราเศร้า แต่อย่าจมปลัก"

เศร้าได้ แต่อย่าจมปลัก ถ้าจมปลัก ซวยเลย ฉะนั้น เราเศร้าได้ เศร้าแล้วจบเลย อย่างเช่นคนภูมิปัญญาสูง เศร้า ๓ วัน เราก็ต้องเศร้า ๓ วัน แล้วก็จบ ถ้าไม่จบเราเดินต่อไม่ได้ เท่ากับเราติดแงก ติดลูกตุ้มแล้ว เราเป็นทาสล่ะ เราจมปลักไม่ได้ ความสวยงามเราชื่นชมได้ แต่อย่าหลงใหล

คำว่า "สังเวช" สมัยตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์เกิดความสังเวช สลดใจ แต่ถ้าเป็นพระธรรมดา ก็จะพากันร้องไห้ คร่ำครวญ

คำว่า "สังเวช" คือ เศร้า แต่มีเวลา เศร้าในภาวะการณ์ แต่ยอมรับความจริงแห่งภาวะธรรม

เศร้าในภาวะการณ์นี้ แต่ยอมรับความจริงในภาวะธรรมนั้น ถ้าไม่คิดอย่างนี้ ก็จะจมปลัก ฉะนั้น เราอย่าไปจมปลัก

มันสวย งาม เราก็ชื่นชม แต่เราหลงใหลไม่ได้ เราหลงใหลเราก็ตาย ฉะนั้น เราชื่นชมไม่หลงใหล เศร้าไม่จมปลัก ชีวิตเราก็ปิติ เขาเรียกว่า ปิติในธรรม

คำว่า "ปิติในธรรม" คือ ยอมรับความจริงแห่งธรรมได้ เราก็มีความสุข ไม่ใช่ปิติในมารยา

ถ้าเราปิติในมารยา เราก็หลงใหล เราก็หลงใหลในสิ่งนั้น เวลานี้เราดูโทรทัศน์ เรามีความสุขมาก เราหลงใหลด้วย นี่แหละปิติในมารยา แต่เราต้องยอมรับความจริงแห่งธรรมว่า โทรทัศน์มันเสียได้ตลอด

ตรงนั้น ภาวะการณ์ เราดีใจในภาวะการณ์นี้ แต่ต้องยอมรับความจริงแห่งธรรม

เรามีเมียสวย เราชื่นชมเมียในภาวะการณ์นี้ เรามีความสุข แต่เราต้องเข้าใจว่า ภาวะแห่งธรรมนั้นไม่ใช่นะ จึงเป็นคำที่มาว่า "จริง" กับ "แท้"

สวยมั้ย สวยจริง แต่ไม่แท้

นี่ "ตาย" น่าเศร้า จริงแต่ไม่แท้

สวย ชื่นชม หลงรัก ในภาวะการณ์นั้น แต่ต้องยอมรับในภาวะธรรม

ถ้าเราคิดเป็นสรุปก็เป็นชั้นๆ คือ ชั้นมารยา กับ ชั้นในธรรม พอเราอยู่ในชั้นมารยา เราก็เป็นไปตามชั้นมารยา เพราะเรายังอยู่ในภูมินี้ แต่เราต้องมีภูมิปัญญาอีกภูมิหนึ่งด้วย ในธรรมด้วย ถ้าไม่เช่นนั้น เราก็หลงทาง ตกอยู่ในมารยาอย่างเดียว

เหมือนกับแสงตะวัน เหมือนกับดาวเหนือ ทำให้เราไม่หลงทาง พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกตลอด พอเราเห็นพระอาทิตย์ขึ้นก็เป็นทางทิศตะวันออก

พอเรารู้ธรรม เราก็จะไม่หลง คือ เราอยู่ได้ เราสามารถอยู่ในภาวะการณ์นั้นได้ แต่เราจะไม่หลงติดในภาวะการณ์นั้น นี่แหละเขาเรียกว่า "หลุดพ้น"

เขาบอกว่า หลุดพ้น กูอยู่ในภาวะการณ์นั้นไม่ได้ กูต้องไปแล้ว แต่มันไปก็ไปไม่ได้ เพราะยังอยู่ในภูมินั้น ทุกข์ตายห่า

เรายังมีเส้นผม ไม่ได้ออกบวช เราก็เข้าถึงได้ ไม่จำเป็นต้องไปโกนหัว พอเราเข้าถึงแล้ว เราต้องหมั่นภาวนา

ขนาดเข้าถึงแล้วเราต้องหมั่นภาวนา ถ้าเราไม่ภาวนาเราจะทำใจไม่ได้หรอก เขาเรียกว่า "รู้" แต่ยังทำไม่ได้ จึงเรียกว่า มรรค กับ ผล คนละเรื่อง ต้องภาวนาบ่อยๆ ถึงจะเกิดมีตบะ ถ้าไม่มีตบะก็ไม่ได้ เรารู้แต่ก็อดเสียดายไม่ได้ แขนเราเสียไป ก็ยังอดคิดถึงแขนไม่ได้ เพราะว่ามันเสียดาย ทำไมถึงต้องเสียดาย เพราะว่า อัตตา ตัวอัตตานี้เป็นตัวธรรมชาติของในธรรม ที่จะเหนี่ยวรั้งเรา ที่จะผูกพัน เพราะอัตตา อัตตาเราคิดว่าเป็นของเรา มันไม่ได้คิดว่าเป็นของธาตุเป็นของธรรม ทุกอย่างเวลานี้ เป็นของธรรม ถ้าเหตุเปลี่ยน ผลก็เปลี่ยนตามวาระแห่งธรรม

บางคนแก่แล้วไม่ไหว พอไม่ไหวก็จะทูซี้จะไปหาหมอพิเศษเสริม เราก็ตาย เพราะถูกหลอกอยู่เรื่อย

เราต้องคิดว่า สังขารของเราเป็นของธรรม เราจะบอกว่าเป็นของเรานี่ไม่ได้ เราต้องบอกเป็นของธรรมอยู่ ตามวาระแห่งนั้น วาระแห่งธรรมนี้ คือ แดง ถ้าหมดตามวาระแห่งธรรมนั้น แดงแก่ คือ ชรา ก็จะเป็นไปตามนั้น

ฉะนั้น เรารู้เส้นทางอย่างนี้ เราต้องภาวนา ภาวนาเส้นทางนี้ถูกต้องหนอ และพยายามคิด ตัวเราก็จะเกิดตบะ ยอมรับได้ ค่อยๆ ยอมรับได้ ใหม่ๆ คิดได้ แต่ยอมรับไม่ได้ บางคนจึงบอกว่า ไปเห็นคนสวย บอกว่าปลงให้เป็นเน่า แต่คนมันยังไม่เน่า ทำไมไม่ใช้ซะก่อน นี่เป็นคำถามคนถามบ่อย ก็ยังไม่เน่าไม่ใช้ก่อนเน่า เราโง่นี่หว่า เราใช้ก่อนเน่า ได้ใช้ก่อนเน่าได้ แต่ถ้าเราไป "ติด" จบเลย เพราะยังไงก็ต้องเน่า ถ้าเราจะใช้ เราก็ต้องพิจารณาวิบาก ๗ ล่ะ ชอบธรรม สมควร เหมาะสม

ตรงนี้เราอยากได้เขาล่ะ เราก็ต้องพิจารณาชอบธรรม สมควร เหมาะสมเป็นยังไง ผลกรรม ๕ เป็นยังไง เราแต่งงานก็ได้ คุยกันให้รู้เรื่องก็ได้ แต่อยู่ดีๆ ไปแย่งชิง ข่มขืนก็ไม่ได้ ก็ผิด หาเรื่อง

ปัญญาคือรู้แจ้งแห่งธรรม รับความจริงแห่งธรรมนั้นๆ ได้ นี่แหละ หลุดพ้น ถ้าเราหลุดพ้นตรงนี้ เรามีสันติแท้ล่ะ หลุดพ้นตรงนี้ สันติแท้

พระพุทธเจ้าสอนให้หลุดพ้นๆ แต่คนยังไม่ทันหลุดพ้น แต่กูจะไปนิพพานล่ะ คนละเรื่อง ก็จะเป็นขั้นเป็นตอน ชัดเจนหรือไม่

ที่เราเห็นนี้จริงหมด แต่ไม่แท้ อันนั้นของแท้ อย่างเช่น คอร์เปอร์ฟิว ทำให้เครื่องบินหาย จริง แต่ไม่แท้ อันนี้เอาพระธาตุมา จริง แต่ไม่แท้ ที่ไม่แท้คืออนิจจัง

ที่ทำเครื่องบินหาย ไม่ได้หายไปไหน แค่ตบตาคนดู ใช้แสง เสียง เทคนิค ศาสตร์ ตบตา อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราไปศึกษาเราก็จะรู้เลยว่าเป็นศาสตร์ ฉะนั้น จริงแต่ไม่แท้ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าสิ่งการณ์พวกนี้แก้ทุกข์ไม่ได้ จะอภินิหารแค่ไหนก็แก้ทุกข์ไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่จะแก้ทุกข์ต้องมีอริยสัจ ๔ ถึงจะแก้ทุกข์ได้

สมมติว่าเราตายเข้าสู่เป็นหนึ่งเดียวในธรรม เข้าสู่นิพพาน

เป็นเหตุเนื่องด้วยว่าเราเข้าใจในธรรม ยอมรับความจริงในกฎอนิจจัง เรียบร้อยแล้ว สัปปายะ คือเหตุ ผลก็คือ บรรลุ พอเราเกิดความเข้าใจ ความเข้าใจคืออะไร คือ ปัญญา สัมมาปัญญาทำให้เราหลุดพ้นจากบ่วงทุกข์ตรงนั้น ถ้าไม่เราก็จะติดแงกอยู่ตรงนี้ ยศติดยศ สวยติดสวย ตายติดตาย เหม็นติดเหม็น เน่าติดเน่า ติดหมด

เห็นหรือไม่ เขาตายแล้วคร่ำครวญ คนนี้ตายก็ไปฆ่ากันอีก ตรงนี้สวยแย่งชิงไปรบกัน

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   

7,524







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย