อัตตาเป็นเช่นใด ทำยังไงกับ "อัตตา"


<
อัตตาเป็นเช่นใด ทำยังไงกับ "อัตตา"

อัตตา คือ ตัวตน มีอยู่ของมัน ไม่มีอยู่คงที่ เป็นอนิจจัง เป็นไปตามปัจจัยเหตุ เคลื่อนที่ไปตามปัจจัยเหตุ มีอัตตา ไม่ใช่ตายตัว ไม่ใช่ว่าคนนี้มีอัตตาแล้วตายตัวแล้ว ไม่มีแล้ว ตายตัวเป็นตายตัวไม่ใช่

คำว่า "อัตตา" คือ สิ่งที่เป็นปัจจัยเหตุ ณ ภาวะธรรมนั้นขึ้นมา แล้วก็ไปตามกฎแห่งอนิจจัง แต่สลายไปแต่อัตตายังคงอยู่

แต่ไม่ใช่ นายแดง นายดำ เราต้องตีความให้ถูก อัตตานี่มีตัวตน

แม้ว่าพลังก็เป็นอัตตาก็เช่นเดียวกัน

พรหมันเป็นระบบขบวนการก่อเกิด ถ้าไม่มีระบบการก่อเกิดแล้วจะเกิดได้อย่างไร

ต้องมีขบวนการก่อเกิดตัวนี้ สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจึงก่อเกิดขึ้นมาได้

หลังจากขบวนการก่อเกิด ก็จะต้องเข้ามาสู่รีไซเคิล มาแปรเปลี่ยน (พ่อศิวะ) แต่ขบวนการคนไม่รู้ คนงงก็ต้องยกพระองค์หนึ่ง หรือเทพองค์หนึ่งขึ้นมา จึงเกิดมี พรหม พระเจ้า ศิวะ เพราะจินตนาการยากจริงๆ จึงให้เกิดมีเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา

รูปพระเจ้าไม่มีตายตัว รูปพ่อพรหมไม่มีตายตัว รูปพ่อศิวะไม่มีตายตัว ฯลฯ แต่เพื่อมีตรงนี้ให้คนได้รู้ เหมือนกับ "เต๋า" ไม่มีตายตัว แต่ต้องเขียนตัวหนังสือขึ้นมาว่าเต๋า ให้คนรับรู้

หลวงพ่อท่านติดตรงนี้ เข้าไปไม่ถึง

รูปพ่อพรหมปรากฏเป็นรูปของตัวนามเป็นพลังแห่งการก่อเกิดแล้ว เหมือนกับเต๋าเป็นรูปการก่อเกิดแล้ว พระเจ้าเป็นรูปแห่งการก่อเกิดแล้ว แต่ข้างในที่มาเป็นพระเจ้านั่นสิ เป็นพลังนั้น พลังนั้นที่ทำให้เกิดรูปพ่อพรหมขึ้นมา พลังที่ให้มีเต๋าขึ้นมา คือ พลังนั้น พลังนั้นไม่รู้จะว่าเป็นอะไร ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร ก็จะเรียกว่า "ปรมาตมัน" "เต๋า" "พรหมัน" แต่ถ้าจะให้อธิบายก็คือเป็นพลังแห่งการก่อเกิดของสิ่งต่างๆ

ผู้รู้กว่าจะเข้าถึงตรงนี้ยากมาก จะติดอยู่ที่ข้างนอกอยู่เรื่อยๆ ติดตรงรูป

แรกๆ มีพ่อศิวะ พ่อวิษณุนารายณ์ พ่อพรหม ตั้งแต่โบราณกาลมามีหมด โบราณกาลท่านเข้าใจ แต่พอกาลเวลาผ่านไปอีกรุ่นหนึ่ง ไม่มีตัวตนไม่มีอะไรให้จับ เขาไม่รู้เรื่อง เลยต้องสร้างพ่อพรหม พ่อศิวะ พ่อวิษณุนารายณ์ขึ้นมา คนถึงจะเข้าใจ

พรหมันก็เปรียบเหมือนพลังในสุด ในสุดเป็นพลังขบวนการก่อเกิด พลังเปลี่ยนแปลงก็อยู่ในพลังก่อเกิด พลังแห่งการดำรงรักษาอยู่ก็อยู่ในพลังก่อเกิด

ข้างในจะเป็นพลังการก่อเกิด ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลง ดำรงรักษา ถ้าไม่มีพลังก่อเกิด ๒ พลังนี้ก็ไม่มีความหมาย (เปลี่ยนแปลง, ดำรงรักษาอยู่)

พลังก่อเกิดรวมหมดแล้ว แล้วค่อยไปแยกออกมา

ทีนี้จะให้คนทั่วไปเข้าใจก็ต้องมีรูปให้จับ

พอเราเข้าถึงเราเรียกว่า พรหมัน อาตมัน

ธรรม อะไรคือธรรม เราอย่าไปติดรูปของธรรม คือ ตัวขบวนการก่อเกิดนี้ นี่ยังลึกกว่าธรรม

ตัวธรรมนี้เปรียบเสมือน "พรหมัน" เปรียบเสมือนกับ "เต๋า" พอออกมามีชื่อแล้ว

คำว่า "ธรรมะ" อยู่ไกลมาก อยู่ข้างล่างเลย เป็นองค์ธรรมออกมาแล้ว เป็นเส้นทางออกมาแล้ว เส้นทางอาจจะมี ๑๐ เส้นทางก็ได้

ธรรมะ ก็คือ "มะ" แปลว่า "มรรค = เส้นทาง" เหมือนกับเราไปเชียงราย มีเป็นสิบเส้นทาง

ธรรมชาติก็มีหลายเส้น เส้นทางดี เส้นทางที่ไม่ดี เส้นทางดำ เส้นทางขาว แต่ทั้งหมดก็ยังอยู่ในธรรมะ ยังไม่ก้าวขึ้นถึงธรรม

ธรรมะมีฝ่ายอธรรม (ไม่ดี) กับธรรม (ดี) สมมติว่า ตัวพยาบาท อาฆาต เป็นธรรมะฝ่ายอธรรม คือเส้นทางของอธรรม สีดำ ส่วนเมตตา เป็นเส้นทางธรรม สีขาว เพื่อเปรียบเทียบให้คนได้รู้ ไม่ใช่ว่าดำแท้ไม่ดี ดำแท้กับขาวแท้ ไม่ใช่ว่าดีกับไม่ดี อยู่ที่ว่าเราเอาไปใช้กับวิธีการอะไร ในธรรมเป็นกลางหมด อยู่ที่ว่าตัวของเราจะเอาอะไรไปใส่ แม้แต่ความโกรธก็เป็นกลาง บางอย่างเราโกรธเพื่อที่จะกำราบเขา เพราะไม่มีความโกรธ กำราบเขาไม่ได้ เขาก็เป็นคนดีไม่ได้ก็มีเยอะแยะไป

บางครั้งเราโหด แต่มันเป็นวาระธรรมต้องโหด โหดกับเขา เขาจึงจะแก้ไขได้

เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นพลังแห่งความโกรธ ก็เพราะว่ามีการเสียดสี คนทั่วไปจะไปเข้าใจว่า โกรธนี่คือการยัวะ พลังแห่งความโกรธก็จะมีระดับขั้นไป ๑-๒-๓-๔ ถึง ๑๒ มีหลายขั้นตอน แล้วแต่ว่าเราเอาอะไรบวกเข้าไป

สมมติว่า เราโกรธแล้วออกมาเป็นรูป เราเอาอะไรบวกเข้าไป เอาตัวไม่พอใจบวกเข้าไป แล้วตามด้วยทำลาย เข้าสู่ภาวะพลังพยาบาท

จะละเอียดมาก จะเอาตัวอะไรไปบวกตัวอะไร เขาจึงเรียกว่า ปัจจัยเหตุ ที่จะมารวมเกิดสัปปายะ หรือเกิดเป็นอะไรขึ้น

ทิฏฐิ เกิดมาจากเราหลงสิ่งนั้น ชอบสิ่งนั้น มุ่งมั่นสิ่งนั้น ไม่อยากเปลี่ยนแปลงเพราะว่าเราสั่งสมอย่างนี้มานานจึงเปลี่ยนได้ยาก

คืนสู่ธรรม คือ เข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

เช่น เทียนเราให้ละลายก็จะเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติแล้ว เรียกว่า คืนสู่ธรรม เช่น เราต้องฉี่ ปัสสาวะ อุจจาระ มีขี้ตา มีขี้หู มีเหงื่อ สิ่งเหล่านี้ขับของเสียออก นี่แหละคืนสู่ธรรม คือคืนสู่ธรรมชาติ เอาของเสียของร่างกายเราไปคืนสู่ธรรมชาติ

ขบวนการของธรรมชาติ คือ ดิน ก็จะย่อยสิ่งต่างๆ "ย่อย" นี่แหละ คือขบวนการแปรเปลี่ยน คือขบวนการแห่งพ่อศิวะ อันนี้สามารถอยู่ได้ นี่คือพลังแห่งพ่อวิษณุนารายณ์ ทำให้ดำรงรักษาอยู่ ที่ทำให้เส้นทางนี้ออกมาได้คือพ่อพรหม

ขบวนการทั้ง ๒ ขบวนการ อยู่ในขบวนการก่อเกิด ก่อเกิดทุกอย่าง เช่น ขบวนการก่อเกิดแห่งการเปลี่ยนแปลง ขบวนการก่อเกิดแห่งการดำรงรักษาอยู่ ขบวนการก่อเกิดให้เป็นได้ เป็นอยู่

ทั้งหมด ๓ ตัว เป็นหนึ่งเดียวคือ ขบวนการแห่งการก่อเกิด ว่าไปแล้วก็คือ พ่อตรีมูรติ จากตรีมูรติถึงออกเป็น ๓

บางคนแปลพ่อตรีมูรติว่าเป็นความรัก เป็นอะไรต่างๆ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นเช่นนี้

เหมือนกับสัญลักษณ์หยินหยาง ซีกหยินกับซีกหยาง จะออกมาอีกขั้นหนึ่งละ ซีกความแข็ง ความร้อน คือผู้ชาย ซีกหยินแห่งความนิ่มนวล คือผู้หญิง เป็นขั้นที่ ๓ แล้ว

ขั้นแรกคือขบวนการก่อเกิดแห่งธรรม

ขั้นสอง คือ ธรรม จีนเรียกว่า "เต๋า" อินเดีย เรียกว่า พ่อพรหม พ่อศิวะ พ่อวิษณุนารายณ์

ขั้นสาม คือ ออกมามีตรงข้าม คือ มีสองด้าน จึงเกิดหยินหยาง ชายกับหญิง ดำกับขาว ดีกับชั่ว บุญกับบาป ขั้นที่สามนี้ก็มีรูปแล้ว

ขั้นที่สี่ คือ จากรูปขยายไปเรื่อยๆ จากหยินหยางไปเรื่อยๆ จนไม่มีที่สิ้นสุด

เต๋าจริงๆ เป็นรูปวงกลม พอยื่นออกมาเป็นเส้นทาง เรียกว่า "มรรค" มรรคก็คือเริ่มแล้ว

สรุปแล้วก็เป็นหนึ่งเดียวหมด ขบวนการก่อเกิดไม่รู้จะเรียกชื่อว่าอะไร

โลกกับพระอาทิตย์อยู่ในขบวนการก่อเกิดเดียวกัน ถ้าเราเข้าใจตรงนี้เราจะรู้เลยจะตอบได้เลยว่า จักรวาลเกิดมาได้ยังไง โลกเกิดมาได้ยังไง ตอบได้หมด มันอยู่ในขบวนการก่อเกิด

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   




 6,304 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย