ระบบธุรกิจสัมพันธ์กัน


ระบบธุรกิจสัมพันธ์กัน

ในเหตุการณ์ที่นายหน้าจะส่งสินค้ามาจากต่างประเทศ แล้วนำสินค้านั้นมาส่งให้กับเรา เราจะทำอย่างไรดีกับระบบสินค้านี้ มีให้เลือก ๓ ประการ


๑. เราซื้อสินค้าจากเขา คือ สมมติว่านายหน้าเขาจะขายสินค้าให้เรา ๑๐๐ บาท ก็สุดแล้วแต่ว่าเราจะไปขายสินค้านั้นเท่าไหร่ และเขาจะให้เครดิตเราเท่าไหร่ เราขายได้เท่าไหร่ก็เป็นเงินรายได้ของเราเอง ยกตัวอย่าง เหมือนกับเราซื้อของที่ตลาดท่าขี้เหล็ก ตลาดดอยเวา เป็นต้น รับซื้อขายส่งจากเขาแล้วเรามาขายปลีก เป็นต้น


ในกรณีนี้ ถ้าเรามีตลาดอยู่แล้ว เราควรเลือกวิธีนี้จะดีที่สุด


๒. ทำธุรกิจร่วมกัน คือ ร่วมหุ้นกัน ขายได้เท่าไหร่แล้วแบ่งปันกัน เขาสั่งมาแล้วเราจะร่วมกันไปขาย เช่น เราไปรับเขามา ๗๐ บาท แล้วเราไปขาย ๑๐๐ บาท จะได้กำไร ๓๐ บาท เอากำไรนี้มาแบ่งปันหารกันให้ลงตัว


ในกรณีนี้ ถ้าเราต้องการขยายธุรกิจ กิจการของเรา ควรใช้วิธีนี้ เพราะว่าจะเป็นการระดมทุน ถึงขนาดว่าใหญ่ก็จะเป็นระดับมหาชน จำกัด


๓. เขาจะจัดการสินค้า ขายสินค้าเอง แล้วให้กำไรเราเป็นเปอร์เซ็นต์ คือ เสมือนว่าเราเป็นผู้จัดการให้เขา เพื่อเขาสั่งสินค้ามาจากประเทศจีน แล้วเราให้ขายสินค้าให้กับเขา เงินรายได้ต่างๆ ที่เกิดจากการขายสินค้า เราต้องนำส่งให้เขา แล้วเขาจะให้ผลตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือเงินพิเศษ สุดแท้แต่เขาเอง คือ เราเป็นลูกจ้างเขา เขาไม่แบ่งกำไรให้เราแต่เขาจ้างเป็นเงินเดือน และให้เป็นเปอร์เซ็นต์


เป็นผู้จัดการให้เขา ขายให้เขา


ในกรณีนี้ ถ้าชาวต่างชาติ หรือเจ้าของเขาต้องการเอง หรือเรามีความประสงค์เช่นนี้ ก็สามารถทำได้


ถ้าเขาอยากได้โกดังเก็บสินค้า เขาจะต้องเป็นคนออกเงินจัดซื้อโกดังเอง ไม่ใช่เราไปออกให้ เหมือนกันคนที่ขายของตลาดดอยเวา เขาซื้อของมาแล้วก็เก็บไว้ในโกดังของเขา เมื่อเราซื้อเขาก็เอาในโกดังของเขาออกมาให้กับเรา


ในเรื่องเกี่ยวกับโกดัง เราเป็นธุระจัดการให้เขาได้ แต่เรื่องค่าเช่าพื้นที่ จัดทำโกดังต้องเป็นของเขาไม่เกี่ยวกับเรา เพียงแต่เราช่วยจัดการให้เท่านั้น เพราะว่าเขาเป็นชาวต่างชาติ อาจจะยากลำบากในการดำเนินการ เราก็เป็นธุระจัดการช่วยเหลือเขา


---------------------------

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   

7,652







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย