ลำดับขั้นของการเป็นผัวเมียกัน


<
ลำดับขั้นของการเป็นผัวเมียกัน

๑. เป็นผัวเมียกันที่จะร่วมประเวณีกัน (มีเพศสัมพันธ์) คือ ในระดับนี้ก็จะเป็นระดับของบุคคลทั่วไป ที่เป็นสามีภรรยากันก็จะร่วมประเวณีกัน

๒. เป็นผัวเมียกัน เอื้อ-เกื้อ-กัน แต่ไม่ร่วมประเวณี คือ เป็นผัวเมียกันมีอะไรค่อยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีอะไรก็จะแบ่งปันกัน แต่จะไม่มีเพศสัมพันธ์กัน

๓. เป็นผัวเมียกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มุ่งสู่การเจริญภาวนา คือ ในระดับนี้ ดังจะเห็นได้จากพระภิกษุนิกายของญี่ปุ่น จะมีคติอยู่ ๒ อย่าง คือ

๓.๑. กลุ่มที่รักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัด ถือเพศพรหมจรรย์ ไม่มีภรรยา

๓.๒ กลุ่มที่ถือบวชแบบครอบครัว มีภรรยาเหมือนชาวบ้านทั่วไป

ซึ่งใครๆ ก็สามารถทำได้ หากว่าทั้งสองฝ่าย คือ ผัวกับเมีย มีความคิดเห็น มีทิฏฐิเหมือนกัน ก็อยู่ร่วมกันดังกล่าวมานี้

๔. เป็นผัวเมียกัน มีศรัทธา ตั้งปณิธานบำเพ็ญเพียร เจริญภาวนา เช่น พระเวสสันดร ที่เข้าไปบำเพ็ญเป็นพระฤาษีในป่าเขาวงกต บำเพ็ญทานมหาบารมี เป็นต้น

๕. เป็นผัวเมียกันรวมอยู่ในตัวคนๆ เดียว คือ รวมเป็นหนึ่งเดียวเข้าสู่ธรรม คือ เมียก็หมายถึงปัญญา ที่หล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกัน

ดังเช่น พระพุทธรูปแบบ "วัชรยาน" เป็นศิลปะแบบ "ตันตระ" (Tantra) ของทิเบต พระพุทธรูปในท่านั่ง และมีรูปปั้นผู้หญิงนั่งคร่อมบนตัก แล้วโอบกอดพระพุทธเจ้า

ซึ่งพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ ต้องมี "ทาระ" (Tara) หรือ "คู่ครอง" สวมกอดอยู่ แสดงถึงเพศหญิงและเพศชายสวมกอดกัน เสพสังวาส ชาวทิเบตเรียกกันว่า "ยับยัม" เป็นปริศนาธรรม เชิงสัญลักษณ์ หมายถึง การตรัสรู้ธรรมนั้นเป็นผลรวมของปัญญาและกรุณา รวมกัน ซึ่งสีกา เพศหญิงนั้นสัญลักษณ์ที่แสดงออกมาเป็น "ปัญญา" ส่วนเพศชายสัญลักษณ์ที่แสดงออกมาเป็น "กรุณา"

ท่านผู้รู้ได้อธิบายขยายความว่า (voicetv/read/64305) "ปัญญาเปรียบเหมือนดวงตา กรุณาเปรียบเหมือนแขนขา หากขาดดวงตาแล้ว แขนขาก็กระทำการอย่างมืดบอด หากขาดแขนขาแล้วดวงตาก็ไม่อาจจะทำอะไรได้ ดวงตาและแขนขาจึงต้องทำงานร่วมกันอย่างแยกไม่ได้ ปัญญาและกรุณาต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวจึงจะเป็นการตรัสรู้ธรรมที่สมบูรณ์"

---------------------------

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   




 6,551 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย