"น้ำ" เป็นผู้ร้ายจริงหรือ
"น้ำ" เป็นผู้ร้ายจริงหรือ
ขอให้ผู้อ่านจินตนาการไปกับผมนะครับ
ธรรมชาติของน้ำเป็นของเหลว ใหลไปมาได้ เปลี่ยนสภาพจากอ่อนเป็นแข็ง และจากแข็งเป็นอ่อนได้ และน้ำย่อมใหลจากที่สูงลงไปยังที่ต่ำ ใหลไปตามเส้นทางตามแรงโน้มถ่วงของโลกหรือตามที่กำหนดไว้
คำถาม ถามว่า น้ำนี้ใหลไปเอง หรือว่าสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยให้น้ำนี้ใหล ?
ตอบว่า น้ำนี้ย่อมใหลไปตามสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมย่อมเป็นไปตามกระแสธรรมชาติ สิ่งที่ทำให้น้ำนี้ใหลไปตามสายน้ำได้ เพราะก้อนหิน ทราย ดิน แมกไม้ต่างๆ ที่ตั้งวางเป็นทางให้น้ำใหลตามเส้นทางแท่งหิน ดิน ทรายที่เรียงรายเป็นช่องทางเดินของน้ำ
แสดงว่า น้ำนี้ย่อมใหลไปตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ ที่เอื้อให้น้ำใหล ไม่ใช่น้ำใหลไปเอง แต่มีสิ่งกระทำ และเรียกร้องให้น้ำได้ใหลไปตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ
หากสิ่งแวดล้อมลาดชัน น้ำก็จะใหลไปตามแรงชัด
หากสิ่งแวดล้อมเอียง น้ำก็จะใหลบ่าท่วมท้น
หากสิ่งแวดล้อมเป็นทางชัน น้ำก็จะใหลเชี่ยวกราด
หากสิ่งแวดล้อมตั้งฉาก น้ำก็จะใหลตก กลายเป็นน้ำตกทันที
สรุป น้ำไม่สามารถใหลไปเองโดยตัวของมัน แต่มีสิ่งแวดล้อมกระทำให้น้ำใหลไปได้
จากเรื่องของน้ำเราหันกลับมามองชีวิตของมนุษย์
เดิมทีมนุษย์เกิดมาเป็นทารก จิตของทารกนี้บริสุทธิ์เป็นประภัสสร ผ่องใส สะอาด แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไปจากทารกเข้าสู่วัยเด็ก จากเด็กเข้าสู่วัยรุ่น จากวัยรุ่นเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ วัยชรา ตามลำดับ เด็กต้องเรียนรู้ และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ที่เข้ามาถาโถมในชีวิต จิตนี้ก็รับรู้ต่างๆ บางทีก็รับสิ่งที่เป็นความชั่ว ความไม่ดี อกุศลเข้ามาในจิตใจ และบางครั้งก็รับสิ่งที่เป็นสิ่งดี สิ่งมงคล สิ่งที่เป็นกุศลเข้ามาเก็บไว้ในจิตใจได้เช่นเดียวกัน
ด้วยบางเวลารับสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เป็นอกุศล กิเลส เข้ามาสะสมในจิตใจ จิตของทารกหรือเด็กนี้ก็พลอยอับเศร้าหมองศรีไปด้วย จากจิตที่บริสุทธิ์ก็กลับกลายผสมปนเปไปด้วยสิ่งอกุศล การกระทำที่เป็นสีดำ จึงทำให้จิตที่บริสุทธิ์กลับกลายเป็นจิตไม่บริสุทธิ์ จิตเศร้าหมอง
จิตของพระอรหันต์นี้เป็นจิตที่บริสุทธิ์เหมือนกัน แต่กาลเวลาผ่านไปจิตนี้ก็ยังบริสุทธิ์เหมือนเดิม ไม่เหมือนกับเด็กคนนั้นเลย พอกาลเวลาผ่านไปจิตก็เศร้าหมองทุกที เพราะสิ่งเร้าต่างๆ มีทั้งกุศลและอกุศลเข้ามาเยือนในจิตใจ โดยที่เด็กหรือผู้ใหญ่คนนั้นไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองว่าเป็นบุญหรือเป็นบาป จิตรับมาหมด จึงทำให้จิตเศร้าหมอง จากที่บริสุทธิ์ก็กลับกลายเศร้าหมองไปแทน
แต่จิตของพระอรหันต์ท่านบริสุทธิ์และยังคงรักษาความบริสุทธิ์นั้นไว้ เป็นเพราะพระอรหันต์ท่านใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองอาคันตุกะที่มาเยือนจิต หากเป็นอกุศลท่านก็สกัดตั้งแต่ด่านแรกแล้ว ปิดประตูไม่ต้อนรับ
ฉะนั้น จิตของเด็กกับจิตของพระอรหันต์แตกต่างกันที่มีปัญญากับไม่มีปัญญา เพราะจิตของเรามีสภาพอยู่ตรงกลาง หรือจะเรียกว่าจิตของเรามันโง่ก็ได้ อะไรเข้ามาไม่ว่าดีหรือไม่ดีรับไว้หมด แต่ผู้ที่ได้รับการฝึกจิตแล้ว จิตตัวนี้จะมีวัคซีนป้องกัน และมีพลังอำนาจจิตที่สกัดยับยั้งไม่ให้สิ่งที่เป็นอกศุลเข้ามาเยือนในจิตใจได้ จิตของพระอรหันต์จึงยังคงบริสุทธิ์เหมือนดั่งเดิม
เหมือนกับแก้วน้ำที่ใส่นมลงไป แก้วนี้ย่อมสกปรก แต่เมื่อเรานำไปล้างให้สะอาด เช็ดให้เรียบร้อย แล้วยังนำไปใส่ถุงใสห่อเก็บไว้ ฝุ่นหรือสิ่งสกปรกต่างๆ ก็ไม่สามารถไปเกาะติดแก้วนี้ หรือทำให้แก้ใบนี้สกปรกได้ ก็เหมือนกับจิตพระอรหันต์ ซึ่งตอนแรกๆ ท่านก็มีกิเลส มีสิ่งสกปรกมากมายที่เกาะติดแก้วนี้ ท่านได้ใช้สติปัญญาพิจารณาไตร่ตรองโยนิโสมนสิการชำระล้างกิเลสสิ่งสกปรกนี้ออกไปให้หมด จิตของท่านจึงบริสุทธิ์ ใส ประภัสสร และท่านใช้ปัญญาเป็นตัวห่อหุ้มดวงจิตนี้ไว้ไม่ให้สิ่งสกปรก กิเลสเข้ามาแปดเปื้อนได้ ฉันนั้น
ใครที่บอกว่าคนนี้คือคนชั่ว โดยความเป็นจริงแล้ว เขาไม่ได้ชั่วที่เกิดจากจิตสันดานของเขาหรอก เพราะคนเราเปรียบเสมือนกับน้ำ ที่เขาชั่วร้ายเพราะสิ่งแวดล้อมพาไปทำให้เขาเป็นเช่นนั้น สิ่งแวดล้อมนี้เป็นได้หลายอย่าง เช่น กรรมพันธุ์ การเลี้ยงดู การฝึกฝน การอบรมสั่งสอน การศึกษา สภาพแวดล้อม บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ กาลเวลา และกรรมวิบาก ฯลฯ ที่เข้ามาเป็นองค์ประกอบให้เขาประพฤติเช่นนั้น
เมื่อเรารู้แล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราเป็นไปตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ ฉะนั้น เราคิดจะไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาพแวดล้อมนั้นๆ ได้หรือไม่ บางอย่างได้และบางอย่างไม่ได้ โดยความเป็นจริงแล้วเราจะแก้ไขได้แต่ยากมาก เพราะทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด เราแก้ไขจุดตรงนี้นิดหนึ่ง ทุกจุดก็จะแก้ไขไปตามหมดเลย แต่อย่างที่บอกต้องใช้เวลาและความเพียร มุมานะในเปลี่ยนแปลงแก้ไข
แต่ในทางที่ดีเราควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราก่อน แล้วสภาพแวดล้อมก็จะไม่สามารถทำร้ายเราได้เหมือนเรามีเกาะหุ้มป้องกันคุ้มครองเรา
แล้วเราจะเปลี่ยนแปลงตัวเรายังไง สิ่งแรกเริ่มที่เราต้องเปลี่ยนแปลงคือ ความคิดของเราเอง ในภาษาทางพระพุทธศาสนาเราเรียกว่า ทิฏฐิ แปลว่าความเห็น แล้วเราเติมคำว่า สัมมาทิฏฐิลงไป แปลว่า ความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งตรงข้ามกับมิจฉาทิฏฐิ เป็นความเห็นที่ผิด
หากเราเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี มีสิ่งยั่วยุให้เราประพฤติไม่ดีต่างๆ เช่น ข้างบ้านเป็นแหล่งอบายมุข อัครสถานบันเทิง มีแต่ฝูงชนกินเหล้ายาปลาปิ้งทุกวัน เราก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง เราสามารถไปกินเหล้ากับเพื่อนฝูงได้แต่เรากินตรงนั้นจบตรงนั้น ให้เรากินเหล้าแต่ไม่ให้เหล้ามากินเรา เรากินไปก็ไม่ก่อเกิดปัญหาใดๆ ตามมา ก็เปรียบเสมือนกับการกินน้ำโค้กนี่เอง
ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจอยู่ เราจะไม่ทุกข์ ไม่ว่าเราจะเป็นคนจนมากแค่ไหน ร่างกายพิการ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ก็สามารถอยู่ในสภาพนั้นได้ไม่เป็นทุกข์ หากมีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง เหมาะสม
ยกตัวอย่าง ใกล้ตัวเลย วันนี้มีสาวคนหนึ่งรูปร่างเพียว หุ่นดี สวมรองคัทชูแฟชั่นเกาหลี หน้าอกใหญ่ เต่งตึง ใบหน้าขาวอมชมพู ตบด้วยแป้งจากคิวเพรส ดวงตากรีดด้วยมาสคาร่า อายไลน์เนอร์ ทำให้ดวงตาสุดเซ็กซี่ บวกกับหน้าตาเธอสวยอยู่แล้ว จึงสวยสมบูรณ์แบบ แต่ทว่าเธอนุ่งกระโปรงสั้นจู๋ เธอเดินผ่านหน้าบ้านผม แล้วจู่ๆ ก็มีก้อนหินเล็กๆ หลุดเข้าไปในรองเท้าของเธอ เธอจึงหยุดแล้วเอามือดึงมันออก แต่ระหว่างเธอก้มลงนั่นเอง ผมได้เห็นจุดสงวนอะไรบางอย่างของเธอที่เกินจะอธิบาย
นี่คือสิ่งแวดล้อมที่จะมายั่วยุให้ใจผมสั่นคลอนเปิดประตูต้อนรับกิเลส ตัณหา ความใคร่ หากเราไม่รู้จักจัดการกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ไม่ใช้สติปัญญามาพิจารณา ปล่อยเลยตามเลย นานวันเข้า แน่นอน แรงกดดันย่อมมีเพิ่มขึ้นๆ เหมือนลูกโป่งเมื่อโตเต็มที่ย่อมแตกระเบิด ผลท้ายที่สุด การข่มขืนกระทำชำเราย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเราใช้สติปัญญามาพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผลดีก็เกิดตามมาด้วยคำว่า "ชื่นชม แต่ไม่หลงใหล" เออ...เธอสวยและเซ็กซี่ดี ไม่ฟุ้งซ่านเสริมปรุงแต่งต่อ แค่นี้ก็ตัดวงจรแห่งกรรมวิบากได้แล้ว
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์