ทำยังไงให้ลูกน้องอยู่กับเรานานๆ
ทำยังไงให้ลูกน้องอยู่กับเรานานๆ
๑. เราจะต้องทำให้เขามีความรู้สึกเขามีคุณค่า เราต้องพูดให้เขาว่าเขามีคุณค่า มีความหวังให้เขา เราต้องรู้คุณค่าของเขา ให้พนักงานเขารู้ว่าตนเองมีคุณค่า ไม่ใช่ไร้ค่า
๒. มีเป้าหมาย ให้ความหวังกับพนักงาน
๓. อย่าเอาลูกน้องมาเป็นกระโถน ส่วนใหญ่ผู้บริหารมักผิดพลาดตรงนี้ชอบเอาลูกน้อง พนักงาน มาเป็นกระโถนรองรับอารมณ์ของนายจ้าง
๔. ตัวเองต้องควบคุมอารมณ์ของตนเอง รู้จักพิจารณากรรม ๕ พิจารณาวิบาก ๗ เช่น เวลานี้ไม่ควรพูดเราก็ไปพูดหักหน้าเขา ฉีกหน้าเขา พอฉีกหน้าเขาแล้วเล็กไม่ลง ก็ต้องลาออกจากงานไป เช่น คนงานบางคนเขาไม่ได้ตั้งใจจะลาออกจากงาน แต่เพราะโดนฉีกหน้า แล้วเจ้าตัวเล็กไม่ลง เพราะเขาไม่ได้ฝึกมาดีพอเขารับไม่ได้
๕. เวลาดี ต้องดีอย่างมีเหตุผล เวลาดีกับลูกน้องดีอย่างมีเหตุผล เวลาไม่ดี คือ จะลงโทษเขาก็ต้องมีเหตุผล (ดีก็ต้องมีเหตุผล ไม่ดีก็ต้องมีเหตุผล) บางครั้งดีไม่มีเหตุผล เขาก็จะเหลือง บางครั้งตัวเขาทำผิดแล้วเราไม่ได้ลงโทษ เราไม่มีเหตุผล เขาก็ไม่รู้ว่าเขาโดนอะไร
ข้อที่ ๓-๔-๕ ถ้าไม่มี จะทำให้อกเขาอกเราลดลง
๖. มีกัลยาณมิตร คือ มีเพื่อนกัลยาณมิตรค่อยตักเตือนถ้าเห็นว่าสิ่งไหนที่เราผิดพลาดหรือบกพร่อง เช่น มีลูกน้องเก่าแก่ ต้องให้มาเป็นกัลยาณมิตรค่อยช่วยเตือนเรา บางครั้งเรื่องมักเกิดซ้ำๆ เพราะว่าเราไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ต้องอาศัยกัลยาณมิตรมาค่อยเตือนเรา เราถึงจะรู้ตัวว่าผิดถูก
๗. หมั่นสัญญากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ เราสัญญากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ตรงนี้เราจะทำอย่างนี้ ตรงนี้ไม่ทำ
๘. อยากได้ภักดีจากเขา เราต้องมีอกเขาอกเรา นายจ้างอย่าเข้าใจผิดว่า ให้แต่เงินเขา "น้ำใจ" เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่ให้แต่เงินอย่างเดียว ต้องมีน้ำใจ เช่น เราไม่คำนึงถึงว่าเขาเป็นมนุษย์แล้วเราก็ไปฉีกหน้าเขาอย่างจัง เขาก็รับไม่ได้ เวลาทำดีก็ไม่ได้ยกย่อง ชมเชยเขา เอาแต่ใจตัวเอง แล้วอย่างนี้จะมีน้ำใจมั้ยต่อลูกน้อง
สิ่งที่ต้องระวัง "ระวังเขาจะตีหัวเอา อย่าปากไม่ดีมาก" และ "ปากไม่ดีแล้วหัวแตก" ปัญหาเดี๋ยวนี้ตามตื้ออยู่แล้ว มีปัญหารุมเร้า
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์