อินทรีย์ ร่างกายนอก-ใน


อินทรีย์ ร่างกายนอก-ใน

อินทรีย์ คือ ความพร้อมอำนวยให้เกิดศักยภาพยิ่ง แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ อินทรีย์ภายนอกและภายใน

๑. อินทรีย์ภายนอก คือ ร่างกายของเราต้องมีความพร้อมเสมอ ที่เอื้อต่อการงาน กิจกรรม เช่น ไม่หิว ไม่ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ร่างกายไม่เจ็บปวดใดๆ ถึงขั้นเป็นการรบกวนสมาธิ

๒. อินทรีย์ภายใน คือ ภายในจิตวิญญาณของเราจะต้องประกอบด้วยองค์คุณต่อไปนี้คือ พละ ๕ คือ การมีกำลัง ๕ ประการในจิตวิญญาณของเรา ได้แก่

๒.๑) สัทธา คือ สิ่งที่เชื่อพิสูจน์แล้ว ถูกต้องแล้วอย่างมั่นคง คือ รู้ซึ้งประจักษ์ในสิ่งที่ตนเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัจจัยแห่งเหตุและผล เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เช่น เชื่อว่าสวดมนต์แล้วได้ผล เชื่อว่าการสวดของเรามีผลต่อเรา และบุคคลอื่นๆ ที่เราประสงค์อยากให้มีให้เป็น ไปและเชื่อในองค์เทพ คาถาที่เราสวด

๒.๒) วิริยะ คือ ความเพียร พยายาม ซึ่งต้องอาศัยขันติความอดทน และมีตบะอย่างยิ่งยวด หมายถึง อดทนอย่างยิ่งยวด ถ้าไม่มีขันติก็จะไม่มีความต่อเนื่อง และพยายามมุ่งมั่นในการสวด ไม่ย่อท้อ

๒.๓) สติ คือ เตรียมพร้อมภูมิปัญญาได้อาศัยให้ก่อเกิดเป็นอานิสงส์ มีความพร้อม ทำอะไรมีความถูกต้องตามธรรม

๒.๔) สมาธิ คือ ตั้งใจให้ขบวนการก่อเกิดบรรลุถึงอานิสงส์นั้นๆ ความมีจิตใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ คือ เมื่อเรามีจิตใจมุ่งมั่นจะบำเพ็ญ ประพฤติปฏิบัติ หรือจะทำสิ่งหนึ่งประการใด เราจะต้องมีตบะ มุ่งมั่นสืบเนื่องต่อกันไป สิ่งการณ์นั้นถึงจะดำรง ดำเนินต่อไป ย่อมเป็นไปตามวิถีแห่งธรรมนั้นๆ ย่อมเข้าใจวิถีแห่งธรรมนั้นๆ ความตั้งใจมั่น แน่วแน่ สมาธิมีอยู่ด้วยกัน ๒ ลักษณะ คือ สมาธิแล้วนิ่ง กับสมาธิเคลื่อนไหว สิ่งที่เราจะใช้สมาธิในการสวดนี้จะเป็นสมาธิเคลื่อนไหว บางครั้งมือทำการถวายบัวไฟ แต่ปากของเราก็ท่องคาถาไปด้วย และนับคาถาที่เราสวดไปแล้วกี่จบ หากไม่ฝึกสมาธิเคลื่อนไหวก็จะลืมไปชั่วขณะว่าเราสวดได้กี่จบแล้ว

๒.๕) ปัญญา คือ การรู้เหตุและผล ตามหลักอริยสัจ ๔ ทำให้ขจัดปัดเป่าอุปสรรค คลี่คลายปัญหาต่างๆ ความรอบรู้ คือ รู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในธรรม

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   

7,652







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย