บารมีกับตบะแตกต่างกันตรงไหน


<
บารมีกับตบะแตกต่างกันตรงไหน

ตบะ แปลว่า ทำได้อย่างยิ่งยวด

บารมี แปลว่า ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง

"ตบะ" อย่างยิ่งยวดถึงจะเป็น "บารมี" เป็น "บารมีของตบะ" เช่น การให้ทานอย่างยิ่งยวดก็เป็น "บารมีของทาน"

บารมีเปรียบเสมือนทำอย่างยิ่งยวด สะสมมาเรื่อยๆ จนเกิดเป็นอานิสงส์ อานิสงส์แห่งตบะอย่างยิ่งยวด คือ เกิดตบะบารมีที่จะมาเป็นตบะ เช่น มีความอดทน อดกลั้นอย่างยิ่งยวด จึงเรียกว่าตบะ

ตบะตรงนั้นทำอยู่เรื่อยๆ จึงเกิดมาเป็นตบะ เป็นตบะบารมี บารมีแห่งตบะ

บารมีจะขึ้นอีกขั้น คือ บารมีที่เรารวบรวมได้แล้ว ทำเป็นตบะบ่อยๆเยอะๆ ถึงจะเกิดเป็นบารมี

บารมีไม่ใช่อยู่ที่ตัวบารมีเอง แต่อยู่ที่องค์ข้อธรรมนั้นๆ เช่น ทานก็จะเป็นทานบารมี ศีลก็จะเป็นศีลบารมี มีจนถึงบารมี ๓๐ ทัศ

พอเรามีบารมีมากๆ ก็เปรียบเสมือนว่าเรามีปัญญาเยอะๆ มีความรู้เยอะ มีน้ำเยอะ มีไฟเยอะ มีสิ่งของเยอะแยะ ก็อยู่ที่เราจะเอาไปให้ใคร ช่วยเหลือใคร เรามีบารมี เราจะไปช่วยเหลือใคร จะแผ่ให้กับใครก็ขึ้นอยู่กับเรา

สมมติว่าเราไปขอพร ท่านจะเอาอะไรให้เราก็ต้องเอาบารมีของเขาให้เรา คือ สิ่งที่เขาเรียนรู้มาให้เรา

พอเรามีบารมีแล้วเราจะไปเผื่อแผ่ให้กับใคร เหมือนกับอ่างกักเก็บน้ำ พอเต็มแล้วเราจะไปเผื่อแผ่ให้กับใคร ก็จะไปตามสายน้ำ ขึ้นอยู่กับว่าสายน้ำจะไปที่แหล่งไหน เหมือนกับเราจะเอาไปให้ใคร นี่แหละเขาเรียกว่าเอาไปบำเพ็ญ จากที่เราเรียนรู้รู้เรื่องแล้ว เอาสิ่งที่เราบำเพ็ญไปสอนคนอื่นเหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสร้าง ๕๐๐ ชาติ เต็มแล้วชาตินี้ก็เลยมาสอนคนอื่น

ยกตัวอย่าง เราได้บารมีตรงนี้แล้ว เราก็จะมาสอนคนอื่นให้มาเจริญธรรม แล้วเจริญธรรมข้อไหน ข้อพรหมวิหาร ๔ พอเราเข้าใจพรหมวิหาร ๔ มากแล้ว เราก็เอาความรู้ความเข้าใจพรหมวิหาร ๔ นี้ไปสอนเขาให้เข้าใจได้ เหมือนกับว่า เราเอาตบะที่เราสะสมไว้แล้ว เหมือนกับว่าเรารู้มาก รู้อย่างลึกซึ้ง แล้วเอาความลึกซึ้งนี้มาสอนคนอื่นให้เป็น นี่แหละเอาบารมีมาสอน

บารมีก็คือเราสะสมได้ พอเราสะสมได้ตรงนั้นแหละเราเอาไปสอน เขาเรียกว่า บำเพ็ญเผยแผ่ ถ้าจะเรียกภาษาให้สูงขึ้นอีกนิดหนึ่งคือ โปรดสัตว์ เหมือนกับพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์

โปรดสัตว์คืออะไร คือ ไปสอนเขาให้รู้เข้าใจปฏิบัติได้

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   




 6,774 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย