การพิจารณาปัจจัยเหตุและผลของกรรม


<
การพิจารณาปัจจัยเหตุและผลของกรรม

ปัจจัย (condition; mode of conditionality or relation) คือ เป็นสภาวะธรรมสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็นเหตุเช่นนั้นที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้น มี ๒๔ รูปแบบดังนี้

๑. เหตุปัจจัย (root condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นเหตุ หมายความว่า เช่น นายดำมาตีนายแดง เพราะนายแดงไปด่าในดำ แสดงว่านายแดงเป็นเหตุเพราะเป็นจุดเริ่มต้นก่อนไปด่านายแดงจึงเป็นเหตุให้นายดำมาตีนายแดง

๒. อารัมมณปัจจัย (object condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ หมายความว่า อารมณ์ขึ้น เช่น เราโดนด่า อารมณ์ของเราก็จะขึ้น ถ้าเขาด่าเรา อารมณ์ของเราไม่ขึ้นเราก็ต้องไม่เป็น เหตุที่มาด่า แต่อยู่ที่เราแล้วว่าอารมณ์ของเราขึ้นไหม? ถ้าอารมณ์ขึ้นก็ปรุงให้หนักขึ้นมาแล้ว แต่ถ้าปรุงไปทางดีก็เบาลง อารมณ์นี้เป็นเหตุปัจจัยร่วม

๓. อธิปติปัจจัย (predominance condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นเจ้าใหญ่ หมายความว่า เอามาหนุนแรง เช่นไปด่าเขาแต่ไปด่าถูกเมียสุดที่รักเขา หรือว่าเราไปด่าแม่เขา แต่เขาเป็นคนรักแม่มากๆ ก็จะทำให้เขาโมโหมากขึ้น หรือเรารักหมาตัวนี้มากอยู่ดีๆ เขาก็มาเตะหมาของเราก็จะทำให้เราโกรธมากขึ้น หรือแต่ถ้าเราไม่สนใจหมาเขามาเตะหมาของเรา เราก็เฉย เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับหมาตัวนี้มากเท่าไหร่ นี่แหละเป็นเจ้าใหญ่ของเขาแล้ว เช่นบางคนแค่คำพูดคำเดียวทำไมทำให้ให้เขาโกรธมากที่สุด ก็เพราะว่าไปแตะถูกสิ่งที่เขารักเขาหวงมาก

ยกตัวอย่าง เหตุการณ์สามก๊ก ซันกั๋วหยั่นอี้ (三國演義) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ มีอยู่ตอนหนึ่งว่า เกียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลางเรียกว่า เจียงเหวย (姜維) มีอุปนิสัยกตัญญูต่อแม่มาก เป็นคนมีสติปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้กลศึกเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก ขงเบ้งรู้ว่าเกียงอุยเลี้ยงดูแม่กตัญญูต่อแม่ ขงเบ้งจึงใช้วิธีการนับแม่ของเกียงอุยมาเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ให้ความเคารพนับถือแม่ของเขา แล้วให้แม่ช่วยเกลี้ยกล่อมเขา สุดท้ายเกียงอุยใจอ่อนยอมอยู่กับฝ่ายพระเจ้าเล่าปี่กับขงเบ้ง ขงเบ้งจึงได้ศิษย์เอก

สามก๊กนี้เป็นเหมือนกับย่อโลกนี้มาอยู่ในสามก๊กนี้จริงๆ ทั้งตัวร้ายสุดและดีสุดก็อยู่ในนั้น เช่น โจโฉเป็นตัวแทนพลังร้ายสุด เล่ห์เหลี่ยม เจ้าเล่ห์ ตั๋งโต๊ะ เป็นพลังแห่งความละโมบที่สุด ซุนกวน เป็นคนนิสัยพื้นๆ กลางๆ ถึงไม่มีเด่น ส่วนเล่าปี่เป็นตัวแทนแห่งความซื่อสัตย์ ความดี

แล้วทำไมหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี นักการเมืองและนักเขียนคนสำคัญในเมืองไทย โดยท่านได้กล่าวว่า

โจโฉ นับเป็นตัวละครเอกในเรื่องสามก๊กตัวหนึ่ง ที่มีบทบาทไม่ว่าในด้านการครองชีวิตปกติธรรมดา หรือเมื่อชีวิตที่ต้องกรำศึก สะท้อนถึงการแสวงหาอำนาจทางการเมือง และความพยายามที่จะดำรงอำนาจไว้กับตนให้นานที่สุด แม้จะถูกประฌามว่าเป็นคนใจร้ายอำมหิตนั้น แต่ถ้าพิจารณาให้เห็นเป็นคนดีด้วยเหตุผลก็ได้ เป็นคนธรรมดาสามัญที่ย่อมประกอบไปด้วยความโลภ โกรธ หลง และความปรารถนาต่างๆ ที่จะมีผิดพลาดบ้างก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดา

โจโฉ หรือ เฉา เชา (曹操)ใช้วิธีการที่เจ้าเล่ห์ที่จะต้องมีไว้ แต่เราต้องมีเล่าปี่ หรือหลิว เป้ย์ (劉備) ในหัวใจ ซุนกวนหรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ (孫權) เป็นกลางๆ พื้นๆ ไม่โดดเด่น เป็นตัวให้โดดเด่นทั้ง ๓ อย่าง ที่สุดๆ โจโฉสุดๆ ทางด้านลบ เล่าปี่สุดๆ ทางด้านคุณธรรม ส่วนซุนกวนก็หยวนๆ กลางๆ

ทุกตัวละคร มีหลักธรรมแฝงอยู่ในนั้น เพราะว่ายิ่งกว่าพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกมีคำศัพท์แสงเยอะมาก จะทำให้คนงง

ไซอิ๋วกับสามก๊ก วรรณกรรมจีนเรื่องไหนมีธรรมะมากกว่ากัน ก็ตอบว่า เหมือนกัน เพียงแต่ว่า ทางไซอิ๋วเค้าดูไร้สาระ แต่มีสาระกว่า แต่สามก๊กให้มีสาระและมีสาระ เช่น นักอ่านไซอิ๋ว เราจะบอกว่าไม่ค่อยมีอะไร แต่ถ้าใครไปอ่านสามก๊กเราจะบอกว่า โอ้โห!!! สุดยอด... แต่จริงๆ แล้วไซอิ๋วมีหลายหลายกว่าเยอะ เพราะมีทุกชนชั้น คนดูมีทุกชนชั้น ส่วนข้างในสาระของไซอิ๋วก็มีทุกชนชั้น ทุกชั้นภูมิ

ชนชั้นต่ำ ภูมิต่ำ เช่น เนื้อเรื่องไซอิ๋วจะเข้าหาคนที่มีความทุกข์ที่อยู่ข้างล่าง คนที่เป็นผี ปีศาจ มาร นี่แหละต่ำสุดๆ ทั้งนั้น

ชนชั้นสูง ภูมิชั้นสูง เช่น พระยูไล (如来佛祖) เจ้าแม่กวนอิม (觀世音) ไท่ซั่งเหล่าจวิน (太上老君) เทพ (神) เทวดา เจ้าที่ตี่จู้เอี๊ย (地主神) มีหมดเลย

ในวรรณกรรมสามก๊กชีวิตปัจจุบันไม่มีสูง แคบกว่า

เราลองมาดูสุดหงอคง เป็นลิงตัวหนึ่งไม่มีอะไร และเข้าสู่ภาวะมารจนกลับตัวกลับใจเข้าไปสู่ความเป็นพระอรหันต์

ไซอิ๋วในความไม่สาระมีสาระ

วรรณกรรมไซอิ๋วกับสามก๊ก ในสามก๊กจะดีกว่าแต่จะมีคนดูน้อยกว่า เพราะว่าแคบ ไซอิ๋วนี้หลากหลาย อย่างเช่นในอีก ๒๐ ปี อาจจะเพาลง แต่ไซอิ๋วไม่มีเพา จะมีความนิยมตลอด ความลึกซึ้งจะมีตลอดไม่เปลี่ยนแปลง จะยืนยงได้ดีกว่า

สามก๊กมีแค่โลกใบนี้ แต่ไซอิ๋วมีหลายโลก โลกนรก โลกมนุษย์ โลกสวรรค์ โลกแดนสุขาวดี และยังมีแดนของพระยูไล ฯลฯ ความมีมิติกว้างกว่าสามก๊กเยอะ

สุดหงอคง เหาะไปหาเจ้าแม่กวนอิม เพราะเป็นที่อยู่ของภูมิพระโพธิสัตว์ แต่ภูมิของพระยูไล สุดหงอคงไปไม่ถึงมีแต่พระยูไลมาหาใช่ไหม? สุดหงอคงก็ไปถึงได้ ที่พระยูไลท่านมาหานั้นมีเทพไปเชิญมาปราบสุดหงอคง เพราะไม่มีใครเอาอยู่แล้ว ทั้งๆ สุดหงอคงยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จะเข้าไปหาพระยูไลได้เหรอ ทั้งๆ พระยูไลเป็นอรหันต์แล้ว ใช่แล้ว สุดหงอคงจะไปได้ทั่วหมด แล้วทำไมถึงไปได้ทั่วหมด ก็นี่แหละ แสดงให้เห็นว่าต่ำสุดก็ไปได้ทั่ว แสดงว่าข้างในต้องมีสูงกว่า ก็เพราะว่าตอนนั้นก็ยังไม่ได้บรรลุธรรมนี่

ก็เพราะว่าบุคคลคนนี้เขามีบุญญาธิการมาตั้งแต่ต้น เขาเป็นลูกของฟ้าดิน แต่ต้องผ่านการดูแล อบรม ถ้าหากว่าเราจะพูดว่า ชีวิตมนุษย์ก็เป็นลูกของฟ้าดินหมดนี่ แม้ว่าเป็นลูกของฟ้าดิน ความหนักเบาก็แตกต่างกัน ทำไมเรามีรูปร่างอย่างนี้ แล้วทำไมเพื่อนของเรารูปร่างอย่างนั้น นี่แหละ มันหนักเบาต่างกัน เราต้องมาดูตรงนั้นสิ พระพุทธเจ้าก็เป็นลูกของฟ้าดิน พระเทวทัตก็เป็นลูกของฟ้าดิน แต่ทำไมไม่เหมือนกัน

เรามีเหตุตัวใหญ่ขึ้นมา มีเหตุประธานแล้ว เราต้องมาดูว่ามีเหตุอะไรมาร่วม มีเหตุตัวเล็กมาร่วมก็เบาๆ หน่อย แต่ถ้ามีเหตุตัวใหญ่มาก็จะมาฆ่าให้ได้ก็หนักขึ้น

เวลาเราไปทำหน้าที่เจรจาแก้ไขกรรมให้กับบุคคลอื่น เราต้องมาดูว่าเจ้ากรรมของเขาเป็นใคร ถ้าไปเจอเจ้าใหญ่ก็แก้ไขไม่ได้ง่ายๆ ก็ยาก ถ้าเจ้ากรรมนายเวรเล็กก็คุยง่าย ถ้าเจ้าใหญ่ก็คุยยากหน่อย

๔. อนันตรปัจจัย (immediacy condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องไม่มีช่องระหว่าง หมายความว่า ปัจจัยไม่มีขาดตอน เช่น ปัจจัยที่จะต้องมีตลอด เช่น ลมหายใจของเรา ต้องหายใจตลอด ลมหายใจต้องมีตลอด ขาดลมหายใจก็ตาย เช่น ความรัก ถ้าเรารักไม่ขาดตอนก็อีกอย่าง ถ้ารักขาดตอนก็อีกอย่างหนึ่ง

ยกตัวอย่าง นายแก้วเบื่อเมีย หันไปจีบสาวร้านอาหาร ก็ไม่รู้จะแก้ยังไง นี่แหละขาดตอน ก็ไม่รู้จะแก้ไขยังไง ก็ต้องแปรเปลี่ยนไปตามรูปของเหตุปัจจัย

๕. สมนันตรปัจจัย (contiguity condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที หมายความว่า ฉับพลัน คือ มีการสะสมไว้ เช่น เราฟังคำด่าแล้วเราสะสมเก็บคำด่าไว้ อีก ๓ อย่างค่อยมายัวะก็ได้ ระเบิดก็ได้ แต่อย่างสมนัตรปัจจัย พอฟังคำด่าปั้บก็ตอบโต้ปั้บ เขาด่ามาก็ด่าตอบ หรือไม่เขาด่ามามือตบปากเขาทันที เป็นต้น

๖. สหชาตปัจจัย (connascence condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเกิดร่วมกัน หมายความว่า หลายๆ ตัวมาร่วมกัน อย่างเช่นเรามองผู้หญิงคนหนึ่ง ทำไมเราถึงรู้สึกไม่ชอบ จะบอกว่าเป็นสีผิวก็ไม่ใช่ เสียงก็ไม่ใช่ พอหลายๆ ตัวมารวมกัน ก็ทำให้เราเกิดอคติกับเขาได้ ไม่เอาคนนี้ล่ะ แต่ถ้าในทางดีล่ะ ก็มีหลายตัว เช่น หน้าตาไม่หล่อ แต่ผิวขาว พูดจานุ่มนวล แถมยังมีเงินแฟร์ด้วย บ้านฐานะดี เป็นต้น

๗. อัญญมัญญปัจจัย (mutuality condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นอาศัยซึ่งกันและกัน หมายความว่า ๒ คนทำให้เกิดปัจจัยนี้ ทำให้เกิดเหตุนั้น อาศัยเหตุซึ่งกันและกันทำให้เกิดเหตุนั้นขึ้นมา

ยกตัวอย่าง เราไปหยิบของ มันหนักให้เขาช่วยเราหยิบ ต่างคนต่างช่วยกันหยิบของ ไปปล้นทองร่วมกัน เธอเป็นคนปล้น ฉันไปคนไปดูลาดราวให้ เป็นคนดูต้นสายให้ วางแผนร่วมกันก็ย่อมมีความผิด เพียงแต่หนักเบาก็ว่ากันไป

๘. นิสสยปัจจัย (dependence condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย หมายความว่า อาศัยเหตุนั้นจึงเกิดปัจจัย เรานั่งอยู่ในบ้านเราก็ต้องอาศัยบ้านนั่งอยู่จึงเกิดไปก่อเหตุปัจจัยขึ้นมา

ยกตัวอย่าง เราอาศัยปากกาจึงมีผลออกมาเป็นอักษรบันทึกเรื่องราวของเรา จึงเกิดเหตุเป็นผลของมาเช่นนี้ได้

ยกตัวอย่าง ตรงนี้เราทำดีเพื่อเธอ หรือเรากลับเนื้อกลับตัวเพราะคนนี้

ยกตัวอย่าง เราจะไปฆ่าตัวตายแต่มองเห็นใบหน้าของลูกโผล่ขึ้นมาก็กลับใจไม่ฆ่าตัวตายแล้ว ไปเลี้ยงลูให้เติบใหญ่ขึ้นมาดีกว่า

ยกตัวอย่าง ผู้หญิงคนหนึ่งอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย จะฆ่าตัวตาย แต่พอมาฟังอาจารย์อธิบาย บอกวิธีแก้ปัญหาชีวิตได้ก็ไม่ฆ่าตัวตาย

๙. อุปนิสสยปัจจัย (decisive-support condition; inducement condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นเครื่องหนุนหรือกระตุ้นเร้า หมายความว่า เราเคยแค้นกันมา พอเราไปพบเจอเขาสิ่งนี้ก็ไปกระตุ้นเร้าให้เราทำสิ่งที่ไม่ดีต่อเขา แต่ถ้ามาสายบุญกุศล ก็จูงไปทำบุญด้วยกัน

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย (pernascence condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเกิดก่อน หมายความว่า เคยไม่ถูกใจกันมาก่อน

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย (postnascence condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเกิดหลัง หมายความว่า ทีแรกก็ดีกันอยู่ ทีหลังมันเกิดเหตุก็เลยไม่ชอบกัน เช่น ผัวเมีย แต่งงานใหม่ๆทีแรกก็รักกันอยู่ แต่มาทีหลังก็ทะเลาะกัน

๑๒. อาเสวนปัจจัย (repetiton condition) แปลว่า ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน หมายความว่า ความเคยชิน เคยทำอยู่ซ้ำๆ ค่อยๆสะสมขึ้นมา เช่น คนนี้เคยอยู่ร่วมกันแต่ก็เคยเหยียบขากัน แต่ก็ไม่ถือสา แต่ถ้าเหยียบบ่อยๆ ก็เริ่มเป็นล่ะ เพราะสะสมเหตุไว้

๑๓. กรรมปัจจัย (kamma condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง หมายความว่า มีเจตนา คือว่ามีเจตนาที่จะจองตั้งแต่ชาติปางก่อนมาแล้ว เป็นสายจอง เหมือนกับพระเทวทัตที่จองเวรกับพระพุทธเจ้ามาหลายภพชาติแล้ว และเช่น บ่าวสาวไปอธิษฐานรักกันสัญญากันต่อหน้าพระเจดีย์แล้วบอกว่า ทุกภพทุกชาติขอให้เป็นผัวเมียกันทุกชาติ อย่างนี้เป็นต้น มีเจตนาจองไว้

๑๔. วิปากปัจจัย (kamma-resuit condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นวิบาก หมายความว่า พอเราจองแล้วก็จะกลายเป็นพัวพันมีวิบาก เราทำเขาบ้าง เขาทำเราบ้าง กลายเป็นว่าเป็นวิบากซึ่งกันและกัน มีเหตุอันเนื่องซึ่งกันและกัน

๑๕. อาหารปัจจัย (nutriment condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นอาหาร คือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง หมายความว่า ความแค้นตรงนี้หล่อเลี้ยงเขา สมมติว่า เราจะแก้แค้นใครซักคนหนึ่ง เราอยู่เพื่อที่จะแก้แค้นเขา ถ้าเป็นสายบุญ ก็อยู่เพื่อจะชดใช้บุญคุณ

ยกตัวอย่างความรัก เรายอมเธอเพราะเรารักเธอ นี่แหละเป็นเหตุ เหตุเพราะความรักจึงยอมทำตามเธอ ทำอะไรเพื่อเธอ

๑๖. อินทรียปัจจัย (faculty condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นเจ้าการ หมายความว่า เช่นคนนี้เป็นอินทรีย์ใหญ่ คือ เขาขาด้วนแล้ว แล้วก็แค้นอยู่กับคำว่าขาด้วนแล้ว ใช่เป็นเหตุปัจจัยไหม?ว่าเป็นคนมีโทสะ มีอะไรเยอะแยะ เพราะจมปลักตรงนี้ เอาตรงนี้เป็นเหตุ

เหมือนกับบางคนอกหัก แล้วจมปลัก ทีนี้มองคนร้ายหมดเลย มีแต่จะมุ่งทำร้ายคนอื่นแล้ว

๑๗. ฌานปัจจัย (absorption condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นภาวะจิตที่เป็นฌาน หมายความว่า เกี่ยวกับการเพ่ง เราเพ่งผิดก็ได้ เพ่งถูกก็ได้ เป็นวิปัสสนูกิเลสก็ได้ เราเพ่งไปเพราะเหตุแห่งฌานเราดีก็ได้กลับแย่ลงก็ได้ ถ้าเราปฏิบัติผิด

๑๘. มรรคปัจจัย (path condition) แปลว่า ปัจจัยโดยเป็นมรรค หมายความว่า มรรคก็คือการปฏิบัติ เหตุที่เรารู้ถูกแต่ปฏิบัติผิดก็ไม่ได้ผลอยู่ดี รู้ถูกปฏิบัติถูกก็มี

มีไหม?ปฏิบัติถูกแต่รู้ผิด ไม่มี เพราะว่ายากมาก เพราะว่าเราเป็นนายจิต เขาเป็นนายธรรม ตัวนี้จะยากมาก เช่น เรามีความเห็นผิดแต่ปฏิบัติไปเพราะอาจารยสั่งถึงทำตามครูบาอาจารย์แต่กลายเป็นถูก เขาก็ไม่ผิด เพราะปฏิบัติครูบาอาจารย์ก็แสดงว่าถูกแล้ว เดี๋ยวความคิดก็เปลี่ยนไปตามครูบาอาจารย์ ถ้าไม่อย่างนั้นเขาก็ไม่ทำ เป็นตรรกะ เราสร้างเองไม่ได้ ไม่ใช่ตรรกะของเราแต่มันเป็นความจริง เพราะเขายอมทำเดี๋ยวก็เปลี่ยน แต่พอยอมทำเดี๋ยวก็ซึ้ง แรกๆก็ขัดขืน

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย (association condition) แปลว่า ปัจจัยโดยประกอบกัน หมายความว่า สืบเนื่องกัน ไม่ใช่หนึ่งเหตุปัจจัยแต่เป็นหลายปัจจัย เช่น ตีเราเจ็บ พอเราเจ็บเราก็จะยัวะเขา มันเป็นเหตุปัจจัยร่วม ทำไมตรงนี้เจ็บก็เพราะว่าเราเจ็บอยู่แล้ว เช่น เราตีตรงนี้ เผอิญว่าตรงนี้เป็นแผลอยู่แล้ว เป็นปัจจัยร่วม

แล้วจะแตกต่างจากปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกันไหม? ก็แตกต่างกัน เหตุปัจจัยประกอบกันก็คือเอามารวมกัน แต่อย่างนั้นเป็นการอาศัยกันไม่ได้รวมกัน มาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกัน

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย (dissociation condition) แปลว่า ปัจจัยโดยแยกต่างหากกัน หมายความว่า ดูแล้วเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน แต่เกี่ยวข้องกัน เช่น บุคคลคนนี้เป็นคนเจ้าอารมณ์ชอบใช้อำนาจ แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องของเขา แต่มันมาเกี่ยวกับเรื่องของคนอื่น ด้วยนิสัยของเขาทำให้อีกคนหนึ่งเดือดร้อน เช่น ผู้หญิงอยากให้สูบบุหรี่เบาๆ หน่อย หรือเลิกสูบไปเลย ชอบบ่นเรื่องการสูบบุหรี่ และเขาชอบใช้อำนาจอยู่นั่น กลับทำให้ผู้ชายดูดบุหรี่มากขึ้นโดยที่เจ้าตายไม่รู้ เหตุตรงนี้ทำให้เขาสูบบุหรี่มากขึ้น ผลักดันให้เป็นมากขึ้น แทนที่สูบบุหรี่ ๓ มวนก็พอแล้ว แต่แรงประชดทำให้สูบ ๑๐ มวน เป็นต้น ประชดอะไร ประชดตัวที่ออกทำสั่ง ใช้อำนาจ

๒๑. อัตถิปัจจัย (presence condition) แปลว่า ปัจจัยโดย[ต้อง]มีอยู่ หมายความว่า คำว่ามีอยู่ หมายถึง เขามีนิสัยอยู่แล้ว กับนิสัยยังไม่มีเข้ามาจรเข้ามา เหมือนกับว่า สีก้นถังเรามีอยู่แล้ว แต่ว่ามีสิ่งที่จรเข้ามาก็คือ เราเอาสีอย่างอื่นเทใส่เข้าไป สีที่มีอยู่ถืออัตถิปัจจัย ส่วนสีจรเข้ามาคือนัตถิปัจจัย หมายถึง เหตุที่มีอยู่ กับเหตุที่จรเข้ามา

๒๒. นัตถิปัจจัย (absence condition) แปลว่า ปัจจัยโดย[ต้อง]ไม่มีอยู่ หมายความว่า เหตุที่จรเข้ามา เช่น เขาไม่ได้มีนิสัยเป็นขโมย แต่เพราะว่าในภาวะนั้นเขาหิวมาก จึงไปลักขโมยของเขา

๒๓. วิคตปัจจัย (disappearance condition) แปลว่า ปัจจัยโดย[ต้อง]ปราศไป หมายความว่า สิ่งที่จากไป เช่น เมียเราจากไปแล้ว หรือตายไปแล้ว เราซึมเศร้า

๒๔. อวิคตปัจจัย (non-disappearance condition) แปลว่า ปัจจัยโดย[ต้อง]ไม่ปราศไป หมายความว่า เวลานี้เมียมีชีวิตอยู่แต่ขี้บ่นมาก เราไม่อยากเอาเมียคนนี้เลย คือ ไม่ไปสักที ยังมาคงอยู่ตรงนี้อยู่เรื่อย

วิคตปัจจัยจากไปแล้วทำให้เราคิดถึง แต่อวิคตปัจจัยคงอยู่แล้วทำให้เราเป็นนั่นนี่ เช่น โมโห เบื่อ ฯลฯ

อวิคตปัจจัย คือ อยู่ทำให้เราเป็นเหตุเช่นนี้ วิคตปัจจัย คือ ไปแล้วทำให้เราเป็นเหตุเช่นนี้

ข้อท้ายนี้เข้าใจยาก ร้อยคนจะมีคนประมาณ ๑๐ คน เข้าใจสำนวนรู้เรื่อง เป็นสำนวนโวหาร โวหารเกินมิติภูมิทั่วไปฟังไม่รู้เรื่อง นอกจากต้องไปจบบัณฑิตมา หรือจบอภิธรรมมาถึงจะมาแปลโวหารได้

ภูมิทั่วไปอย่างนี้ก็ได้แล้ว แต่ถ้าเรามาตอบอย่างละเอียดภูมิต้องเป็นดอกบัวเหล่าที่ ๔ มันน้อย ภูมิต่ำ ๑ และ ๒ มันเยอะ เป็นปัญหาทำให้ภูมิที่เหล่า ๑ และ ๒ ขี้เกียจฟัง ขี้เกียจปฏิบัติ เพราะฟังแล้วไม่รู้เรื่องแต่คนกลุ่ม ๑ และ ๒ กลับเยอะกว่า แต่เราทำไมไม่มาสอนกลุ่มภูมิ ๑ และ ๒ ไปอธิบายตามภูมิเหล่าที่ ๔ แล้วคนมันน้อย นี่แหละเป็นตัวปัญหาว่าจะเอายังไง ต้องสรุปว่าต้องแปล ดึงลงมาให้เป็นภาษาชาวบ้านให้คนทั่วไปได้เข้าใจ

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   




 6,465 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย