คำพูดยังไงให้ภูมิปัญญาดอกบัว ๔ เหล่าเข้าใจ "อุเบกขา"


คำพูดยังไงให้ภูมิปัญญาดอกบัว ๔ เหล่าเข้าใจ "อุเบกขา"

เราจะพูดยังไงให้กับบุคคลที่มีภูมิปัญญาแตกต่างกันเข้าใจคำว่า "อุเบกขา" พระพุทธองค์ทรงเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า ฉะนั้น จึงใช้คำพูดเหล่านี้จะทำให้ดอกบัวเหล่านั้นๆ ที่มีภูมิปัญญาระดับนั้นๆ ของบุคคลประเภทนั้นเข้าใจข้อธรรม "อุเบกขา" ได้ง่าย ปฏิบัติถูกต้อง ดังนี้

ดอกบัวเหล่าที่ ๑ "ช่างหัวมัน"

ดอกบัวเหล่าที่ ๒ "เต็มที่แล้ว ไม่ไหวก็ต้องปล่อย"

ดอกบัวเหล่าที่ ๓ "เหลือเกินกำลังก็ต้องยอม"

ดอกบัวเหล่าที่ ๔ "ปล่อยไปตามภาวะแห่งธรรม"

อรรถาธิบายว่า อุเบกเขา (equanimity; neutrality; poise) คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความเห็นทิฏฐิของตนและในการปล่อยวางสิ่งต่างๆ ย่อมให้เห็นเป็นไปตามวิถีแห่งธรรม ไม่มีอคติ มีความยุติธรรม และปัญญาที่รู้เข้าใจธรรมชาติ ยอมรับความเป็นจริงเป็นไปตามวิถีแห่งธรรมนั้นๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่นตามธรรมที่เราต้องการให้เป็นอยู่หรือเป็นไป

เราทำดีแล้วมีคนชมเราดีอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเราหลงใหลกับคำชื่นชมเหล่านั้นไม่ชื่อว่าอุเบกขา

ธรรมที่ใกล้เคียงกับอุเบกขา คือ อัญญาณุเบกขา คือ เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย

ธรรมที่ตรงข้ามกับอุเบกขา คือ ราคะ ใฝ่หาที่จะมาสนองอารมณ์ตนเอง คือ ปฏิฆะ คือ ชอบใจและขัดใจ

เข้าใจธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามธรรม ธรรมชาติของธรรมเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องปกติธรรมดา ฉะนั้นเราจึงต้องไปทำกิจของตนโดยธรรม กำหนดจิตของเราให้เป็นไปตามวิถีแห่งธรรม โดยธรรม

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์   

7,532







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย