ตอบปัญหาเพื่อความเข้าใจในสมาธิ ๘ ข้อ


<
ตอบปัญหาเพื่อความเข้าใจในสมาธิ ๘ ข้อ

๑. อะไรชื่อว่าสมาธิ?

"สมาธิ" คือ มีตัวมุ่งมั่นอยู่จุดใดจุดหนึ่ง หรือกรรมใดกรรมหนึ่ง ไม่วิ่งไปวิ่งมา สามารถอยู่กรรมใดกรรมหนึ่ง

๒. ที่ชื่อว่าสมาธิเพราะว่าอะไร?

ที่ชื่อว่า "สมาธิ" เพราะว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ซี้ซัวเคลื่อน สามารถบริหารควบคุมได้

๓. อะไรเป็นลักษณะของสมาธิ? เป็นรส, เป็นอาการปรากฏ และเป็นปทัฏฐานของสมาธิ

"ลักษณะของสมาธิ" คือ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วิ่งไปวิ่งมา ไม่เคลื่อนย้ายจากจุดใดจุดหนึ่งไปที่อื่น สามารถดำรงอยู่จุดใดจุดหนึ่งตามที่เราหมายกำหนดได้

"รสของสมาธิ" คือ
๑. ความนิ่ง
๒. ไม่ฟุ้งซ่าน
๓. ความอยู่ของความมั่นคง
๔. จดจ่อได้

"อาการที่ปรากฏของสมาธิ" คือ ๑. จดจ่อ ไม่เคลื่อน และจิตรับรู้อยู่ตลอด

"ปทัฏฐานของสมาธิ" คือ ต้องอยู่ในเกณฑ์ไม่เคลื่อน ไม่ฟุ้งซ่าน

๔. สมาธิมีกี่อย่าง?

สมาธิ มี ๓ อย่าง คือ

๑. สมาธิที่อยู่ คือ จะต้องนิ่ง

๒. สมาธิที่เคลื่อน คือ เราเดิน หรือทำงานอยู่ก็มีสมาธิ

๓. สมาธิที่ฉับพลัน ไหวไปมา คือ สมมติว่า เวลานี้ของตกเราหยิบปั้บ นี่แหละสมาธิฉับพลัน มีเหตุแล้วไม่ใช่ตกใจเตลิด แต่เรามีสมาธิ ไม่มีการตระหนกตกใจ

๕. อะไรเป็นความเศร้างหมองของสมาธิ?

ความเศร้าหมองสมาธิ คือ เพราะเราไปตั้งความหวัง หรือตั้งความปรารถนาอะไรเกินควร บางคนก็จะบอกว่าทำไมสมาธิไม่ถึงสักที เวลาเรานั่งสมาธิก็ต้องตั้งความหวังให้พอดีควร ด้วยสันโดษ อย่าละโมบ

๖. อะไรเป็นความผ่องแผ้วของสมาธิ?
คือ ถ้าเรารู้ว่าเรานั่งสมาธิแบบสันโดษ ไม่ตั้งความหวังเกินควร มีความสุข มีปราโมทย์ เราก็จะมีจิตผ่องแผ้ว

๗. สมาธินั้น จะพึงเจริญภาวนาอย่างไร?
คือ ถ้าหากว่าเราเจริญด้วยความเข้าใจ สันโดษ ปราโมทย์ ก็จะเกิดผล ผลนี้ก็จะส่งเสริมตัวนี้ไหม? พอเรามีตัวนี้ มีเป้าหมาย มีกำลัง ก็จะเจริญขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่า ถ้าเราทำแล้วเห็นผล เกิดความปราโมทย์ เราก็จะทำยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ก็จะเจริญขึ้นเรื่อยๆ

๘. อะไรเป็นอานิสงส์ของสมาธิ ?
คือ มีความตั้งใจมุ่งมั่นให้สิ่งนั้นๆ สำเร็จ

จากพระพุทธโฆษาจารย์. ๒๕๕๑. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด, ๑๓๓.

^_^ ..._/_... ^_^

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์

เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต   




 6,407 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย