"เหตุ" มี ๕ ขั้นตอน
"เหตุ" มี ๕ ขั้นตอน
๑. ขั้นปฐมเหตุ คือ เหตุในธรรม เช่น เรามีไฟ ไปเผากระดาษ ไฟต้องติดแน่ หรือน้ำมันก็ต้องติดไฟ เป็นต้น
๒. เหตุอันเนื่องจากปฐมเหตุ คือ สมมติว่าตรงนี้มีไฟ เหตุอันเนื่อง ไฟกับน้ำมันมาเจอกัน ไฟก็ต้องลุกแรงขึ้น ขั้นที่ ๑ มีเหตุอยู่แล้วแต่ยังไม่มาสปาร์คกัน ยังไม่มาเจอกัน แต่มีเหตุอยู่แล้ว พอขั้นที่ ๒ มาเจอกันแล้ว ปฏิเวธแล้ว เป็นผลแล้ว
๓. ฐานเหตุ คือ ทั้งข้อ ๒ รวมกัน กลายเป็น ฐานเหตุ ที่จะส่งผลได้ คือ การไหม้ต่างๆ ก็จะกลายเป็นฐานเหตุ พอเราจุดไฟปั้บก็จะกลายเป็นข้อ ๓ ที่จะสามารถลุกลามได้ ที่จะส่งผลให้สูงขึ้นไปได้
ยกตัวอย่าง สมมติว่า "ระเบิด" ข้อที่ ๑ มีดินประสิว มีไฟ ข้อที่ ๒ เอาดินประสิวกับไฟมารวมกัน ผสมรวมกัน ข้อที่ ๓ จุดเกิดระเบิด และจะลามได้ สมมติว่าระเบิดตุ้ม สะเกิดระเบิดไปถูกที่อื่นทำให้เกิดการไหม้อีกก็ได้ ก็จะกลายเป็นข้อที่ ๔ ปัจจัยเหตุที่เข้ามาร่วมได้ ทำให้ใหญ่ ทำให้ลามขึ้นมาได้ ถ้าเป็นข้อที่ ๕ กะว่าจะเอาน้ำมารด แต่ดันเอาน้ำมันมารดก็จะยิ่งไปใหญ่ แต่ถ้าเราเอาน้ำมาราด ผลก็จะลดลง
๔. ปัจจัยเหตุที่เข้ามาร่วม คือ ลามขึ้นมา ผลของเหตุนั้นกว้างใหญ่ขึ้น ลุกช่วงกว่าเดิม
๕. ปัจจัยเหตุที่เข้ามาเสริม คือ เช่นตรงนี้ไฟไหม้ แต่ดันเอาน้ำมันมาราดไฟก็ยิ่งลุก
เราโมโห แต่ดันไปเตะถูกสิ่งนั้นเราก็ยิ่งโมโหขึ้นมาอีก
พอเรารู้เหตุ ๕ ขัั้นตอน เราสามารถระงับเหตุได้
นี่แหละ เป็นที่มาว่า ทำยังไงเวลาเกิดอาการโมโหแล้วแก้ไม่ได้ เวลาเกิดสิ่งที่ไม่ดีแล้วแก้ไม่ได้ เพราะเราไม่เข้าใจเหตุทั้ง ๕ ขั้นตอนนี้เอง
เรารู้เหตุ ถึงจะควบคุมเหตุได้ ถ้าเราไม่รู้เหตุเราบริหารไม่ได้ เราจะต้องมีปัญญาเข้าใจเหตุ ถ้าเราไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ใช้วิธีการผิดเหตุนั้นก็ยิ่งรุนแรง
ถ้าเราเข้าใจถ่องแท้เราจะไม่สุดโต่ง แต่เราจะมีวิธีแก้ มีวิธีบริหารได้
ถ่องแท้ ก็คือ เข้าใจรู้ว่าสิ่งนี้คืออะไร ต้องเอาอะไรใส่ สิ่งนั้นถึงจะเจือจางลง
ฉะนั้น เราจะไปบริหารไม่ให้เกิดเหตุเป็นไปไม่ได้ แต่เราจะบริหารไม่ให้เหตุส่งผลรุนแรงยังไง
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้.
^_^ ..._/_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต