หลักแก้กรรม


<
หลักแก้กรรม

ไม่ว่าคุณอยู่ศาสนาไหน หรือไม่มีศาสนา ก็ต้องมีกรรม เพราะกรรมเป็นของธรรมชาติ ไม่ขึ้นกับศาสนา ควรเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง จะได้ไม่เดือดร้อน วุ่นวาย

"กรรม" แปลว่า "การกระทำ" มีอยู่ ๒ ความหมาย

๑) กรรมที่เป็นกิริยา

๒) ผลแห่งกรรม

๑. กรรมที่เป็นกิริยา ต้องรู้เท่าทันกรรม มีสติสัมปชัญญะ รู้จักพิจารณากรรม ๕ (๑) ทำทำไม ๒) ทำไมถึงทำ ๓) ผลขณะกรรมทำ ๔) ผลที่ตามมา ๕) ผลที่แท้จริง)
พิจารณาวิบาก ๗ (๑) ชอบธรรม ๒) สมควร ๓) เหมาะสม ๔) บุคคล ๕) สถานที่ ๖)เหตุการณ์ ๗) กาลเวลา) ว่าควรทำหรือไม่ควรทำ ทำแล้วยุติได้ไหม?

๒. ผลแห่งกรรม กรรมที่สำเร็จเป็นผลแล้ว ต้องบริหารกรรม หาวิธีการแก้ไข ด้วยการแก้กรรม สำนึกผิด ยอมรับผิด ขอขมา เจรจาขอชดเชย ทำคุณไถ่โทษ ด้วยการทำบุญสร้างกุศล จึงมีสิทธิ์ขอรับการให้อภัย ให้อโหสิกรรม

การแก้กรรม คือ แก้ไข เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จริต นิสัย ที่ไม่ถูกต้อง เป็นมิจฉา ให้เป็นสัมมา ถูกต้องตามธรรม และไม่ก่อกรรมเช่นนั้นอีก
แก้กรรมที่เหตุแห่งวิบาก ไม่ใช่แก้ที่ผลกรรม คือ ไม่ใช่ยกเลิก ไม่ใช่แก้กรรมที่เคยก่อมาแล้วในอดีต เพราะอดีตเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ผลกรรมปัจจุบัน สืบเนื่องมาจากเหตุวิบากในอดีต

จะให้ผลกรรมปัจจุบันอันเนื่องมาจากเหตุในอดีตเปลี่ยนแปลงดี ต้องสร้างเหตุดี สร้างบุญกุศล ณ ปัจจุบันนี้ ส่งให้กับเจ้ากรรม เหตุวิบากที่จองเวร เปลี่ยนมาเป็นสัญญาอโหสิ ไม่เอาเรื่อง ผลกรรมปัจจุบันจึงจะเปลี่ยนไปในทางดี   




 6,888 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย