แก้ตัว แก้ต่าง - หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว

Dargonfly

<
ฟังแล้วก็เหนื่อย...คนอ่าน คนอ่านคนฟังเหนื่อย
เหมือนกับวิ่งอ่านเหมือนกับเดินอ่าน
พยายามอ่านให้มันตกวรรค อ่านให้มันได้ประโยค
ฝึกไปเรื่อย ๆ ที่กล่าวนิก็เพื่อให้เป็นข้อปฏิบัตินั้นแหละ
การอ่านไม่ตกวรรค การเน้นคำที่ไม่ควรเน้น
มันทำให้ผู้ฟังจับใจความลำบาก
ยิ่งเป็นภาษาพระวินัย ซึ่งเป็นภาษาที่เป็นข้อบังคับ
จำกัดเฉพาะแต่ละคำแต่ละศัพท์จะมีความหมายอยู่ในตัว
ของคำศัพท์นั้น ๆ ถ้าเราอ่านไม่ตกวรรค
ก็จะทำให้เกิดความเสียหายทางอรรถรส
ทางเนื้อหาสาระของธรรมะ ก็เรียกว่าคำพูดไม่สละสลวย
ก็เป็นวรรคเป็นตอน ชื่อของวัดชื่อของพระพุทธเจ้า
ชื่อของบุคคลต่าง ๆ บางทีมันเป็นคำศัพท์สแลงไปพูด
ก็จะทำให้คนฟังคิดเป็นเรื่องตลกไป เหมือนโฆษกที่อ่านชื่อวัดไม่จบ
ที่เขาเคยพูดว่าวัด วัดหิรัญรู...........จีกรุงเทพมหานครฯ
จริง ๆ ก็คือวัดหิรัญรูจี แต่คนพูดโฆษกพูดไปหยุดตรงวัดหิรัญรูจี
กรุงเทพมหานครฯ คนฟังก็ขำ ๆ ไปในตัว
ฉะนั้นคนฟังเหนื่อยเสียงดี แต่อ่านยังไม่ตกวรรคก็พยายามเรื่อยไป

นัยของพระธรรมเทศนานั้น เกี่ยวเนื่องกับข้อปฏิบัติที่คล้าย ๆ กับ
สิกขาบท ก่อน ๆ แต่ว่า เกี่ยวเนื่องกับนางภิกษุณี
ที่ก่อให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องบัญญัติ
เพื่อเป็นข้อปฏิบัติควบคุมบังคับ ในกลุ่มในบริษัทของพระพุทธเจ้าเอง
อย่างกรณีที่เขาตำหนิชาวบ้านเขาตำหนิ เพียงข้อตำหนิเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น
ถ้าเป็นปัจจุบันนี้เราก็แก้ต่างได้ หรือว่าแก้ตัวได้ อ้างได้ก็สารพัดอย่างแหละ
แต่นั้นไม่ใช่จุดประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำพร่ำสอนสาวกของพระองค์
ให้ปฏิบัติเช่นนั้น เพราะว่าสมณะชีพราหมณ์อยู่ได้เพราะศรัทธา
เราเลี้ยงชีพอยู่ได้เพราะศรัทธา เราดำรงชีพของสมณะชีพรหามณ์นี้
โดยอาศัยเครื่องนุ่งห่ม อาหารบิณฑบาตที่อยู่อาศัย
ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ หรือเรียกว่า ปัจจัย 4 นั้นแหละด้วยศรัทธา
ฉะนั้นสิ่งใดก็ตามเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มันก่อให้เกิดข้อตำหนิ คือเสื่อมศรัทธา
ดังนัยของข้อบัญญัติ 10ประการ หรือข้อตำหนิ ที่พระพุทธองค์
จะทรงตำหนิว่าการกระทำเช่นนี้ ไม่ก่อให้เกิดความเลื่อมใสกับผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
ก่อให้เสียความเลื่อมใส กับบุคคลผู้ที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ดังนั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีข้อตำหนิเกิดขึ้น จึงไม่ควรจะให้มี
ท่านจึงระมัดระวังมาก อาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทรงบัญญัติขึ้นมา
เราจะเห็นได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติสำหรับสาวกของพระองค์ทั้งนั้น
คือไม่ได้ให้ย้อนไปแก้ต่าง ไม่ได้ย้อนให้ไปแก้ตัว แต่ประการใด
นี่จึงเป็นเครื่องบ่งบอกให้เห็นว่า ถ้าเราจะไปแก้ตัวถ้าเราจะไปแก้ต่าง
ก็จะเป็นเรื่องก่อให้เกิดการขัดแย้ง เกิดการทะเลาะวิวาท บาดหมาง
ก็ทำให้แสวงหาหมู่แสวงหาพวก หรือแสวงหาคำพูดเพื่อที่จะเอาชนะซึ่งกันและกัน
ก็กลายเป็นการเสียเวลาเปล่า กับการเจริญสมณะธรรม
เราจะเห็นได้ว่าการบัญญัติพระวินัยแต่ละข้อ แต่ละข้อ ที่ทรงบัญญัตินั้น
จะไม่ไปหวนถึงว่าคนที่กล่าวนั้นเขาเป็นใครเขากล่าวอย่างไร ทำไมถึงไม่โต้ตอบ
ทำไมถึงไม่แก้ต่าง ไม่มีข้อแนะนำจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ประการใด
คือให้รับฟังได้ ว่าเขาสรรเสริญก็ให้รับฟังได้ เขานินทาก็ให้รับฟังได้ แต่ให้แก้ไขอยู่ที่ตัวเรา
เขาสรรเสริญเราดีอย่างที่เขาสรรเสริญไหม ถ้าดี ก็รักษาไว้
แต่ถ้าไม่ดีเราก็พยายามปรับปรุงตัวของเราให้ดี
แต่ถ้าหากว่าเขานินทา ถ้าเราเป็นเช่นนั้นจริง เราก็ต้องปรับปรุงตัวเรา
ไม่ได้หมายถึงว่า ไปโต้ตอบเพื่อที่จะเอาชนะ แต่ถ้าหากว่ามันไม่เป็นจริง
เราค่อยหาโอกาสอธิบาย ชี้แจงไม่ใช่ไปโต้ตอบถกเถียงทันที นี่แหละคือหลัก
ประพฤติปฏิบัติตามนัยธรรมที่พระพุทธองค์วางเป็นบรรทัดฐานไว้
เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงประธาน โอวาทปาฏิโมกข์
ในคาถาที่ 3 ในประโยคที่ว่า
อนูปวาโท อนูปฆาโต
ผู้เป็นบรรพชิตเป็นนักบวชเป็นสมณะชีพราหมณ์
หรือรวมเรียกว่าผู้เป็นพุทธมามกะ พุทธศาสนิกชน
อนูปวาโท ก็คือไม่เข้าไปว่าร้ายใคร
อนูปฆาโต ก็คือไม่เข้าไปเบียดเบียนฆ่าทำลายใคร
นี่ ๆ นี้คือหลักอันสำคัญที่พระพุทธองค์วาง เป็นบรรทัดฐานไว้
ว่านี่คือหลักของพระพุทธศาสนา ฉะนั้นพระพุทธศาสนา
แม้จะถูกเบียดเบียนถูกทำลาย ถูกเข่นฆ่ารูปแบบต่าง ๆ ก็แล้วแต่
การที่จะโต้ตอบการที่จะยกอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นมาต่อสู้นั้น
ไม่มีในคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย มีแต่ให้อภัย มีแต่ยกโทษให้
มีแต่หลีกเลี่ยงหลบหลีกหนีเพื่อให้รอดพ้นจากการปะทะ
หาอุบายวิธีในการที่จะโต้ตอบด้วย การพูดให้เกิดความเข้าใจ
ให้เกิดความปราถนาดี หรือให้เขาลดละความโลภความโกรธความเกลียดลงไปเท่านั้น
ไม่ได้ให้โต้ตอบว่าเขายิงมาเราก็ยิงไปเขาด่ามาเราก็ด่าไป
นี่ไม่มีในพระพุทธศาสนา แต่ถ้าเอาไปเทียบในทางโลกก็อาจจะเป็นจุดอ่อน
ให้คนอื่นศาสนาอื่น หรือลัทธิอื่น เอารัดเอาเปรียบหรือข่มขู่
หรือบังคับเขี้ยวเขน หรือทำอันตรายได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
ถ้าหากว่าเรายึดหลักของธรรมว่าเป็นบรรทัดฐานแล้ว
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ตรัสไว้ข้อสุดท้ายว่า
จงสละชีวิตเพื่อรักษาธรรมะ หมายถึงว่า อย่าไปโต้ตอบเบียดเบียน
บุคคลอื่นที่ด่าเรา ว่าเราเบียดเบียนเรา แม้ชีวิตก็ยอมสละได้
เพื่อไม่ให้ความโกรธ ความเกลียดหรือการกระทำที่เป็นบาปจากมือของเรา
เกิดขึ้นจากมือของเรา เพราะความโกรธเกลียดนั้น อันนี้เป็นข้อธรรมที่สูงสุดนะ

ฉะนั้นในหลักธรรมต่าง ๆ ที่พระพุทธองค์ วางเป็นข้อปฏิบัติไว้นิ
เรานึกถึงพระเมตตาการุณของพระพุทธองค์ที่มีต่อคนอื่นด้วย
แม้จะกระทบต่อสาวกของพระองค์มากมายสักเพียงใดก็ตาม
พระองค์ก็ให้อดทน เพราะเป้าหมายของเราไม่ได้เป้าหมายอยู่ที่การที่จะเอาชนะ
คนโน้นคนนี้ เป้าหมายของเราก็เพื่อที่จะประพฤติปฏิบัติเพื่อลดละ
ความโกรธความโลภความหลงในจิตสันดานของเรา
สิ่งที่เกิดขึ้นถ้าหากว่าเราไม่มีเวรไม่มีกรรม
หรือว่าเป็นบาปเป็นกรรมที่เราเคยกระทำไว้ก่อน ถึงอย่างไรมันก็ไม่เกิดขึ้น
กับเราอย่างแน่นอน แต่เหตุที่มันเกิดขึ้น ก็เพราะมีเหตุที่ก่อให้เกิดผลนั้นเอง

ส่วนข้อปฏิบัติที่ท่านกล่าวถึงพระวินัยที่ว่า ชักชวนกันนั่งเรือ
แต่ในอรรถกถากลับมาขยายความว่าเป็นการนั่งเล่น
แล้วยังขยายความต่อไปอีกว่า เว้นไว้แต่ข้ามฟากอันนี้พระบัญญัติ
แต่ว่าข้ามทะเลไม่เป็นไร โน้น...ออกทะเลหลวงไปเลย
(อันนี้ก็ต้องเอามาเป็นข้อพิจารณา)
จะไปเอาเป็นข้ออ้างว่าไม่ได้ข้าม ไม่ได้นั่งในน้ำในคลองในบึง
เป็นทะเล เอาเป็นข้ออ้างอย่างนี้ก็ตามอรรถกถาก็ไม่ดีไม่ถูกเหมือนกัน
ก็ถือว่า การไปในลักษณะเหมือนกับการเดินทางนั้นแหละ
ถือว่าเป็นข้อไม่สวยงาม ไม่สวยงามสำหรับบรรพชิต กับมาตุคาม
หรือบรรพชิตกับนักบวชที่เป็นผู้หญิงผู้ชาย ล้วนแล้วแต่ไม่สวยงามทั้งนั้น
เป็นบ่อเกิดของข้อครหา แม้จะไม่มีเจตนาก็ตาม
ก็ถือว่าไม่เหมาะไม่ควรทั้งนั้น เราต้องนึกถึงต้นพระบาลีจริง ๆ นะ
อรรถกถาอาจจะอธิบายขยายมากเกินไป จนทำให้การปฏิบัติอาจจะเป็นข้อหละหลวมไปก็ได้
อันนี้ก็พึงระวัง ฉะนั้นต้องยึดต้นตอ ต้นตอที่เขาพูด
อย่างชาวบ้านที่เขาพูดว่า พวกเราหนุ่มสาวหรือสามีภรรยา
ชวนกันนั่งเรือไปในแม่น้ำฉันใด สมณะศากยบุตร หมายถึงลูกศิษย์ของพระสมณะโคดม
ก็ทำไม่แตกต่างจากที่เราทำ นั้น
เพียงแค่นี้ ไม่ได้หมายถึงว่ากล่าวด้วยความเสียหายอย่างอื่นนะ
ตำหนิเพียงแต่ว่าไม่เหมาะไม่ควรเท่านั้นเอง
พระพุทธเจ้า เมื่อได้รับทราบจากที่ภิกษุกราบทูล
ก็นำมาเป็นข้อบัญญัติเลยให้พึงพากันระมัดระวัง
คนที่ตำหนินั้นก็หมายถึง คนที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใสเอามาเป็นข้อตำหนิได้
ถ้าคนศรัทธาคนเลื่อมใสหรือว่า รู้จักมักคุ้นกัน
ก็อาจจะมองในแง่ว่า เออ....ท่านอาจจะจำเป็น
เพราะว่าไม่มีเรือไม่มียานอย่างอื่น
แต่อาจจะมีธุระสำคัญเช่นนั้นเช่นนี้
เนี้ยอันนี้คือคน คนที่มองในแง่ดี ก็จะไม่ได้ยกโทษอะไร
ก็คิดไปในทางดี พูดไปในทางดี แต่คนที่มองในแง่ไม่ดี
ก็จะพูดจะคิดไปในทางที่ไม่ดี เพื่อเป็นการป้องกันอีกอันหนึ่ง
ก็คือเพื่อให้คนที่คิดไม่ดีนั้นเป็นบาปต่อไป
อันนี้สำคัญนะ สำคัญอย่างไรก็หมายถึงว่า
คนที่คิดดี ก็ดีไปแหละ แต่ถ้าคนที่คิดไม่ดีนิ จะเป็นบาปกับเขาต่อไปข้างหน้า
นิฉะนั้นพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นมาเพื่อกันไม่ให้คนชั่ว
คนเป็นมิจฉาทิฐิ หรือคนที่มีจิตไม่หมดจดสะอาดกล่าวตำหนิได้
เป็นบาปกับเขา เหมือนอย่างที่พระพุทธองค์ ทรงพิจารณา
ตอนเริ่มต้นที่พระองค์จะทรงประกาศพระศาสนา นั้น

ที่ว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นธรรมขั้นละเอียด
แต่ว่ามวลมนุษยชาติทั้งหลายนี้เป็นคนมีจิตใจสกปรก
ถ้าพูดว่าสกปรกอันนี้อาจจะโกรธใช่ไหม
แต่พระองค์ก็ว่า มวลมนุษยชาติทั้งหลาย เป็นผู้มีมากด้วยอาลัย
มากด้วยเสน่ห์หามากด้วยกิเลสตัณหา
อันนั้นแหละ ถ้าพระองค์แสดงธรรมออกไปพวกเขาเหล่านี้จะค้านหมดเลย
จะค้านทั้งนั้นเลย พอค้านก็ไม่ใช่ค้านธรรมดานะ
อาจจะมองว่าหมอนี้มันเป็นบ้าไปแล้ว นะสอนคนให้ดูทุกข์
สอนคนให้มองเหตุแห่งทุกข์ ที่ไหนเขาจะสอนกันให้ทำมาค้าขาย
ทำมาหากิน สร้างบ้านแปลงเมือง ทำไรไถ่นา
มีการซื้อการขาย รักสมัครสมานซึ่งกันและกันสร้างบ้านแปลงเมือง
ออกแม่แผ่ลูก ไอ้หมดนี่นั้นสอนให้คนลดละความโลภความโกรธความหลง
เนี้ย เขาก็จะมองว่านี่ชักจะไม่ค่อยดีแล้ว อันนี้คือคนไม่เข้าใจ
คนไม่เข้าใจก็คือมองในแง่นี้
ฉะนั้นพระพุทธองค์ จึงทรงพระดำริว่า
ถ้าแสดงธรรมออกไป คนที่มีกิเลสหนาปัญญาน้อยก็จะมองในแง่นี้
ก็เหนื่อเปล่า เหนื่อยเปล่ายังไม่พอ
พระองค์ตรัสว่าเป็นบาปต่อเขาคนนั้น เนี้ยคือหมายถึงว่า
ไม่อยากจะให้คนเหล่านั้นเป็นบาป เพราะการพูด
สิ่งที่เขาไม่เข้าใจ พระองค์จึงทรงเลือก เลือกสรรหาบุคคลผู้ที่มีความมุ่งมั่น
ตั้งใจ ไปในการที่จะเรียนรู้ศึกษาไปประพฤติปฏิบัติ
นั้นแหละที่พระองค์ทรงเลือกอุทกดาบถ อาราลดาบส
เลือกพระโกณทัณยะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ อัสสชิ
นั้นคือทรงเลือกตามภูมิปัญญา
ของท่านเหล่านั้นเมื่อแสดงออกไปแล้ว ท่านเหล่านั้นถึงจะเข้าใจ
ถ้าไปพูดให้คนที่ไม่มีปัญญาฟัง
เขาไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจธรรมดามันยังไม่พอ เหมือนกับชัมพุกะปริพาชก
เหมือนกับอุปริพาชก ที่เจอพระพุทธเจ้า
ที่ไปเห็นพระพุทธเจ้ากำลังจะเดินทาง ไปเมืองพาราณสี
เห็นถ้าทางอาการกิริยา อากการหรือรูปพรรณสันฐานเปล่งปลั่งสวยงาม
ก็เลยถามว่าท่านเป็นใครเป็นลูกศิษย์ของใคร
ประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งคำสอนของใคร
ใครเป็นครูเป็นอาจารย์ของท่าน
พระพุทธเจ้าก็บอกว่า อะหัง สะยัมภู
ไม่รู้จะเรียกใครเป็นครูเป็นอาจารย์ เพราะรู้เองเห็นเอง
เจ้านั้นพอได้ยิน แทนที่จะเอะใจ ฉุกใจคิดขึ้นมากลับกลายเป็นดูถูกดูแคลินพระพุทธเจ้าว่า
รู้ไปคนเดียวชนะไปคนเดียวแหละ แลบลิ้นปินตา อาปากเยาะเย้ย
แล้วก็เดินหนีไป เนี้ยลักษณะอย่างนี้ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็ทรงเลือก สดับธรรมคำสอน
เมื่อพระองค์แสดงออกไปให้คิดเข้าใจ
ไม่ใช่ว่าเทศน์ตะพึดตะพือ เหมือนกับว่าพวกเราทั้งหลาย
รู้และไม่เข้าใจถึงภูมิปัญญาของผู้ฟัง
ฉะนั้นนัยของพระธรรมเทศนา
นัยของพระวินัยจึงควรเอามาเป็นข้อดิค ว่าที่พระองค์ทรบบัญญัตินั้น
เพื่อกันสาวกของพระองค์ เพื่อกันคนที่ที่คิดในทางที่ไม่ดีไม่ให้เป็นบาปด้วย
จึงทรงบัญญัติให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย เกี่ยวเนื่องกับภิกษุณีมาตุคาม
ก็ลักษณะคล้าย ๆ กันนั้นแหละ ในโอวาทวรรคนี้จะเกี่ยวเนื่องกับภิกษุณี
ส่วนในอเจลกวรรคนั้นก็จะเกี่ยวเนื่องกับมาตุคาม
แต่ปัจจุบันภิกษุณีไม่มี เราก็ต้องเอามาตุคามหมายถึงผู้หญิงมาเป็นข้อเปรียบเทียบ
ว่าที่จะก่อให้เกิดความเสียหายกับเพจสมณะอย่างไร อันนี้เป็นข้อปฏิบัติ
และในท้ายเขายังกล่าวไว้ ถึงว่าการอยู่สองต่อสองแม้ไม่ใช่สมณะชีพราหมณ์
เป็นฆาราวาสญาติโยมก็น่าเกลียดน่าตำหนิ ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียง
แม้จะไม่มีพฤติกรรมไปในทางเชิงลามกสกปรกก็ตาม ท่านก็ยังกล่าวไว้ว่าไม่ควร
เป็นหมายถึงว่า สังคมเนี้ยมันสามารถจะมองในแง่ดีแง่ร้ายได้
ท่านจึงกล่าวเป็นข้อตักเตือนไว้ว่าไม่ควร แม้จะไม่ใช่ผู้สามีภรรยา
แม้จะไม่ใช่คู่รักเป็นบุคคลที่จะเคารพนับถือ มีธุระปะปังอะไรที่จะพูดคุยกัน
แต่ถ้าหากว่าอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะไม่ควร ก็ทำให้คนอื่นนำไปเป็นข้อตำหนิได้
ฉะนั้นท่านจึงให้พากันระมัดระวัง ฉะนั้น เป็นพระท่านจึงให้มีพยาน
คำว่ามีพยานคือ ผู้รู้เห็นด้วย จึงจะเรียกว่าคุ้มครองอาบัติได้
วันนี้ก็ได้พระใหม่เพิ่มมาอีกองค์ก็พินทุอธิษฐานผ้า
เอาหนังสือนวโกวาทไปอ่านนะ มีหรือยัง อ่านให้เข้าใจพระวินัย
เราบวชเข้ามาต้องศึกษาพระวินัยเป็นเบื้องต้นให้เข้าใจ
แล้วก็พยายามประพฤติปฏิบัติ สิ่งไหนที่เป็นข้อห้ามพยายามไปละเมิด
สิ่งไหนที่เป็นข้ออนุญาติก็พยายามประพฤติตามปฏิบัติตาม
เราบวชมาแล้วก็เป็นพระแล้ว แต่ไม่ได้หมายถึงว่า บุญได้แล้วหมดจบนะ
ความหมายก็หมายถึงว่า เหมือนกับเมล็ดมะม่วงเมล็ดพืชนี่แหละ
เพิ่งเอามาปลูก ปลูกแล้วถ้าไม่รดน้ำพรวนดินมันก็ตาย เหมือนบวชเข้ามาแล้ว
ก็ไม่ประพฤติปฏิบัติข้อวัตรปฏิบัติเหมือนกับต้นไม้ที่มันไม่ได้รดน้ำไม่ได้พรวนดิน
มันก็แก่นอยู่อย่างนั้นแหละ จะบวชร้อยวันพันปีก็ไม่ได้เกิดผลอะไร
ไม่ได้กินผลสักทีแหละ เป็นไม้แคระอยู่อย่างงั้น อันนี้เขาเรียกว่า
บวชเข้ามาแล้วไม่เรียนรู้ไม่ศึกษา ไม่ประพฤติปฏิบัติ
ก็กลายเป็นต้นไม้แคระ ผลิดอกออกผลก็ไม่ได้ฉะนั้นเราต้องเรียนรู้ศึกษา
พยายามประพฤติปฏิบัติอันไหนที่ไม่จำเป็นไม่สะดวกไม่เหมาะไม่ควรกับที่เรา
เป็นเพศสมณะ จะต้องรับทราบก็ตัดออกไปก่อน เราบอกว่าเรามีเวลาจำกัด
ไม่ได้มุ่งมั่นตั้งใจเรียนรู้ศึกษามาก เอาแค่ว่าจำเป็น ๆ สำคัญ ๆ
ก็พยายามทำกิจให้มันครบ ปฏิบัติตามธรรมวินัยให้สมบูรณ์
ถึงจะเป็นบุญจะได้บุญเกิดขึ้น เราก็ได้บุญ ผู้มาเป็นอนุโมทนากับการบวชของเรา
เขาก็ได้บุญ
ก็พยายามทำกิจให้มันสมบูรณ์
ไปได้เวลาก็ไปเดินจงกรมกัน

ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
เสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 65   




 6,328 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย