นางสุปปวาสา ถวายเนื้อตนเอง - หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว

Dargonfly

<
นัยของพระธรรมเทศนา ต้นพระบัญญัติ
เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้น มันเป็นลักษณะที่คล้าย ๆ
เอามาเปรียบเทียบในยุคปัจจุบันก็ได้นะ
อย่างเช่นที่ภิกษุไปบิณฑบาตไม่ได้ เมื่อก่อนนั้นเขาก็จะมีโรงทาน
พวกเศรษฐีคฤหบดี ทำโรงทานแต่โรงทานของเขานั้นไม่ได้จำเพราะเจาะจง
กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สมณะชีพราหมณ์เดินทางไกล
คนเจ็บไข้ได้ป่วยคนพิกลพิการ คนตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้
พวกเศรษฐีทั้งหลายเขาก็จะทำทาน
ทีนี้พระผู้เป็นเจ้าเขาก็ไปบิณฑบาตบิณฑบาตที่อื่นไม่ได้
เขาก็แวะมาเขาก็ดีใจแหละพอได้แล้ว เกิดความสะดวกสบายไม่ยอมกลับวัน
คนจะดูโรงทานก็น่าจะอยู่ไกล อยู่ไกลวัด
ถือว่าได้ฉันแล้วสะดวกสบายดี ก็คงหามุมหาที่พักผ่อน
กลางวันอยู่ที่นั้นกลางคืนอยู่ที่นั้นทำนองนี้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคนอื่น ๆ ก็มีด้วย ก็เลยเกิดความเกรงใจกัน
ถ้าลัทธิอื่นศาสนาอื่นซึ่งเขาก็อาศัยการบิณฑบาตเลี้ยงชีพเหมือนกัน
พอมาเห็นพระอยู่เยอะ ๆ ไม่ยอมไปไหน ก็อาจจะมองว่าเจ้าภาพเขาศรัทธาเลื่อมใส
นิมนต์แต่พระในพุทธศาสนา ให้มาอยู่มาพักมาฉัน
พวกเราไม่ใช่นักบวชในศาสนาก็เกิดความเกรงใจเกิดความละอาย
แต่ชาวบ้านเขาไม่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น พอเห็นว่าไม่มาเขาก็ถาม
พวกนิครนถ์ พวกปริพาชกนักบวชอื่น ๆ ไม่เห็นมา
มีแต่พระคุณเจ้าลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าก็เลยทราบว่าที่ไม่มานั้นเพราะ
เกรงใจมีพระคุณเจ้าอยู่มากหรืออยู่ประจำ ตรงนี้แหละที่เขาตำหนิเป็น
ความหมายที่ว่าโรงทานที่เขาทำขึ้นมา เขาไม่ได้เจาะจง
ลัทธิใดศาสนาใดหรือบุคคลใด หมายถึงว่าให้ทั่วไปนั้นแหละ แต่เมื่อมายึดครองอย่างนี้
ก็เป็นข้อครหา ยึดครองพื้นที่คนอื่นมาก็ไม่กล้าแหละ
อาจจะอายบ้างเกรงใจบ้าง ทำนองนี้ มันก็คล้าย ๆ ที่ว่า
มันคล้าย ๆ เหมือนกับการไปภิกขาจารบิณฑบาต
ถ้าจะเปรียบเทียบในปัจจุบันก็เหมือนกับจะไปปักหลักอยู่หน้าปากซอย
ปักหลักอยู่หน้าร้านขายข้าวแกง หรือปักหลักอยู่หน้าร้านตลาดอย่างเนี้ย
ไม่ยอมไปไหน วนไปวนมาอยู่นั้นจะไปก็ไม่กล้า เกรงใจ
องค์นั้นก็ต้องหนีไปไกล ๆ ทำนองนี้อันนี้ก็คล้าย ๆ กัน อันนี้ลักษณะเหล่าภิกษุ
ทั้งหลายที่เห็นว่ามันสะดวกก็เห็นว่าไม่ไปหาที่อื่น ได้อยู่ได้กินแล้วก็สบาย
ทีนี้ที่น่าสนใจมากนะ นั้นก็คือพระสารีบุตรเถรเจ้า ผู้เป็นอัครสาวกนิ
มาที่โรงทานเหมือนกัน แต่พอดีท่านเกิดอาพาธก็ไม่สามารถที่จะเดินทางต่อไปได้
ก็เลยต้องพักอยู่ที่นั้น ชาวบ้านเขาก็ดีใจแหละ
เพราะว่าเป็นพระเถรผู้ใหญ่ เป็นถึงพระอัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ใคร ๆ ก็รู้จักใคร ๆ ก็อยากถวายอาหารการฉัน แต่ว่าพระสารีบุตร
เมื่อพระวินัยพระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว ก็ไม่อาจที่จะละเมิดพระวินัยนั้นได้
นี่ท่านเป็นพระอริยเจ้า ขั้นพระอรหันต์ แสดงให้เห็นถึงความเคารพ
ในธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศว่าภิกษุฉันอาหารที่โรงทานได้
เพียงวันเดียวห้ามฉันมากกว่านั้น พระสารีบุตรท่านก็ถือข้อปฏิบัติอันนี้แม้เขาจะนำมาถวาย
ท่านก็ไม่ฉัน จนท่านหายป่วยแล้วก็เดินทางต่อไป ท่านก็เล่าเรื่องเหล่านี้แหละ
ให้ลูกศิษย์ลูกหาท่านฟังเพื่อให้เป็นข้อคิด ให้เป็นเครื่องเตือนจิตเตือนใจ
ว่าการรักษาธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว
แม้จะมีเหตุขัดข้องสักเพียงใด ก็อย่าไปถือว่าเป็นข้อจำเป็นถ้าพระพุทธเจ้า
ยังไม่อนุญาติ นิคือข้อสำคัญต่อเมื่อภิกษุนำความนั้นไปกราบทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์จึงทรงบัญญัติเพื่มเติมเว้นภิกษุผู้อาพาธ จะไปฉันในโรงทาน
ฉันได้ครั้งเดียวนะ เขาเว้นเฉพาะผู้อาพาธไปไม่ไหว ต้องพักอยู่ที่นั้น
ที่นี้ลักษณะของความเคารพต่อพระวินัย ที่พระสารีบุตรเถระเจ้าท่านแสดงออกเนี้ย
มีหลายที่ด้วยกันนะ อย่างเช่นเมื่อมีอยู่ครั้งหนึ่งที่อาพาธเหมือนกันแหละ
อาพาธเป็นโรคท้องร่วงนี้เป็นโรงประจำของท่าน สมัยเป็นเด็กก็เป็น
โรคท้องร่วงฉันอะไรเข้าไปก็ออกมา ทีนี้ท่านอาพาธภิกษุทั้งหลายก็ไปเยี่ยมท่าน
ดูแลท่านนั้นแหละ วันหนึ่งพระโมคัลลานเถระเจ้าท่านไปเยี่ยม
พอไปเยี่ยมท่านก็เลยถามว่าโรคนี้ดูเหมือนท่านเคยเป็นตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ นิ
แล้วตอนเป็นเด็กพ่อแม่ให้ดื่มอะไร
พระสารีบุตรท่านก็เล่าให้ฟังสมัยเป็นเด็กนั้นนะ เวลาเป็นโรคอย่างเนี้ย
โยมพ่อโยมแม่นั้นก็จะต้มน้ำข้าวต้มให้ น้ำยาคู นั้นแหละ ข้าวยาคู
ต้มเอาน้ำข้าวต้มผสมเกลือหน่อย ๆ ให้ดื่ม เท่านั้นเอง
ก็หายเนาะ คือคุยกันเพราะสารีบุตรกับพระโมคัลลานะท่านเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เด็ก
อยู่บ้านเดียวกันนั้นแหละ เป็นเพื่อนกันออกบวชก็ออกบวชด้วยกัน
ได้รับการประกาศเป็นอัครสาวกซ้ายขวาของพระพุทธเจ้าก็พร้อมกัน
สั่งสมคุณงามความดีสร้างบารมีมาด้วยกัน ตั้ง ๑ อสงไขยกับอีก แสนมหากัป
ที่ปราถนาเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า
พอรุ่งเช้าก็มีคนเอาข้าวต้มมาถวายพระสารีบุตรนั้นแหละ
พระสารีบุตรท่านเห็นข้าวต้มท่านก็สงสัยนะนิ
ว่าเอ๊ะ...ข้าวต้มนิไปยังไงมายังไง ท่านก็นึกย้อนไปถึงเหตุการณ์เมื่อวาน
ที่คุยกับพระโมคัลลานะเถระเจ้า ก็เลยถามคนที่เอามาถวายนั้นหนะ
พระโมคัลลานะเถระเจ้านั้นแนะนำ แนะนำให้เอามาถวาย
พระสารีบุตรท่านไม่ฉัน ทำไมท่านถึงไม่ฉัน ทั้ง ๆ ที่ท่านก็อาพาธนิ
ท่านก็ไม่ได้ไปขอใคร พระโมคคัลลานะก็เป็นเพื่อนกันแท้ ๆ
แต่คนเอามาถวายก็ได้ยินจากพระโมคคัลลานเถระเจ้า
ท่านพูดให้ฟังก็คงจะได้ข้อคิดหรือได้แนวคิด
เอามาถวายแต่พระสารีบุตรท่านไม่ฉัน ถามว่าทำไมท่านถึงไม่ฉัน
เพราะว่าได้มาโดยกล่าวเรียบเคียงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น
ไม่ได้ขอโดยตรงแหละแต่ว่าพูดให้ฟังเล่าให้ฟัง นิคนมีปัญญานิ
พระโมคคัลลานะเถระเจ้าท่านเป็นคนมีปัญญา
ทีนี้พระสารีบุตรก็เป็นคนมีปัญญา แทนที่ท่านจะฉันท่านไม่ฉัน
เหตุที่ไม่ฉันก็ลักษณะนี้แหละว่าได้มาแล้ว ได้มาด้วยการพูดเรียบเคียง
เพื่อให้ได้มาเพื่อข้าวต้มนั้น คือท่านเล่าความเป็นไปของท่านเอง
ให้พระโมคคัลลานเถระเจ้าฟัง พอพระโมคคัลลานเถระเจ้า
ก็ไปบอกโยม หรือเล่าให้โยมฟัง โยมก็เป็นคนจัดมา ลักษณะอย่างนี้
เหมือนกับว่าเป็นการขอ ขอเหมือนกับนัยยะ พูดเพื่อให้เขาได้ข้อคิด
เพื่อให้เขาน้อมนำมา แต่ถ้ามองแบบปุถุชนก็เหมือนกับมีเจตนา
นั้นแหละ แต่ท่านพระสารีบุตรเถระเจ้า ท่านไม่มีเจตนานะ
คือเล่าให้ฟัง ว่าเป็นโรคอันนี้ที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งเป็นเด็กก็ดื่มอย่างงี้
แล้วก็หาย ที่ท่านทำเช่นนี้เพื่ออะไร นี่...
เป็นข้อที่เราเอามาเป็นข้อคิด ว่าท่านเคารพ เคารพในพระธรรมวินัย
ว่าสิ่งที่ได้มาด้วยการขอจากคนที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปาวรณา
หรือว่าพูดเรียบเคียงเพื่อให้เขา
นำมาซึ่งสิ่งที่ตนเองพึงประสงค์ แต่ถ้าพูดถึงพระสารีบุตรท่านก็ไม่พึงประสงค์แหละ
แต่ความหมาย ถึงว่าเพื่อแนะนำให้เป็นข้อคิด แนวทางปฏิบัติกับกุลบุตรลูกหลาน
ภายหลังเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่าง ไม่ให้เป็นแบบอย่างเหมือนกับพระที่ว่าป่วยแล้ว
เขาถามว่าท่านได้อะไรถึงฉันมันถึงจะหาย

ที่พระนางสุปปวาสา เป็นผู้อุปฐากพระ พระก็เลยบอกว่าถ้าได้ซุปน้ำซุปเนื้อ
น้ำซุปเนื้อดื่มก็จะดี นางสุปปวาสาถามอย่างนั้นนะ
พอถามอย่างนั้นพระท่านก็บอก เพราะนางสุปปวาสาเป็นผู้ปวารณา
พระท่านก็บอก พอพระท่านบอกนางสุปปวาสาก็
พอดีวันนั้นเป็นวันพระ หาเนื้อในตลาดไม่ได้ไม่มีการฆ่าไม่มีการขาย
ทำไงทีนี้รับปากพระไว้แล้ว ว่าจะนำมาถวายพรุ่งนี้เช้านิ
จะทำยังไง ก็เลยเอามีดมาบาดเอาเนื้อโคนขาของตัวเองนี่แหละ
มาต้มให้เป็นน้ำซุปแล้วก็เอาไปถวายพระ พระดื่มแล้วก็หาย...
หายจากโรคภัยไข้เจ็บอันนั้น ทีนี้เรื่องของเรื่องมันไม่จบอยู่แค่นั้นแหละ
พอพระพุทธเจ้ามาฉันที่บ้านของนางสุปปวาสาวันนั้น
ไม่ออกมา พระพุทธเจ้าก็สงสัยเอานางสุปปวาสาไปไหนละ
สามีก็บอกว่าเธอไม่สบาย
แล้วไม่สบายอะไร ก็ถามรายละเอียดก็เลยทราบ
นางก็เลยออกมาสารภาพกับพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าก็เลยให้พร ขอให้ปลอดภัยสวัสดีมีชัยปลอดภัยนะ
นางก็หายจากโรคที่ว่าเป็นแผลนั้นแหละ
เนื้อนั้นก็ขึ้นมาเป็นปกติ แล้วพระพุทธเจ้า ก็ถึงมาทรงบัญญัติ
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติว่าไม่ให้ภิกษุกินเนื้อมนุษย์
ที่ว่ามีมังสัง10อย่างนั้น ถ้าเนื้อมนุษย์ก็คือลักษณะอย่างนี้
อันนี้คือท่านรูปนี้ที่ท่านเอยปากบอกนั้นเพราะว่า
พระนางสุปปวาสานั้นปาวรณาไว้ แต่อย่างพระสารีบุตรเถระเจ้านิ
คนที่เอามาถวายนั้นไม่ใช่ญาติของท่าน ไม่ใช่คนที่ท่านปาวารณา
แต่ว่าเป็นการบอกผ่าน บอกผ่านก็เลยกลายเป็นเหมือนกับ
เป็นพูดเรียบเคียงเพื่อให้คนอีกคนหนึ่งไปบอกอีกคนคนหนึ่ง
ท่านจึงถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ไม่ควร เดียวกุลบุตรลูกหลานภายหลัง
จะเอาเป็นเยี่ยงอย่าง อันนี้ที่กล่าวก็เพื่อให้มองเห็นถึงความละเอียดอ่อน
ของธรรมของวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ทรงบัญญัติเพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา อย่างโรงทานที่พระคุณเจ้าไปฉันประจำนิ
อย่างเงี้ย..ก็เป็นการเบียดเบียนคนอื่น ลัทธิอื่นศาสนาอื่น
มันเป็นการเบียดเบียนเพราะเขาตำหนิ
ว่าลัทธิอื่นศาสนาอื่นไม่มา ก็เพราะว่ามีพระอยู่ประจำ
ทั้ง ๆ ที่โรงทานเขาก็เป็นโรงทานสาธารณะ ไม่ได้จำกัดเจาะจงว่าเฉพาะพระคุณเจ้า
ในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น แต่เมื่อไปอยู่ประจำอย่างนั้นก็ทำให้คนอื่นเสียประโยชน์
เสียลาภ เรียกว่าไปขัดลาภคนอื่น ก็กลายเป็นโทษ
ทำให้คนอื่นเขาเสียลาภ เขาก็ตำหนิ
พอเขาตำหนิ นิเห็นไหม ถ้าเป็นแต่พวกเราก็เรียกว่าเอย....
นิเขาให้เรามาเขานิมนต์เรามา พวกเรามีเพื่อนเยอะอยู่
ครอบครองไปเลยสบายไม่นึกถึง อกเขาอกเราแหละ
ขอให้ได้อย่างเดียวก็พอให้อิ่มอย่างเดียวก็พอไม่ได้นึกถึง หัวใจของคนอื่นแหละ
นั่น! พอเขาตำหนิเช่นนั้น มันก็เลยเป็นเรื่องที่น่าละอายว่าสมณะในพระธรรมวินัยนี้
เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ทำไมเป็นอย่างนี้
คำนี้นะ คำนี้นิเจ็บแสบมากนะ ถ้าว่าเอ๊ะ...ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า
ทำไมถึงทำอย่างนี้ โรงทานนี้เขาไม่ได้ทำไว้เพื่อเจาะจง
พระคุณเจ้านะ เป็นสาธารณะทั่วไปคนยากคนจน คนแก่ชรา
เจ็บไข้ได้ป่วยคนกำพร้าคนเดินทาง ฤาษีชีไพรปริพาชก ปริพาชิกา
พระเถรเณรชีนี้ คือไปรับได้ไปฉันได้ไปกินได้
แต่มาทำอย่างนี้ ก็ทำให้เหมือนกับยึดครอง ปักหลักทอดสมอเลย ไม่ไปไหนเลย
ถือว่ามีกินแล้ว นิ ลักษณะอย่างนี้ก็ทำให้คนอื่นเขาตำหนิ
พอตำหนิมันก็ไม่ใช่ว่าเสียหายเฉพาะสองสามองค์เท่านั้นนะ
แต่เขาพูดตำหนิไปถึงต้นตอ ต้นตอหรือเจ้าของ
เจ้าของพระ เจ้าของพระก็คือพระพุทธเจ้า
เพราะเขาบอกว่า ศากยสมณะบุตร สมณะศากยบุตร คำว่าสมณะศากยบุตร
ก็หมายถึงว่า สมณะซึ่งเป็นลูกของเจ้าศากยะ
ลูกของเจ้าศากยะก็คือลูกของพระพุทธเจ้า
ศากยะคือวงตระกูลของพระพุทธเจ้า เรียกว่าศากยวงศ์ศากยบุตร
ก็หมายถึงบุตรของศากยวงศ์ พระองค์ก็คือพระพุทธเจ้า
ศากบุตรก็คือลูกพระพุทธเจ้า ทีนี้สมณะผู้เป็นศากยบุตร
ก็คือลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ทำไมถึงทำอย่างนี้
ด่าว่าตำหนิพระ แต่กระทบถึงพระพุทธเจ้าเลย
แต่ความหมายไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าด่าไม่ได้นะ
ด่าได้พระพุทธเจ้าด่าได้ว่าได้ วิเคราะห์ได้วิจารย์
ตำหนิติเตียนได้หมดแหละ พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ห้ามว่าอย่ามากล่าว
ตำหนิติเตียนหรือว่าด่าพระองค์นั้นไม่ได้ห้าม
เพราะธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านิ
ใครจะด่าจะว่าจะเอาไปวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์พิสูตรท้าทายแบบไหนก็ได้หมด
จะดูหมิ่นดูแคลนยังไงก็ไม่มีเสีย จะเอาไปทำรูปแบบไหนก็ตาม
ไม่มีเสีย คำว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงไม่กล่าวการพิสูจน์
ไม่กลัวกับการดูถูกดูหมิ่น ไม่กลัวกับการทำร้าย
นี่คือธรรมของพระพุทธเจ้า ที่เป็นอากาลิโก
แท้จริงบริสุทธิ์หมดจดใครจะเอาไปโฆษณา ประชาสัมพันธ์
ไปซื้อไปขาย ก็แล้วแต่ ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านี้
ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอต้นเสมอปลาย
ไม่เหมือนลัทธิอื่น ศาสนาอื่นนะ เพราะว่าเป็นของจริง
พูดความจริงนิ คุณไม่เข้าใจคุณก็พูดไปในทางที่เสียได้
ก็เท่ากับว่าจิตใจของคุณเสียเองไม่ได้หมายถึงว่า
คำสอนของพระพุทธเจ้าเสีย จะบอกว่าพระพุทธเจ้า
เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ก็แล้วแต่

พระพุทธเจ้าบอกว่า
พระองค์ไม่ได้ดี เพราะสาวกสรรเสริญ
ไม่ได้ชั่วเพราะคนเขาด่า พระองค์ดีของพระองค์เอง
ไม่ได้ชั่วเหมือนอย่างที่คนนั้นว่าคนนี้ว่า
ไม่ได้ดีเหมือนกับคนนั้นยกย่องสรรเสริญ
แต่ว่าพระองค์ดีของพระองค์เอง ไม่ได้อาศัยบุคคลนั้น
มาเป็นผู้ค้ำ เป็นผู้รับรองเป็นผู้ค้ำประกัน
จะให้ด่าให้ว่ายังไง พระองค์เสมอต้นเสมอปลาย
ไม่เสียหาย จะให้ดูถูกดูหมิ่นดูแคลนไม่เสียหาย
แต่ผู้ที่พูดเองดูถูกเองดูหมิ่นเอง
นั้นแหละจิตใจของเขาทำร้ายเขาเอง
เบียดเบียนเขาเองเป็นบาปเป็นกรรมกับเขาเอง
ท่านจึงกล่าวให้ระมัดระวังไว้ว่า ติเตียนสมณะ
ติเตียนผู้มีศีลมีธรรม เรียกว่าติเตียนสมณะชีพราหมณ์
ผู้มีศีลมีธรรม เป็นบาปกรรมกับคน ๆ นั้น
คือพูดไว้เป็นข้อแนะนำ ไม่ได้หมายถึงว่าติเตียนไม่ได้
ติเตียนได้ไม่ได้ห้าม แต่ว่าที่ถูกนั้นคืออย่า...
เพราะว่ามันเป็นบาป นั้นก็เหมือนกับชั่วแหละ
ไม่ได้ห้ามว่าไม่ให้ทำนะ อยากจะทำก็ทำไปสิ
ถ้าไม่กลัวบาป ถ้าไม่กลัวเจ็บ ไม่กลัวทุกข์
เพราะว่าทำบาปแล้วมันต้องทุกข์
ถ้าไม่อยากทุกข์ก็อย่าไปทำบาป ท่านก็ห้ามลักษณะอย่างนี้
แต่เมื่อคุณไปทำ คุณก็อย่ามาบอกว่าฉันไม่ได้ห้ามนะ
ฉันห้ามแล้วฉันบอกแล้ว แต่คือคุณทำเองคุณก็ต้องได้รับผลเอง
ไม่ฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว อันนี้แหละ เป็นสัจธรรม
ฉะนั้น พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เป็นความจริง
จะให้เอาไปซื้อไปขายไปต้มไปยำไปติฉินนินทาดูหมิ่นดูแคลน
อย่างไรก็แล้วแต่ไม่มีเสื่อม หยิบยกขึ้นมาปฏิบัติเมื่อใด
ส่งผลให้เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติทันทีนะ ถ้าเป็นยาเขาเรียกว่า
ยาอำมฤทธิ์ จะให้ไปผสมอะไรจะให้ไปโยนลงส้วม
ลงเหวลงที่ไหนก็แล้วแต่ยานั้นไม่สูญหาย
ไม่ละลาย ยังเป็นยาที่วิเศษอยู่เหมือนเดิม
ยกขึ้นมาดื่มกินเมื่อไหร่ก็เกิดประโยชน์เมื่อนั้น
ธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นอมตะวาจาไง
ที่พระองค์ว่า สัจจังเว อมตะวาจา
พูดจริงหรือคำจริงไม่มีวันตาย หมายถึงคำพูดนั้น
ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงแหละเป็นเช่นนั้นเสมอ
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ทั้งหมด เราต้องมองไปถึงจุดเริ่มต้นของพระประสงค์
อย่างโรงทานนี้อย่างนี้ ที่ทรงห้ามไว้ว่า ไม่ให้ไปเบียดเบียน
พระมักง่าย พระหัวดื้อ พระชอบสะดวกสบายมันก็มีลักษณะอย่างนี้แหละ
ถ้าเป็นปัจจุบัน ถ้ายังอยู่ก็ห้าม บิณฑบาตทอดสมอปักหลักกับที่นะ
ที่เขาประกาศเป็นกฎของมหาเถร ขึ้นมาเป็นข้อบังคับทีนี้
ห้ามยืนบิณฑบาตประจำที่ ห้ามวนไปวนมาเวียนเทียนนั้นแหละ
วนไปวนมาอยู่แถวนั้นแหละ ไม่พอฉันสักทีลักษณะอย่างนี้
ถ้าเอามาเปรียบเทียบกับ ข้อปฏิบัติในพระธรรมวินัยนี้
ก็เปรียบเทียบกันได้ลักษณะอย่างนี้
ฉะนั้นรู้ที่มาที่ไปจะทำให้เราปฏิบัติได้ ถูกต้องหรือเอาข้ออื่น ๆ
มาเป็นข้อเปรียบเทียบได้ ท่านเรียกว่าเป็นมหาประเทศ
เอามหาประเทศมาเป็นบรรทัดฐานไว้ กับการปฏิบัติต่อข้ออื่น ๆ
นี่เป็นสิ่งที่ดี ฉะนั้นเราเรียนรู้ศึกษา ต้นตอของ
ธรรมวินัย เป็นการดีนะ อ่านทุกวัน
ให้เข้าใจ เอาไปเป็นข้อคิด เท่ากับว่าเราได้ฟังสิ่งที่พระพุทธเจ้า
ตรัสสอนหรือได้ฟังได้รู้ถึงเหตุการณ์
เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนอยู่
ย้อนไปนิสองพันกว่าปี ท่านทั้งหลายก็คิดดูว่าพระพุทธเจ้านิ
ทำงานหนักขนาดไหน เกิดเหตุการณ์โน้นนี่เล็ก ๆ น้อย ๆ นิ
ต้องถึงพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าก็ต้อง ประกาศประชุมสงฆ์
พอประชุมสงฆ์แล้วก็บัญญัติก็เหมือนกับนี่แหละ
เหมือนกับสภาเขาตั้งสภานิติบัญญัติขึ้นไปต้องผ่าน
วาระ ๑ วาระ ๒ วาระ ๓
กว่าจะคลอดออกมานิ ต้องเขียน นิ ๆ คือต้องเขียนขึ้นมา
ต้องผ่านความเห็นชอบ เสียงข้างมาก
ในรัฐสภาก่อนถึงจะมาเป็นบทบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติ
เนี้ยไม่ใช่ง่ายนะ แต่พระพุทธเจ้านิทำงาน ๔๕ ปี
ทรงบัญญัตินิแต่ละวันละวัน ไม่ได้หมายถึงว่า
อ้าวองค์นั้นประชุมแทนองค์นี้ประชุมแทนไม่ใช่นะ
วันนี้ให้พระสารีบุตรเป็นประธาน วันนี้ให้พระโมคคัลลานะเป็นประธาน
สรุปข้อบัญญัติหรือตั้งเป็นกฎหมายขึ้นมา เป็นสิกขาบทขึ้นมา
ไม่ใช่พระพุทธเจ้าองค์เดียวเลยทั้งหมดนิ
ศีล ๒๒๗ ข้อ ข้อปฏิบัติอื่น ๆ อีกเยอะแยะนั้นแหละ
คิดดูว่าพระพุทธเจ้านิประชุมแต่ละครั้ง ละครั้ง
ท่านทั้งหลายว่ามันง่ายเหรอ ประชุมนี้ไม่ได้หมายถึงว่า
ยกโทรศัพท์กริ่งมาเลยนะ มันต้องประกาศทั้งบ้านทั่วบ้านทั่วเมือง
กว่าพระจะมาประชุมกันได้ กว่าจะประกาศออกไปอีก
ต้องบอกต่อ ๆ กันไปอีก หรือชมพูทวีปมันกว้างขวางขนาดไหน
กว่าจะรู้ทั่วถึงกัน ถึงข้อปฏิบัติอันนี้ จดจำคนที่จดจำก็จดจำ
คนประกาศก็ต้องประกาศออกไปไม่ให้ผิดพลาดนะ
เหมือนกับพระปาฏิโมกข์ที่เราสวดนั้นแหละ
แต่ละข้อ ๆ นิ ไม่ให้ผิดพลาดแม้แต่อักขระเดียเลยแหละ
อันนี้มองให้เห็นถึงประวัติของพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงกระทำเพื่อให้เป็นประโยชน์ กับโลกสักเพียงใด
พวกเรามาแค่เดินตามแค่เรียนรู้แค่ศึกษามันยังไม่ได้ดูไม่ได้รู้
ไม่ได้ศึกษาเลยยังไม่รู้เลยว่ามีอะไรบ้างที่พระพุทธเจ้าสอนไว้
ที่เรียนรู้ควรศึกษาควรทำความเข้าใจ
เป็นชาวพุทธเป็นอุบาสกอุบาสิกา เป็นพระเป็นเณร
แต่ว่าเรียนรู้พระไตรปิฎกยังไม่จบ อ่านยังไม่จบศึกษายังไม่จบ
ส่วนการปฏิบัติก็ไม่ได้กล่าวถึงแหละ อันนี้เป็นข้อปฏิบัติที่ดี
ก็สืบทอดกันไปเรื่อย ๆ พยายามทำให้ต่อเนื่อง
มันเป็นประโยชน์กับสังคมด้วย
อ้าวได้เวลาก็ไปเดินจงกรมกัน


ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
จันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 65   




 6,381 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย