หน้าแรก นิทานชาดก พยัคฆชาดก
ประโยชน์ของสัตว์ป่า


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภโกกาลิกภิกษุผู้ไม่อาจจะอยู่ร่วมกับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะได้ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง และในที่ไม่ไกลกันนักมีรุกขเทวดาตนหนึ่งอาศัยอยู่ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ในป่านั้นมีราชสีห์กับเสือ ๒ ตัวอาศัยอยู่ เพราะกลัวราชสีห์และเสือพวกชาวบ้านจึงไม่ไปทำนาใกล้ป่าและไม่คิดที่จะเข้าไปตัดต้นไม้ในป่านั้น สัตว์ทั้งสองตัวเมื่อล่าเหยื่อได้แล้วก็จะฉีกกินเนื้อปล่อยให้เหลือแต่กระดูกทิ้งไว้ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วป่า

วันหนึ่ง รุกขเทวดาตนนั้นได้แวะไปปรึกษากับรุกขเทวดาโพธิสัตว์ว่า " เพื่อนรัก เพราะอาศัยราชสีห์และเสือสองตัวนี้ ป่าจึงมีกลิ่นเหม็นไม่สะอาด เราเสนอว่าให้ขับไล่สัตว์สองตัวนี้หนีไปที่อื่นเสีย " พระโพธิสัตว์ห้ามว่า " อย่าเลยท่าน เดี๋ยววิมานของท่านจะถูกทำลายนะ " แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า

" เพราะการคบหามิตรใด ความปลอดภัยจะหมดไป บัณฑิตควรรักษาลาภยศและชีวิตของตน  ที่มิตรนั้นเคยครอบครองมาก่อนเอาไว้ ประดุจบุคคลรักษาดวงตา  เพราะการคบหามิตรใด ความปลอดภัยเพิ่มพูนมากขึ้น  บัณฑิตควรทำการช่วยเหลือในกิจทุกอย่างของมิตรนั้น ให้เหมือนกับทำให้กับตนเอง "

เทวดาตนนั้นไม่เชื่อฟังได้แสดงรูปร่างน่ากลัวขับไล่ราชสีห์และเสือให้หนีไปอยู่ที่อื่น ต่อมาไม่นานเมื่อชาวบ้านไม่เห็นรอยเท้าราชสีห์และเสือก็เข้าไปตัดต้นไม้ในป่านั้น ถางป่าด้านหนึ่งเป็นที่นา และตัดต้นไม้วิมานของรุกขเทวดานั้นไปใช้ประโยชน์ สร้างความเดือดร้อนแก่รุกขเทวดาตนนั้นมาก

วันหนึ่ง เทวดานั้นได้คร่ำครวญไปหาพระโพธิสัตว์และขอคำแนะนำ พระโพธิสัตว์จึงแนะนำให้ไปอ้อนวอนราชสีห์และเสือให้กลับมาอยู่เหมือนเดิม เทวดานั้นไปยืนประคองอัญชลีต่อหน้าสัตว์ทั้งสองอ้อนวอนว่า " ท่านสัตว์ทั้งสอง ขอเชิญท่านไปอยู่ป่าเช่นเดิมเถิด ป่าไม้ถูกมนุษย์ทำลายเกือบจะหมดแล้ว "

แต่สัตว์ทั้งสองหาได้กลับไปไม่ มีแต่เทวดาตนนั้นเท่านั้นเดินกลับเข้าป่าไป ไม่นานป่านั้นก็เป็นที่ทำกินของชาวบ้านไป


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ป่ามีเพราะเสืออยู่เสืออ้วนเพราะมีป่าต่างคนต่างอาศัยกัน เพราะป่าไม่มีสัตว์ร้ายอยู่ผู้คนจึงตัดไม้ทำลายป่าไปเสียหมด เป็นเหตุให้ความสมดุลทางธรรมชาติสูญเสียไป ขอเชิญช่วยกันปลูกป่าตั้งแต่วันนี้เถิดท่านทั้งหลายเอ๋ย

* เรื่องที่ ๒ ในุอทปานทูสกวรรค หน้า ๑๖๗ - ๑๗๓ พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๔

ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย)
[ เปิดอ่าน 18902 ครั้ง ]
Share |

  บอกบุญ ~ ประชาสัมพันธ์
• ✨ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะห้องผู้มาปฏิบัติธรรม 12 ห้อง ✨
• (บุญด่วน!!ต้องการเจ้าภาพ..)กุลบุตร,ยากไร้ไม่มีเจ้าภาพ ๒ กองฯ...# ร่วมเป็นเจ้าภาพอุปสมบทบวชพระกัมมัฏฐาน ๒ รูป *ไม่ลาสิกขา*
• ร่วมทำบุญบูรณะซ่อมแซมพื้นรอบอุโบสถที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ณ วัดไทยลอสแอลเจลิส
• “ตักบาตรในสวน” วันจักรี (๖ เม.ย. ๒๕๖๗)
• ขอเชิญร่วมบุญบูรณะ วัดป่าปัญญโรจน์ (วัดร้าง) ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด จังหวัดตาก

  สนทนาธรรม
• ขอเชิญชวนชาวพุทธร่วมเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล
• พระเจ้านั่งโก๋น เชียงใหม่
• บวชพระ ฟรี 2567 นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัคร บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย พระป่า พระกรรมฐาน วัดป่า ปฏิบัติธรรม สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• ประเพณีไทย และวัฒนธรรมไทย




หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย