ถ้าอยากให้สุข....เราก็ต้องทุกข์
ความทุกข์มักมาก่อนความสุขเสมอ ทุกๆคนจึงต้องอดทนเพื่อความสบาย เหมือนบรรพบุรุษของเราที่สละเลือด เนื้อ ชีวิต เพื่อความสะดวกสบายของลูกหลานไทย แต่บางคนก็ขี้เกียจ ไม่ยอมทำงานจนในที่สุดก็เป็นขอทาน แต่ถ้าใครขยันหากเป็นคนจนก็สามารถรวยขึ้นได้ หากรวยอบู่แล้วก็สามารถที่จะรวยๆขึ้นได้อีก บางคนนั้น ไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังยืนอยู่บนซากเนื้อ ซากกระดูกของบรรพบุรุษไทยของเรา ที่ยอมสละชีวิตเพื่อบ้านเมืองเพื่อความสบายของลูกหลานไทย เราจึงต้องขยันรักษาบ้านเมือง ตัวเอง และผู้อื่น เพื่อชาติเราจะได้มีความสุข สมกับที่บรรพบุรุษเราเคยสละมา
เห็นด้วยเลยครับว่าก่อนที่เราจะมีความสุขมันก็ต้องมีความทุกข์ก่อนแต่รวมๆแล้วจะทุกข์ซะมากกว่าสุขครับ
ความสุขอันเกิดจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ต่างๆเหล่านี้เป็นความสุขชั่วคราวครับเป็นของไม่เที่ยงเดียวก็กลับมาทุกข์ใหม่
# 1 / pituckch / 22 มี.ค. 2554 เวลา 20:32 น.
ถูกแล้ว ความสุขในธรรมสิ สุขมากกว่าหลายเท่าแถมยังสุขยั่งยืนด้วย
# 2 / มงคล / 23 มี.ค. 2554 เวลา 16:26 น.
ดูกรจุนทะ
การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อความสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ๔ ประการเป็นไฉน ??
ดูกรจุนทะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๑
ดูกรจุนทะ
ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๒
ดูกรจุนทะ
ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ข้อที่ ๓
ดูกรจุนทะ
ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔
ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อความสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว
************************
จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=11&item=115&items=2&preline=0
*************************************
เจริญในธรรม เจ้าค่ะ
# 3 / หิ่งห้อยน้อย / 17 เม.ย. 2554 เวลา 14:46 น.
เปิดอ่านหน้านี้ 5525