๒.๑.๒ หลักธรรมเกี่ยวกับสังสารวัฏ

 dharma    2 มิ.ย. 2554

ปฏิสนธิคหณปัญหา ๓๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง คนที่ตายไปแล้วไม่เกิดอีก
มีอยู่หรือไม่
อธิบายว่า สัตว์โลกเกิดขึ้นมาเพราะนามรูปให้ปฏิสนธินามรูปที่ว่านั้นไม่ใช่นาม
รูปที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้แต่เป็นนามรูปอีกอันหนึ่งต่างหาก ซึ่งเกิดขึ้นเพราะบุญและบาป
ที่ได้กระทำไว้ก่อนแล้ว ถ้าบุคคลไม่เกิดอีกต่อไปก็แสดงว่าหนีพ้นจากบาปกรรม แต่ถ้ายังต้อง
มาเกิดอีกก็แสดงว่าหนีไม่พ้น ก็บุคคลไม่สามารถที่จะเอานามรูปอื่นข้างหน้ามาเป็นเหตุอ้างว่า
เป็นคนละนามรูปกัน เพื่อให้พ้นจากบาปกรรมที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ เหมือนคนขโมย
มะม่วงถูกเจ้าของจับได้ เมื่อคดีถึงศาลจำเลยจะแก้ตัวว่า มะม่วงนั้นโจทก์มิได้ปลูกไว้ แต่เป็น
คนอื่นปลูก เพราะฉะนั้น มะม่วงที่จำเลยขโมยไปจึงเป็นของคนอื่นไม่ใช่เป็นของโจทก์
เมื่อแก้ตัวอย่างนี้ จำเลยก็ยังมีความผิดฐานลักขโมยอยู่ดี แม้จะปฏิเสธข้อกล่าวหาของโจทก์
แต่ก็ยังชื่อว่ารับสารภาพในความผิดที่ตนได้กระทำไว้ฐานขโมยอยู่นั่นเอง
นามรูปปฏิสนธิคหณปัญหา พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง การเกิดของนามรูป
อันเนื่องมาจากผลกรรม
อธิบายว่า นามธรรม คือ จิตและเจตสิกเป็นตัวส่งให้บุคคลมาเกิด โดยนามธรรม
และรูปธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น ไม่ใช่นามธรรมอย่างเดียวเท่านั้นที่ส่งให้มาเกิด
เปรียบเหมือนไก่ก่อนจะเกิดเป็นตัว ก็ต้องอาศัยเชื้อตัวผู้ผสมแล้วเกิดมาเป็นฟองไข่อาศัย
ความอบอุ่นที่แม่ไก่ฟัก จึงจะทำให้เกิดมาเป็นตัวไก่
ปุนปฏิสนธิคหณปัญหา ๓๖ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง ถ้าบุคคลยังมีอุปาทานอยู่
ก็จักปฏิสนธิแต่ถ้าไม่มีอุปาทานก็จักไม่ปฏิสนธิ
อธิบายว่า คนที่ยังมีกิเลสอยู่ก็จะกลับมาเกิดอีก ส่วนคนที่หมดกิเลสก็ไม่กลับมาเกิด
อีก เพราะบุคคลย่อมรู้ตัวเองว่า เหตุปัจจัยแห่งการเกิดยังมีอยู่ หรือว่าหมดไปแล้ว
เปรียบเหมือนบุรุษคนหนึ่งทำความดีความชอบถวายพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงยินดี
และพระราชทานบำเหน็จแก่บุรุษนั้น เขาบำเรอตนให้เอิบอิ่มบริบูรณ์ด้วยกามคุณทั้ง ๕
ประการ ๓๗ เพราะบำเหน็จที่ได้รับพระราชทาน หากเขานั้นจะบอกแก่คนทั่วไปว่า พระเจ้า
แผ่นดินไม่ทรงตอบแทนเขาแม้สักนิดเดียว การกระทำของเขา ก็จะชื่อว่าเป็นการกระทำไม่
ถูกต้อง จะมีประโยชน์อะไรกับคำถามที่ถามแล้ว ซึ่งบุคคลก็กล่าวเจาะจงทีเดียวแล้วว่า ถ้าเขา
ยังมีอุปาทานก็จักปฏิสนธิอีก แต่ถ้าไม่มีอุปาทานก็จักไม่ปฏิสนธิอีก
นามรูปปัญหา ๓๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง อะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป
ที่ได้กระทำไว้ก่อนแล้ว ถ้าบุคคลไม่เกิดอีกต่อไปก็แสดงว่าหนีพ้นจากบาปกรรม แต่ถ้ายังต้อง
มาเกิดอีกก็แสดงว่าหนีไม่พ้น ก็บุคคลไม่สามารถที่จะเอานามรูปอื่นข้างหน้ามาเป็นเหตุอ้างว่า
เป็นคนละนามรูปกัน เพื่อให้พ้นจากบาปกรรมที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ เหมือนคนขโมย
มะม่วงถูกเจ้าของจับได้ เมื่อคดีถึงศาลจำเลยจะแก้ตัวว่า มะม่วงนั้นโจทก์มิได้ปลูกไว้ แต่เป็น
คนอื่นปลูก เพราะฉะนั้น มะม่วงที่จำเลยขโมยไปจึงเป็นของคนอื่นไม่ใช่เป็นของโจทก์
เมื่อแก้ตัวอย่างนี้ จำเลยก็ยังมีความผิดฐานลักขโมยอยู่ดี แม้จะปฏิเสธข้อกล่าวหาของโจทก์
แต่ก็ยังชื่อว่ารับสารภาพในความผิดที่ตนได้กระทำไว้ฐานขโมยอยู่นั่นเอง
นามรูปปฏิสนธิคหณปัญหา พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง การเกิดของนามรูป
อันเนื่องมาจากผลกรรม
อธิบายว่า นามธรรม คือ จิตและเจตสิกเป็นตัวส่งให้บุคคลมาเกิด โดยนามธรรม
และรูปธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น ไม่ใช่นามธรรมอย่างเดียวเท่านั้นที่ส่งให้มาเกิด
เปรียบเหมือนไก่ก่อนจะเกิดเป็นตัว ก็ต้องอาศัยเชื้อตัวผู้ผสมแล้วเกิดมาเป็นฟองไข่อาศัย
ความอบอุ่นที่แม่ไก่ฟัก จึงจะทำให้เกิดมาเป็นตัวไก่
ปุนปฏิสนธิคหณปัญหา ๓๖ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง ถ้าบุคคลยังมีอุปาทานอยู่
ก็จักปฏิสนธิแต่ถ้าไม่มีอุปาทานก็จักไม่ปฏิสนธิ
อธิบายว่า คนที่ยังมีกิเลสอยู่ก็จะกลับมาเกิดอีก ส่วนคนที่หมดกิเลสก็ไม่กลับมาเกิด
อีก เพราะบุคคลย่อมรู้ตัวเองว่า เหตุปัจจัยแห่งการเกิดยังมีอยู่ หรือว่าหมดไปแล้ว
เปรียบเหมือนบุรุษคนหนึ่งทำความดีความชอบถวายพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงยินดี
และพระราชทานบำเหน็จแก่บุรุษนั้น เขาบำเรอตนให้เอิบอิ่มบริบูรณ์ด้วยกามคุณทั้ง ๕
ประการ ๓๗ เพราะบำเหน็จที่ได้รับพระราชทาน หากเขานั้นจะบอกแก่คนทั่วไปว่า พระเจ้า
แผ่นดินไม่ทรงตอบแทนเขาแม้สักนิดเดียว การกระทำของเขา ก็จะชื่อว่าเป็นการกระทำไม่
ถูกต้อง จะมีประโยชน์อะไรกับคำถามที่ถามแล้ว ซึ่งบุคคลก็กล่าวเจาะจงทีเดียวแล้วว่า ถ้าเขา
ยังมีอุปาทานก็จักปฏิสนธิอีก แต่ถ้าไม่มีอุปาทานก็จักไม่ปฏิสนธิอีก
นามรูปปัญหา ๓๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง อะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป
อธิบายว่า สิ่งที่ไม่ปรากฏแก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะเป็นของละเอียด หรือเป็น
ของไม่มีตัวไม่มีตน เช่น จิตและเจตสิก จัดเป็นนาม ส่วนสิ่งที่สามารถรู้ได้ด้วยตาเป็นต้น
เพราะเป็นของหยาบ จัดเป็นรูป นามอย่างเดียวหรือรูปอย่างเดียวไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
เพราะทั้งสองอย่างต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกันจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็เกิดขึ้น
ไม่ได้ เปรียบเหมือนไก่ก่อนจะเกิดเป็นตัวไก่ก็ต้องเป็นฟองไข่มาก่อน และอาศัยความอบอุ่น
ที่แม่ไก่ฟัก จึงเกิดเป็นตัวไก่ได้
ธัมมสันตติปัญหา ๓๙ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง ความสืบต่อแห่งธรรม คือ
มนุษย์และสัตว์แรกเกิดมีลักษณะเป็นอย่างหนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะมีลักษณะเป็นอย่างอื่น
หรือไม่
อธิบายว่า บุคคลผู้ที่ตายไปแล้วและกลับไปเกิดอีก จะว่าเป็นบุคคลเดิมก็ไม่ใช่
จะว่าเป็นบุคคลใหม่ก็ไม่เชิง เปรียบเหมือนบุคคลเมื่อครั้งเป็นเด็กเยาว์วัยนอนอยู่ในอู่
และเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในบัดนี้คือ บุคคลคนเดียวกันนั่นเอง คนเดิมนี้เองที่เป็นทั้งเด็ก
และผู้ใหญ่ เพราะอาศัยร่างกายเดียวกันจึงนับว่าเป็นคน ๆ เดียวกัน เหมือนการจุดโคมไฟไว้
ตลอดคืนยันรุ่ง จะกล่าวว่าเปลวไฟในยามที่๑ กับในยามที่๒ เป็นเปลวไฟอันเดียวกันก็ไม่ได้
หรือเปลวไฟในยามที่๒ กับในยามที่๓ เป็นเปลวไฟอันเดียวกันก็ไม่ได้แต่เมื่อจะบอกว่าเป็น
เปลวไฟคนละอย่างต่างชนิดกัน ก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน ความสืบเนื่องแห่งนามรูปเป็นฉันนั้น
นัปปฏิสนธิคหณปัญหา ๔๐ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง บุคคลผู้จักไม่มาเกิดอีก
จะรู้ตัวหรือไม่ว่าจักไม่มาเกิดอีก
อธิบายว่า บุคคลผู้ไม่กลับมาเกิดอีกย่อมรู้ตัวเอง เพราะเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิด
ต่อไปดับไปหมดแล้ว เขาจึงรู้ตัวเองว่าจะไม่เกิดอีก เหมือนชาวนาทำนาได้ผลอย่างเต็มที่ในปี
แรก และในปีต่อไปก็เริ่มทำนาหว่านข้าวเหมือนเดิม ถ้าน้ำดีข้าวกล้าไม่เสียหาย เขาย่อมรู้ว่า
จะต้องได้ผลอย่างเต็มที่แน่นอน
กัมมนานากรณปัญหา ๔๑ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง เหตุที่ทำให้คนเกิดมา
ไม่เหมือนกันอธิบายว่า บุคคลผู้เกิดมาย่อมแตกต่างกัน คือ รูปร่างหน้าตา สติปัญญา
ไม่เหมือนกัน บางคนมีอายุยืน บางคนมีอายุสั้น บางคนมีผิวพรรณงดงาม บางคนมีผิวพรรณ
หยาบ บางคนมีปัญญาน้อย บางคนมีปัญญามาก เป็นต้น เพราะกรรมดีและกรรมชั่วที่แต่ละ
บุคคลได้กระทำไว้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย
ให้เลวและดีต่างกัน ๔๒ เหมือนต้นไม้ยังมีรสไม่เสมอกัน คือ บางพวกมีรสเปรี้ยว บางพวกมีรส
เค็ม บางพวกมีรสเผ็ด บางพวกมีรสขม บางพวกมีรสฝาด และบางพวกมีรสหวาน
ปกติอัคคิโตนิรยัคคีนังอุณหาการปัญหา ๔๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง ไฟใน
นรกร้อนกว่าไฟตามปกติธรรมดา
อธิบายว่า ไฟในนรกร้อนแรงกว่าไฟธรรมดาในมนุษย์ เพราะไฟปกติธรรมดาใน
โลกมนุษย์แม้บุคคลจะทิ้งก้อนหินขนาดย่อม ๆ ลงไป ถูกไฟเผาอยู่ก็ไม่ละลาย ส่วนไฟใน
นรก แม้บุคคลจะทิ้งก้อนหินขนาดใหญ่เท่าปราสาทเรือนยอดใส่ลงไป ก็ย่อมย่อยยับไปเพียง
ครู่เดียวเท่านั้น การที่สัตว์นรกไม่ย่อยยับไปกับไฟในนรก เพราะมีกรรมเป็นเครื่องรักษาไว้
สัตว์นรกจะยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป ๔๔ เหมือนอาหาร ก้อนกรวด ก้อน
หิน ที่สัตว์ทั้งหลายมีเป็ด ไก่เป็นต้น กลืนกินเข้าไปก็ย่อยสลายหมดไป ส่วนไข่ไก่เป็นต้น
ซึ่งอยู่ในท้องไก่เหมือนกัน กลับไม่ย่อยสลายไปเหมือนกับสิ่งที่กลืนกินเข้าไปในท้อง
นจสังกมติปฏิสันธหนปัญหา ๔๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สัตว์จะไปเกิดใหม่
โดยที่ไม่ได้ย่างก้าวเดินไป ได้หรือไม่
อธิบายว่า เมื่อวิญญาณจะไปเกิดใหม่ไม่ต้องก้าวย่าง ไม่ต้องเดินไป สามารถที่จะ
ไปเกิดได้ทันทีเหมือนการจุดไฟโดยต่อมาจากไฟอีกดวงหนึ่ง จะกล่าวว่าไฟดวงที่ถูกต่อ
ก้าวมายังไฟดวงที่ต่อใหม่ก็ไม่ได้หรือเหมือนศิษย์เรียนวิชาจากอาจารย์ วิชาก็ไม่ได้หายหมด
ไปจากตัวอาจารย์แล้วเข้ามาอยู่ในตัวศิษย์แทน แต่วิชาที่ศิษย์เรียนมาจากตัวอาจารย์นั่นเอง
อิมัมหากายาอัญญังกายังสังกมนปัญหา ๔๖ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สัตว์ผู้ที่
เคลื่อนออกจากกายนี้แล้วไปสู่กายอื่นมีอยู่หรือไม่
อธิบายว่า ไม่มีสัตว์ผู้เคลื่อนจากกายนี้แล้วไปสู่กายอื่น ส่วนการจะพ้นหรือไม่พ้น
จากบาปกรรมต้องพิจารณาว่า ถ้าสัตว์ไม่ถือปฏิสนธิอีกก็จักพ้นจากบาปกรรม แต่ถ้าสัตว์ยังถือ
ปฏิสนธิอีกก็จักไม่พ้น บุคคลทำกรรมดีบ้าง ชั่วบ้าง ด้วยนามรูปนี้ นามรูปอื่นจึงปฏิสนธิขึ้น
เพราะกรรมที่ได้กระทำไว้เปรียบเหมือนบุรุษคนหนึ่งขโมยผลมะม่วงของบุรุษอีกคนหนึ่ง
เขาต้องถูกลงโทษอย่างแน่นอน แม้จะอ้างว่าไม่ได้ขโมยมะม่วงที่บุรุษคนนั้นเพาะปลูก
เพราะเหตุไร จึงต้องถูกลงโทษด้วย แต่การอ้างก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นโทษ เพราะมะม่วงที่เขา
ขโมยไปอาศัยมะม่วงที่บุรุษคนนั้นเพาะปลูก จึงทำให้เกิดผลขึ้นมาได้ เพราะเหตุนั้น เขาจึง
ต้องถูกลงโทษ
กัมมผลอัตถิภาวปัญหา ๔๗ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง กุศลกรรมและอกุศลกรรม
ที่บุคคลกระทำไว้จะปรากฏอยู่ที่ไหน
อธิบายว่า กรรมดีและกรรมชั่วที่บุคคลกระทำไว้จะติดตามตัวเขาไปทุกที่เหมือน
เงาที่ติดตามตัวไปอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถชี้ได้ว่ากรรมปรากฏอยู่ที่ไหน เหมือนต้นไม้
ที่ยังไม่ผลิดอกออกผล ก็ไม่สามารถชี้ได้ว่าผลของต้นไม้อยู่ที่ตรงนี้หรืออยู่ที่ตรงนั้น
อุปปัชชนชานนปัญหา ๔๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง บุคคลผู้ที่จะไปเกิดรู้ตัว
หรือไม่
อธิบายว่า บุคคลที่จะไปเกิดอีกย่อมรู้ตัวเอง เปรียบเหมือนชาวนาหว่านข้าวลงไป
ในนาแล้ว ถ้าฝนตกสม่ำเสมอ และมีน้ำพอดี เขาย่อมรู้ได้ว่า ธัญชาติที่หว่านลงไปจักออกรวง
อย่างแน่นอน
ปรโลกคตนีลปีตาทิวัณณคตปัญหา พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง บุคคลผู้จะไป
เกิดในโลกอื่น ไปด้วยสีและเพศอะไร
อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงไว้ว่า สัตว์ผู้ที่จะไปเกิดยังโลกหน้า ไปเกิด
ด้วยสีสันวรรณะอย่างไร แต่ไม่ได้ทรงประสงค์จะให้เข้าใจว่าโลกหน้าไม่มีปรากฏ สัตว์ผู้ไป
เกิดในโลกหน้ามีอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ไม่ปรากฏสีสันวรรณะเท่านั้น เหมือนกับเสียงที่
เปล่งออกไปก็ไม่มีสีสันวรรณะปรากฏ แต่สามารถเข้าไปยังโสตประสาทของผู้ฟังได้คติของ
สัตว์ก็เหมือนกัน เมื่อจะไปเกิดในโลกหน้าก็มิได้ปรากฏว่ามีสีเขียว เหลือง ขาว หรือมีรูปทรง
สัณฐานเหมือนช้าง ม้า เป็นต้น ร่างกายที่มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ไม่มีส่วนใดตามไปเกิดในโลก
หน้า และไม่มีร่างกายที่เกิดขึ้นเองอีกร่างหนึ่งต่างหาก เหมือนรวงข้าวในนา จะเกิดขึ้นมาเอง
โดยลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยพืชพันธุ์ที่ชาวนาหว่านลงไป จึงจะเกิดรวงใหม่ขึ้นมา
มาตุกุจฉิปฏิสนธิปัญหา พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สัตว์เมื่อจะปฏิสนธิในครรภ์
ของมารดา ปฏิสนธิโดยทวารไหน
อธิบายว่า สัตว์ผู้จะไปถือปฏิสนธิในครรภ์มารดา ไม่ปรากฏว่าเข้าไปถือปฏิสนธิ
ทางทวารใดทวารหนึ่ง เหมือนจิตที่เข้าไปในหีบแก้ว ไม่ปรากฏว่าจิตดวงนั้นเข้าไปทางใด
เพราะไม่มีช่องทางสำหรับส่งจิตเข้าไป การที่จิตเข้าไปรู้เห็นสิ่งที่อยู่ในหีบแก้วก็เนื่องด้วยจิต
หมายรู้ตามที่ได้รู้แจ้งประจักษ์มาก่อน
สัตตานังมัจจุโนภายนปัญหา ๔๙ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สัตว์ทุกประเภทย่อม
สะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์ย่อมหวาดกลัวความตาย ๕๐ เพราะเหตุไร พระอรหันต์จึงก้าวล่วงภัย
ทั้งปวง
อธิบายว่า สัตว์ทุกประเภทยังมีกิเลส มีทิฏฐิไปตามตนเอง คือ เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน
มีประมาณยิ่ง และย่อมฟูขึ้นและยุบลงเพราะสุขและทุกข์จึงสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์หวาดกลัว
ความตาย ส่วนพระอรหันต์เลิกถอนกิเลสได้หมดสิ้น จึงไม่หวาดกลัวความตาย แม้สัตว์นรกผู้
เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส จะเบื่อหน่ายต่อการถูกทรมานก็จริง แต่ก็ยังกลัวตายอยู่
นั่นเอง เพราะเหตุปัจจัยแห่งความกลัวยังคงมีอยู่
มัจจุปาสมุตติปัญหา ๕๑ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง บุคคลจะดำรงอยู่ในที่ใด ๆ
ก็ไม่พ้นจากบ่วงแห่งมัจจุราช เพราะเหตุไร พระปริตร ๕๒ จึงเป็นเครื่องป้องกันบ่วงแห่งมัจจุราช
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระปริตรเป็นเครื่องป้องกัน สำหรับคนผู้มีอายุยัง
เหลืออยู่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัย มีกรรมเครื่องห้ามกั้นไปปราศจากแล้ว สำหรับคนสิ้นอายุแล้ว
กิจที่ต้องทำ หรือความพยายามเพื่อความดำรงอยู่แห่งชีวิตย่อมไม่มีเพราะถ้าบุคคลหมดอายุขัย
แล้ว ก็ไม่สามารถที่จะป้องกันได้เหมือนต้นไม้ที่ตายแล้ว บุคคลจะเอาน้ำไปรดตั้งร้อยหม้อ
หรือพันหม้อ ก็ไม่สามารถที่จะชุ่มชื้นกลับคืนมามีใบผลิตดอกออกผลได้พระปริตรไม่อาจ
คุ้มครองรักษาได้ เพราะเหตุ๓ ประการ คือ
(๑) กัมมาวรณะ เครื่องขวางกั้นคือกรรม
(๒) กิเลสาวรณะ เครื่องขวางกั้นคือกิเลส
(๓) อสัททหนตา ความไม่เชื่อถือในพระปริตร
เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระปริตร ไม่ได้ทรงมุ่งหมายว่า
เป็นอุบายให้หนีพ้นจากความตาย บุคคลผู้ถึงคราวตายย่อมไม่มีอะไรเป็นเครื่องป้องกันได้
แม้จะเหาะไปในอากาศ ดำลงไปสู่ใจกลางทะเล หรือเข้าไปหลบตัวในซอกเขา ก็ไม่พ้นจาก
ความตาย เพราะไม่มีแผ่นดินสักผืนหนึ่งที่บุคคลดำรงอยู่แล้ว จะไม่ถูกความตายครอบงำได้ ๕๓
กาลากาลมรณปัญหา ๕๔ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สัตว์ผู้ที่จะต้องตายย่อมตาย
ในเวลาที่สมควร หรือตายในเวลาที่ไม่สมควร
อธิบายว่า สัตว์บางพวกย่อมตายในเวลาที่สมควร ส่วนบางพวกย่อมตายในเวลาที่
ไม่สมควร สัตว์ที่ถูกกำลังความชรากำจัดแล้วตาย ชื่อว่าย่อมตายในเวลาที่สมควร และที่ตาย
ด้วยกรรมชักนำ คติชักนำ หรือกิริยาชักนำชื่อว่าย่อมตายในเวลาที่สมควรเหมือนกัน ก็บุคคล
๗ จำพวก คือ
(๑) บุคคลผู้หิวจัด ไม่ได้อาหาร
(๒) บุคคลผู้กระหายจัด ไม่ได้น้ำดื่ม
(๓) บุคคลผู้ถูกงูกัด ไม่ได้รับการบำบัดรักษา
(๔) บุคคลผู้ดื่มยาพิษ ไม่ได้กินยาแก้พิษ
(๕) บุคคลผู้ถูกไฟเผาอยู่ ไม่ได้น้ำดับไฟ
(๖) บุคคลผู้ตกน้ำไม่ได้ที่ยึดเกาะ
(๗) บุคคลผู้ถูกประหารด้วยหอก ไม่ได้หมอผ่าตัดรักษา
บุคคลเหล่านี้แม้มีอายุยืน ก็ชื่อว่าตายในเวลาที่ไม่สมควร ถ้าสัตว์บางพวกตายด้วย
วิบากแห่งอกุศลกรรมที่เคยกระทำไว้ในกาลก่อน เช่น ในชาติก่อนเคยให้เขาอดอาหาร อดน้ำ
จนถึงแก่ความตาย เมื่อเกิดมาในชาตินี้หิวอาหาร กระหายน้ำไม่ได้ในสิ่งที่ตนต้องการจนเป็น
เหตุให้ถึงแก่ความตาย ก็นับว่าเป็นการตายในเวลาที่สมควร อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมตายด้วยเหตุ๘ ประการ คือ
(๑) โรคมีลมเป็นสมุฏฐาน
(๒) โรคมีดีเป็นสมุฏฐาน
(๓) โรคมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
(๔) โรคมีสันนิบาตเป็นสมุฏฐาน
(๕) ความแปรปรวนแห่งฤดู
(๖) การบริหารอิริยาบถที่ไม่สม่ำเสมอ
(๗) ความเพียรพยายามของบุคคลอื่น
(๘) วิบากกรรม
การตายด้วยวิบากกรรมเท่านั้น เป็นการตายในเวลาที่สมควร ส่วนการตายที่เหลือ
นอกนั้น เป็นการตายในเวลาที่ไม่สมควร เหมือนผลไม้ที่สุกงอม หลุดร่วงหล่นลงมาจากต้น
เป็นการหล่นในเวลาที่สมควร ส่วนผลไม้ที่เหลือ บางผลก็ถูกหนอนไชร่วงหล่นไป บางผลถูก
พวกนกกาตีตกหล่นไป บางผลก็ถูกลมพัดหล่นลงไป บางผลก็เน่าในเป็นเหตุให้หล่นไป
นับว่าเป็นการหล่นในเวลาที่ไม่สมควร
ทีฆมัทธานปัญหา ๕๕ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง กาลไกลอันยืดยาว
อธิบายว่า กาลไกลทั้งหมดมีทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน บรรดากาลไกล
เหล่านั้นบางอย่างก็มี แต่บางอย่างก็ไม่มี สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ล่วงลับ ดับไป แปรปรวน
ไป กาลไกลอย่างนี้ไม่มี ธรรมที่เป็นวิบาก ธรรมที่มีวิบากเป็นธรรมดา และธรรมที่ให้ปฏิสนธิ
ในภพอื่น กาลไกลอย่างนี้จึงมีอยู่ สัตว์ที่ตายไปเกิดในภพอื่น เป็นเหตุทำให้กาลไกลยังคงมีอยู่
แต่สัตว์ที่ปรินิพพานแล้ว ก็เป็นเหตุทำให้กาลไกลไม่มี เพราะกาลไกลนั้นดับไปแล้ว
อัทธานปัญหา ๕๖ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง อะไรเป็นมูลเหตุของกาลไกลที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน
อธิบายว่า อวิชชาเป็นมูลเหตุของกาลไกลที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน สังขาร
เกิดมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดมีเพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย เวทนาเกิดมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิด
มีเพราะเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดมีอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดมีเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสะเกิดมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ๕๗ ส่วนปลายสุด
ข้างต้นแห่งกาลไกลแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมไม่ปรากฏ ด้วยอาการอย่างนี้   


ที่มา : พระมหาสายเพชร วชิรเวที(หงษ์แพงจิตร)

DT011129

dharma

2 มิ.ย. 2554
 เปิดอ่านหน้านี้  5327 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย