๒.๒.๒ หลักปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยบุคคล

 dharma    2 มิ.ย. 2554

ปัพพัชชาปัญหา ๒๑๘ พระนาคเสน ตอบคำถามเรื่อง ประโยชน์ของการบวช
อธิบายว่า การบวชมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นวิธีการดับความทุกข์ที่มีอยู่
และความทุกข์อย่างอื่นก็จะไม่เกิดขึ้น คุณของการบวชที่พึงประสงค์คือ การบรรลุอนุปาทาน
นิพพาน (การดับหมดเชื้อ) ลักษณะของคนบวชก็มีหลายประเภท บางพวกบวชเพื่อจะหนี
พระเจ้าแผ่นดิน หรือหนีโจร บางพวกบวชตามพระราชานุมัติบางพวกบวชเพื่อหลบหนี้สิน
บางพวกบวชเพื่อจะอาศัยเลี้ยงชีพ บางพวกบวชเพราะกลัวภัย แต่บางพวกบวชเพื่อปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบด้วยมุ่งหวังประโยชน์ดังกล่าว
ปฏิกัจเจววายามกรณปัญหา ๒๑๙ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง สาเหตุที่คนพยายาม
ทำความทุกข์ให้หมดสิ้นไป และไม่ให้ทุกข์อื่นเกิดขึ้น โดยไม่ยอมให้ความทุกข์เกิดขึ้นก่อน
จึงจะพยายามทีหลัง
อธิบายว่า เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นแล้ว บุคคลพยายามหาหนทางดับทุกข์ แม้จะ
พยายามก็ไม่สามารถทำกิจของตนให้สำเร็จได้ส่วนผู้ที่พยายามไว้ล่วงหน้า ก่อนความทุกข์
จะเกิดขึ้น จะสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จได้ตามความปรารถนา เปรียบเหมือนพระราชา
ทรงกระหายน้ำจึงตรัสสั่งให้ขุดบ่อน้ำในเวลานั้น จะไม่ทำให้สามารถเสวยน้ำได้ตามพระราช
ประสงค์ พระองค์ควรตรัสสั่งให้ขุดบ่อน้ำไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะทรงหิวกระหาย จึงจะทำให้ได้
เสวยน้ำตามพระราชประสงค์
ธัมมทิฏฐปัญหา ๒๒๐ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง การได้เห็นธรรม
อธิบายว่า พุทธสาวกต้องประพฤติตามแบบแผน และพระบัญญัติของพระพุทธเจ้า
จนกว่าจะสิ้นชีวิต
กายอัปปิยปัญหา ๒๒๑ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง ร่างกายเป็นที่รักของบรรพชิต
หรือไม่
อธิบายว่า ร่างกายย่อมไม่เป็นที่รักของบรรพชิต แต่เหตุที่บรรพชิตต้องบำรุงรักษา
ร่างกาย ก็เพื่อสะดวกต่อการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกระทำกิจที่เป็นประโยชน์สุขต่อ
ส่วนรวม เปรียบเหมือนทหารถูกอาวุธของข้าศึกในสงคราม จำเป็นต้องใส่ยา ทาแผล หรือพัน
แผลไว้ การที่ต้องรักษาแผลให้หาย มิใช่เพราะแผลเป็นที่รักของทหาร แต่เพื่อให้เนื้องอก
ขึ้นมาดังเดิม แผลจะได้หายจากอาการบาดเจ็บ จะได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไป พระพุทธเจ้า
จึงตรัสไว้ว่า กายนี้มีทวารเก้า มีแผลใหญ่ มีหนังสดปกปิดไว้ ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็น คายของ
โสโครกออกมาโดยรอบ ๒๒๒
รสปฏิสังเวทีปัญหา ๒๒๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง คนที่ยังมีราคะกับคนที่ไม่มี
ราคะ ต่างกันอย่างไร
อธิบายว่า คนที่มีราคะอยู่ยังมีความต้องการ ส่วนคนที่ไม่มีราคะจะไม่มีความ
ต้องการ บุคคลทั้งสองชอบบริโภคอาหารที่ดีมีรสอร่อยเหมือนกัน แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างกัน
คือ คนที่มีราคะย่อมรู้สึกในรส และรู้สึกติดใจในรส ส่วนคนที่ไม่มีราคะจะรู้สึกในรสเท่านั้น
แต่ไม่รู้สึกติดใจในรส
อัคคานัคคสมณปัญหา ๒๒๔ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง บุคคลชื่อว่าเป็นสมณะ
เพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ๒๒๕ เพราะเหตุไร บัณฑิตจึงกล่าวว่า บุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการ ๒๒๖ เป็นสมณะแท้ในโลก
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า บัณฑิตกล่าวคนผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรม ๔ ประการ
ว่าเป็นสมณะแท้ในโลก เป็นการตรัสด้วยอำนาจแห่งคุณของบุคคลเหล่านั้น ส่วนคำที่ว่า
บุคคลชื่อว่าเป็นสมณะเพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป เป็นคำกล่าวโดยไม่มีส่วนเหลือ
คือ กล่าวโดยส่วนสุด พระองค์ทรงคัดสรรบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อความเข้าไประงับกิเลส และตรัส
เรียกสมณะผู้สิ้นอาสวะแล้วว่าเป็นยอดแห่งสมณะ เหมือนบรรดาดอกไม้ที่เกิดในน้ำและเกิด
บนบก มหาชนย่อมกล่าวดอกมะลิว่าเป็นยอดแห่งดอกไม้
สันถวปัญหา ๒๒๗ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง ภัยเกิดจากความเชยชิด ธุลีคือ
ราคะ โทสะ โมหะ เกิดจากอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส ความไม่มีกิเลส ไม่มีความเชยชิด
นั้นแล เป็นลักษณะของมุนี ๒๒๘ เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์
ของตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุผู้พหูสูตให้อยู่ในที่นี้เถิด ๒๒๙
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงภัยที่เกิดจากความเชยชิด และความเศร้าหมองใจ
ที่เกิดจากธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ พระพุทธพจน์นี้เหมาะสมแก่สมณะโดยนิปริยาย เป็นคำ
กล่าวโดยไม่มีส่วนเหลือ เป็นปฏิปทาของสมณะโดยแท้ แต่ที่พระองค์ทรงอนุญาตให้สร้าง
วิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุได้เพราะทรงพิจารณาเห็นประโยชน์๒ ประการ คือ
(๑) พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญวิหารทาน ทายกถวายวิหารแล้วย่อมพ้นจากความ
เกิด ความแก่ และความตาย
(๒) ภิกษุณีจักอยู่ในที่ ๆ กำหนดไว้ให้ทำให้ง่ายสำหรับบุคคลผู้มาพบ
อนิเกตานาลยกรณปัญหา พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง ความไม่ติดที่อยู่ และความ
ไม่มีอาลัย เป็นลักษณะของมุนี เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ของ
ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุผู้พหูสูตให้อยู่ในที่นี้เถิด
อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงความไม่ติดในที่อยู่ และความไม่มีอาลัย
เป็นลักษณะของมุนีซึ่งเป็นคำแสดงโดยสภาวะของภิกษุ เป็นคำกล่าวเหตุโดยไม่มีส่วนเหลือ
เป็นคำสมควรแก่สมณะ เหมือนเนื้อที่อยู่ในป่าไม่มีความอาลัยที่อยู่ ไม่ติดที่อยู่ ย่อมเที่ยวไปได้
ตามความปรารถนา แต่ที่พระองค์ทรงอนุญาตให้สร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุได้
เพราะทรงพิจารณาเห็นประโยชน์๒ ประการ คือ
(๑) พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญวิหารทาน ทายกถวายวิหารแล้วย่อมพ้นจากความ
เกิด ความแก่ และความตาย
(๒) ภิกษุจักเป็นผู้ปรากฏอยู่ เมื่อคนต้องการมาพบก็จะพบได้ง่าย
ขีณาสวอภายนปัญหา ๒๓๐ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระอรหันต์เป็นผู้
ปราศจากความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่น เพราะเหตุไร พระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ เมื่อเห็น
ช้างธนปาลกะวิ่งเข้ามาใกล้พระพุทธเจ้าจึงละทิ้งพระองค์เว้นไว้แต่พระอานนท์องค์เดียว
เท่านั้น ๒๓๑
อธิบายว่า การที่พระอรหันต์๕๐๐ องค์หลีกไปจากพระพุทธเจ้า ไม่ได้เป็นเพราะ
ความกลัว หรือเพราะต้องการที่จะให้พระพุทธเจ้าทรงล้มลง แต่พระอรหันต์มีความปริวิตกว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐเสด็จเข้าไปสู่เมือง ช้างชื่อธนปาลกะจักประทุษร้าย
พระองค์ที่ถนน พระอานนท์เถระผู้เป็นพุทธุปัฏฐากจักไม่ละทิ้งพระองค์อย่างแน่นอน
ถ้าพระอรหันต์ไม่หลีกไปจากพระองค์ คุณของพระอานนท์ก็จักไม่ปรากฏ อีกทั้งช้างก็จักไม่
วิ่งเข้าไปใกล้พระองค์แน่นอน พระอรหันต์เป็นผู้เลิกถอนเหตุแห่งความกลัว หรือความสะดุ้ง
หวาดหวั่นได้เด็ดขาด จึงไม่มีความหวาดกลัวอะไร ๆ เหมือนแผ่นดินใหญ่เมื่อถูกขุดทำลายอยู่
ก็ไม่มีความกลัว หรือความสะดุ้งหวาดหวั่น
ปฏิปทาโทสปัญหา ๒๓๒ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ
ทุกกรกิริยาอย่างมาก แต่กลับไม่ได้ความยินดีแม้เพียงเล็กน้อย ทำให้ทรงเบื่อหน่าย ต่อมา
พระองค์ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณด้วยมรรคอย่างอื่น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงพร่ำ
สอนพระสาวกด้วยปฏิปทานั้นอีกว่า ท่านทั้งหลายจงพากเพียร บากบั่น ขวนขวายในคำสอน
ของพระพุทธเจ้า กำจัดเสนาของพญามัจจุราชเสีย เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ ๒๓๓
อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทรงดำเนินตามปฏิปทา ที่มีอยู่ในอดีตและปัจจุบัน
จนบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ในคราวแรกพระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรมากเกินไป ไม่เสวย
พระกระยาหาร ทำให้จิตมีกำลังอ่อนกระสับกระส่ายไม่เป็นเอกัคตารมณ์จึงไม่ทรงบรรลุ
พระสัพพัญญุตญาณ การไม่บรรลุสัพพัญญุตญาณในคราวนั้น ไม่ใช่โทษของความเพียร
เป็นเหตุริเริ่ม หรือความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้า อีกทั้งไม่ใช่โทษของการผจญกิเลส แต่เป็นโทษ
ของการอดพระกระยาหารเท่านั้น เมื่อพระองค์เสวยพระกระยาหารแต่พอประมาณ จึงทรง
บรรลุพระสัพพัญญุตญาณด้วยปฏิปทานั้น เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกลด้วยความเร็ว
เกินไป จึงทำให้เขาชาไปครึ่งตัว หรือกลายเป็นคนปลกเปลี้ย เดินทางต่อไปไม่ได้เหตุที่เขา
ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่โทษของมหาปฐวี แต่เป็นโทษของความพยายามที่มากจนเกินไป
นิปปปัญจปัญหา ๒๓๔ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุให้
เป็นผู้มีความยินดีในนิปปปัญจธรรม ๒๓๕ เพราะเหตุไร ภิกษุจึงแสดงและไต่ถาม
นวังคสัตถุศาสน์ ๒๓๖ และกังวลอยู่ด้วยนวกรรมมีการให้และการบูชา เป็นต้น
อธิบายว่า ภิกษุผู้แสดงและไต่ถามนวังคสัตถุศาสน์ และผู้ที่กังวลอยู่ด้วย
นวกรรม คือ การให้และการบูชา ชื่อว่าเป็นผู้กระทำความเพียรเพื่อถึงนิปปปัญจธรรม
ท่านเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วโดยสภาพ มีวาสนาอบรมมาแล้ว สามารถทำ ให้
นิปปปัญจธรรมเกิดขึ้นได้โดยขณะแห่งจิตดวงเดียว ส่วนภิกษุผู้มีธุลีคือกิเลสในนัยน์ตา
ย่อมเป็นผู้มีนิปปปัญจธรรมด้วยความเพียรพยายาม เพราะเหตุนั้น อุทเทส ปริปุจฉา และ
นวกรรม เป็นสิ่งมีอุปการะมากในกิจที่ตนควรกระทำ เปรียบเหมือนบุรุษผู้จะเข้ารับราชการ
ปฏิบัติราชกิจอยู่กับพวกราชบุรุษ คือ อำมาตย์ราชภัฏ เมื่อกิจที่ตนควรกระทำยังไม่เกิดขึ้น
ราชบุรุษย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เขา
คิหีอรหัตตปัญหา ๒๓๗ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง คฤหัสถ์เมื่อบรรลุพระอรหันต์
แล้ว เพราะเหตุไร ท่านจึงต้องบวชในวันนั้น
อธิบายว่า คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหันต์ มีคติ๒ อย่าง คือ
(๑) จะต้องบวชในวันนั้น
(๒) ถ้าไม่สามารถบวชได้ก็จะต้องปรินิพพานในวันนั้น
คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหันต์จำเป็นจะต้องบวชในวันนั้น เพราะเพศแห่งคฤหัสถ์
ไม่เสมอกับคุณธรรม คือ บรรลุพระอรหันต์ในเพศที่ไม่เสมอกับคุณธรรมที่ตนบรรลุการที่
คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหันต์จะต้องปรินิพพาน ไม่ใช่โทษของความเป็นพระอรหันต์ แต่เป็น
โทษที่มีเพศเป็นคฤหัสถ์เพราะเพศคฤหัสถ์มีสภาพทุรพล ไม่สามารถจะทรงคุณธรรมชั้นสูง
ไว้ได้ จึงต้องปรินิพพานในวันนั้น เหมือนโภชนะที่เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงอายุและรักษาชีวิตของ
สัตว์ย่อมเผาผลาญชีวิตของบุคคลผู้มีกระเพาะอาหารไม่ปกติมีกำลังน้อยและอ่อนกำลัง
ซึ่งไม่สามารถย่อยอาหารได้
คิหิปัพพชิตปฏิปันนวัณณปัญหา ๒๓๘ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระพุทธเจ้า
ทรงสรรเสริญสัมมาปฏิบัติของคฤหัสถ์และบรรพชิตว่า สามารถบรรลุมรรคผล
ได้เหมือนกัน ๒๓๙ เพราะเหตุไร บุคคลจึงไม่อยู่ครองเรือนปฏิบัติธรรม แทนการออกบวชเป็น
บรรพชิตแล้วปฏิบัติธรรม
อธิบายว่า คฤหัสถ์บริโภคกามอยู่ มีบุตรและภริยา ทัดทรงของหอมและเครื่อง
ลูบไล้ ประดับเครื่องอาภรณ์ด้วยแก้วมณีและทองคำ มีความยินดีเงินและทอง หากปฏิบัติชอบ
ก็ยังญายกุศลธรรม ๒๔๐ ให้บริบูรณ์ได้ ส่วนบรรพชิตปลงผมและหนวด นุ่งผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด
อาศัยบิณฑบาตเลี้ยงชีพ สมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบท ประพฤติอยู่ในธุดงค์คุณ ปฏิบัติ
ชอบแล้วย่อมยังญายกุศลธรรมให้บริบูรณ์ได้บรรพชิตมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความเป็นอิสระ
ความเป็นใหญ่กว่าธรรมดาสามัญ บรรพชาก็มีคุณมากหาประมาณมิได้เมื่อบรรพชิตต้องการ
กระทำกิจก็สำเร็จโดยฉับพลัน เพราะท่านมีความปรารถนาน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลีกับหมู่
คณะ ปรารภความเพียร ไม่มีความอาลัย ไม่มีเรือนเป็นที่กำหนด มีศีลบริบูรณ์ มีอาจาระ
เป็นไปเพื่อสัลเลขธรรม เป็นผู้ฉลาดในการปฏิบัติกำจัดกิเลส ดุจลูกศรที่ไม่มีปม เรียบตรง
ขัดดีแล้ว ปราศจากมลทิน ที่บุคคลยิงอย่างถนัด ย่อมพุ่งไปได้ไกล
อรหโตกายิกเจตสิกเวทนาปัญหา ๒๔๑ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง พระอรหันต์
เสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ หรือว่าพระอรหันต์ไม่เป็นใหญ่ไม่เป็น
เจ้าของจิตที่อาศัยอยู่ในกาย และไม่สามารถยังอำนาจให้เป็นไปในกาย
อธิบายว่า ข้อที่พระอรหันต์ไม่เป็นใหญ่ไม่เป็นเจ้าของ และไม่เป็นผู้ยังอำนาจ
ให้เป็นไปในกายซึ่งคล้อยตามจิต ย่อมไม่ถูกต้อง แม้นกที่อาศัยอยู่ในรังย่อมเป็นใหญ่
เป็นเจ้าของ และเป็นผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในรังนั้น ก็ธรรม ๑๐ ประการ ๒๔๒ ย่อมครอบงำกาย
ไปทุกภพทุกชาติพระอรหันต์ไม่สามารถเป็นใหญ่เหนือธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ แม้จิตของ
พระอรหันต์จะอาศัยกาย แต่อำนาจหรือความเป็นใหญ่ก็ไม่ได้เป็นไปในกาย เหมือนสัตว์ที่
อาศัยอยู่บนแผ่นดิน แต่อำนาจหรือความเป็นใหญ่ของสัตว์ก็ไม่ได้แผ่ไปในแผ่นดิน
พระอรหันต์จึงเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ เพราะท่านได้อบรมจิต
มาเป็นอย่างดี เมื่อถูกทุกขเวทนาถูกต้อง ก็พิจารณาว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง นำจิตไปผูกไว้ที่เสาคือ
สมาธิ ทำให้จิตไม่หวั่นไหว ไม่กระสับกระส่าย เป็นจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน แต่กายของท่าน
ย่อมคู้เข้า เหยียดออก เพราะความแผ่ซ่านแห่งเวทนาวิการ
ขีณาสวกายิกเวทนานานากรณปัญหา ๒๔๓ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง เมื่อกาย
ของบุคคลเคลื่อนไหว แต่จิตกลับไม่หวั่นไหวตาม เป็นสิ่งอัศจรรย์ในโลก
อธิบายว่า พระอรหันต์ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมกำหนดว่า เป็นสิ่งไม่แน่นอน
นำจิตไปผูกไว้ที่เสาคือสมาธิทำให้จิตไม่หวั่นไหว เป็นจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่ายไปในที่อื่น แม้กาย
ของพระอรหันต์จะคู้เข้า เหยียดออก หรือเกลือกกลิ้งไปมา เพราะความแผ่ซ่านแห่งเวทนา
วิการ แต่จิตก็มั่นคงไม่กระสับกระส่าย เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่มีลำต้น กิ่ง และใบ เมื่อถูกลมพัด
กิ่งและใบย่อมปลิวไหวไปตามลม แต่ลำต้นกลับไม่เอนไหวไปตามลม
ธุตังคปัญหา ๒๔๔ พระนาคเสนตอบคำถามเรื่อง ประโยชน์ของการถือธุดงค์
อธิบายว่า ถ้าคฤหัสถ์สามารถตรัสรู้ธรรมได้เหมือนกัน ธุดงค์คุณก็จะไม่มีผลใหญ่
ไพศาล หรือไม่ทำประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะธุดงค์เหล่านี้ไม่ได้กระทำหน้าที่ของตน ธุดงคคุณ
เหล่านี้ มีคุณปรากฏตามความเป็นจริง ประกอบด้วยคุณหลายประการ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จึงทรงรักใคร่และปรารถนา บุคคลผู้ส้องเสพธุดงค์คุณโดยชอบ ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยคุณ
หลายอย่าง ธุดงค์คุณจึงเป็นสิ่งเสมอด้วยแผ่นดิน เพราะเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งบุคคลผู้ปรารถนา
ความหมดจดพิเศษ เสมอเหมือนบิดามารดา เพราะเป็นผู้ให้สรรพสามัญคุณทั้งหลายเกิด
และเป็นผู้อนุเคราะห์แห่งบุคคลผู้มีความทุกข์ คือ กิเลสเบียดเบียน บุคคลผู้ทำตนให้บริสุทธิ์
ด้วยธุดงค์๑๓ ประการ เข้าไปสู่มหาสมุทร คือ พระนิพพานแล้วย่อมเล่นธรรมมีอย่างมาก
ย่อมใช้สมาบัติทั้ง ๘ ประการ คือ รูปสมาบัติ๔ อรูปสมาบัติ๔ ประกอบด้วยฤทธิ์มีอย่าง
ต่าง ๆ มีทิพยโสตธาตุ ปรจิตตวิชชา บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักษุความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ นวังคสัตถุศาสน์โลกุตรกิริยา และสมาบัติอันไพบูลย์ประเสริฐที่ได้บรรลุ คุณเหล่านั้น
ทั้งหมด ประชุมรวมลงในธุดงค์คุณ ๑๓ ประการ ๒๔๕
จากการศึกษาได้พบว่า การปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยบุคคล เป็นวิธีการที่จะ
เข้าถึงเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นการพัฒนาตัวเองให้หลุดพ้นจากกิเลส บรรพชิต
และคฤหัสถ์เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สามารถเป็นพระอริยบุคคล บรรลุมรรคผลได้เหมือนกัน
พระอริยบุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา มีอยู่๒ ประเภท ๒๔๖ คือ
(๑) พระเสขบุคคล พระผู้ยังต้องศึกษาเพื่อบรรลุคุณธรรมชั้นสูงขึ้นไป
(๒) พระอเสขบุคคล พระผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะเสร็จกิจเรียบร้อยแล้ว
การบวชเป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ที่จะพัฒนาตนให้เป็นพระอริยบุคคลได้รวดเร็ว
และมั่นคง เพราะต้องอาศัยจิตใจที่แน่วแน่จึงจะสามารถนำตนให้พ้นความทุกข์ และบำเพ็ญ
ประโยชน์แก่คนหมู่มากได้อย่างดีบรรพชิตเป็นผู้ไม่มีความกังวลด้วยปัจจัยเครื่องอาศัยในการ
ดำรงชีพ จึงสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จได้รวดเร็ว ส่วนคฤหัสถ์ต้องกังวลกับการแสวงหา
ปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการบรรลุคุณธรรมชั้นสูง ๆ ขึ้นไป แม้เมื่อบรรลุเป็น
พระอรหันต์ก็ต้องบวชในวันนั้น เพราะเพศคฤหัสถ์ไม่สามารถที่จะรองรับคุณธรรมขั้นสูงสุด
ได้ ซึ่งต่างจากเพศบรรพชิตที่เป็นอุดมเพศ
อย่างไรก็ตาม แม้บุคคลจะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ก็ไม่สามารถดับ
ทุกขเวทนาทางกายได้ ดับได้เฉพาะทุกขเวทนาทางใจเท่านั้น เพราะพระอรหันต์ไม่มีอำนาจ
บังคับบัญชาร่างกายให้อยู่ในอำนาจของตน แม้กรรมที่เคยกระทำไว้ในอดีตก็ยังติดตามให้ผล
อยู่ตลอดเวลา   


ที่มา : พระมหาสายเพชร วชิรเวที(หงษ์แพงจิตร)

DT011129

dharma

2 มิ.ย. 2554
 เปิดอ่านหน้านี้  5332 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย