ค้นหาในเว็บไซต์ :
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร


วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร
พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร (วัดมกุฏ) สังกัด : ธรรมยุติกนิกาย

วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร (วัดมกุฏ) ตั้งอยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษม ด้านใกล้ถนนราชดำเนินนอก หลังจากขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้นนอกแล้ว พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริที่จะให้มีวัดเรียงรายอยู่ตามชายคลองเหมือนที่กรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นเคียงคู่กับวัดโสมนัสวิหาร



การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ในขั้นแรกโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อว่า วัดนามบัญญัติ ไปพลางก่อน เมื่อสิ้นรัชกาลจึงค่อยเรียกนามพระราชทานว่า วัดมกุฏกษัตริยาราม อันเป็นนามตามพระปรมาภิไธย

พระวิหาร

ด้านหน้าพระวิหาร

วัดมกุฏกษัตริยารามและวัดโสมนัสวิหาร เป็นวัดในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีเสมา ๒ ชั้น ชั้นแรกเรียกว่า มหาสีมา อยู่ในซุ้มที่มุมกำแพงรอบวัด และยังมีเสมารอบพระอุโบสถอีกเรียกว่า ขัณฑสีมา ในวัดที่มีเสมา ๒ ชั้นเช่นนี้ พระสงฆ์สามารถประชุมทำสังฆกรรมได้ทั้งพระอุโบสถและพระวิหาร




พระพุทธวชิรมกุฎ พระประธานในพระวิหารหลวง

อาคารสำคัญในวัดได้แก่ พระวิหาร และพระอุโบสถ มีลายพระมหามงกุฏอันเป็นตราประจำรัชกาลที่ ๔ ทั้งที่หน้าบันและด้านบนของซุ้มประตูหน้าต่างเช่นเดียวกัน ผนังด้านในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมอันหลากหลายแตกต่างจากวัดอื่น เช่น เรื่องพระสาวกในบาลีและอรรถกถา พระอัครสาวก ๑๑ พระองค์ อัครสาวิกา ๘ องค์ ภาพการบำเพ็ญกรรมฐาน สิ่งที่พึ่งปฏิบัติเนื่องด้วยธรรมวินัย ธุดงควัตร บนบานหน้าต่างและบานประตูด้านในเขียนพระสูตรที่เป็นคาถาด้วยตัวอักษรบรรจง เป็นต้น

พระเจดีย์

พระเจดีย์

พระราชสุมนต์มุนี (บุญร่วม อตฺถกาโม)
เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร


วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร

ตั้งอยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษม ด้านใกล้ถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร

สังกัดคณะสงฆ์ - ธรรมยุติกนิกาย

พระพุทธวชิระมงกุฎ พระประธานในพระวิหารหลวง

เว็บไซต์วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย