วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร (วัดระฆัง) ตั้งอยู่ทางฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับท่าช้างวังหลวง เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และโปรดเกล้าฯ ให้สังคยาพระไตรปิฏกที่นี่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีการขุดพบระฆังโบราณในเขตวัด ประชาชนจึงเรียกว่า วัดระฆังตั้งแต่นั้นมา แต่ตัวระฆังซึ่งมีเสียงดี รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สิ่งสำคัญในวัดได้แก่ ตำหนักทอง ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมเด็จพระสงฆราช (ศรี) พระอุโบสถกับหอพระไตรปิฏกที่รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้าง ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังประดับทั้งสองหลัง
สถาปัตยกรรมไทยในวัดที่มีชื่อเสียงเลื่อลือว่างามยิ่ง คือ หอพระไตรปิฏก เดิมอยู่กลางสระที่ขุดขึ้นด้านหลังพระอุโบสถ สร้างเป็นเรือนแฝด ๓ หลัง ด้วยไม้ที่รื้อพระตำหนักและหอนั่งเดิมของรัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งยังทรงรับราชกาลอยู่กรุงธนบุรี ฝาผนังด้านนอกทาสีดินแดง ด้านในเขียนภาพฝีมืออาจารย์นาค เป็นภาพแสดงวิถีชีวิตประจำวันของคนสมัยนั้น บานประตูตกแต่งด้วยการเขียนลายรดน้ำและแกะสลักอย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมี ตู้พระไตรปิฏก ลายรดน้ำขนาดใหญ่สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่ในห้องด้านเหนือและห้องด้านใต้
|
ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700 |
โทร. |
พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร |
สังกัดคณะสงฆ์ - มหานิกาย |
เฟซบุ๊กวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร |