เธ„เน‰เธ™เธซเธฒเนƒเธ™เน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒ :
วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร


วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร , สังกัด : มหานิกาย

รัชสมัยรัชกาลที่ 1 - แรกสถาปนาพระอาราม

วัดเทวราชกุญชร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “วัดสมอแครง” เล่ากันว่าเพราะมีต้นสมอร่องแร่งมาก บ้างก็สันนิษฐานว่า “สมอ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ถมอ” (ถะมอ) เป็นภาษาเขมรแปลว่า “หิน” วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า “ถมอแครง” ซึ่งแปลว่า “หินแกร่ง”

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ต่อมา สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสของสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของรัชกาลที่ 1 (ต้นสกุลมนตรีกุล) ทรงบูรณะต่อ โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษเทเวศร์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 (ต้นราชสกุลกุญชร) ทรงอุปถัมภ์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์ พระโอรสทรงอุปถัมภ์ต่อ หลังจากนั้นเจ้านายผู้สืบสกุลกุญชรให้ความอุปถัมภ์โดยลำดับ



รัชสมัยรัชกาลที่ 4 - พระราชทานนามพระอาราม "วัดเทวราชกุญชร"

ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนามว่า “วัดเทวราชกุญชร” โดยคำว่า “เทวราช” แปลว่า “พระอินทร์” มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ซึ่งแปลว่า “ช้าง” รวมความแล้วแปลว่า “ช้างพระอินทร์” ปัจจุบันกรมศิลปากรจดทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ


{ พระพุทธเทวราชปฏิมากร }

รัชสมัยรัชกาลที่ 9 - พระราชทานนาม "พระพุทธเทวราชปฏิมากร"

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถว่า “พระพุทธเทวราชปฏิมากร” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ จำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2546

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ มาทรงประกอบพิธียกฉัตรถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมสายสังวาลถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร พระราชทานเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และอัญเชิญสายสังวาลคล้องถวายพระพุทธเทวราชปฏิมากร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


{ พระอุโบสถ }

{ รุ่งอรุณ ณ วัดเทวราชกุญชร }

พ.ศ. 2555 - สืบสานพระราชปณิธานการบูรณปฏิสังขรณ์

พ.ศ. 2555 คณะกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถานอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และการส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เห็นชอบให้การสนับสนุนและดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2556 พระอุโบสถจึงหวนคืนสู่ความสง่างามเคียงคู่พระอารามแห่งนี้


{ พระอุโบสถ }

{ พระอุโบสถ }

{ ภายในพระอุโบสถ }

พระอุโบสถ

สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ มีขนาดกว้าง 17 เมตร ยาว 36 เมตร มีเขตพัทธสีมา กว้าง 24 เมตร ยาว 43.50 เมตร เป็นอาคารแบบประเพณีนิยม ก่ออิฐถือปูน ลักษณะพระอุโบสถมีขนาดสูงใหญ่ มีเสาพาไลรองรับ ชายคาเสาเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ไขราเป็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นงานไม้ประดับกระจกสีลายดอกพุดตาน ซุ้มประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยงานปูนเป็นซุ้มเรือนแก้ว หลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มีกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ ที่มุมกำแพงแก้วมีเจดีย์ทั้งสี่มุม


{ พระประธานในพระอุโบสถ }

{ พระพุทธเทวราชปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ }

พระประธานในพระอุโบสถ

เป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ฝีมือช่างสมัยทวารวดี ประดิษฐานบนฐานชุกชีขนาดหน้าตักกว้าง 4.35 เมตร สูงตั้งแต่พระเพลาถึงยอดเปลวรัศมี 5.65 เมตร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า "พระพุทธเทวราชปฏิมากร"


{ ศาลารายสุชาดา }

{ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ }

ศาลาราย

ศาลารายสุชาดา ตั้งอยู่ด้านซ้ายพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

{ ศาลารายเภาลีนา }

ศาลารายเภาลีนา ตั้งอยู่ด้านขวาพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย


{ พระวิหาร }

( ภายในพระวิหาร }

{ ลายประตูพระวิหาร }

พระวิหาร

เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ทำด้วยทองเหลืองลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว สูง 43 นิ้ว จำนวน 9 องค์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระราชทานแก่วัดเทวราชกุญชร


{ มณฑปจัตุรมุข }

{ มณฑปจัตุรมุข }

{ หลวงพ่อดำ }

{ มณฑปจัตุรมุข }

{ มณฑปจัตุรมุข }

{ พระพุทธรูปเก่าโบราณ }

มณฑปจัตุรมุข

สร้างครอบพระอุโบสถเก่าเมื่อปี พ.ศ. 2536 มีขนาดกว้าง 12.40 เมตรยาว 12.40 เมตร ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มณฑปจัตุรมุขนี้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงพุทธศิลป์ เช่น พระพุทธรูปเก่าโบราณ พระพุทธบาทเก่าศักดิ์สิทธิ์สมัยกรุงศรีอยธุยา
เปิดเวลา 9.00 - 17.00 น.



หอพระรัตนตรัย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร


{ พิพิธภัณฑ์สักทอง }

{ พิพิธภัณฑ์สักทอง }

{ พิพิธภัณฑ์สักทอง }

{ ภายในพิพิธภัณฑ์สักทอง }

พิพิธภัณฑ์สักทอง

อาคารพิพิธภัณฑ์สักทอง ลักษณะทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร ใช้เสาไม้สักทองทั้งหลัง ขนาดเสา 2 คนโอบ มีอายุประมาณ 479 ปี ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติในด้านสถาปัตยกรรมและเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา พ.ศ. 2550 ภายในจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งเท่าพระองค์จริงของสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา
เปิดเวลา 10.00 - 17.00 น.



{ อาคารอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ มวก. }

อาคารอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ มวก. เป็นอาคารทรงปั้นหยาประยุกต์ สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2555


{ อาคารเทวราชธรรมศาลา }

อาคารเทวราชธรรมศาลา เป็นอาคารทรงไทยตรีมุข 2 ชั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรัตนโกสินทร์มหาวชิราลงกรณ ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว มาประดิษฐานประจำพระแท่นบุษบกภายในอาคารหลังนี้


{ อาคารเทวราชธรรมสถิต }

อาคารเทวราชธรรมสถิต เป็นอาคารทรงปั้นหยาประยุกต์ 3 ชั้น ขนาดกว้าง 9.50 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พ.ศ. 2554 และเป็นอาคารสำหรับพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนใช้ในการประกอบศาสนกิจและศึกษาเล่าเรียน


{ อาคารเทวราชกุญชร }

อาคารเทวราชกุญชร เป็นอาคารทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น มีอายุกว่า 100 ปี ปัจจุบันเป็นอาคารอนุรักษ์


{ บรรยากาศริมน้ำ }
{ ศาลาท่าน้ำ }

ศาลาท่าน้ำ สำหรับปล่อยปลา เลี้ยงปลา สร้างทานบารมี


บรรยากาศวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร









วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

เลขที่ 167 ถนนประชาธิปไตย แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

โทร. 02 282 4453

พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย

FB วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

เว็บไซต์ วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร



 เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ
 เธ—เธตเธกเธ‡เธฒเธ™เธ˜เธฃเธฃเธกเธฐเน„เธ—เธข
 เนเธœเธ™เธœเธฑเธ‡เน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒ
 เธ„เน‰เธ™เธซเธฒเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ
 เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธ˜เธฃเธฃเธกเธฐเน„เธ—เธข
 เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธก
 เธ˜เธฃเธฃเธกเธฐเนƒเธ™เธชเธงเธ™
 เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเธ˜เธฃเธฃเธกเธฐ
 เธจเธนเธ™เธขเนŒเธฃเธงเธกเธ เธฒเธž
 เธชเธฑเธเธฅเธฑเธเธฉเธ“เนŒเน„เธ—เธข
 เธกเธธเธกเธชเธกเธฒเธŠเธดเธเธ˜เธฃเธฃเธกเธฐเน„เธ—เธข
 Donation
 เน€เธ—เธจเธเธฒเธฅเธ‡เธฒเธ™เธงเธฑเธ”เธŠเนˆเธงเธขเธŠเธฒเธ•เธด
 เธ‚เนˆเธฒเธงเธ˜เธฃเธฃเธกเธฐ
 เธเธฒเธฃเน€เธœเธขเนเธœเนˆเธจเธฒเธชเธ™เธฒ
 เธ›เธฃเธฐเน€เธžเธ“เธตเน„เธ—เธข

เธˆเธตเธฃเธฑเธ‡ เธเธฃเธธเนŠเธ›    

 ธรรมะไทย