คำตรัสของพระพุทธเจ้า"การปล่อยวาง"

 naproxen    

คำตรัสของพระพุทธเจ้า
"การปล่อยวาง"
ดูก่อน อุปกะ ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหาอุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตนเป็นของตนจะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้น เป็นไม่มีหาไม่ได้ในโลกนี้

เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ สักแต่ว่าเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากการยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่ง แจ่มใส เบิกบานอยู่

ดูก่อน อุปกะ เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความยึดมั่น ถือมั่นเรื่องตัวตนเสียด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบายคลายทุกข์ คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม   







พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

[๑๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ อย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวติเตียนผู้อื่น ผู้นั้นทั้งหมดย่อมไม่อาจให้กุศลกรรม เกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปกะ ถ้าบุคคล กล่าวติเตียนผู้อื่น เมื่อเขากล่าวติเตียนผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียนไซร้ ดูกรอุปกะ ท่านนั่นแหละกล่าวติเตียนผู้อื่น ย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียน ฯ
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลพึงจับปลาที่พอผุดขึ้นเท่านั้นด้วยแหใหญ่ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พอเอ่ยขึ้นเท่านั้น พระผู้มีพระภาคก็ทรงจับด้วยบ่วงคือวาทะอันใหญ่ ฯ
พ. ดูกรอุปกะ เราบัญญัติแล้วว่า นี้เป็นอกุศลแล บท พยัญชนะ ธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า นี้เป็นอกุศลแม้เพราะเหตุนี้ อนึ่ง เราบัญญัติว่า อกุศลนี้นั้นแล ควรละเสีย บท พยัญชนะ ธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ อกุศลนี้ควรละเสีย อนึ่ง เราบัญญัติไว้แล้วว่า นี้เป็นกุศลแล บท พยัญชนะ ธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า นี้เป็นกุศลแม้เพราะเหตุนี้ อนึ่ง เราบัญญัติว่า กุศลนี้นั้นแลควรบำเพ็ญ บท พยัญชนะ ธรรมเทศนาของตถาคตใน
ข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า กุศลนี้ควรบำเพ็ญแม้เพราะเหตุนี้ ฯ
ลำดับนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตร ครั้นแล้วได้กราบทูลการสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคทั้งหมดนั้น แก่พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตร เมื่ออุปกมัณฑิกาบุตรกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตรทรงกริ้ว ไม่ทรงพอพระทัย ได้ตรัสกะอุปกมัณฑิกาบุตรว่า เจ้าเด็กลูกชาวนาเกลือนี่อวดดี ปากกล้า บังอาจ จักสำคัญพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่าควรรุกราน เจ้าอุปกะจงหลีกไป จงพินาศ ฉันอย่าได้เห็นเจ้าเลย ฯ
[๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยกายก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยสติก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาก็มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยกายเป็นไฉน ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ควรกระทำให้แจ้งด้วยกาย ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยสติเป็นไฉน ปุพเพนิวาสควรกระทำให้แจ้งด้วยสติ ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุเป็นไฉน การจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุ ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาเป็นไฉน ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้แล ฯ
[๑๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาท ของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งในวันอุโบสถ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นิ่งเงียบแล้ว ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เงียบ ปราศจากเสียงสนทนา บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในสาระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทเช่นใดที่บุคคลหาได้ยาก แม้เพื่อจะเห็น
ในโลก ภิกษุสงฆ์นี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทนี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทเช่นใดเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ภิกษุสงฆ์นี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทนี้ก็เป็นเช่นนั้น แม้ของน้อยที่เขาให้ในบริษัทเช่นใด ย่อมเป็นของมาก ของมากที่เขาให้ในบริษัทเช่นใด ย่อมเป็นของมากยิ่งกว่า ภิกษุสงฆ์นี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทนี้ก็เป็นเช่นนั้น การไปเพื่อจะดูบริษัทเช่นใด แม้จะนับด้วยโยชน์ ถึงจะต้องเอาเสบียงทางไปก็ควรภิกษุสงฆ์นี้ ก็เป็นเช่นนั้น ภิกษุสงฆ์นี้เห็นปานนั้น คือ ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ถึงความเป็นเทพก็มี ภิกษุทั้งหลายที่ถึงความเป็นพรหมก็มี ภิกษุทั้งหลายที่ถึงชั้นอเนญชาก็มี ภิกษุทั้งหลายที่ถึงความเป็นอริยะก็มี


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าถึงความเป็นเทพ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นพรหม ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา...มีใจประกอบด้วยมุทิตา...มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ ด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นพรหม.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่า ถึงชั้นอเนญชาภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับสิ้นปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่าอากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่าวิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อะไรๆ ไม่มี เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุจึงชื่อว่าถึงชั้นอเนญชา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะก็อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะ ฯอย่างนี้แลภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะ ฯ

จบโยธาชีววรรคที่ ๔


• สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร (2331 - 2415)

• ข้อที่ควรระวังการให้ทาน - พุทธทาสภิกขุ -

• สร้างห้องน้ำวัดตลิ่งชันอารามหลวง

• "ศีล เครื่องปราบบาปทั้งหลาย" (หลวงปู่จันทา ถาวโร)

• ปฏิบัติธรรมวันสงกรานต์ แบบเจโตวิมุติ 12 - 15 เมษายน 2567 ณ ปัณฑิตารมย์สระบุรี

• เหตุใดจึงห้ามฆ่า

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย