จิตดีจิตชั่ว

 wasawaum    

ช่วยอธิบายเรื่องจิตด้วยครับ จิตคืออะไร คุณสมบัติพื้นฐานของจิตเหมือนกันทุกดวงไหม ทำไมมีจิตดีจิตชั่วคนจะดีไม่ดีทำไมมีส่วนประกอบของการอบรมด้วย จิตแรกเริ่มดีหรือชั่วหรือมีทั้งดีและชั่ว ถ้าจิตแรกเริ่มเราเป็นจิตชั่วสามารถฝึกให้ดีได้ไหม   




ลักษของจิตและ การทำงานของจิต


จิตมีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ (สามัญลักษณะ) อยู่ ๓ ประการ คือ

๑. อนิจจลักษณะ คือ มีลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลง (เกิด-ดับ) อยู่ตลอดเวลา
๒. ทุกขลักษณะ คือ มีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป)
๓. อนัตตลักษณะ คือ มีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด จะบังคับให้หยุดการเกิดดับก็ไม่ได้

สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นกฎธรรมชาติที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ รูปธรรม และนามธรรมทั้งหลายอันได้แก่ รูป จิตและเจตสิก ย่อมจะต้องมีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันทั้งหมด


นอกจากจิตจะมีลักษณะสามัญตามที่กล่าวมาแล้ว

จิตยังมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว (วิเสสลักษณะ) อีก ๔ ประการ คือ



๑. มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
๒. เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
๓. มีการเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย เป็นผล
๔. มีอดีตกรรม ทวาร อารมณ์และเจตสิก เป็นเหตุให้จิตเกิดขึ้น


การทำงานของจิตจะเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ในพระสูตรตอนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มีใจความว่า ยากที่จะนำสิ่งอื่น ๆ ทั้งหลายในโลก มาเปรียบเทียบกับความเกิดดับอันรวดเร็วของจิต เพราะจิตเกิดดับ ๆ รวดเร็วกว่าสิ่งใด ๆ ในโลก เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตจะเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ หรือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ดวง (หนึ่งล้านล้านดวง)

ที่ว่า จิตมีการเกิดดับสืบต่ออย่างไม่ขาดสาย เพราะจิตดวงที่ ๑ เกิดขึ้นแล้วดับไป ต่อจากนั้นจิตดวงที่ ๒ ก็จะเกิดขึ้นติดต่อกันแล้วก็ดับไปอีก เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ
ดังในภาพ



เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป >>> เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป




(ความจริงจิตเป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างสัณฐาน ที่เขียนเป็นดวงกลม ๆ นั้น เป็นการสมมุติเพื่อให้เข้าใจง่ายเท่านั้น)


ภาวะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันเป็นกระแสนี้ท่านเรียกว่า สันตติ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับกระแสน้ำ ที่ประกอบไปด้วยอณูของน้ำเล็กๆ เรียงติดต่อกันเป็นสาย ขณะที่กระแสจิตไม่ออกมารับรู้เรื่องราว (อารมณ์) ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จิตในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า ภวังคจิตซึ่งเป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษารูปนาม ในภพปัจจุบันไว้มิให้แตกทำลายไป จนกว่าจะสิ้นอายุจากภพนี้ แม้ในขณะหลับสนิท (ไม่มีการฝัน) หรือสลบไป ก็จะมีภวังคจิต เกิดดับสืบเนื่องกันตลอดเวลา อารมณ์ของภวังคจิต เป็นอารมณ์ที่สืบเนื่องมาจากเหตุปัจจัยในอดีตภพ


เมื่อใดก็ตามที่จิตออกมารับรู้เรื่องราวทางประตู (ทวาร) ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อนั้นจิตจะขึ้นสู่วิถีซึ่งเรียกว่า วิถีจิต และเมื่อสิ้นสุดแต่ละวิถี ก็จะมีภวังคจิตที่คอยรักษาภพชาติเกิดคั่นอยู่ทุกครั้ง แต่เราจะไม่รู้สึกตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมานั้น เกิดขึ้นรวดเร็วมาก แม้แต่แสงไฟจากหลอดไฟฟ้า ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีการกระพริบ (เกิด-ดับ) ตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยความเร็วเพียง ๕๐ ครั้งต่อวินาทีเท่านั้น เราก็ยังไม่สามารถสังเกตเห็น การกระพริบของแสงไฟได้เลย ดังนั้น จิตซึ่งมีการเกิดดับอย่างรวดเร็วถึงประมาณ ๑ ล้าน ๆ ครั้งต่อวินาที * จึงไม่น่าสงสัยว่าทำไมเราถึงไม่สามารถที่จะรู้สึกได้

อนุมานว่าการลัดนิ้วมือ (การงอนิ้วเข้ามาหาฝ่ามือ) ใช้เวลาประมาณ ๑ วินาที


• เนื้อคู่ โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

• นิทาน วิธีรับมือกับพวกชอบนินทา(พระมหาสมปอง)

• เพลงที่ผ่อนคลายทำให้ประสาทสงบลง 🌿 ความกังวลทั้งหมดของคุณจะหายไปหากคุณฟังเพลงนี้

• รู้ทันความปรุงแต่งของจิต :: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 20 ก.พ. 2565

• วัดเขาบางทราย

• ทำบุญทำทานเพื่อเป็นกุศลกับชีวิต

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย