คำถามเกี่ยวกับ การตรัส ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 sleepwalks    

ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือ โดยเฉาะหนังสือธรรมมะ และเมื่อได้อ่านเกี่ยวกับพระไตรปิฎก ก็เกิดข้อสงสัยบางประการ เช่น

1.ทำไมองค์ตถาคตถึงต้องกล่าว คำว่า ดูก่อน ทุกครั้งครับ ผมอดสงสัยไม่ได้
2.ทำไมองค์ตถาตถถึงต้องปฏิเสธคำขอเสียก่อน 2 ครั้ง ก่อนจะทรงโปรดในการขอครั้งที่ 3

ตัวอย่าง ในครั้งที่จะทรงดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงได้กล่าวแก่พระอานนท์ว่า
" เราตถาคตได้ทำความเพียรปฏิบัติมาดีแล้ว ถ้าจักมีชีวิตอยู่ต่ออีกสัก 20 ปี ก็พอได้ ถ้าเจ้า(พระอานนท์)ได้เฉลียวใจ ทูลขอเราให้อยู่ต่อ เราก็จักปฎิเสธเสีย 2 ครั้ง และจะรับในการขอครั้งที่ 3"

ขอฝากคำถาม 2ข้อรบกวน่านผู้รู้ช่วยชี้แจง ข้อสงสัยด้วยครับ จะขอบพระคุณอย่างสูง




ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือ โดยเฉาะหนังสือธรรมมะ และเมื่อได้อ่านเกี่ยวกับพระไตรปิฎก
อนุโมทนาสาธุครับ

ก็เกิดข้อสงสัยบางประการ
เวลานี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว คุณมาถามเรื่องของท่าน จะมีใครตอบได้ถูกล่ะครับ?! เหมือนกับความสงสัยของคุณ หากผมถามคนอื่นว่า เอ..ทำไมคุณ
sleepwalks สงสัยเรื่องนี้?
คนอื่นๆคงไม่ทราบความคิดของคุณ
sleepฯได้ แต่คงเพียงคาดคะเนหรือสุ่มเดานะครับ


ดังนั้น สิ่งที่ผมจะตอบต่อไปนี้จึงมาจากการได้ยินมาจากผู้อื่นที่เพียงคาดคะเนเอาหรือจะมีญานหยั่งรู้
ก็สุดวิสัยที่กระผมจะทราบได้นะครับ

1.ทำไมองค์ตถาคตถึงต้องกล่าว คำว่า ดูก่อน ทุกครั้งครับ ผมอดสงสัยไม่ได้
การที่ตรัสว่าดูก่อน ตามด้วยชื่อบุคคลหรือหมู่กลุ่มใดๆ ก็เพื่อเรียกผู้ฟังให้เกิดสติ ตั้งใจสดับ
รับฟังในสิ่งที่พระองค์จะทรงตรัสบอกเพราะคนเรานั้น โดยปกติ จิตจะแส่ส่าย ออกไปในที่ต่างๆตามจริตของตน คือบ้างคิดฟุ้งซ่านไปในกาม บ้างวิตกในเรื่องต่างๆ และไม่น้อยที่กำลังเข้าฌาน หรือสมาบัติ (อย่าลืมว่าในสมัยนั้นมีพระอรหันต์มากมาย)

เมื่อท่านเหล่านั้นมีจิตเช่นดังกล่าวมาพระพุทธองค์จึงต้องตรัสเรียก "สติ"ให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังเสียก่อน
เหมือนเวลาพ่อแม่จะสอนลูก ก็อาจจะบอกว่า "นี่นะ สมชาย พ่อว่า..." หรือ "นี่แน่ะ สมหญิง แม่ว่า.."
แม้แต่เวลาเราคุยกับเพื่อน ยังร้องว่า"เฮ้ย! วิชัย.." เพื่ออะไร? ก็เพื่อให้เขาตั้งใจฟังเรานั่นเอง






ขอบคุณ คุณ ddman มากครับ


พอดี ผมต้องออกไปซ้ือของตุนไว้เพราะพรุ่งนี้เป็น public holiday (อยู่ต่างปท.)ร้านรวงปิดหมดเลยตอบ
ไปข้อเดียว ทีนี้มาว่าต่อข้อ 2.ทำไมองค์ตถาตถถึงต้องปฏิเสธคำขอเสียก่อน 2 ครั้ง ก่อนจะทรงโปรดในการขอครั้งที่ 3

คำตอบมีหลายอย่างขึ้นอยู่กับกาลและบุคคล
การที่ทรงตรัสปฏิเสธการขอใดๆก่อนจนครั้งที่ 3นั้น ถือว่าเป็น พุทธประเพณีที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายถือปฏิบัติอยู่
ก่อนอื่นพึงเข้าใจไว้ว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงเป็นผู้ที่มีความพิเศษที่ไม่มีผู้ใดเสมอได้อีกแล้ว เพราะทรง เป็นผู้บริสุทธิ์จากกิเลสทัั้งหมดโดยสิ้นเชิง ดังนั้น การที่ผู้ใดจะมาขอให้พระองค์ ทำสิ่งใดๆ ถ้าพระองค์ตอบรับทันที ก็
ดูเหมือนทรงกระตือรือร้นเพราะกิเลสตัณหา โดยเฉพาะเรื่องที่เก่ียวกับ ประโยชน์อันเกี่ยวข้องกับพระองค์เอง เช่นการขอให้พระองค์ทรงพระชนม์ต่อออกไปอีก หากทรงรับทันทีที่พระอานนท์อาราธนา ผู้ที่ไม่มีศรัทธาอยู่ย่อมเพ่งโทษว่าพระองค์มีกิเลส ซึ่งจะเป็นโทษมหันต์ต่อเขาเหล่านั้น

อีกประการหนึ่ง ผู้ขออาจมีจิตโลเล บางทีเอ่ยขอไปแล้วแต่อีกใจหนึ่งคิดว่าไม่อยากขอเช่นนั้น พระพุทธองค์จึงให้โอกาสผู้ขอ สอบทานความตั้งใจเดิมของตน โดยทรงปฏิเสธเสียก่อนเป็นต้น
เราจะพบข้อความมากมายในพระไตรปิฎกว่าเวลาที่มีผู้ทูลขอหรืออาราธนาพระพุทธเจ้า หากท่านรับ ท่านจะ
ไม่ตอบด้วยวาจาหรือแม้แต่กิริยาเคลื่อนไหว แต่ทรง"รับโดยอาการดุษฎี" คือ"นิ่ง"อย่างเดียว แต่เป็นที่ เข้าใจกันได้ว่าทรงรับแล้ว

วิสัยของพระพุทธเจ้านั้นย่อมเป็นเรื่องที่พิเศษนอกเหนือความสามารถ
ของปุถุชนอย่างเราจะเข้าใจได้เพราะเราคิดได้ คิดเป็นแต่เรื่องปกติที่คุ้นความรู้สึกแบบโลกย์ๆเท่านั้น แต่
พอประมาณเอาตามคัมภีร์ประมวลมาได้ว่า สิ่งทั้งหลายที่แสดงออกโดยพระพุทธเจ้าแล้ว ล้วนเกื้อกูลต่อสรรพ
สัตว์ด้วยพระมหากรุณาอันหาที่สุดมิได้ โดยถ่ายเดียว เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงประกอบ กายกรรม วจีกรรมหรือมโนกรรมที่ไม่เป็นประโยชน์หรือไร้สาระเลย

ขออนุโมทนาท่านเจ้าของกระทู้ที่อำนวยโอกาสให้ข้าพเจ้าได้ระลึกถึงและกล่าวถึงพระพุทธคุณแม้เพียง
เล็กน้อย ณ.ที่นี้ครับ





สาธุ ครับท่าน ddman


ขอบคุณคุณ ddman มากครับ

ได้ความรู้จริงๆ ครับ ^ ^


การที่ตรัสว่าดูก่อน ตามด้วยชื่อบุคคลหรือหมู่กลุ่มใดๆ ก็เพื่อเรียกผู้ฟังให้เกิดสติ ตั้งใจสดับ
รับฟังในสิ่งที่พระองค์จะทรงตรัสบอกเพราะคนเรานั้น โดยปกติ จิตจะแส่ส่าย ออกไปในที่ต่างๆตามจริตของตน คือบ้างคิดฟุ้งซ่านไปในกาม บ้างวิตกในเรื่องต่างๆ และไม่น้อยที่กำลังเข้าฌาน หรือสมาบัติ (อย่าลืมว่าในสมัยนั้นมีพระอรหันต์มากมาย)

ddman DT07247 [30 ต.ค. 2551 14:51 น.] คำตอบที่ 1


ตรงที่เน้นเป็นตัวเข้มๆนั้น แสดงถึง ผู้กล่าวเข้าใจผิดไปว่า ผู้ที่อยู่
ในฌานสมาบัตินั้น ไม่มีสติ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริง
การเข้าฌานสมาบัตินั้น ทานมีสติ สงบ-ระงับ อยู่ในกาลทุกเมื่อ(.. ถ้าหากการเข้าฌานไม่มีสติท่านจะแสดงฤทธิ์ได้อย่างไรเล่า...นอกจากท่านกำลังเข้านิโรธสมาบัติ ขณะนั้น
จิตสังขารดับ)



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน


จาก "โรหิตัสสวรรคที่ ๕ สมาธิสูตร ในสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๓)

****

เจริญในธรรมยิ่ง


nangsida ขอให้อ่านอย่างมีสติเผื่อจะเข้าใจความหมายทั้งหมด บางทีคุณอาจต้องไปทบทวนว่า
คุณคุยกับคนเข้าฌานได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?


อืมม์
คุณ ddman

ผู้อยู่ในฌานสมาบัติ ดูภายนอกก็ไม่ต่างจากผู้คนปรกติทั่วไป ผู้ที่ทรงฌานอยู่มีสติอยู่ทุกเมื่อ ก็ทำงานเป็นไปตามปรกติ

การที่พระพุทธองค์ ทรงกล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นเพียงการตรัสให้ภิกษุทั้งหลายจงใส่ใจให้ดีต่อสิ่งที่พระพุทธองค์จะทรงตรัส ตามที่คุณ ddman แสดงไว้

สำหรับผู้ที่กำลังทรงฌาน หรือตามที่กล่าวว่า อยู่ในฌานสมาบัติ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เข้าฌาน พระพุทธองค์ก็แสดงธรรมให้เกิดปัญญายิ่งๆขึ้นไปได้

เจริญธรรม


เจริญธรรมคุณเช่นนั้น


ศีลสูตร
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์ สมบูรณ์ จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร สมบูรณ์...
ถ้าแม้ภิกษุยืนอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุ นั่งอยู่ ... ถ้าแม้ภิกษุนอนตื่นอยู่ อภิชฌาไปปราศแล้ว พยาบาทไปปราศแล้ว ละถีนมิทธะได้แล้ว ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความ เพียรไม่ย่อหย่อน มีสติมั่นไม่หลงลืม มีกายสงบไม่ระส่ำระสาย มีจิตมั่นคง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ภิกษุแม้นอนตื่นอยู่เป็นอย่างนี้ เราเรียกว่า ผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันปรารภแล้วเป็นนิจนิรันดร มีใจเด็ดเดี่ยว ฯ

ภิกษุพึงเดินตามสบาย พึงยืนตามสบาย พึงนั่งตามสบาย พึง นอนตามสบาย พึงคู้ตามสบาย พึงเหยียดตามสบาย ตลอด คติของโลก ทั้งเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องต่ำ
และพิจารณา ตลอดความเกิด และความเสื่อมไปแห่งธรรม และขันธ์ ทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวภิกษุอย่างนั้น ผู้มีสติทุก เมื่อ ศึกษาปฏิปทาอันสมควรแก่ความสงบใจเสมอ ว่ามีใจ เด็ดเดี่ยว ฯ

(จากสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓)



นางสีดา ตอบคำถามของผมทีเถิดว่าคุณคุยกับคนเข้าฌานรู้เร่ืองใหม
เพราะเหตุใด??? และจำเป็นใหมที่พระพุทธเจ้าต้องตรัสเรียกผู้เข้าฌานให้ออกจากฌาน
เพื่อสดับฟังพระธรรมที่พระองค์แสดง? เคยเห็นที่ใหนบ้างใหมว่า
พระพุทธเจ้าตรัสสอนธรรมะให้กับภิกษุที่กำลังเข้าฌานอยู่ ?ถ้ามีช่วย quote มาให้ดูหน่อยเถิด จะเป็นพระคุณยิ่ง




เรื่องบัณฑิตสามเณร
--------------------------------------------------------------------------------


เรื่องบัณฑิตสามเณร
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบัณฑิตสามเณร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุทกํ หิ นยนฺติ "
เป็นต้น
พระศาสดาตรัสอนุโมทนากถา
ดังได้สดับมา ในอดีตกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปมีพระขีณาสพ ๒ หมื่นรูปเป็นบริวาร ได้เสด็จไปสู่ กรุงพาราณสี มนุษย์ทั้งหลายกำหนดกำลังของตนๆ แล้ว รวมกัน ๘ คนบ้าง ๑0 คนบ้าง ได้ถวายอาคันตุกทานแล้ว
ต่อมาวันหนึ่ง ในกาลที่เสร็จภัตกิจ พระศาสดาทรงทำอนุโมทนาอย่างนี้ว่า " อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย คนบางคนในโลก
นี้คิดว่า เราให้ของๆ ตนเท่านั้นควร ประโยชน์อะไรด้วยการชักชวนคนอื่น ดังนี้แล้ว จึงให้ทานด้วยตนเท่านั้น ไม่ชักชวนผู้อื่น เขาย่อมได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ ในที่ๆ ตนเกิดแล้ว บางคนชักชวนคนอื่น ไม่ให้ด้วยตน เขาย่อมบริวารสมบัติไม่ได้
โภคสมบัติ ในที่ๆ ตนเกิดแล้ว บางคนทั้งไม่ให้ด้วยตน ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ เป็นคน
กินเดน เป็นอยู่ ในที่ๆ ตนเกิดแล้ว บางคนทั้งให้ด้วยตน ทั้งชักชวนผู้อื่น เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติ ในที่ๆ ตนเกิดแล้ว
ผู้เลื่อมใสในอนุโมทนากถา
ชายบัณฑิตผู้หนึ่งอยู่ในที่ใกล้ ได้ฟังอนุโมทนากถานั้นแล้วคิดว่า " บัดนี้ เราจักทำอย่างที่สมบัติทั้งสองจักมีแก่เรา " เขาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า "
พระศาสดา : ต้องการภิกษุเท่าไร?
บัณฑิต : ก็บริวารของพระองค์ มีเท่าไร? พระเจ้าข้า
พระศาสดา : มีภิกษุ ๒ หมื่นรูป
บัณฑิต : พระเจ้าข้า พรุ่งนี้ ขอพระองค์กับภิกษุทั้งหมด โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์
พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว เขาเข้าไปในบ้านแล้ว เดินบอกบุญว่า " แม่และพ่อทั้งหลาย พรุ่งนี้ ข้าพเจ้านิมนต์ภิกษุ สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไว้ ( เพื่อรับภิกษา ) ท่านทั้งหลายจงถวายแก่ภิกษุเท่าจำนวนที่สามารถ ( ถวายได้ ) " เมื่อชน ทั้งหลายกำหนดกำลังของตนๆ แล้วกล่าวว่า " พวกเรา จักถวาย ๑0 รูป พวกเราจักถวาย ๒0 รูป พวกเราจักถวาย ๑00 รูป พวกเรา ๕00 รูป " ดังนี้แล้ว จึงจดคำของคนทั้งหมดลงไว้ในบัญชีตั้งแต่ต้นมา
ชายเข็ญใจยินดีรับเลี้ยงภิกษุ
ก็ในสมัยนั้น ในกรุงนั้นมีชายคนหนึ่งปรากฏชื่อว่า " มหาทุคตะ " เพราะความเป็นผู้ยากจนยิ่งนัก ชายบัณฑิตนั้นเห็น ชายเข็ญใจแม้นั้นมาเฉพาะหน้า จึงบอกว่า " เพื่อนมหาทุคตะ ข้าพเจ้าได้รับนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานไว้ เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ชาวเมืองจักถวายทานกัน แกจักเลี้ยงภิกษุสักกี่รูป? "
มหาทุคตะ : คุณ ผมจะต้องการอะไรด้วยภิกษุเล่า? ชื่อว่าความต้องการภิกษุ เป็นของคนมีทรัพย์ ส่วนผมแม้สักว่า ข้าวสารทะนานหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่ข้าวต้มพรุ่งนี้ ก็ไม่มี ผมทำงานรับจ้างเลี้ยงชีพ ผมจะต้องการอะไรด้วยภิกษุ ?
ธรรมดาผู้ชักชวนพึงเป็นผู้ฉลาด เพราะฉะนั้น ชายบัณฑิตนั้น แม้เมื่อมหาทุคตะพูดว่า " ไม่มี " ก็ไม่นิ่งเฉย ยังกล่าว อย่างนี้ว่า " เพื่อนมหาทุคตะ คนเป็นอันมาก ในเมืองนี้ บริโภคโภชนะอย่างดี นุ่งผ้าเนื้อละเอียด แต่งตัวด้วยเครื่องอาภรณ์
ต่างๆ นอนบนที่นอนอันสง่างาม ย่อมเสวยสมบัติกัน ส่วนแกทำงานรับจ้างตลอดวัน ยังไม่ได้อาหารแม้พอเต็มท้อง แม้เมื่อเป็น เช่นนี้ แกยังไม่รู้สึกว่า เราไม่ได้อะไรๆ เพราะไม่ได้ทำบุญอะไรๆ ไว้แม้ในกาลก่อน "
มหาทุคตะ : ผมทราบ คุณ
บัณฑิต : เมื่อเช่นนั้น ทำไมบัดนี้แกจึงไม่ทำบุญเล่า? แกยังเป็นหนุ่ม มีเรี่ยวแรงสมบูรณ์ แกแม้ทำงานจ้างแล้ว ให้ทาน ตามกำลัง จะไม่สมควรหรือ?
มหาทุคตะนั้น เมื่อชายบัณฑิตกล่าวอยู่ ถึงความสลดใจ จึงพูดว่า " คุณจงลงบัญชีภิกษุให้ผมบ้างสักรูปหนึ่ง ผมจักทำ งานจ้างอะไรสักอย่างแล้ว จักถวายภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ชายบัณฑิตนอกนี้ คิดว่า " ภิกษุรูปเดียว จะจดลงในบัญชีทำไม? " ดังนี้แล้วจึงไม่จดไว้
ฝ่ายมหาทุคตะ ไปเรือนแล้ว พูดกะภรรยาว่า " หล่อน พรุ่งนี้ชาวเมืองเขาจัดภัตเพื่อพระสงฆ์ แม้ฉันก็ถูกผู้ชักชวน บอกว่า จงถวายภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง พวกเราจักถวายภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง พรุ่งนี้ " ลำดับนั้น ภรรยาของเขาไม่พูดเลยว่า
" พวกเราเป็นคนจน แกรับคำเขาทำไม? " กล่าวว่า " นาย แกทำดีแล้ว เมื่อก่อนเราไม่ให้อะไรๆ ชาตินี้จึงเกิดเป็นความยาก
จน เราทั้งสองคน ทำงานจ้างแล้ว จักถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่ง " แม้ทั้งสองคนได้ออกไปสู่ที่สำนักงานจ้าง มหาเศรษฐีเห็นมหาทุคตะ จึงถามว่า " เพื่อนมหาทุคตะ เธอจักทำงานจ้างหรือ? "
มหาทุคตะ : ขอรับ กระผม
มหาเศรษฐี : จักทำอะไร
มหาทุคตะ : แล้วแต่ท่านจักให้ทำ
มหาเศรษฐีกล่าวว่า " ถ้าอย่างนั้น พรุ่งนี้ เราจักเลี้ยงภิกษุ ๒-๓ ร้อย จงมา ผ่าฟืนเถิด " แล้วก็หยิบมีดและขวานมา
ให้ มหาทุคตะถกเขมรอย่างแข็งแรง ถึงความอุตสาหะ วางมีด คว้าขวาน ทิ้งขวาน ฉวยมีด ผ่าฟืนไป
ลำดับนั้น เศรษฐีพูดกะเขาว่า " เพื่อน วันนี้ เธอขยันทำงานเหลือเกิน มีเหตุอะไรหรือ? "
มหาทุคตะ : นาย ผมจักเลี้ยงภิกษุรูปหนึ่ง
เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส คิดว่า " น่าเลื่อมใสจริงมหาทุคตะนี้ ทำกรรมที่ทำได้ยาก เขาไม่ถึงความเฉยเมย
ด้วยคิดว่า " เราจน " พูดว่า " จักทำงานจ้างแล้วเลี้ยงภิกษุสักรูปหนึ่ง "
ฝ่ายภรรยาเศรษฐี เห็นภรรยาของมหาทุคตะนั้นแล้ว ก็ถามว่า " แม่ เจ้าจักทำงานอะไร? เมื่อนางตอบว่า " แล้วแต่
จะใช้ดิฉันให้ทำ " จึงให้เข้าไปสู่โรงกระเดื่องแล้ว ให้มอบเครื่องมือมีกระด้งและสากเป็นต้นให้แล้ว นางยินดีร่าเริง ทั้งตำและฝัด ข้าวเหมือนจะรำละคร
ลำดับนั้น ภรรยาเศรษฐีถามนางว่า " แม่ เจ้ายินดีร่าเริงทำงานเหลือเกิน มีเหตุอะไรหรือ? "
นาง : คุณนาย พวกดิฉันทำงานจ้างนี้แล้ว จักเลี้ยงภิกษุสักรูปหนึ่ง
ฝ่ายภรรยาเศรษฐี ฟังคำนั้นแล้ว เลื่อมใสในนางว่า " น่าเลื่อมใสนางนี้ทำกรรมที่ทำได้ยาก "
ในเวลาที่มหาทุคตะผ่าฟืนเสร็จ เศรษฐีสั่งให้ให้ข้าวสาลี ๔ ทะนาน ด้วยพูดว่า " นี้ค่าจ้างของเธอ " แล้วสั่งให้ให้แม้อีก ๔ ทะนานด้วยพูดว่า " นี้เป็นส่วนที่เพิ่มให้เพราะความยินดีแก่เธอ "
เขาไปสู่เรือน บอกกะภรรยาว่า " ฉันรับจ้างได้ข้าวสาลีมา ส่วนนี้ จักเป็นกับ เจ้าจงถือเอาของ คือ นมส้ม น้ำมัน และเครื่องเทศ ด้วยค่าจ้าง ( แรงงาน ) ที่เจ้าได้แล้ว
ฝ่ายภรรยาเศรษฐี สั่งให้จ่ายเนยใสขวดหนึ่ง นมส้มกระปุกหนึ่ง เครื่องเทศหนึ่ง และข้าวสาลีอย่างเป็นตัวทะนานหนึ่ง แก่นาง เขาทั้งสองได้มีข้าวสารรวม ๕ ทะนาน ด้วยประการฉะนี้
ทั้งสองผัวเมียยินดีร่าเริงว่า " เราได้ไทยธรรมแล้ว" ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ภรรยาพูดกับมหาทุคตะว่า " ไปหาผักมาซิ นาย " เขาไม่เห็นผักในร้านตลาด จึงไปฝั่งแม่น้ำ มีใจเริงร่าว่า " จักได้ถวายโภชนะแก่พระผู้เป็นเจ้า " ร้องเพลงพลาง เลือกเก็บผัก พลาง ชาวประมงยืน ทอดแหใหญ่อยู่ รู้ว่า " เป็นเสียงของมหาทุคตะ " จึงเรียกเขามาถามว่า " แกมีจิตยินดีเหลือเกิน ร้อง เพลงอยู่ มีเหตุอะไรหรือ "
มหาทุคตะ : เก็บผักเพื่อน
ชาวประมง : จักทำอะไรกัน?
มหาทุคตะ : จักเลี้ยงภิกษุรูปหนึ่ง
ชาวประมง : โอ ! อิ่มละ ภิกษุที่ฉันผักของแก
มหาทุคตะ : จะทำอย่างไรได้? เพื่อน กันต้องเลี้ยงภิกษุด้วยผักที่กันได้
ชาวประมง : ถ้าอย่างนั้น มานี่เถิด
มหาทุคตะ : จะทำอย่างไร? เพื่อน
ชาวประมง : จงถือเอาปลาเหล่านี้ ร้อยให้เป็นพวง มีราคาบาทหนึ่งบ้าง กึ่งบาทบ้าง กหาปณะหนึ่งบ้าง เขาได้กระทำ
อย่างนั้น
ชาวเมืองซื้อปลาที่มหาทุคตะร้อยไว้ๆ ไป เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุที่ตนนิมนต์แล้วๆ เมื่อเขากำลังร้อยปลาอยู่นั้นแล ก็ถึง เวลาภิกขาจารแล้ว เขากำหนดเวลาแล้ว กล่าวว่า " จักต้องไป เพื่อน นี้ เป็นเวลาที่ภิกษุมา "
ชาวประมง : ก็พวงปลายังมีอยู่อีกไหม?
มหาทุคตะ : ไม่มี เพื่อน หมดสิ้นแล้ว
ชาวประมง : " ถ้าอย่างนั้น ปลาตะเพียน ๔ ตัว ข้าหมกทรายไว้เพื่อประโยชน์แก่ตน แม้ถ้าแกต้องการจะเลี้ยงภิกษุ จงเอาปลาเหล่านี้ไปเถิด " ดังนี้แล้ว ก็ได้ให้ปลาตะเพียนเหล่านั้นแก่เขาไป
มหาทุคตะได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า
ก็วันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นมหาทุคตะ เข้าไปในข่ายคือพระญาณของพระองค์ ทรงรำพึงว่า " จักมีเหตุอะไรหนอ? " ทรงดำริว่า " มหาทุคตะ คิดว่า จักเลี้ยงภิกษุรูปหนึ่ง จึงได้ทำงานจ้างกับภรรยาแล้วใน วันวาน เขาจักได้เลี้ยงภิกษุรูปใดหนอ? " จึงทรงใคร่ครวญว่า " คนทั้งหลาย จักพาภิกษุไปตามที่จดชื่อไว้ในบัญชีแล้ว ให้นั่ง ในเรือนของตนๆ มหาทุคตะเว้นเราเสียแล้ว จักไม่ได้ภิกษุอื่น
ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงทำความอนุเคราะห์ในพวกคนเข็ญใจ เพราะฉะนั้น พระศาสดาทรงทำสรีรกิจ แต่เช้าตรู่แล้ว เสด็จเข้าสู่คันธกุฎี ประทับนั่ง ด้วยทรงดำริว่า " จักสงเคราะห์มหาทุคตะ " แม้เมื่อมหาทุคตะ กำลังถือปลาเข้า ไปสู่เรือน บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะ แสดงอาการร้อน ท้าวเธอทรงพิจารณาว่า " เหตุอะไรกันหนอ? " ทรงดำริว่า
" วานนี้ มหาทุคตะได้ทำงานจ้างกับภรรยาของตน ด้วยตั้งใจว่า จักถวายภิกษาแก่ภิกษุสัก ๑ รูป เขาจักได้ภิกษุรูปไหนหนอ? ทรงทราบว่า " ภิกษุอื่นไม่มีสำหรับเขา แต่พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ด้วยตั้งพระทัยว่า จักสงเคราะห์ มหาทุคตะ มหาทุคตะ พึงถวายให้ข้าวต้มข้าวสวย และมีผักเป็นกับ อย่างที่ตัวบริโภคเองแด่พระตถาคต ถ้ากระไร เราควรไป ยังเรือนของมหาทุคตะ ทำหน้าที่ป็นพ่อครัว " ดังนี้แล้ว จึงทรงจำแปลงเพศมิให้ใครรู้จัก เสด็จไปที่ใกล้เรือนของมหาทุคตะนั้น แล้ว ตรัสถามว่า " ใครๆ มีงานจ้างอะไรบ้างหรือ? " มหาทุคตะเห็นท้าวสักกะแล้ว จึงกล่าวว่า " จักให้ทำงานอะไร เพื่อน "
ชายแปลง : ข้าพเจ้ารู้วิชาการทุกอย่าง นาย ชื่อว่าวิชาการสิ่งไรที่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ไม่มีเลย รู้จักการปรุงข้าวต้ม ข้าวสวยเป็นต้น
มหาทุคตะ : เพื่อน พวกข้าพเจ้ามีความต้องการด้วยการงานของท่าน แต่ยังไม่เห็นค่าจ้างที่ควรจะให้แก่ท่าน
ชายแปลง : ก็ท่านต้องการทำอะไร?
มหาทุคตะ : ข้าพเจ้าประสงค์จะถวายภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จัดแจงข้าวต้มข้าวสวยถวายภิกษุนั้น
ชายแปลง : ถ้าท่านจะถวายภิกษาแก่ภิกษุ ข้าพเจ้าไม่ต้องการค่าจ้าง ท่านให้บุญแก่ข้าพเจ้า ไม่ควรหรือ?
มหาทุคตะ : เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เป็นการดีละ เพื่อน เชิญเข้าไปเถิด
ท้าวสักกะนั้น เสด็จเข้าไปในเรือนของมหาทุคตะนั้นแล้ว ให้นำข้าวสารเป็นต้นมาแล้ว ทรงส่งมหาทุคตะนั้นไปด้วยคำ
ว่า " ไปเถิดท่าน จงนำภิกษุที่ถึงแก่ตนมา "
ฝ่ายผู้จัดการทาน ได้จ่ายภิกษุไปสู่เรือนของพวกชนเหล่านั้นๆ ตามรายการที่จดไว้ในบัญชีนั่นแล มหาทุคตะไปยัง สำนักของเขาแล้วพูดว่า " จงให้ภิกษุที่ถึงแก่ผมเถิด " เขาได้สติขึ้นในขณะนั้น จึงพูดว่า " ฉันลืมภิกษุสำหรับแกเสียแล้ว " มหาทุคตะเป็นเหมือนถูกประหารที่ท้องด้วยหอกอันคม ประคองแขนร่ำไรว่า " เหตุไรจึงให้ผมฉิบหายเสียเล่า? คุณ แม้ผมอัน ท่านชวนแล้วเมื่อวาน ก็พร้อมด้วยภรรยาทำงานจ้างตลอดวัน วันนี้ เที่ยวไปที่ฝั่งแม่น้ำ เพื่อต้องการผักแล้วจึงมา ขอท่านจง ให้ภิกษุแก่ผมสักรูปหนึ่งเถิด "
มหาทุคตะไปนิมนต์พระศาสดา
คนทั้งหลายประชุมกันแล้ว ถามว่า " มหาทุคตะ นั่นอะไรกัน? " เขาบอกเนื้อความนั้น คนเหล่านั้น ถามผู้จัดการว่า
" จริงไหม? เพื่อน ได้ยินว่า มหาทุคตะนี้ ท่านชักชวนว่า จงทำงานจ้างแล้วถวายภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง "
ผู้จัดการ : ขอรับ นาย
คนเหล่านั้น : ท่านจัดการภิกษุมีประมาณถึงเท่านี้ ไม่ได้ให้ภิกษุแก่มหาทุคตะนี้สักรูปหนึ่ง ทำกรรมหนักเสียแล้ว
เขาละอายใจ ด้วยคำพูดของคนเหล่านั้น จึงพูดกะมหาทุคตะนั้นว่า " เพื่อนมหาทุคตะ อย่าให้ฉันฉิบหายเลย ฉันถึง ความลำบากใหญ่ เพราะเหตุแห่งท่าน คนทั้งหลาย นำภิกษุที่ถึงแก่ตนๆ ไปตามรายการที่จดไว้ในบัญชี ชื่อว่าคนผู้ซึ่งจะถอน ภิกษุผู้ซึ่งนั่งอยู่ในเรือนของตนให้ ไม่มี ส่วนพระศาสดา สรงพระพักตร์แล้วประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎีนั่นเอง พระเจ้าแผ่นดิน ยุพราช และคนโตๆ มีเสนาบดีเป็นต้น นั่งแลดูการเสด็จออกจากพระคันธกุฎีแห่งพระศาสดา คิดว่า จักรับบาตรของพระศาสดา ไป ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงทำอนุเคราะห์ในคนยากจน ท่านจงไปวิหาร กราบทูลพระศาสดาว่า ข้าพระองค์เป็น คนยากจน พระเจ้าข้า ขอพระองค์ จงทรงทำความสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด ถ้าท่านมีบุญ ท่านจักได้แน่ " เขาได้ไปสู่วิหาร แล้ว
พระศาสดาประทานบาตรแก่มหาทุคตะ
ลำดับนั้น พระเจ้าแผ่นดินและพระยุพราชเป็นต้น ตรัสกะเขาว่า " มหาทุคตะ ไม่ใช่เวลาภัตก่อน เจ้ามาทำไม? " เพราะเคยเห็นเขาโดยความเป็นคนกินเดนในวิหาร ในวันอื่นๆ มหาทุคตะกราบทูลว่า " ข้าพระองค์ทราบอยู่ว่า ไม่ใช่เวลาภัต ก่อน แต่ข้าพระองค์มาก็เพื่อ ถวายบังคมพระศาสดา " ดังนี้แล้ว จึงซบศรีษะลงที่ธรณีพระคันธกุฎีถวายบังคมด้วยเบญจางค ประดิษฐ์ กราบทูลว่า " ผู้ที่ยากจนกว่าข้าพระองค์ในพระนครนี้ไม่มี พระเจ้าข้า ของทรงเป็นที่พึงแก่ข้าพระองค์เถิด ของทรง ทำความสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด " พระศาสดาทรงเปิดพระทวารพระคันธกุฎี ทรงนำบาตรมาประทานในมือของเขา เขาได้เป็นเหมือนบรรลุจักรพรรดิสิริ พระเจ้าแผ่นดินพระยุพราชเป็นต้น ต่างทรงแลดูพระพักตร์กันและกัน
แท้จริง ใครๆ ชื่อว่าสามารถเพื่อจะรับบาตรที่พระศาสดาประทานแก่มหาทุคตะ ด้วยอำนาจความเป็นใหญ่ หามีไม่ เป็นแต่การกล่าวอย่างนี้ว่า " เพื่อนมหาทุคตะ ท่านจงให้บาตรของพระศาสดาแก่พวกเรา พวกเราจักให้ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ คือ พันหนึ่งหรือแสนหนึ่ง แก่ท่าน ท่านเป็นคนเข็ญใจ จงเอาทรัพย์ไปเถิด ประโยชน์อะไรของท่านด้วยบาตรเล่า? " มหาทุคตะ ตอบว่า " ข้าพเจ้าจักไม่ให้ใคร ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการด้วยทรัพย์ จักให้พระศาสดาเท่านั้นเสวย " ชนทั้งหลายที่เหลือ อ้อนวอนเขา ไม่ได้บาตรแล้วจึงกลับไป
ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดิน ทรงดำริว่า " มหาทุคตะ แม้ถูกเขาเล้าโลมล่อด้วยทรัพย์ ก็ไม่ให้บาตรของพระศาสดา ก็ใครๆ ก็ไม่อาจจะรับบาตรที่พระศาสดาประทานแล้วด้วยพระองค์เองได้ อันไทยธรรมของมหาทุคตะนี้ จักมีประมาณเท่าไร? ในเวลา มหาทุคตะนี้ถวายไทยธรรมเสร็จ เราจักนำพระศาสดาไปยังเรือน ถวายอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับเรา " ดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จ ไปพร้อมด้วยพระศาสดาทีเดียว
พระศาสดาเสด็จไปเรือนของมหาทุคตะ
ฝ่ายท้าวสักกเทวราช จัดอาหารมีข้าวต้มข้าวสวยและผักเป็นต้น ปูอาสนะที่สมควรเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดาแล้ว ประทับนั่ง มหาทุคตะนำพระศาสดาไปแล้ว กราบทูลว่า " จงเสด็จเข้าไปเถิดพระเจ้าข้า " ก็เรือนที่อยู่ของเขาต่ำ ผู้ที่ไม่ก้ม ไม่อาจเข้าไปได้ ก็แต่ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อเสด็จเข้าสู่เรือน ไม่ต้องก้มเสด็จเข้าไป เพราะว่า ในเวลาเสด็จเข้าสู่
เรือน แผ่นดินใหญ่ย่อมยุบลงภายใต้ หรือเรือนสูงขึ้น นี่เป็นผลแห่งทานที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นถวายไว้ดีแล้ว ในเวลาที่พระ องค์เสด็จออกไปแล้ว ทุกสิ่งเป็นปกติเหมือนเดิมอีก เพราะฉะนั้น พระศาสดา ทั้งประทับยืนอยู่นั่นเอง เสด็จเข้าสู่เรือนแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่ท้าวสักกะปูไว้แล้ว เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว พระราชารับสั่งว่า " เพื่อนมหาทุคตะ ท่านไม่ให้บาตร ของพระศาสดาแก่พวกเรา แม้ผู้อ้อนวอนอยู่ พวกเราจะดูก่อน สักการะที่ท่านจัดถวายพระศาสดาเป็นเช่นไร? ลำดับนั้น ท้าว สักกะเปิดข้าวยาคูและภัตออกอวด กลิ่นเครื่องอบอาหารภัตเหล่านั้น ได้ตลบทั่วพระนครตั้งอยู่ พระราชาทรงตรวจดูข้าวยาคู เป็นต้นแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน คิดว่า ไทยธรรมของมหาทุคตะจักมีสักเท่าไร? เมื่อมหาทุคตะนี้ถวายไทยธรรมแล้ว จักนำเสด็จพระศาสดาไปยังเรือน ถวายอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตน ดังนี้ จึงมาแล้ว อาหารเป็นปานนี้ หม่อมฉันไม่เคยเห็นเลย เมื่อหม่อนฉันอยู่ในที่นี้ มหาทุคตะต้องลำบากเหลือเกิน หม่อมฉันจะกลับ " ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว เสด็จหลีกไป
บ้านของมหาทุคตะเต็มด้วยแก้ว ๗ อย่าง
ฝ่ายท้าวสักกะ ถวายยาคูเป็นต้น ทรงอังคาสพระศาสดาโดยเคารพ แม้พระศาสดา ทรงทำภัตกิจแล้ว ทรงทำ
อนุโมทนา เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ท้าวสักกะได้ให้สัญญาแก่มหาทุคตะ เขารับบาตร ตามเสด็จพระศาสดา ท้าวสักกะ
เสด็จกลับ ประทับยืนอยู่ที่ประตูเรือนของมหาทุคตะ ทรงแลดูอากาศแล้ว ฝนแก้ว ๗ ประการตกลงจากอากาศเต็มภาชนะทั้ง
หมดในเรือนของเขาแล้ว ยังล้นไปทั่วเรือน ในเรือนของเขาไม่มีที่ว่าง ภรรยาของเขาได้จูงมือพวกเด็ก นำออกไปยืนอยู่ภาย
นอก เขาตามเสด็จพระศาสดากลับมาเห็นเด็กข้างถนน จึงถามว่า " นี่อะไร? " ภรรยาเขาตอบว่า " นาย เรือนของเราเต็ม ไปด้วยแก้ว ๗ ประการทั่วทั้งหลัง ไม่มีช่องจะเข้าไปได้ " เขาคิดว่า " ทานของเราให้ผลในวันนี้เอง " ดังนี้แล้วจึงไปสู่ราชสำนัก
ถวายบังคมพระราชาแล้ว เมื่อพระราชารับสั่งถามว่า " มาทำไม? " จงกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า เรือนของข้าพระองค์ เต็มไป ด้วยแก้ว ๗ ประการ ขอพระองค์ทรงถือทรัพย์นั้นเถิด "
พระราชาทรงดำริว่า " น่าอัศจรรย์ ทานที่เขาถวายแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ถึงที่สุดวันนี้เอง " ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งกะ เขาว่า " เธอควรจะได้อะไร? "
มหาทุคตะ : ขอจงพระราชทานเกวียนพันเล่ม เพื่อต้องการนำทรัพย์มา
พระราชาทรงส่งเกวียนพันเล่มไป ให้นำทรัพย์มา เกลี่ยไว้ที่ลานหลวง กองทรัพย์ได้เป็นกองสูงประมาณเท่าต้นตาล พระราชารับสั่งให้ชาวเมืองประชุมกันแล้ว ตรัสถามว่า " ในกรุงนี้ ใครมีทรัพย์ถึงเท่านี้ไหม? "
ชาวเมือง : ไม่มี พระเจ้าข้า
พระราชา : จะควรทำอย่างไร? แก่คนมีทรัพย์มากอย่างนี้
ชาวเมือง : ควรตั้งเป็นเศรษฐี พระเจ้าข้า
พระราชาทรงทำสักการะเป็นอันมากแก่เขาแล้ว รับสั่งให้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐี
ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสบอกที่บ้านของเศรษฐีคนหนึ่งในกาลก่อนแก่เขาแล้ว ตรัสว่า " เธอจงถางพุ่มไม้ที่เกิดในที่นี้แล้ว ปลูกเรือนอยู่เถิด " เมื่อเขาแผ้วถางที่นั้น ขุดพื้นที่ทำให้เรียบอยู่ หม้อทรัพย์ได้ผุดขึ้นยัดเยียดกันและกัน เมื่อเขากราบทูลแด่ พระราชา ท้าวเธอจึงรับสั่งว่า " หม้อทรัพย์นั้นเกิดเพราะบุญของเธอนั่นเอง เธอนั่นแหละจงถือเอาเถิด "
มหาทุคตะตายแล้วเกิดในกรุงสาวัตถี
เขาได้ปลูกเรือนแล้ว ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน แม้เบื้องหน้าแต่นั้น เขา ดำรงอยู่ บำเพ็ญบุญจนตลอดอายุ ในที่สุดอายุ ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติ จากนั้นแล้วถือปฏิสนธิในท้องธิดาคนโต ในตระกูลอุปัฏฐาก ของพระสารีบุตรเถระในกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น มารดาบิดาของนาง ทราบความที่นางตั้งครรภ์ จึงได้ให้เครื่องบริหารครรภ์ โดยสมัยอื่น นางเกิดแพ้ท้องเห็น ปานนี้ว่า " โอ! เราพึงถวายทานแก่ภิกษุ ๕00 รูป ตั้งต้นแต่พระธรรมเสนาบดี ด้วยรสปลาตะเพียนแล้ว นุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด นั่งในที่สุดอาสนะ บริโภคภัตที่เป็นเดนของภิกษุเหล่านั้น " นางบอกแก่มารดาบิดาแล้วก็ได้กระทำตามประสงค์ ความแพ้ท้อง ระงับไปแล้ว ต่อมาในงานมงคล ๗ ครั้งแม้อื่นจากนั้น มารดาบิดาของนางเลี้ยงภิกษุ ๕00 รูป มีพระธรรมเสนาบดีเถระเป็น ประมุข ด้วยรสปลาตะเพียนเหมือนกัน
พึงทราบเรื่องทั้งหมด โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในเรื่องติสสกุมารนั้นแล ก็แต่ว่า นี้เป็นผลแห่งการถวายรสปลาตะเพียนที่ ถวายในกาลที่เด็กนี้เป็นมหาทุคตะนั่นเอง
ทารกออกบวชเป็นสามเณร
ก็ในวันตั้งชื่อ เมื่อมารดาของเด็กนั้น กล่าวว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญขอท่านจงให้สิกขาบททั้งหลายแก่ทาสของท่านเถิด "
พระเถระจึงกล่าวว่า " เด็กนี้ชื่ออะไร "
มารดาของเด็ก ตอบว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนเงอะงะในเรือนนี้ แม้พวกพูดไม่ได้เรื่อง ก็กลับเป็นเด็กฉลาด ตั้งแต่ กาลที่เด็กนี้ถือปฏิสนธิในท้อง เพราะฉะนั้น บุตรของฉัน จักมีชื่อว่า " หนูบัณฑิต " เถิด พระเถระได้ให้สิกขาบททั้งหลายแล้ว ก็ตั้งแต่วันที่หนูบัณฑิตเกิดมาความคิดเกิดขึ้นแก่มารดาของเขาว่า " เราจักไม่ทำลายอัธยาศัยของบุตรเรา " ในเวลาที่เขามี อายุได้ ๗ ขวบ เขากล่าวกะมารดาว่า " ผมจักบวชในสำนักพระเถระ " นางกล่าวว่า " ได้ พ่อคุณ แม่ได้นึกแล้วอย่างนี้ว่า จักไม่ทำลายอัธยาศัยของเจ้า " ดังนี้แล้ว จึงนิมนต์พระเถระให้ฉันแล้ว กล่าวว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ทาสของท่าน อยากจะบวช ดิฉันจักนำเด็กไปวิหารในเวลาเย็น " ส่งพระเถระไปแล้ว ให้หมู่ญาติประชุมกันกล่าวว่า " พวกข้าพเจ้า จักทำสักการะที่ควรทำ แก่บุตรของข้าพเจ้า ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ในวันนี้ทีเดียว " ดังนี้แล้ว ก็ให้ทำสักการะมากมาย พาหนูบัณฑิตนั้นไปสู่วิหาร ได้ มอบถวายแก่พระเถระว่า " ขอท่านจงให้เด็กนี้บวชเถิด เจ้าข้า " พระเถระบอกความที่การบวชเป็นกิจทำได้ยากแล้ว เมื่อเด็ก รับรองว่า " ผมจักทำตามโอวาทของท่านขอรับ " จึงกล่าวว่า " ถ้าอย่างนั้น จงมาเถิด " ชุบผมให้เปียกแล้ว บอกตจปัณจก กัมมัฏฐาน ให้บวชแล้ว แม้มารดาบิดาของบัณฑิตสามเณรนั้น อยู่ในวิหารนั่นเองสิ้น ๗ วัน ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระ พุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วนรสปลาตะเพียนอย่างเดียว ในวันที่เจ็ด เวลาเย็นจึงได้ไปเรือน
ในวันที่แปด พระเถระเมื่อจะไปภายในบ้าน พาสามเณรนั้นไปไม่ได้ไปกับหมู่ภิกษุ เพราะเหตุไร? เพราะว่า การห่ม จีวรและการถือบาตรหรืออิริยาบถของเธอ ยังไม่น่าเลื่อมใสก่อน อีกอย่างหนึ่ง วัตรที่พึงทำในวิหารของพระเถระ ยังมีอยู่ อนึ่ง พระเถระ เมื่อพระภิกษุสงฆ์เข้าไปภายในบ้านแล้ว เที่ยวไปทั่ววิหาร กวาดที่ๆ ยังไม่กวาด ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ในภาชนะที่ว่าง
เปล่า เก็บเตียงตั่งเป็นต้น ที่ยังเก็บไว้ไม่เรียบร้อยแล้ว จึงเข้าไปภายในบ้านภายหลัง อีกอย่างหนึ่ง ท่านคิดว่า " พวกเดียร์ถีย์ เข้าไปในวิหารว่างแล้ว อย่าได้เพื่อจะพูดว่า ดูเถิด ที่นั่งของพวกสาวกพระสมณโคดม ดังนี้แล้ว จึงได้จัดแจงวิหารทั้งสิ้น เข้า ไปบ้านภายหลัง เพราะฉะนั้น แม้ในวันนั้น พระเถระให้สามเณรนั่นเอง ถือบาตรจีวร เข้าไปบ้านสายหน่อย
สามเณรเข้าไปบิณฑบาตกับพระเถระ
สามเณรเมื่อไปกับพระอุปัชฌาย์ เห็นเหมืองในระหว่างทางจึงเรียนถามว่า " นี้ชื่ออะไร? ขอรับ "
พระเถระ : ชื่อว่าเหมือง สามเณร
สามเณร : เขาทำอะไร? ด้วยเหมืองนี้
พระเถระ : เขาไขน้ำจากที่นี้ๆ แล้ว ทำการงานเกี่ยวด้วยข้าวกล้าของตน
สามเณร : ก็น้ำมีจิตไหม? ขอรับ
พระเถระ : ไม่มีเธอ
สามเณร : ชนทั้งหลายย่อมไขน้ำที่ไม่มีจิตเห็นปานนี้ไปสู่ที่ๆ ตนปรารถนาแล้วๆ ได้หรือ? ขอรับ
พระเถระ : ได้ เธอ
สามเณรนั้น คิดว่า " ถ้าคนทั้งหลายไขน้ำซึ่งไม่มีจิตแม้เห็นปานนี้ สู่ที่ๆ ตนปรารถนาแล้วๆ ทำการงานได้ เหตุไฉน? คนมีจิตแท้ๆ จักไม่อาจเพื่อทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจแล้ว บำเพ็ญสมณธรรม " เธอเดินต่อไปเห็นพวกช่างศรกำลังเอา ลูกศรลนไฟแล้ว เล็งด้วยหางตา ดัดให้ตรง จึงเรียนถามว่า " พวกนี้ ชื่อพวกอะไรกัน? ขอรับ "
พระเถระ : ชื่อช่างศร เธอ
สามเณร : ก็พวกเขา ทำอะไรกัน?
พระเถระ : เขาลนที่ไฟ แล้วดัดลูกศรให้ตรง
สามเณร : ลูกศรนั่น มีจิตไหม? ขอรับ
พระเถระ : ไม่มีจิต เธอ
เธอคิดว่า " ถ้าคนทั้งหลายถือเอาศรอันไม่มีจิตลนไฟแล้วดัดให้ตรงได้ เพราะเหตุไร? แม้คนมีจิต จึงจักไม่อาจเพื่อ ทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจ แล้วบำเพ็ญสมณธรรมเล่า? "
ครั้นสามเณรเดินต่อไป เห็นชนถากไม้ทำเครื่องทัพสัมภาระมีกำกงและดุมเป็นต้น จึงเรียนถามว่า " พวกนี้ ชื่อพวก อะไร? ขอรับ "
พระเถระ : ชื่อช่างถาก เธอ
สามเณร : ก็พวกเขา ทำอะไรกัน?
พระเถระ : เขาถือเอาไม้แล้วทำล้อแห่งยานน้อยเป็นต้น เธอ
สามเณร : ก็ไม้เหล่านั่น มีจิตไหม? ขอรับ
พระเถระ : ไม่มีจิต เธอ
สามเณรลากลับไปทำสมณธรรม
ทีนั้น เธอได้มีความตริตรองอย่างนี้ว่า " ถ้าคนทั้งหลายถือเอาท่อนไม้ที่ไม่มีจิต ทำเป็นล้อเป็นต้นได้ เพราะเหตุไร คน ผู้มีจิตจึงจักไม่อาจทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจแล้วบำเพ็ญสมณธรรมเล่า? เธอเห็นเหตุเหล่านี้แล้ว จึงเรียนว่า " ใต้เท้า ขอรับ ถ้าใต้เท้าควรถือบาตรและจีวรของใต้เท้าได้ กระผมพึงกลับ " พระเถระมิได้เกิดความคิดเลยว่า " เจ้าสามเณรเล็กนี้ บวชได้หยกๆ ตามเรามา กล่าวอย่างนี้ได้ " กลับกล่าวว่า " จงเอามา สามเณร " แล้วได้รับบาตรและจีวรของตนไว้
ฝ่านสามเณรไหว้พระอุปัชฌาย์แล้ว เมื่อจะกลับ จึงเรียนว่า " ใต้เท้าเมื่อจะนำอาหารมาเพื่อกระผม พึงนำมาด้วย รสปลาตะเพียนเถอะขอรับ "
พระเถระ : เราจักได้ ในที่ไหนเล่า? เธอ
สามเณรเรียนว่า " ถ้าไม่ได้ด้วยบุญของใต้เท้า ก็จักได้ด้วยบุญของกระผม ขอรับ " พระเถระวิตกว่า " แม้อันตราย จะพึงมีแก่สามเณรเล็กผู้นั่งข้างนอก จึงให้ลูกดาลไปแล้วบอกว่า " ควรเปิดประตูห้องอยู่ของฉันแล้ว เข้าไปนั่งเสียภายใน " เธอได้กระทำอย่างนั้นแล้ว นั่งหยั่งความรู้ลงในกรัชกายของตน พิจารณาอัตภาพอยู่
อาสนะท้าวสักการะร้อนเพราะคุณของสามเณร
ครั้งนั้น ที่ประทับนั่งของท้าวสักการะ แสดงอาการร้อนด้วยเดชแห่งคุณ ของสามเณรนั้น ท้าวเธอใคร่ครวญว่า " จักมี เหตุอะไรกันหนอ? " ทรงดำริว่า " บัณฑิตสามเณรถวายบาตรและจีวรแก่พระอุปัชฌาย์แล้วกลับ ด้วยตั้งใจว่า จักทำสมณธรรม
แม้เราควรไปในที่นั้น " ดังนี้แล้ว ตรัสเรียกท้าวมหาราชทั้ง ๔ มา ตรัสว่า " พวกท่านจงไปไล่นกจอแจอยู่ในป่าใกล้วิหารให้
หนีไป แล้วยึดอารักขาไว้โดยรอบ " ตรัสกะจันทเทพบุตรว่า " ท่านจงฉุดรั้งมณฑลพระจันทร์ไว้ " ตรัสกะสุริยเทพว่า " ท่าน จงฉุดรั้งมณฑลพระอาทิตย์ไว้ " ดังนี้แล้ว พระองค์เอง ได้เสด็จไปประทับยืนยึดอารักขาอยู่ที่สายยู ในวิหารแม้เสียงแห่งใบไม้ แก่ก็มิได้มี จิตของสามเณรได้มีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้ว เธอพิจารณาอัตภาพแล้ว บรรลุผล ๓ อย่างในระหว่างภัตนั้นเอง

ฝ่ายพระเถระ คิดว่า " สามเณรนั่งแล้วในวิหาร เราอาจจะได้โภชนะที่สมประสงค์แก่เธอ ในสกุลชื่อโน้น " ดังนี้แล้ว จึงได้ไปสู่ตระกูลอุปัฏฐาก ซึ่งประกอบด้วยความรักและเคารพตระกูลหนึ่ง ก็ในวันนั้น มนุษย์ทั้งหลายในตระกูลนั้น ได้ปลา
ตะเพียนหลายตัวนั่งดูการมาแห่งพระเถระอยู่เทียว พวกเขาเห็นพระเถระกำลังมาจึงกล่าวว่า " ท่านขอรับ ท่านมาที่นี้ ทำ กรรมเจริญแล้ว " แล้วนิมินต์ให้เข้าไปข้างในถวายข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้นแล้ว ได้ถวายบิณฑบาตด้วยรสปลา
ตะเพียน พระเถระแสดงอาการนำไป พวกมนุษย์เรียนว่า " นิมนต์ฉันเถิดขอรับ ใต้เท้าจักได้แม้ภัตสำหรับนำไป " ในเวลา เสร็จภัตกิจ ของพระเถระ ได้เอาโภชนะประกอบด้วยรสปลาตะเพียน ใส่เต็มบาตรถวายแล้ว พระเถระคิดว่า " สามเณรของ เราหิวแล้ว " จึงได้รีบไป

พระศาสดาทรงทำอารักขาสามเณร
แม้พระศาสดา ในวันนั้น เสวยแต่เช้าทีเดียว เสด็จไปวิหารทรงใคร่ครวญว่า " บัณฑิตสามเณรให้บาตรและจีวรแก่ พระอุปัชฌาย์แล้วกลับไป ด้วยตั้งใจว่า จักทำสมณธรรม กิจแห่งบรรพชิตของเธอจักสำเร็จหรือไม่? " ทรงทราบว่า สามเณร บรรลุผล ๓ อย่างแล้ว จึงทรงพิจารณาว่า " อุปนิสัยแห่งพระอรหัตจะมีหรือไม่มี? ทรงเห็นว่า " มี " แล้วทรงใคร่ครวญว่า
" เธอจักอาจเพื่อบรรลุพระอรหัตก่อนภัตทีเดียว หรือจักไม่อาจ? " ได้ทรงราบว่า " จักอาจ " ลำดับนั้นพระองค์ได้มีความปริ วิตกอย่างนี้ว่า " สารีบุตร ถือภัตเพื่อสามเณรรีบมา เธอจะพึงทำอันตรายแก่สามเณรนั้นก็ได้ เราจักนั่งถืออารักขาที่ซุ้มประตู ทีนั้นจักถามปัญหา ๔ ข้อกะเธอ เมื่อเธอแก้อยู่ สามเณรจักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา " ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปจาก วิหารนั้น ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตู ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะพระเถระผู้มาถึงแล้ว พระเถระแก้ปัญหาที่พระศาสดาตรัสถามแล้ว
ในปัญหานั้น มีปุจฉาวิสัชนาดังต่อไปนี้ :- .

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า " สารีบุตร เธอได้อะไรมา?
พระเถระ : อาหาร พระเจ้าข้า
พระศาสดา : ชื่อว่าอาหาร ย่อมนำอะไรมา? สารีบุตร
พระเถระ : เวทนา พระเจ้าข้า
พระศาสดา : เวทนา ย่อมนำอะไรมา? สารีบุตร
พระเถระ : รูป พระเจ้าข้า
พระศาสดา : ก็รูป ย่อมนำอะไรมา? สารีบุตร
พระเถระ : ผัสสะ พระเจ้าข้า
คำอธิบายในปัญหา
ในปัญหานั้น มีอธิบายดังนี้ :-
จริงอยู่ อาหารอันคนหิวบริโภคแล้ว กำจัดความหิวของเขาแล้วนำสุขเวทนามาให้ เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นแก่ผู้มีความ สุขเพราะการบริโภค วรรณสมบัติย่อมมีในสรีระ เวทนาชื่อว่าย่อมนำรูปมา ด้วยอาการอย่างนี้ ก็ผู้มีสุขเกิดสุขโสมนัส ด้วย อำนาจรูปที่เกิดจากอาหารนอนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม ด้วยคิดว่า " บัดนี้ อัสสาทะ ( ความยินดี,ความพึงพอใจ )เกิดแก่เราแล้ว
" ย่อมได้สุขสัมผัส
สามเณรบรรลุพระอรหัตผล
เมื่อพระเถระแก้ปัญหาทั้ง ๔ ข้อเหล่านี้ อย่างนั้นแล้ว สามเณรก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา .
ฝ่ายพระ ศาสดา ตรัสกะพระเถระว่า " ไปเถิด สารีบุตร จงให้ภัตแก่สามเณรของเธอ " พระเถระไปเคาะประตูแล้ว สามเณรออกมารับ
บาตรจากมือพระเถระ วางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง จึงเอาพัดก้านตาลพัดพระเถระ ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะเธอว่า " สามเณร จงทำภัตกิจเสียเถิด "
สามเณร : ก็ใต้เท้าเล่า ขอรับ
พระเถระ : เราทำภัตกิจเสร็จแล้ว เธอจงทำเถิด
เด็กอายุ ๗ ขวบ บวชแล้ว ในวันที่ ๘ บรรลุพระอรหัตเป็นเหมือนดอกปทุมที่แย้มแล้ว ในขณะนั้น ได้นั่งพิจารณาที่ เป็นที่ใส่ภัตทำภัตกิจเสร็จแล้ว ในขณะที่เธอล้างบาตรเก็บไว้ จันทเทพบุตรปล่อยมณฑลพระจันทร์ สุริยเทพบุตรปล่อยมลฑล พระอาทิตย์ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ อารักขาทั้ง ๔ ทิศ ท้าวสักกเทวราช เลิกอารักขาที่สายยู พระอาทิตย์เคลื่อนคล้อยไปแล้วจาก ที่ท่ามกลาง
ธรรมดาบัณฑิตย่อมฝึกตน
ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า " เงา บ่ายเกินประมาณแล้ว พระอาทิตย์เคลื่อนคล้อยไปจากที่ท่ามกลาง ก็สามเณรฉัน
เสร็จเดี๋ยวนี้เอง นี่เรื่องอะไรกันหนอ? พระศาสดาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้วเสด็จมาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน? "
พวกภิกษุ : เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า
พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาผู้มีบุญทำสมณธรรม จันทเทพบุตรฉุดมลฑลพระจันทร์รั้งไว้ สุริยเทพบุตรฉุดมลฑลพระอาทิตย์รั้งไว้ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถืออารักขาทั้ง ๔ ทิศ ในป่าใกล้วิหาร ท้าวสักกเทวราชเสด็จมา ยืนอารักขาที่สายยู ถึงเราผู้มีความขวนขวายน้อยด้วยนึกเสียว่า เป็นพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้เพื่อจะนั่งอยู่ได้ ยังได้ไปยืนอารักขา เพื่อบุตรของเรา ที่ซุ้มประตู พวกบัณฑิตเห็นคนไขน้ำกำลังไขน้ำไปจากเหมือง ช่างศรกำลังดัดลูกศรให้ตรง และช่างถากกำลัง ถากไม้แล้ว ถือเอาเหตุเท่านั้น ให้เป็นอารมณ์ทรมานตนแล้ว ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้ทีเดียว " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบ อนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารุ ํ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.
" อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ ช่างศรทั้งหลายย่อมดัดศร ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้ง หลายย่อมฝึกตน "

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล
เรื่องบัณฑิตสามเณร จบ




nangsida ขอให้อ่านอย่างมีสติเผื่อจะเข้าใจความหมายทั้งหมด บางทีคุณอาจต้องไปทบทวนว่า
คุณคุยกับคนเข้าฌานได้หรือไม่ เพราะเหตุใด?

ddman DT07247 [1 พ.ย. 2551 22:59 น.] คำตอบที่ 7


ตอบ ddman

ได้สนทนากับผู้ขณะทรงฌานกันบ่อยๆ
และที่ถามว่า รู้เรื่องหรือไม่นั้น ดูจากคำถามของ ddman คงยากที่จะเข้าใจ
หรืออาจจะปฏิเสธที่จะเข้าใจ เพราะ ตราบใดที่ ใช้คำแปลว่า ฌาน คือการเพ่งจากตำราหลังๆ นั้น โดยไม่ใส่ใจความหมายและสภาวะของฌาน ในพระไตรปิฎก ผู้นั้นก็ถูกขังด้วยทิฏฐิ ความคิดขอตน ไม่อาจก้าวไปสู่มรรคได้สมบูรณ์ (สัมมาสมาธิ) จึงเป็นการยากที่จะ ..เข็นครกขึ้นภูเขา
(บางสำนัก ถึงขนาดตัดสัมมาสมาธิออกจากการปฏิบัติมรรคมีองค์8ไปเลย เพราะเชื่อตำรายุคหลังระบุไว้ว่าเป็นของเฉพาะฤาษี เป็นอุเบกขา(แบบโง่) คิดว่าเป็นสภาวะ ไม่รับรู้
รับฟังอะไรไปเลยก็มี)

ทั้งที่ในพระสูตรมากมายก็แสดงถึงสภาวะของฌาน อันเป็นสัมมาสมาธิ พุทธพจน์ก็มากมายปรากฎอยู่ แต่ผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็ยังกอดลัดกับบางตำรายุคหลัง
เหมือนอนุรักษ์ มาม่า ไวไว โดยไม่หันเข้ามาทบทวน ตรวจสอบจากต้นฉบับ
ก็ได้แต่ปล่อยให้ครกกลิ้งลงเหวไป...ป่วยการแท้

ในการสนทนา หรือการฟังธรรมา ย่อมต้องใช้ "สติสัมปชัญญะ" เป็นสติที่สมบูรณ์
ไม่ต้องกลับมาย้อนถามกันว่า จะสนทนากันรู้เรื่องไหม ...ได้แสดงพระสูตรไว้ให้อ่านแล้วใน คห.6 พร้อมกับได้ทำตัวสีเน้นไว้ให้อ่านชัดเจน (โปรดย้อนไปอ่าน)
ซึ่งคุณที่แสดง คห. 8 ก็เข้าใจ



[๔๓๘] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ

[๔๓๙] บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ ภิกษุ เป็นผู้ เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ

สุตตันตภาชนีย์ (พระไตรปิฎกเล่มที่ 35)


คงต้องย้อนถาม ddman ว่า มีสติพอในการอ่านหรือไม่?
และจะหาความก้าวหน้าในทางธรรม โดยมีพระศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้แสดงพระสัทธรรมหรือไม่?


๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม ๒อย่างเป็นไฉน คือ
บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑ อรรถที่นำมาไม่ดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้ง
ไว้ไม่ดีก็ย่อมเป็นอันนำมา ไม่ดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เลือนหายแห่งสัทธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็น ไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ


[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่ง ตนเรียนไว้ไม่ดี
ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของ ชนมาก เพื่อมิใช่สุข
ของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะ ประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย พยัญชนะปฏิรูปนั้นชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ
ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=1374&Z=1563&pagebreak=0


เคยเห็นที่ใหนบ้างใหมว่า
พระพุทธเจ้าตรัสสอนธรรมะให้กับภิกษุที่กำลังเข้าฌานอยู่ ?ถ้ามีช่วย quote มาให้ดูหน่อยเถิด จะเป็นพระคุณยิ่ง

ddman DT07247 [5 พ.ย. 2551 17:57 น.


ตอบ ddman

ไม่เคยเห็น เพราะเกิดไม่ทัน หรือถ้าเคยเห็น ขณะนี้จำไม่ได้แล้ว

แต่ด้วยพระอริยสาวกนั้น มีวิหารธรรม(ทรงฌาน)เป็นที่ตั้งอยู่ เป็นที่ปกติอยู่
จึงมีสติสัมปชัญญะอันบริสุทธิ์ ความผ่องใส
...เป็นการผิดวิสัย ผิดปกติ หากออกจากวิหารธรรม

หากมีฉันทะ วิริยะ ฯ ในความก้าวหน้าทางธรรม โปรดไปศึกษา อ่านต้นฉบับคือพระไตรปิฎก...ซึ่งปรากฎไว้ใน
พระสูตรมากมายเหลือที่จะกล่าว...ท่านต้องพึ่งพาตนเอง ด้วยการเข้าไปอ่านในเว็บนี้...

http://84000.org/


เจริญธรรมใน คห. 11 เหล่าซือ

"...ดังนี้แล้ว พระองค์เอง ได้เสด็จไปประทับยืนยึดอารักขาอยู่ที่สายยู ในวิหารแม้เสียงแห่งใบไม้ แก่ก็มิได้มี จิตของสามเณรได้มีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้ว เธอพิจารณาอัตภาพแล้ว บรรลุผล ๓ อย่างในระหว่างภัตนั้นเอง
*****

ขอทำความเข้าใจในอีกประการหนึ่งคือ

ที่กล่าวท้วงติงนั้น มิได้มีเจตนาด้วย กาย วาจา ใจ อันเป็นทุริต แต่ด้วย เพื่อให้แก้ไขความเข้าใจในสัทธรรมให้ได้ถูกต้อง เพราะเข้าใจในเจตนาอันมีเมตตาที่ได้แสดงข้อธรรมหลายประการไว้
หากถูกต้อง ก็อนุโมทนา แต่หากผิดเพี้ยน ปล่อยไว้จะเป็นภัยต่อพระสัทธรรม
อันจะถูกทำให้เสื่อมสูญไปในที่สุด ย่อมเป็นโทษต่อผู้แสดง และโทษต่อผู้เชื่อนั้น

ธรรมรักษา



นางสีดา ที่ถามก็ยังไม่ตอบ ว่าคุณคุยกับคนเข้าฌานรู้เร่ืองใหม แล้วยังไถลตอบว่า ดูจากคำถามของ ddman คงยากที่จะเข้าใจทั้งๆที่เป็นคำถามตรงๆ กลับเข้าใจไม่ได้ ??! แต่ตอนอ่านที่ผมpost ไว้ ดันตีความไปได้ว่า ผมหาว่าคนเข้าฌานขาดสติ!! โอ้หนอจิต!

ถ้าท้วงติงเพราะเข้าใจผิดผมจะไม่ถามต่อ ให้คุณไปอ่านท่ีผมpostไว้ว่่า ผมเขียนว่าคนเข้าฌานไม่มีสติตรงใหน??

ถ้าคุณอ่านแล้วจับใจความไม่ได้หรือไม่ถูก คุณก็เพ่งโทษบิดเบือนคนอื่น จะเป็นโทษแก่ตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ส่วนที่ตอบมาว่าได้สนทนากับผู้ขณะทรงฌานกันบ่อยๆ และ ไม่เคยเห็น เพราะเกิดไม่ทัน หรือถ้าเคยเห็น ขณะนี้จำไม่ได้แล้ว นั้น คุณเท่านั้นที่รู้เจตนาในการตอบของตนเองอย่างแท้จริง ผมไม่ขอมีส่วนในมุสาวาจาของใคร

ที่กล่าวท้วงติงนั้น มิได้มีเจตนาด้วย กาย วาจา ใจ อันเป็นทุริต แต่ด้วย เพื่อให้แก้ไขความเข้าใจในสัทธรรมให้ได้ถูกต้อง เพราะเข้าใจในเจตนาอันมีเมตตาที่ได้แสดงข้อธรรมหลายประการไว้
หากถูกต้อง ก็อนุโมทนา แต่หากผิดเพี้ยน ปล่อยไว้จะเป็นภัยต่อพระสัทธรรม
อันจะถูกทำให้เสื่อมสูญไปในที่สุด ย่อมเป็นโทษต่อผู้แสดง และโทษต่อผู้เชื่อนั้น


อนุโมทนาครับ ผมดีใจที่มีคนคอยดูแลความถูกต้องของพระสัทธรรมอยู่ นี่เป็นนิมิตรหมายท่ีดีครับ อย่างไรก็อย่าลืมดูแลความเห็นของตนเองว่าเป็นการกล่าวหาผู้อื่นด้วยความเข้าใจผิดหรือเปล่า ผมเองก็เข้า
ใจ "ในเจตนาอันมีเมตตาที่ได้แสดงข้อธรรมหลายประการไว้ หากถูกต้อง ก็อนุโมทนา แต่หากผิดเพี้ยน ปล่อยไว้จะเป็นภัยต่อพระสัทธรรมอันจะถูกทำให้เสื่อมสูญไปในที่สุด ย่อมเป็นโทษต่อผู้แสดง และโทษต่อผู้เชื่อนั้น "
เช่นกันครับ

เจริญธรรมครับ


ddman ดูแลตนได้ดังนี้

[๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด การด่าโต้ตอบกัน ความ แข่งดีกันเพราะทิฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบ ระงับไป ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักเป็นไปเพื่อความเป็น อธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็งร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใดแล การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกันเพราะทิฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับดีแล้ว ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็ง ร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุก ฯ



ธรรมรักษา




จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จักมีมาแต่ที่ใดเล่า


ถ้าเข้าฌานแล้วสอนกันไม่ได้ ฟังไม่รู้เรื่องคงไม่ได้เห็นคนลอยขึ้นจากพื้นได้อย่างนี้หรอกครับ.


นางสีดา บางทีจะยังไม่เข้าใจบทธรรมที่ยกขึ้นมาเตือนคนอื่น แต่นับว่าเป็นประโยชน์ในท่ีสาธารณะนี้ อนุโมทนาด้วยครับ

คุณเหล่าฯครับ การลอยได้กับการ"ฟัง"ธรรมมันคนละเรื่องกันครับคุณเหล่าฯแกล้งไม่ทราบหรือไรว่า จิตท่ีเข้าฌานนั้นมีอารมณ์อย่างไร ?



คุณเหล่าฯครับ การลอยได้กับการ"ฟัง"ธรรมมันคนละเรื่องกันครับคุณเหล่าฯแกล้งไม่ทราบหรือไรว่า จิตท่ีเข้าฌานนั้นมีอารมณ์อย่างไร ?

ddman DT07247 [8 พ.ย. 2551 16:13 น.] คำตอบที่ 16



ท่านลองอธิบายมาให้ทราบหน่อยก็แล้วกันว่าเข้าฌานแล้วสภาวะเป็นอย่างไร ?
เข้าฌานแล้วได้ยินเสียงพระแสดงธรรมได้หรือไม่ได้ ?
การเข้าฌานนั้นจิตเป็นเหตุหรือเป็นผล ?
องค์ประกอบของจิตขณะนั้นมีอะไรบ้าง ?
อธิบายมาตามความรู้ตามความเข้าใจของท่าน
และถ้ามีที่อ้างอิงได้ด้วยยิ่งดีครับ

ยินดีรับความรู้จากท่านครับ
ขอบคุณครับ



อ้าวแล้วกัน! ตอบอย่างนี้ผมก็ไม่ได้ความรู้สิครับ ในเมื่อท่านเหล่าฯมีความชำนาญและ
รู้เร่ืองจิตของผู้เข้าฌาณจนออกมารับรองว่าสามารถ"ฟัง"ธรรมได้ แล้วไยจึงโยนมาให้ผมอธิบายละครับ
ใหนๆ ท่านเหล่าฯจะกรุณาแล้วทำไมจึงไม่กรุณาให้ตลอดเล่าครับ ผมคงจะได้ประโยชน์มากจริงๆครับ




ddman DT07247 [8 พ.ย. 2551 19:49 น.] คำตอบที่ 18

อธิบายย่อ ๆ นะครับ
เด็กที่เห็นในภาพนั้น ฝึกฌานสมาบัติ 8 และกสิณ 8 ให้ก่อน
เมื่อชำนาญในฌานและกสิณแล้ว
เพียงกล่าวว่าดินฌาน 1 เด็กก็จะเข้าปฐมฌานมีดินเป็นอารมณ์ตามคำสอน
บอกว่าดินฌาน 2 เด็กก็จะเข้าสู่ทุติยฌานมีดินเป็นอารมณ์
ฌานอื่น ๆ กสิณอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกันเด็กนั่งหลับตาก็จริงแต่หูได้ยินเสียง
เด็กคนนี้สามารถปฏิบัติตามคำสอนได้ทุกขั้นตอน


เมื่ออินทรีย์แก่กล้า จิตนั้นเป็นจิตที่บริสุทธิ์ขาวรอบ เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่มีอำนาจ อ่อน ควรแก่การงานแล้วก็บอกให้เด็กคนนี้...

" ตั้งกายเอาไว้ในจิต
ตั้งจิตเอาไว้ในกาย
น้อมจิตไปด้วยอำนาจกาย
น้อมกายไปด้วยอำนาจจิต
ตั้งไว้ยิ่งซึ่งจิตด้วยอำนาจกาย
ตั้งไว้ยิ่งซึ่งกายด้วยอำนาจจิต
การก้าวลงสู่สุขสัญญาและละหุสัญญา "

เมื่อ การก้าวลงสู่สุขสัญญาและละหุสัญญาแล้วก็บอกให้อธิษฐานให้ลอยขึ้นจากพื้น 50 เซนติเมตร เป็นเวลา 10 นาที
เด็กก็ทำตามที่บอกที่สอนตามเสียงในขณะอยู่ในฌานครับ

เล่าย่อ ๆ เพียงเท่านี้ครับ

ญาณที่เด็กฝึกขั้นนี้เป็นญาณลำดับที่ 50 ในปฏิสัมภิทามรรคครับ
ฌานคือกุศลจิตครับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังทำงานเป็นปกติครับ
ฌานไม่ได้ห้ามการมองเห็น ลืมตาเข้าฌานก็ได้ครับ
ฌานไม่ได้ห้ามการได้ยิน หูรับเสียงได้ขณะเข้าฌานก็ได้ครับ
ฌานไม่ได้ห้ามการดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส รับรู้ธัมมารมณ์ใด ๆ ครับ อัตภาพร่างกายและขันธ์ 5 ทำงานเป็นปกติครับ เพียงแต่ขันธ์ 5 ของคนเข้าฌานเป็นกุศลธรรมครับ เข้าฌานแล้วดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส รับรู้ธัมมารมณ์ใด ๆก็ได้ครับ

เด็กคนนี้ไม่ได้ฝึกแค่นี้ครับ แต่ฝึกญาณลำดับที่ 55 คืออาสวักขยญาณด้วยครับ

ฝึกนะครับฝึก ไม่ได้บอกว่าเด็กคนนี้สำเร็จตามที่ฝึกแล้ว แต่ก็เป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่งครับ

จิตเป็นกุศลก็ดีใจแล้วครับ ไม่ไปสู่อบาย
ไม่ใช่เรารู้แต่ปริยัติครับ แตเราปฏิบัติตามปริยัติ เราเอาปริยัติมาฝึกฝนด้วยครับ


เจริญในธรรมครับ



ท่านเหล่าฯผมขอขอบคุณและอนุโมทนาทั้งในความกรุณาที่ท่านได้แสดงออกมารวมทั้งหนูน้อยผู้มีบุญด้วย
จากใจจริงครับ

ที่จริงผมมีคำถามอีกมากมายที่อยากถาม แต่ การท่ีผมจะถามต่อไปคงไม่เป็นประโยชน์ต่อ เจตนาของกระทู้นี้แล้วและจะเป็นเรื่องอันหาที่จบไม่ได้ ผมขออภัยที่จะต้องกล่าวว่าผมมิได้เชื่อสิ่งท่ีเห็นหรือรับทราบ จากการอ่านเท่านั้นครับ แต่ผมคงต้องพิสูจน์์คำตอบด้วยประสบการณ์ตรงเอง
เน่ืองจากผมไม่ได้เป็นอริยะจึงไม่ทราบสภาวะจิตของหนูน้อย และเท่าที่เห็นจากข่าวหรือรายการ tv การแสดงมายากลเขาก็ทำได้ลักษณะนี้ ครับ ผมกราบขออภัย มิได้เจตนาหาว่านี่เป็นมายากลนะครับ ผมเชื่อว่าหนูน้อยน้ันลอยได่้จริง ก็ในพระไตรปิฎกยังมีเรื่องว่าพระภิกษุบาง
รูประลึกถึงพระพุทธคุณ ยังมิได้เข้าฌานเลย ได้เกิด "ปิต" ีตัวลอยจากทางเข้าไปสู่ลานพระเจดีย์เลยครับ

ผมเห็นว่าท่านเหล่าฯเป็นกัลยาณมิตร มีจิตกรุณาแท้จริง ดูจากการ post ครั้งล่าสุดนี้ มีความตั้งใจและจริงใจมากๆจนผมสัมผัสได้ ขอได้รับความเคารพจากผมในส่วนนี้ด้วยครับ

สิ่งใดที่ผมอาจล่วงเกินท่านไว้(รวมทั้งเพื่อนร่วมธรรมทั้งหลาย)ขออโหสิกรรม อย่าได้เป็นเวรผูกพันธ์กันต่อไปในสังสารวัฏทุกข์ หากมีอันจะต้องข้องเกี่ยวกัน พึงขอให้เป็นไป
ด้วยเจตนากอปรด้วยเมตตากรุณาเกื้อกูลกันเพื่อความไพบูลย์ในกุศลธรรมทั้งหลายโดยส่วนเดียวเทอญ

อนุโมทนาอีกครั้งครับ


เจ้าของกระทงรู้สึกผิดไงไม่รู้ครับ
แต่ตั้งใจถามเรื่อง การตรัส ของพระพุทธองค์เท่านั้นเองครับ - -

...


คุณ sleepwalks สบายใจได้ครับเพราะมิได้เกี่ยวข้องกับข้อขัดแย้งของผู้ใด การแย้งกันในข้อธรรมเป็นเรื่อง ธรรมดาท่ีเกิดเฉพาะในปุถุชนเท่านั้นไม่เกิดกับพระอริยะบุคคลเพราะท่าน
เข้าใจสภาวะธรรมอย่างแท้จริงแล้วไม่มาลูบคลำกันอย่างเราๆครับ


ผมเองต้องขออภัยคุณ sleepwalks ที่ดันทะลึ่งเข้ามาตอบ จึงได้เกิดเหตุ
ท่ีทำให้ไม่สบายใจนะครับ ขออภัยครับ



ที่ต้องสามครั้งเพราะเป็นพุทธประเพณีครับ
เหมือนเราจะถือศีลก็ต้อง มะยัง ภันเต สามครั้ง
หรือพุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ก็ต้องสามครั้ง
เป็นเรื่องความลังเลไม่ลังเลครับ
ถ้าสามครั้งยังไม่ลังเลใจถือว่าศรัทธาหรือต้องการจะทำจริงๆครับ


 3,948 

  แสดงความคิดเห็น



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย