ทำไมบางที่กำหนดลมหายใจ เข้า-ออก ว่าพุทธ-โธ แต่บางที่ กำหนดดูลมที่ท้อง พองหนอ - ยุบหนอ
อยากถามว่าแต่ต่างกับอย่างไร อันไหนน่าจะดี คือเวลามาปฏิบัติแล้วสับสน
นี่ก็เหมือนกัน เลือกเอาอย่างเดียว อย่าทำสองอย่างคราวเดียวกัน
(- * -) (- -^) (- -*)...
จริงๆ แร้ว
การทำสมาธิโดยการนั่งสมาธินั้น เป็นการกำหนดจิตไม่ให่ฟุ้งซร้านไปในอารมณ์ต่างๆ เพราะตามปกติจิตจะวิ่งออกจากอารมณ์นู่นไปสู่อารมณ์นี้ ตลอดเวลาทั้งวัน ไม่หยุดหย่อน ทำให้จิตขาดความเข็มแข็ง เราจึงใช้อุบายในการทำจิตให้เข็มแข็งโดยการบำเพ็นสมาธิ โดยกำหนดให้จิตกำหนดอยู่ในอารมณ์เดียวไม่ฟุ่งซร้านไป เพื่อจิตเป้นหนุ่งแร้วก็สามารถจะนำจิตที่มีกำลังกล้าแข็งไปทำการงานต่างๆ ได้
ปล. ผมเห็นว่า การภาวนาพุทโธ หรือยุบหนอพองหนอ น่าจะเกิดขึ้นภายหลัง เพราะว่าตามที่ผมศึกษามาไม่มีปรากฏว่าในสมัยพุทธกาลว่าได้มีการให้ภาวนาพุทโธ หรือยุบหนอพองหนอ แต่พระพุทธเจ้าสอนให้ทำจิตให้เป้นสมาธิ โดยใช้กรรมฐาน 40 กอง (หาเพิ่มเติมเรื่อง กรรมฐาน 40) และนอกพระพุทธศาสนาก็ยังมีวิธีการของเหล่าฤาษี มุนี และเดียรถีร์อีกมากมาย แต่เพื่อพิจารณาดูจากกรรมฐาน 40 กองแล้ว จากการศึกษาของผม พบว่า ความจริงก็เป็นวิธีเดียวกันคือ ทำจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ แต่สิ่งที่ใช้กำหนดอารมณ์ต่างกัน เพราะฉะนั้น ผมจึงเห็นว่า จะใช้อาณาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก จะบริกรรมอย่างไรก็แร้วแต่เรา แต่ผมจะยกคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ที่กล่าวถึง การเจริญอานาปานสติว่า
"จักวินิจฉัยในจตุกะของอานาปานสติแต่ละอันออกไปในปถมจตุกะนั้นมีวัตถุ ๔ คือ พระโยคาพจรรู้ว่าอาตมะหายใจออกหายใจเข้ายาวเปนวัตถุที่ ๑ รู้ว่าอาตมะระบายลมออกสั้นเข้าสั้นเปนวัตถุที่ ๒ คือพระโยคาพจรศึกษาว่า อาตมะกระทำอัสสาสะกายปัสสาสะกายให้ปรากฎแล้ว จะระบายลมออกลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๓ คือพระโยคาพจร ศึกษาว่า อาตมะรำงับซึ่งอัสสาสะกายปัสสาสกายอันหยาบแล้วจะระบายลมออกลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๔ ในทุติยจตุกะมีวัตถุ ๔ นั้น คือพระโยคาพจรศึกษาว่า อาตมะกระทำซึ่งจิตร์ให้ปรากฎแล้ว จะระบายลมออกลมเข้า จัดเปนวัตถุที่ ๑ คือศึกษาว่า อาตมะยังจิตร์ให้ชื่นชมแล้ว จะระบายลมออกลมเข้า จัดเปนวัตถุที่ ๒ คือศึกษาว่า
อาตมะเปลื้องจิตร์ไว้ให้เสมอแล้ว จะระบายลมออกลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๓ คือศึกษาว่า
อาตมะเปลื้องจิตร์ให้พ้นจากนิวรณธรรมแล้ว จะระบายลมออกลมเข้าจัดเปน
วัตถุที่ ๔ ในตติยจตุกะมีวัตถุ ๔ นั้น คือพระโยคาพจรศึกษาว่า อาตมกำหนด
รู้จิตรแล้ว จะระบายลมออกลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๑ คือศึกษาว่าอาตมทำจิตให้
บันเทิงแล้วจะระบายลมออกลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๒ คือศึกษาว่าอาตมตั้งจิตมั่น
แล้วจะระบายลมออกลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๓ คือศึกษาว่าอาตมเปลื้องจิตให้พ้นจาก
นิวรณธรรมแล้ว จะระบายลมออกลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๔ ในจตุตถจตุกะมีวัตถุ ๔
ที่ ๔ นั้น คือ พระโยคาพจรศึกษาว่าอาตมเห็นพระอนิจจังแล้ว จะระบายลมออก
ลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๑ ฯ คือศึกษาว่าอาตมะเห็นพระนิพพานอันเปนที่ปราศจาก
ราคแล้ว จะระบายลมออกเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๒ คือศึกษาว่าอาตมพิจารณาเห็น
พระนิพพานอันเปนที่ดับกิเลศแล้ว จะระบายลมออกลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๓ คือ
ศึกษาว่าอาตมพิจารณาเห็นพระนิพพานอันเปนที่ละกิเลศแล้ว จะระบายลมออก
ลมเข้าจัดเปนวัตถุที่ ๔ ฯ จตุกะละอัน ๆ นี้ มีวัตถุละ ๔ ๆ จึงเปนวัตถุ ๑๖ ฯ
อาการ ๓๒ นั้นคือวัตถุละอัน ๆ มีอาการ ๒ คือ ลมออก ๑ ลมเข้า ๑ ฯ จตุกะ
ทั้ง ๔ ประการนี้พระพุทธองค์ตรัสเทศนาด้วยสามารถพระสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือ
เทศนาปถมจตุกะด้วยสามารถกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไว้สำหรับบุรุษผู้เปนต้น
กัมมิกะแรกกระทำความเพียร ฯ เทสนาจตุกะที่ ๒ ที่ ๓ ด้วยสามารถเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน แลจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เทสนาจตุกะที่ ๔ นั้น ด้วยสามารถ
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จตุกะ ๓ ประการนี้ไว้สำหรับพระโยคาพจรผู้ได้ฌานแล้วฯ"
ส่วนการที่ปฏิบัติธรรมก็ขออนุโมทนาด้วย
อย่าสับสนเลย ถูกแล้ว เวลานั่งสมาธิให้ภาวนาในใจว่า หายใจเข้าว่า พุท
หายใจออกภาวนาในใจว่า โธ เวลาหายใจเข้าท้องจะยุบให้กำหนด ( ด้วยความรู้สึกที่ร่างกายของเรา ) เวลาหายใจออกท้องจะพองก็ให้กำหนด ( ด้วยความรู้สึกที่ร่างกายของเราเอง ) มีอยู่สองส่วนด้วยกันครับ ๑. ภาวนาในใจว่า พุท โธ ๒.กำหนดที่ร่างกายของเรา ยุบ พอง ( ตามลมหายใจครับ ) ให้สอดคล้องกันพอดี เช่น
หายใจเข้าภาวนาว่า พุท ท้องของเราก็ ยุบ เวลาหายใจออกภาวนาว่า โธ ท้องของเราก็พอง จะพอดีกันครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการนั่งสมาธิคือ ความเพียร ครับ ต้องไม่ท้อ ต้องทำไปเรื่อยๆ จิตจะสงบหรือไม่ชั่งมัน ในที่สุดจิตต้องอ่อนกำลังเราก็จะบังคับจิตได้เองครับ สู้ ๆ