ความตาย กับธรรมะ

 paanvampire    

เกี่ยวกับเรื่องนี่




ทุกคนต้องตายครับ
ไม่มีผู้ใดยืนหยัดค้ำฟ้า

เมื่อเราระลึกถึงความตายเนื่อง ๆ
เราก็ต้องปลงกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆตัวเรา
ว่า ไม่เที่ยงแท้ แน่นอน ไม่ใช่ของเรา ของเขา

เมื่อคิดได้ดังนี้ ความอยากต่าง ๆ จึงลดลง
อารมณ์ต่าง ๆ ลดลง เกิดดวงตาเห็นสัจธรรม
ความจริงชีวิต ทำให้ไม่หลงมัวเมา กับรูปกายภายนอก
เช่น เจอคนสวยก็คิดเสียว่า อีกไม่นานก็แก่
สุดท้ายความสวยก็หมดไป ไม่มีใครอยากครอบครองคนแก่ ๆ
ท้ายสุดก็ตาย เป็นซากศพเน่าเหม็น
ถามว่า ใครเป็นเจ้าของสาวสวยคนนั้น อีกมีไหม

จบข่าวครับ





ความตาย กับธรรมะ

--------------------------------------------------------------------------------


เกี่ยวกับเรื่องนี่


โดย : paanvampire [DT08638] 20 ธ.ค. 2551 20:34 น.



ความตาย
ขณะที่จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ แล้วดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตายเจ้าค่ะ
ขันธ์ 5 ของสัตว์ทั้งหลายแตกทำลายไป ก็เรียกว่าความตายเจ้าค่ะ
ขันธ์ 5 ของพระอรหันต์แตกทำลายไปแล้วไม่เกิดอีก ก็เรียกว่าความตายเจ้าค่ะ

ความตายของ อธรรม
1.ขณะที่ กามาวจรอกุศลจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย
2.ขณะที่ กามาวจรอกุศลวิบากจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย




ความตายของโลกียะธรรม
1.ขณะที่ กามาวจรกุศลจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย
2.ขณะที่ กามาวจรกุศลวิบากจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย

3.ขณะที่ รูปาวจรกุศลจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย
4.ขณะที่ รูปาวจรกุศลวิบากจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย

5.ขณะที่ อรูปาวจรกุศลจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย
6.ขณะที่ อรูปาวจรกุศลวิบากจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย



ความตายของโลกุตตระธรรม
1.ขณะที่ โสดาปัตติมัคคจิต ( โลกุตตระกุศลจิต ) ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย
2.ขณะที่ โสดาปัตติผลจิต ( โลกุตตระกุศลวิบากจิต ) ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย

3.ขณะที่ สกทาคามีมัคคจิต ( โลกุตตระกุศลจิต ) ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย
4.ขณะที่ สกทาคามีผลจิต ( โลกุตตระกุศลวิบากจิต ) ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย

5.ขณะที่ อนาคามีมัคคจิต ( โลกุตตระกุศลจิต ) ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย
6.ขณะที่ อนาคามีผลจิต ( โลกุตตระกุศลวิบากจิต ) ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย

7.ขณะที่ อรหัตตมัคคจิต ( โลกุตตระกุศลจิต ) ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย
8.ขณะที่ อรหัตตผลจิต ( โลกุตตระกุศลวิบากจิต ) ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ ดับไป อย่างนี้เรียกว่าความตาย




สรุป มรณะ หรือ จุติ คือความตายนั้น จำแนกออกไปเป็น 3 ประเภท คือ

1. ขณิกมรณะ การเกิดดับ ๆ ของจิตประเภทต่าง ๆ ที่เกิดและดับไปอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้เรียกว่าความตาย คือขณิกมรณะ

2. สมมุติมรณะ คือการที่ขันธ์ 5 ของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย(วินิบาต) สัตว์เดรฉาน มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม พระโสดาบัน พระสกทาคมี พระอนาคามี แตกทำลายไปเพราะหมดบาป หรือหมดบุญ หรือหมดอายุขัย อย่างนี้เรียกว่าความตาย คือสมมุติมรณะ

3. สมุจเฉทมรณะ ได้แก่การปรินิพพานของพระอรหันต์
ขณะที่ อรหัตตผลจิต ( โลกุตตระกุศลวิบากจิต ) หรือ รูปาวจรกิริยาจิตของพระอรหันต์ หรือ อรูปาวจรกิริยาจิตของพระอรหันต์ หรือ อภิญญาจิตของพระอรหันต์ มาทำหน้าที่เป็นจุติจิต คือทำหน้าที่ตายแล้วไม่เกิดอีก อย่างนี้เรียกว่าดับขันธ์ปรินิพพาน อย่างนี้เรียกว่าความตาย คือสมุจเฉทมรณะ


ธรรมะในพระพุทธศาสนาคือจิตและองค์ธรรมที่เป็นกุศลที่เกิดร่วมเกิดพร้อมในจิต โดยที่สุด ธรรมะคืออรหัตตผลจิตเจ้าค่ะ
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นได้เห็นเราตถาคต คือการได้เห็นอรหัตตผลจิตนั่นเองเจ้าค่ะ

กุสลา ธัมมา       ธรรมเป็นกุศล
อกุสลา ธัมมา       ธรรมเป็นอกุศล
อัพยากะตา ธัมมา       ธรรมเป็นอัพยากกะตาคือผลหรือวิบากแห่งกุศลหรืออกุศลนั้น



เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.



คุณน้ำเค็มแสดงจำแนก โดยละเอียด ขออนุโมทนาด้วยครับ

ขอแสดงโดยภาพรวมแบบกว้าง ๆ โดยความเป็นภพมนุษย์ว่า
ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นเป็นทุกข์

ธรรม เข้ามาเกี่ยวข้องกับความตาย เพราะ..ธรรมนั้น เป็นเหตุแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ตายแล้วก็ย่อมเกิด เมื่อเกิด ก็ย่อมแก่ ย่อมเจ็บ ย่อมตาย วนอยู่เช่นนี้
>>> นี้เป็นวัฏฏะ

แล้วเมื่อปฏิบัติ(มรรคมีองค์8) จนกระทั่งเกิดญาณ ความเข้าใจในธรรม แจ่มแจ้งในธรรมแล้ว ธรรมนั่นแล จึงเป็นเหตุแห่งการ "ดับ"
คือไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย พ้นทุกข์ในวัฏฏะ

ท่านเบื่อหน่ายทุกข์ในวัฏฏะเมื่อไร ก็จงแสวงหาธรรมและกระทำธรรมอันเป็นเหตุแห่งความดับ ครับ



สาธุ


 4,063 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย