การตัด(ฆ่า)ต้นไม้เป็นบาปหรือไม่

 yo    

ศิลข้อที่1 ที่ว่าการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตนั้นเป็นบาป จึงขอถามว่า (1) ต้นไม้ก็เป็นสิ่งที่มีชีวิตหากเราไปตัด(ฆ่า)จะบาปหรือไม่ครับ (2) ต้นไมยราบหากไปทิ่มตำเข้ามันจะหุบใบแสดงการรับรู้ของมัน จึงขอถามว่า ต้นไม้มีจิตหรือมีวิญญานเหมือนคนหรือไม่ ขอบคุณมากครับ




ถามว่า ต้นไม้มีจิตหรือมีวิญญานเหมือนคนหรือไม่

ในพระอภิธรรมนั้น ท่านแสดงเรื่องรูปไว้ มีทั้งรูปที่มีวิญญาณครอง และรูปที่ไม่มีวิญญาณครอง กล่าวง่ายๆอย่างนี้

รูปของสัตว์โลกทั่วไปโดยมาก ย่อมเกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานทั้ง สี่ ได้แก่
๑. กรรมสมุฏฐาน ได้แก่ กัมชรูป ที่เป็นผลของกรรม หากเกิดเป็นมนุษย์ ก็ต้องเกิดด้วยผลของกรรมดี หากเกิดเป็นสัตว์ในอบายทั้ง สี่ คือ สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และสัตว์เดรัจฉาร รูปของสัตว์เหล่านั้น ย่อมเกิดจากผลของกรรมชั่ว กรรมใดกรรมหนึ่ง และกรรมนั้นย่อมผลิตสร้างรูปของสัตว์ให้สืบเนื่องเป็นไปตลอดเวลาเช่นกัน หมดกรรมก็หมดชีวิตในภพหนึ่งๆ
๒.จิตสมุฏฐาน ได้แก่วิบากจิตที่นำปฏิสนธิ และจิตชนิดเดียวกันนี้ก็เป็นจิตที่รักษาภพชาติสืบต่อไปจนกว่าจะหมดอายุในภพ หนึ่งๆ ตลอดจนจิตที่เกิดขึ้นมารับผลของกรรมเก่าในระหว่างกาลเวลาที่มีชีวิต และจิตที่เกิดขึ้นมาเพื่อทำกรรม ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว แล้วแต่โอกาสและบุคคล และในขณะที่จิตเกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์ทั้งเก่าและใหม่นั้น ก็สร้างรูปที่เรียกว่า จิตชรูป เป็นรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานด้วยมากมาย
๓. อุตุสมุฏฐาน คือ ความเย็นร้อนทั้งรูปภายใน อันเกิดจากอาหารหรือจิตก็เกี่ยวข้องกับอุตุภายในด้วย อุตุทั้งภายในและภายนอกนั้น หากเกินหรือพร่องเกินระดับก็ไม่อาจจะรักษาชีวิตไว้ได้ เช่นเป็นไข้สูงจัด เย็นจัดก็ตาย หรืออากาศภายนอกเย็นจัดร้อนจัด ก็ตายได้
๔.อาหารสมุฏฐาน คือ ข้าวปลาอาหาร น้ำ เครื่องดื่ม ยา ทั้งหลายเป็นปัจจัยที่เป็นไปด้วยอาหาร หากขาดอาหารก็ตาย หรือทานอาหารผิดก็ตายได้
ดังนั้น หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเสียหายหรือบกพร่อง ก็ทำให้รูปเสียหาย เป็นไปด้วยความลำบาก และถึงความตายได้

ส่วนต้นไม้นั้นก็เป็นรูป แต่ไม่ใช่สัตว์.... ดังนั้นรูปของต้นไม้นั้นเกิดจากอุตุสมุฏฐานเท่านั้น เรียกอวินิโภครูป ๘ ได้แก่ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ สี กลิ่น รส และอาหาร เท่านั้น เห็นได้ว่า ไม่มีจิตสมุฏฐานเลย ไม่มีกรรมสมุฏฐานเลย ดังนั้น ต้นไม้จึงไม่ใช่สัตว์ด้วยเหตุนี้ การทำต้นไม้ตายไม่ได้บาป แต่การทำลายป่า ต้นไม้ใหญ่นั้น เป็นโทษได้เพราะต้นไม้นั้นให้ความเย็น ช่วยโลก ให้อากาศดี การทำลายความสมดุล จึงชื่อว่าเป็นผู้เบียดเบียนคนหมู่มากได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญบุคคลที่ปลูกต้นไม้ หรือต้นไม้ใหญ่บางต้นก็มีรุกขัฏฐเทวดาอาศัยอยู่ก็อาจจะทำให้เกิดความเดือด ร้อนได้





คำว่า “ สิ่งมีชีวิต “ นั้น ทางพุทธศาสนาท่านหมายถึงอย่างไร ดังนั้นขอนำเอาหลักฐานในพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๘๒ – ๓๘๓ อรรถกถาวินัย ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล ดังนี้.
บทว่า อินทรีย์ คือชีวิต นั้น อินทรีย์คือชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ๑ อรูปชีวิตินทรีย์ ๑. ( รูป กับนาม )ใน ๒ อย่างนั้น ในอรูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีความพยายาม ใคร ๆ ไม่สามารถปลงอรูปชีวิตินทรีย์นั้นได้. แต่ในรูปชีวิตินทรีย์ มี, บุคคลอาจปลงได้. ก็เมื่อปลงรูปชีวิตินทรีย์นั้น ชื่อว่า ปลงอรูปชีวิตินทรีย์ด้วย. จริงอยู่ อรูปชีวิตินทรีย์นั้น ย่อมดับพร้อมกับรูปชีวิตินทรีย์นั้นนั่นเอง เพราะมีพฤติการณ์เนื่องด้วยรูปชีวิตินทรีย์นั้น.
และในหน้าที่ ๓๘๔
ที่ชื่อว่า ปาณะ โดยโวหารได้แก่สัตว์โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์. จริงอยู่ บุคคลผู้ยังชีวิตินทรีย์ให้ตกล่วงไปท่านกล่าวว่า ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป. ชีวิตินทรีย์นั้น มีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล. ปาณาติบาตนั้น คือ บุคคลยังประโยคอันเข้าไปตัดเสีย ซึ่งชีวิตินทรีย์ ให้ตั้งขึ้นด้วยเจตนาใด เจตนานั้น ชื่อว่า วธกเจตนา ท่านเรียกว่าปาณาติบาต (เจตนาธรรมเป็นเหตุล้างผลาญชีวิตสัตว์มีปราณ). บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว พึงเห็นว่า ผู้ล้างผลาญสัตว์มีปราณ... นี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าสัตว์มีชีวิตนั้น ประกอบด้วย รูป กับนาม นั่นเอง เมื่อรูปถูกทำลายลง นามก็อยู่ไม่ได้ คำว่า ปราณ หมายถึง สัตว์ที่มีลมหายใจ , สิ่งมีชีวิต
ในพระอภิธรรมมัตถสังคหฎีกา ปริเฉทที่ ๕ แสดงเรื่องเชื้อโรคและจุลินทรีย์ว่า
เชื้อโรคนั้นเป็นอุตุรูป ( รูปที่เกิดจากความร้อน ความเย็น ) ที่เกี่ยวกับอกุศลกรรมบ้าง เกี่ยวกับอาหารบ้าง ภายในกายและนอกกายบ้าง มีการเคลื่อนไหวได้ด้วยวาโยธาตุ ( ธาตุลม )ที่อยู่ในรูปนั้นๆ ( รูปแม้ว่าจะใหญ่ หรือเล็ก ก็ต้องประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ) และขยายเพิ่มจำนวนได้ด้วยเตโชธาตุ คือธาตุไฟ หรือแม้แต่เชื้อสเปอร์มของฝ่ายชาย หรือไข่ (รอบเดือน) ของฝ่ายหญิง ก็เช่นกันเป็นรูปที่เกิดจากจิตของบุคคลผู้ที่ยังมีกามราคะจิตอยู่ เรียกว่ารูปที่เกิดจากจิต ส่วนการเคลื่อนไหวของเชื้อหรือไข่นี้เกิดจากวาโยธาตุที่อยู่ในตัวรูปเชื้อและไข่นั่นเอง เชื้อและไข่ทางพุทธศาสนาจัดว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต การป้องกันไม่ให้เชื้อกับไข่ต้องผสมกันนั้น ถือว่ายังไม่ได้มีสัตว์อื่นมาปฏิสนธิวิญญาณอุบัติขึ้น แต่หากไข่กับเชื้อได้ผสมกันแล้วและมีปฏิสนธิวิญญาณของสัตว์ได้อุบัติขึ้น ถือว่าสิ่งมีชีวิตอุบัติขึ้นแล้ว ใครมีเจตนาและทำลายให้ล่วงตกไปหรือเรียกว่าทำแท้ง ก็จัดเป็นปาณาติบาตแล้ว เพราะเหตุนี้บุคคลที่ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี และพระอรหันต์ ท่านได้ละกามราคะสังโยชน์ออกจากจิตใจของท่านได้แล้ว จึงไม่มีเชื้อสเปอร์มหรือมีการตกไข่ของรอบเดือนเลย
สรุปว่าเชื้อโรคจริงๆแล้วจัดว่าไม่มีชีวิต แต่เพราะมีอกุศลวิบากของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย เชื้อนั้นๆจึงทำบุคคลที่มีวิบากกรรมนั้นต้องเจ็บไข้ได้ป่วย แต่บุคลที่ไม่ได้ทำเหตุอกุศลกรรมมา แม้ได้รับเชื้อโรคอย่างเดียวกันแต่ก็ไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วยอันใด ดังนั้นเชื้อโรคจัดว่าไม่มีชีวิต เพราะไม่มีวิญาณคือไม่มีใจครอง มีแต่รูปที่แปรเปลี่ยนไปตามอุตุ การฆ่าเชื้อโรคจึงไม่บาป หมอหรือนางพยาบาลที่รักษาคนไข้สั่งจ่ายยา ฉีดยา ฉายแสงหรือผ่าตัดเนื้อร้าย เพื่อประสงค์จะช่วยชีวิตคนไว้ นอกจากจะไม่บาปแล้วยังเป็นบุญเป็นกุศลอย่างมากด้วย เมื่อเชื้อโรคไม่มีชีวิต เราจะต้องทำบุญอุทิศแก่เชื้อโรคไหม ...หรือว่ากลัวเชื้อโรคจะจองเวรมาเบียดเบียนทำร้ายเราไหม...ไม่ต้องอุทิศบุญหรือกลัวการจองเวรของเชื้อโรคเลย
สมมุติว่าการฆ่าเชื้อโรคหรือการรักษาเจ็บไข้ได้ป่วย จัดเป็นการเบียดเบียนเชื้อโรค และเป็นบาปกรรมแล้วไซร้
1. พระองค์คงห้ามไม่ให้หมอชีวกโกมารภัจจ์รักษาพระองค์แล้ว พระองค์คงไม่ต้องการให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ฆ่าเชื้อโรคเพื่อรักษาพระองค์หรอก แต่เพราะเชื้อโรคไม่มีชีวิตนั่นเอง การรักษาโรคก็ไม่เป็นบาป แต่กลับได้บุญมาก ( หมอชีวกเป็นพระโสดาบัน)
2. พระองค์จะตรัสให้ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติดูแลในหมู่สงฆ์ด้วยกันเมื่อยามอาพาธ แล้วพระองค์ตรัสว่า บุคคลใดต้องการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ขอให้บำรุงดูแลภิกษุสงฆ์ที่อาพาธแล้วเถอะ แสดงว่าการรักษาพยาบาลไม่เป็นปาณาติบาตแต่ประการใด ถ้าเป็นการฆ่าเชื้อโรค พระองค์คงตรัสห้ามไปแล้ว
3. ถ้าฆ่าเชื้อโรคเป็นบาปแล้ว พระพุทธเจ้าคงทรงห้ามภิกษุรับประเคนคิลานเภสัชด้วยเช่นกัน เพราะยาจัดเป็นอาวุธที่ทำลายเชื้อโรค พระองค์แนะนำให้พระภิกษุเมื่อหายาไม่ได้ ให้นำมะขามป้อมหรือลูกสมอมาดองกับน้ำมูตรเน่าแล้วใช้เป็นยารักษาโรคได้ หากว่าเชื้อโรคมีชีวิตแล้ว พระองค์คงไม่ตรัสแนะนำให้ภิกษุรับประเคนยารักษาโรคจากญาติโยมหรอก
4. ถ้าเชื้อโรคมีชีวิต แล้วฆ่าเชื้อโรคเป็นบาปแล้วไซร้ เชื้อโรคที่ทำให้คนล้มตาย ทุกข์ทรมาน เชื้อโรคก็ทำบาปด้วยเช่นกัน ทุกครั้งที่พระพุทธเจ้าอาพาธ หรือใครต่อใครที่ป่วยเป็นโรคแล้วตาย เชื้อโรคคงทำบาปกรรมไว้มากเช่นกัน หมอหรือพยาบาลไม่อยากฆ่าเชื้อโรคจึงปล่อยให้คนไข้ตายหรือ ?
เชื้อโรค ต้นไม้ แม่น้ำ ฝน เมฆ ภูเขา และอื่นๆ ที่ไม่มีวิญญาณครอง จัดว่าไม่ใช่สิ่งมีชีวิตทิศทางการไหลของลำน้ำที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ภูเขาที่ถูกกัดเซาะแล้วเปลี่ยนรูปทรง หรือต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้าน เป็นไปด้วยอุตุคือความร้อนความเย็นทั้งสิ้น ไม่มีการตาย (จุติจิต )หรือการเกิด ( ปฏิสนธิจิต ) เป็นรูปอย่างหนึ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยและเสื่อมสลายได้ความร้อน ความเย็นเท่านั้น.




อนุโมทนาบุญด้วยครับ ขอบคุณ ddman คุณศร ครับ ผมเพิ่งรู้เหมือนกันนะครับ



1. การตัดต้นไม้ถือเป็นบาปครับ เพราะถือเป็นการทำลายอย่างหนึ่งแต่ผลของกรรมจะ ไม่หนักหนาเท่ากับการที่เราฆ่าสัตว์หรือมนุษย์เพราะสิ่งที่เป็นการกำหนดว่าทำกรรมมากแค่ไหนนั้นคือการตื่นของจิตวิญญาณ เคยได้ยินว่าทำบุญกับผู้ที่ถือศีล5 ไม่เท่าทำบุญกับผู้ถือศีล8 ไม่เท่าทำบุญกับผู้ถือศีล10... มั้ยครับทำนองเดียวกันต้นไม้มีการตื่นของจิตวิญญานณที่น้อยกว่าสัตวดังนั้นผลของกรรมจึงไม่มากเท่า
2. ต้นไม้มีจิตวิญญานเหมือนคนครับเหมือนกับทุกสิ่งที่มีจิตวิญญาณดังที่พระพุทธองค์เคยกล่าวว่าวิญญาณมีมากมายมหาศาลไม่มีที่สิ้นสุดแต่ที่แตกต่างกันคือระดับการตื่นของจิตวิญญาณ


อือ..ถ้าจากคุณ ddman และ คุณศร แนะนำมา ไม่น่าจะผิดศีล5นะครับ
แต่ถ้าพูดถึงเรื่องบาป นั้น ก็ดูที่เจตนาของเราว่าตัดทำไม้ ตั้งใจจะให้ใครเดือดร้อนหรือไม่ นิ่งๆทำใจให้สงบ แล้วค่อยๆถึงสาเหตุทำไมต้องตัด แล้วท่านก็จะรู้ถึงสาเหตุนั้นว่า เป็น เหตุผล หรือ ข้ออ้าง ในการกระทำการใดๆ นั้นๆ


คำสอนของพระพุทธเจ้าชัดเจนแล้วครับคุณdeboykung ว่าต้นไม้เป็นเพียงรูปที่ไม่มีจิตและไม่ได้เกิดจากกรรม
การตัดต้นไม้จึงไม่บาปด้วยองค์แห่งศีล 5 ครับ
ถ้าจะบาปก็เป็นเพราะมีเทวดาอาศัยอยู่หรือมีสัตว์อื่นใช้เป็นที่อยู่ หรือทำให้มลภาวะเสียหายทำให้คนและสัตว์
เดือดร้อนเหมือนเราไปทำลายที่อยู่ของผู้อื่นน่ะครับ

เคยมีมิชชันนารีฝรั่งมาเคาะประตูบ้านผม แล้วพยายามยัดเยียดลัทธิมิจฉาทิฏฐิให้ผมเพื่อให้ผมเป็นสาวกของพระเจ้า อ้างว่าพระเจ้าสร้างทุกสิ่ง ความที่ผมมีบุญคุ้มครองจึงได้เรียนรู้ความจริงจากคำสอนของพระพุทธเจ้ามาบ้าง จึงได้พยายามชี้แจงให้เขาฟังว่าสิ่งที่เรียกว่าผู้สร้างน่ะไม่มี มีแต่สิ่งที่เราสร้างขึ้นเองทั้งนั้น (ต้องอาศัย เราไปก่อน เพราะถ้าลงลึกขั้นอนัตตาก็จะฟังกันไม่รู้เรื่องในขั้นต้น เพราะที่จริงไม่มีเราโดยปรมัตถ์)...โต้แย้งกันไปมาจนมาถึง " ต้นไม้" ผมก็บอกเขาว่ามันไม่มีจิตวิญญาน ฝรั้งมิจฉาทิฏฐินั้นก็แย้งขึ้นทันทีว่า.."มีสิ เพราะเมื่อพระเจ้าสร้างเสร็จก็ใส่ วิญญานให้เลย" ..ง่า..ผมจึงเข้าใจสุภาษิตไทยที่ว่า "เป่าขลุ่ยให้แรดฟัง"..มันคงไม่ได้อรรถ
ได้เทสเช่นเดียวกันกับเรื่องนี้

เขายังพยายามต้อนผมเข้ามุมแดงอีกว่า "ก็เพราะเหตุใดเล่าจึงมีกรณีอุบัติเหตุเครื่องบินตกคนตายทั้งลำท่านพออธิบายได้หรือไม่ ในคติเรา(คติของคนเขลา)นั่นเป็นประสงค์ของgod !"..

มิไยที่ผมจะได้ชี้ชวนให้เกิดสติปัญญาว่า ท่านทราบหรือไม่ว่าคนส่วนมากสามารถทำกรรมมาใน
ลักษณะคล้ายคลึงกันจึงต้องมาตายหมู่เช่นนี้ ..คงเพราะก๊อดลืมสร้างปัญญาให้เขามา เขาจึงฟังสิ่งที่อธิบายไม่เข้าหู ทั้งคงเพิ่งได้ยินคำว่า "กรรม"เป็นหนแรก.. นับแต่วินาทีแรกที่พระเจ้าปั้นเขาเสร็จ..
โอ้อนิจจาน่ากรุณาจริงหนอ!!

ขอบุญกุศล ในการตอบคำถามนี้ เป็นปัจจัยแก่ปัญญาแก่ข้าพเจ้า และเพื่อนร่วมธรรมทั้งหลาย ให้ได้ฟังธรรมศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมที่แท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิจนกว่าจะถึงมรรคผลนิพพานเทอญ..



คุณอย่าไปว่าเขาเลยครับเราทุกคนต่างมีความเชื่อเป็นของตัวเอง ถ้าคุณถูกสอนว่า 1+1=3-1 แล้วไม่ได้ถูกสอนมาแบบอื่น แล้วคุณไปบอกเขาว่า 1+1=2 ใครจะไปเชื่อละครับ เขาไม่ได้ถูกสั่งสอนมาแบบนั้น ถึงแม้ว่าทั้งสิ่งที่คุณและเขาเชื่ออาจจะถูกทั้งสองคนก็เป็นได้ หรือใครคนใดคนหนึ่งอาจจะผิด มันก็ไม่เป็นการดีที่จะทำลายความเชื่อของเขา ลองบอกเขาด้วยตัวอย่างสิครับ หรือบอกเค้าว่าเราเคารพในความคิดของเขาแล้วค่อยบอกในสิ่งที่เรารู้ ผมมีเรื่องที่ได้อ่านมา

1.จากหนังสือของท่านพุทธทาส เรื่อง พระเจ้า (พระเจ้าอิทัปปัจจยตา ผู้สร้าง ควบคุม ยุบเลิกสิ่งทั้งปวง) หน้า 102-103 *ไม่ได้ดับแปลงใดๆทั้งสิ้น
สำหรับสิ่งที่เรียกว่า "พระเจ้า" นี้เป็นปัญหามาก มากเหลือที่จะนับ; แต่แล้วมันก็สรุปได้ว่า ปํญหาทั้งหมดนั้น มัน เกิดมาจากความโง่ที่ไม่รู้จักพระเจ้า : ไม่รู้จักพระเจ้าเอาเสียเลยก็มี; หรือบางคนก็แสดงความโง่ออกมาว่าฉันมีพระเจ้าบ้าง ฉันไม่มีพระเจ้าอย่างนั้น อย่างนี้ สำหรับเป็นข้อทุ่มเถียงกัน แต่ความเป็นจริงนั้นสิ่งที่เรียกว่า "พระเจ้า" มีได้โดยที่คนเหล่านั้นไม่ต้องรู้สึกก็ได้ พระเจ้าที่ว่านี้คือ อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย, สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น อิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นกฎนั่นแหละคือพระเจ้า. ขอให้ตั้งใจสังเกตศึกษาให้ดีๆ ให้รู้จักสิ่งที่มันได้มีอยู่จริง โดยที่ไม่ต้องเถียงกัน. เราจะต้องรู้จักพระเจ้า เราจะต้องเข้าใจพระเจ้า และเราจะต้องมีพระเจ้าด้วย

หน้า104*ไม่มีการดัดแปลง
แม้ไม่ใช่เรื่องของศาสนาก็ต้องยอมรับว่า พระเจ้านั้นมีหน้าที่สำหรับ สร้างสิ่งทั้งหลายทั้งปวงให้เกิดขึ้น, แล้วก็ควบคุมสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงอยู่ตลอดเวลา, แล้วก็ลบล้างหรือเลิกล้างสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงนั้นออกไปเสียให้หมดในบางคราวบางโอกาส; ดังนั้นจึงเกิดมีพระเจ้าที่ประกอบอยู่ด้วยคุณสมบัติ 3 อย่างนี้เป็นหลักก่อน : สร้างอะไรขึ้นมา, ควบคุมสิ่งนั้นทั้งหมดไว้, แล้วก็ยุบหรือเลิกเสียเป็นคราวๆ เพื่อสร้างใหม่.




จากหนังสือของบรมครูทางจิตวิญญาณ OSHO เรื่อง THe Buddha Said...
หน้าที่30 *ไม่มีการดัดแปลง (from THe Buddha Said... by OSHO page 30)
The difference has to be understand. Jews, Christians, Mohammedans,Hindus, call that law "God"- they personify it. Buddha is not ready to do that. He says to personify God is to destroy the whole beauty of it, because that is anthropomorphic, anthropocentric attitude. Man thinks of God as if he is just like man-magnified, quantitatively millions of times bigger, but still, like man.


ต่อจากเมื่อกี้ขอโทษครับ *ไม่ดัดแปลง
He talks about dhamma, the law. God is not a person but just a force,an immaterial force. Its nature is more like law than like a person.



การตัดต้นไม้ ไม่เป็นบาปครับ

เพราะศีลข้อ 1 ว่า " ปาณาติบาต " ... หมายถึงการยังสัตว์มีลมปราณให้ตกล่วงไป

สัตว์มีลมปราณในที่นี้ หมายถึง สัตว์ที่มีอายตนะครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งรูปและนาม

ซึ่งโดยปริยาย ก็หมายถึงสัตว์ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ส่วนต้นไม้นั้น มีแต่รูป ไม่มีนาม(วิญญาณ) ท่านเรียกว่า มีอายตนะไม่ครบ

ก้อนหินก็เหมือนกันครับ มีแต่รูป ไม่มีนาม(วิญญาณ) ท่านเรียกว่า มีอายตนะไม่ครบ

จุลินทรีย์ในนมเปรี้ยวเป็นต้น ก็มีแต่รูป ไม่มีนาม(วิญญาณ) ท่านเรียกว่า มีอายตนะไม่ครบ

เมื่อเราตัดต้นไม้ก็ตาม เด็ดผลไม้จากต้น(ของเรา)ก็ตาม

ทุบก้อนหินก็ตาม ดื่มนมเปรี้ยวก็ตาม ... ไม่เป็นบาปทั้งนั้นครับ


**************************

คำตอบนี้เป็นความเห็นส่วนตัว + กับความรู้ทางธรรมอันมีอยู่นิดหน่อยน่ะครับ

อย่าเพิ่งเชื่อ และอย่าเพิ่งปฏิเสธโดยส่วนเดียว

พึงใช้สติปัญญาพิจารณาดูให้ดีก่อนนะครับ


ขอออกความเห็นครับ


ในทางวิทยาศาสตร์
อาจถือว่า ต้นไม้ เสมือนสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง
เพราะมีการเจริญเติบโต แพร่พันธุ์ได้

แต่ในทางพุทธศาสนา
ที่จะเรียกว่าสิ่งมีชีวิตนั้น
จะต้องประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ
คือ มีรูป และ มีจิต
(หรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่ง)
(ต้องมีชีวิตรูป และ ชีวิตินทริยเจตสิก ประกอบ)

คน สัตว์ชนิดต่างๆ เป็นรูปที่มีจิตครอง
ส่วนโต๊ะ เก้าอี้ ก้อนหิน สิ่งของต่างๆ รวมทั้งต้นไม้
มีแต่รูป ไม่มีจิตครอง จึงเรียกว่า สิ่งไม่มีชีวิต

ที่เราเห็นต้นไม้เจริญเติบโตได้ แพร่พันธุ์ได้
ดูดซึมน้ำ ปุ๋ย สังเคราะห์แสงได้ ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น
เป็นเพียงกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงเป็นไปของรูปธาตุ
ที่มีการผันแปรของรูปเล็กๆ ที่ประชุมกันเป็นต้นไม้
อันเกิดจากความสมดุลย์ของอุตุ
ซึ่งรูปธาตุต่างๆ เหล่านี้ มีอุตุ เป็นปัจจัย

ต้นไม้จึงเป็นเพียงรูปที่เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐาน
ที่เรียกว่า อุตุชรูป น่ะคับ





โพสต์ : 17 ก.ค. 2007 เวลา 13:17

ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ กับขันธ์ 5
(ในที่นี่กล่าวเฉพาะภพภูมิที่มีขันธ์ 5)

ต้นไม้ มีเพียงขันธ์เดียว คือ รูปขันธ์
ซึ่งรูปขันธ์ของต้นไม้
มีอุตุเป็นสมุฏฐานเพียงสมุฏฐานเดียวเท่านั้น

แต่สำหรับคน สัตว์ ที่เรียกว่าสิ่งมีชีวิต
จะมีครบทั้ง 5 ขันธ์
และรูปขันธ์ของคน สัตว์ นั้น
จะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดรูป 4 สมุฏฐาน คือ
กรรม จิต อุตุ อาหาร

บางทีเราเคยเห็นคนเปิดเพลงให้ต้นไม้ฟัง
แล้วต้นไม้ก็ไหวไปตามเพลง
นั่นไม่ใช่เพราะต้นไม้ได้ยินเสียงแล้วเต้นไปตามเพลง
เพราะต้นไม้ไม่มีโสตปสาทรูป ไม่มีโสตวิญญาณ

แต่การที่ต้นไม้ไหวไปนั้น
เกิดจากการกระทบกระเทือนกันของรูปธาตุต่างๆ
ในกรณีนี้ เสียงเป็นรูปที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
เกิดขึ้นสั่นสะเทือนในอากาศ
จึงทำให้เกิดการกระเทือนไหวไป
เหมือนอย่างที่เราเคยเห็นเค้าทดสอบ
ว่าเวลาเปิดเสียงดังมากๆ ทำให้แก้วแตกได้
หรือเสียงดังๆ ที่กระทบแก้วหูคน
ก็ทำให้แก้วหูแตกได้
หรือเวลาที่เปิดเครื่องเสียงดังๆ ลำโพงดีๆ
มันรู้สึก ตุ๊บๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สะเทือนอยู่ในอกไปตามจังหวะ ใช่ป่ะคับ

คน สัตว์ กระทำบุญ บาป รู้สึกนึกคิดต่างๆ ได้...แต่ต้นไม้ไม่ได้
ต้นไม้จึงไม่มีกรรม ไม่มีวิบาก
แต่คน สัตว์ มีกรรม มีวิบาก

ดังนั้น จึงไม่มีใครตายแล้วไปเกิดเป็นต้นไม้ เกิดเป็นก้อนหิน ฯลฯ
และก็ไม่มีต้นไม้ตายแล้วมาเกิดเป็นคน เป็นสัตว์ อ่ะคับ




การที่เราเห็นพืชบางชนิด
เช่น ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ดูเสมือนหนึ่งว่าดอกเค้าดักกินแมลง

แต่ในเมื่อพืชไม่มีชีวิต
จึงกินอาหารไม่ได้

หากแต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
เป็นไปตามลักษณะทางธรรมชาติ
เมื่อมีแมลงบินมาชน
หรือไม่จำเป็นต้องเป็นแมลง จะเป็นอะไรก็ได้
ลองเอานิ้วไปสะกิดหรือแหย่ลงไปดูก็ได้
ก็ทำให้เกิดการกระทบกระเทือน
กระตุ้นให้รูปนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงขยับไหว

ถ้าเป็นนิ้ว เราก็ดึงเอานิ้วออกมาได้
แต่ถ้าเป็นแมลง ไม่สามารถบินออกมาได้
ก็ตายอยู่ในนั้น เน่าเปื่อยสลายหายไปเอง
ไม่ใช่เพราะโดนต้นไม้กินน่ะคับ


โพสต์ : 17 ก.ค. 2007 เวลา 15:39

การที่เราเห็นพืชบางชนิด
เช่น ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ดูเสมือนหนึ่งว่าดอกเค้าดักกินแมลง

แต่ในเมื่อพืชไม่มีชีวิต
จึงกินอาหารไม่ได้

หากแต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
เป็นไปตามลักษณะทางธรรมชาติ
เมื่อมีแมลงบินมาชน
หรือไม่จำเป็นต้องเป็นแมลง จะเป็นอะไรก็ได้
ลองเอานิ้วไปสะกิดหรือแหย่ลงไปดูก็ได้
ก็ทำให้เกิดการกระทบกระเทือน
กระตุ้นให้รูปนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงขยับไหว

ถ้าเป็นนิ้ว เราก็ดึงเอานิ้วออกมาได้
แต่ถ้าเป็นแมลง ไม่สามารถบินออกมาได้
ก็ตายอยู่ในนั้น เน่าเปื่อยสลายหายไปเอง
ไม่ใช่เพราะโดนต้นไม้กินน่ะคับ





เช่นเดียวกับ ใบไมยราพ
เวลาเราเอานิ้วไปเขี่ยๆ ใบก็จะหุบผลุ๊บเลยคับ
แล้วซักพักใบก้อกางออก
พอเขี่ยอีกก็หุบอีกอ่ะคับ





ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพราะเค้ามีชีวิต หรือมีความรู้สึกนึกคิด
แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของรูป
ที่ผันแปรปรับเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยของเค้าเท่านั้นอ่ะคับ

ส่วนเรื่องพระวินัยบัญญัติ
ว่าด้วยเรื่องพรากของเขียวนั้น
เพราะมีเหตุ จึงทรงบัญญัติไว้
ลองดูรายละเอียดได้นะคับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ 2
พระวินัยปิฎก เล่มที่ 2
มหาวิภังค์ ภาค 2
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒

๒. ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี







ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒
๒. ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี
[๓๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตรัฐ
อาฬวี. ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีทำนวกรรม ตัดต้นไม้เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง.
แม้ภิกษุชาวรัฐอาฬวีรูปหนึ่งก็ตัดต้นไม้. เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นั้น ได้กล่าวคำนี้กะภิกษุนั้น
ว่า ท่านเจ้าข้า ท่านประสงค์จะทำที่อยู่ของท่าน โปรดอย่าตัดต้นไม้อันเป็นที่อยู่ของข้าพเจ้าเลย.
ภิกษุรูปนั้นไม่เชื่อฟังได้ตัดลงจนได้ แลฟันถูกแขนทารกลูกของเทวดานั้น. เทวดาได้คิดขึ้นว่า
ถ้ากระไรเราพึงปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้แหละ แล้วคิดต่อไปว่า ก็การที่เราจะพึงปลงชีวิต
ภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้นั้นไม่สมควรเลย ถ้ากระไรเราควรกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค
ดั่งนั้นเทวดานั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคทรงประทานสาธุการว่า ดีแล้วๆ เทวดา ดีนักหนาที่ท่านไม่ปลงชีวิต
ภิกษุรูปนั้น ถ้าท่านปลงชีวิตภิกษุรูปนั้นในวันนี้ ตัวท่านจะพึงได้รับบาปเป็นอันมาก ไปเถิด
เทวดา ต้นไม้ในโอกาสโน้นว่างแล้ว ท่านจงเข้าไปอยู่ที่ต้นไม้นั้น.
ประชาชนพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พวกพระสมณะเชื้อสายพระ-
*ศากยบุตรจึงได้ตัดต้นไม้เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง? พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลาย
ย่อมเบียดเบียนอินทรีย์ อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ. ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเขาเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาอยู่ บรรดาที่มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุชาว
รัฐอาฬวี จึงได้ตัดต้นไม้เองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอตัดเองบ้าง ให้คนอื่น
ตัดบ้าง ซึ่งต้นไม้ จริงหรือ?
ภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้
ตัดเองบ้าง ให้คนอื่นตัดบ้าง ซึ่งต้นไม้? เพราะคนทั้งหลายสำคัญในต้นไม้ว่ามีชีวะ การกระทำ
ของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส
ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะพรากภูตคาม.
เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๕๕] ที่ชื่อว่า ภูตคาม ได้แก่พืช ๕ ชนิด พืชเกิดจากเง่า ๑ พืชเกิดจากต้น ๑
พืชเกิดจากข้อ ๑ พืชเกิดจากยอด ๑ พืชเกิดจากเมล็ดเป็นที่ครบห้า ๑.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากเง่า ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก
แห้วหมู, หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่เง่า งอกที่เง่า นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากเง่า.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากต้น ได้แก่ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นดีปลี ต้นมะเดื่อ ต้นเต่าร้าง
ต้นมะขวิด, หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ต้น งอกที่ต้น นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากต้น.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากข้อ ได้แก่ อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิด
ที่ข้อ งอกที่ข้อ นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากข้อ.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากยอด ได้แก่ ผักบุ้งล้อม แมงลัก เถาหญ้านาง, หรือแม้พืช
อย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่ยอด งอกที่ยอด นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากยอด.
ที่ชื่อว่า พืชเกิดจากเมล็ด ได้แก่ข้าว ถั่ว งา หรือแม้พืชอย่างอื่นใดซึ่งเกิดที่เมล็ด
งอกที่เมล็ด นั่นชื่อว่า พืชเกิดจากเมล็ด เป็นที่ครบห้า.
บทภาชนีย์
[๓๕๖] พืช ภิกษุสำคัญว่าพืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่น
ทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พืช ภิกษุสงสัย ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี
ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
พืช ภิกษุสำคัญว่า ไม่ใช่พืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่น
ทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.
ไม่ใช่พืช ภิกษุสำคัญว่าพืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่น
ทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่พืช ภิกษุสงสัย ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้คนอื่นทำลายก็ดี
ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่พืช ภิกษุสำคัญว่า ไม่ใช่พืช ตัดเองก็ดี ให้คนอื่นตัดก็ดี ทำลายเองก็ดี ให้
คนอื่นทำลายก็ดี ต้มเองก็ดี ให้คนอื่นต้มก็ดี ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๓๕๗] ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้พืชนี้ ท่านจงให้พืชนี้ ท่านจงนำพืชนี้มา เรามีความ
ต้องการด้วยพืชนี้ ท่านจงทำพืชนี้ให้เป็นกัปปิยะดังนี้ ๑ ภิกษุไม่แกล้งพราก ๑ ภิกษุทำเพราะ
ไม่มีสติ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=1618


เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
3 อย่างนี้ไม่มีใครมากำหนดครับ
เป็นสัจธรรมของทุกสิ่ง


แต่สิ่งแท้ๆที่กำหนด คือ กรรม (การกระทำของเรา) เองครับ
สมมุตินะว่า คุณฆ่าคน 1 คน ถามว่า หากมีพระเจ้า พระเจ้า
จะให้อภัยคุณไหม ถ้าคุณสารภาพบาป?
หากว่ากันตามพุทธ โทษจากการฆ่าคน ชาติต่อไปคุณก็จะถูกเขาฆ่าครับ

เราทำเหตุ ผลย่อมตามมา
จะเมื่อไหร่ก็ตาม มันย่อมเกิดแน่นอน
ดังคำพูดที่ว่า กรรมเป็นเสมือนเงาตามตัว

พุทธสอนให้คนมีปัญญา
ปัญญา คือ การรู้แจ้งเห็นจริง (ด้วยญาณ) ครับ
และเมื่อได้ปัญญาแล้ว จึงเกิดการเห็นจริง
รู้จริง ถึงสื่งที่มีอยู่บนโลก เกิดความเบื่อหน่าย
และสุดท้ายก็มุ่งหน้าเข้าสู่นิพพาน
เพื่อให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ครับ

คุณรู้ไหมว่า คนได้ญาณ เพียงหลับตาก็เห็นนรก
เห็นสวรรค์ได้ครับ เห็นสิ่งที่เป็นทิพย์ต่าง ๆ (พวกไม่มีกายเนื้อ)
สามารถรู้ได้เลยว่า อดีตก่อนที่คุณมาเกิด
คุณเป็นอะไรมาก่อน คน? สัตว์? แล้วต่อไป
เมื่อคุณตาย คุณจะได้ไปที่ไหน เกิดเป็นอะไร
คุณเคยฟังเรื่องเหล่านี้ไหมครับ
ผมว่าสมัยนี้มันหาฟังยากนะ
และไม่ค่อยมีคนเชื่อ

ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถพิสูจน์ได้ครับ
แม้ไม่ต้องรอให้ตายก่อน ซึ่งเมื่อคุณมี "ปัญญาญาณ"
คุณก็ไม่ต้องมานั่งถกเถียงกันแล้วละครับ
คุณก็จะรู้เองว่า พระเจ้า มีไหม ถ้ามีจริงแล้ว
ท่านจะดลบันดาลโดยขัดต่อกฏแห่งกรรมได้ไหม
ซึ่งผมคิดว่า ไม่มีอะไรฝืน "กฏแห่งกรรม" ได้เลยครับ





ตัดต้นไม้ หรือทำต้นไม้ตาย ไม่ผิดศีลข้อปาณาติบาต เพราะต้นไม้ไม่มีวิญญาณ

แต่ถ้าต้นไม้มีเจ้าของ หรือเป็นของหลวง (ในป่าสงวน ฯลฯ) จะบาปเพราะเป็นการลักทรัพย์ ถือว่าผิดศีลข้อ2

**************
แต่ในกรณีของพระภิกษุ มีพระวินัยเกี่ยวกับการห้ามพระภิกษุตัดไม้ครับ




 4,059 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย