การทำบุญแบบไหนส่งผลมากกว่ากัน

 mcelab    

วันนี้ผมมีปัญหาข้อส่งสัยเกี่ยวกับการทำบุญนะครับวอนท่านผู้เจริญทั้งหลายช่วยคลายความข้อส่งสัยนี้หน่อยครับคือผมอยากทราว่าในการทำบุญแต่ละครั้งนั้นถ้าทุกครั้งที่ทำเราปรารถนาที่จะได้นั่นได้นี่ขอให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้กับการที่ทำเพราะอยากทำนั้นโดยไม่ได้คิดสิ่งใดๆเลยคืออยากทำก็ทำไม่ได้หวังว่าจะให้ได้นั้นได้นี่ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้แล้วการทำบุญทั้งสองแบบจะให้ผลเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างครับขอบคุณล่วงหน้านะครับ




การทำบุญโดยจิตมีความโลภ อยากได้นั่นได้นี่ ผลบุญย่อมน้อยกว่ามากมายนัก

การทำบุญเพื่อช่วยคนนั้นคนนี้ เช่น ข่วยบำรุงพระศาสนา ย่อมได้ผลบุญมากกว่ามาก

การทำบุญโดยไม่หัวผลตอบแทน ไม่โลภ น่าจะได้บุญสูงสุด ในกรณีนี้


สาธุๆครับคุณ godama

การทำบุญแล้วตั้งความปรารถนาให้เป็นปัจจัยต่อการพ้นทุกข์ ได้บรรลุมรรคผลนิพพานจึงควรครับเพราะผู้พ้นทุกข์ได้คือผู้ที่ละออกจากกิเลสกามทุกชนิด แต่การทำบุญเพื่อหวังกามมีการ ลาภ ชื่อเสียง รูปสวยฯลฯย่อมเป็นบุญเจือโลภะ กำลังของบุญย่อมลดลงไปด้วยอกุศลเจตนาคือโลภะนั้น

การทำบุญใดๆ แม้มิได้หวังอะไรๆเลย เขาก็ส่งผลตามเหตุอยู่แล้ว เช่นเมื่อให้ทาน ผลที่จะได้คือโภคทรัพย์ เมื่อรักษาศีลก็ย่อมได้ความสุข ทรัพย์ ยศ รูปที่ดีฯลฯเป็นต้น เมื่อเจริญภาวนาทำสมาธิวิปัสสนาก็จะได้ัความสงบ สติ และปัญญา อันจะนำพาตนให้พ้นทุกข์ได้..

ดังนั้น จึงควรวางใจให้ถูกในการทำบุญ แต่ละครั้งหากมีความรู้ ความเชื่อเรื่องกรรม มีสัมมาทิฏฐิประกอบด้วย ผลแห่งบุญย่อมไพศาลขึ้นอีกด้วย เพราะเป็นบุญ ที่มีปัญญานำไป ยิ่งเมื่อสามารถคิดทำได้เองด้วยศรัทธาแรงกล้าไม่ต้องให้ใครมาชักจูงกระตุ้นเตือนก็ยิ่งเป็นบุญชั้นเลิศเลยนะครับ

ขออนุโมทนากับคำถามด้วยครับ


ขอบคุณครับสำหรับคำตอบแต่ผมก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีนะครับ

สมมุติว่ามีชายสองคนทั้งสองคนนี้จะทำบุญใส่บาตรทุกวันทำเยี่ยงนี้อยู่เป็นนิจแต่คนที่หนึ่งทุกครั้งที่ใส่บาตรจะตั้งจิตอธิษฐานว่าให้บรรลุถึงนิพพานแต่คนที่สองใส่บาตรเพราะเค้าอยากจะใส่เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ได้มีภัตารหารได้ฉันเขาหวังเพียงแค่เท่านั้นโดยที่ผมอยากทราบว่าการกระทำของชายทั้งสองจะให้ผลเหมือนหรือต่างกันอย่างไรนะครับโดยเราสมมุติว่าชายทั้งสองมีบุญและกรรมเก่าเหมือนกันและเสมอกันทุกประการ


กันอย่างไรนะครับโดยเราสมมุติว่าชายทั้งสองมีบุญและกรรมเก่าเหมือนกันและเสมอกันทุกประการ

ก่อนอื่น คำถามนี้ผิดความจริงในเชิงเหตุผลครับ คนที่มีบุญกรรมเก่าเสมอกันนั้นย่อมมีอุปนิสัยเสมอเหมือนกัน ดังนั้นเขาจะทำบุญโดยอาการ"เหมือนกัน"ไม่ต่างกันแม้ในทางความคิด แต่ในความจริง สมมุตินี้ไม่มีและเป็นไปไม่ได้นะครับ..

แต่เอาละเรามาวิเคราะห์ความต่างของผลบุญของสองคนนี้ว่าเป็นอย่างไร

ขอตอบว่าทั้งสองคนทำบุญโดยไม่มีโลภะเจือปน ผลที่ได้รับย่อมไพบูลย์เสมอกัน แต่ผู้ที่ปรารถนานิพพานนั้น เขาตั้งเข็มทิศหรือเป้าหมายเพื่อให้ผลบุญนั้นสนับสนุนเขาให้ตรงไปสู่ความพ้นทุกข์..เขาจะได้พบธรรมะ สนใจศึกษาและปฏิบัติตามได้ในภายหน้า

ส่วนคนที่ไม่หวังสิ่งใด..แต่หวังอุปการะพระสงฆ์เท่านั้น ผลที่ได้คือจะได้อุการะ(มีทรัพย์)ในภายหน้า แต่คนนี้ ไม่มีเป้าไปสู่ความพ้นทุกขฺ์ เขาก็จะไม่ไปที่จุดนั้น อาจเกิดมารวยมาก มหาศาล เป็นมหาเศรษฐีของโลก แต่ก็เพลินกับความรวยอย่างเดียว มีอัธยาศัยทำทานมากก็บริจาคมโหฬารต่อไป แต่จะให้มาศึกษาธรรมะ อาจไม่เอา ไม่สนใจเป็นต้น

เปรียบเหมือนคนขับรถ ทั้งสองได้ระยะทาง แต่คนที่ตั้งเป้าไว้ก็ขับไปสู่ที่หมาย ส่วนคนไม่ตั้งที่หมายก็ไปเรื่อยๆ ชมวิวทิวทัศน์ไปไม่เร่งรีบอะไร..

การตั้งเป้าเช่นนี้ควรหรือไม่ ? พระพุทธองค์และพระมหาสีติอรหันตสาวกทุกองค์ต่างต้องตั้งเป้ามาทั้งนั้น มิได้มาด้วยอาการบังเอิญหรือฟลุคแต่ประการใด..การตั้งเป้านี้เรียกว่าการอธิษฐานอันเป็นบารมีหนึ่งในทศบารมีที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องทรงบำเพ็ญ

พึงพิจารณาแล้วเลือกทำตามอัธยาศัยครับ


ขอบคุณคุณ ddman มากครับที่ผมยกตัวอย่างแบบนั้นเนื่องจากว่าอยากให้จุดเริ่มของบุคคลทั้งสองอยู่ที่จุดเดียวกันเท่านั้นส่วนจะมีจริงหรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้เนื่องจากว่าผมต้องการจะทราบผลที่มาจากการกระทำของชายทั้งสองว่าจะได้ผลเหมือนหรือต่างกันอย่างไรเท่านั้นขอบคุณมากที่ทำให้ผมรู้อะไรมากขึ้นพอดีพึ่งสมัครเป็นสมาชิกนะครับอยากรู้อะไรอีกมากมายเดี๋ยวจะค่อยๆมาขอความรู้นะครับ



สาธุท่าน ddman
แจ่มแล้ว

ในสมัยพุทธกาลก็มีหลายท่านนะครับที่อธิฐานจิตไว้จนได้เป็นสาวกพระพุทธองค์


สมมุติว่ามีชายสองคนทั้งสองคนนี้จะทำบุญใส่บาตรทุกวันทำเยี่ยงนี้อยู่เป็นนิจแต่คนที่หนึ่งทุกครั้งที่ใส่บาตรจะตั้งจิตอธิษฐานว่าให้บรรลุถึงนิพพานแต่คนที่สองใส่บาตรเพราะเค้าอยากจะใส่เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ได้มีภัตารหารได้ฉันเขาหวังเพียงแค่เท่านั้นโดยที่ผมอยากทราบว่าการกระทำของชายทั้งสองจะให้ผลเหมือนหรือต่างกันอย่างไรนะครับโดยเราสมมุติว่าชายทั้งสองมีบุญและกรรมเก่าเหมือนกันและเสมอกันทุกประการ

คนตั้งจิตอธิษฐานให้บรรลุถึงนิพพาน จิตใต้สำนึก+บุญของเขาจะนำจิตของเขาให้ไปถึงเป้าหมายในที่สุด แต่จะเร็วหรือช้าเท่าน้น

คนที่ไม่ได้ตั้งจิตอธิษฐาน บุญจะจัดสรรสิ่งที่เขามุ่งหวังในชีวิตในแต่ละภพให้เอง


ผมขอถามนิดนะครับว่าการที่เราตั้งจิตอธิฐานว่าให้ได้ไปสู่ยังภพภูมิที่สูงกว่าหรือการเข้าถึงนิพพานนั้นจัดว่าเป็นความโลภหรือไม่ครับถ้าเป็นไปได้กรุณายกตัวอย่างให้เห็นภาพได้หรือไม่ครับขอบคุณครับ


เป็นคำถามที่พบกันบ่อย
และดูเหมือนเป็นคำถามง่ายๆ
แต่...มีประเด็นสำคัญอยู่ในคำถามนั้นเยอะเลยทีเดียวคับ

ในเบื้องต้น ลองทำความเข้าใจทีละส่วนก่อนนะคับ

สภาพของ โลภะ กับ ฉันทะ นั้นเป็นสภาพธรรมคนละอย่างกัน
แต่ก็มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมากเลยทีเดียวคับ

โลภะเจตสิก เป็นสภาพที่เกิดกับ โลภมูลจิต ซึ่งเป็นอกุศลจิต
มีลักษณะที่ ติดข้องพอใจ ใคร่ได้ ยึดไว้
เช่น เวลาที่เพลิดเพลินไปในรูปสวยๆ เสียงไพเราะ รสอร่อยๆ ฯลฯ เป็นต้น
ขณะนั้นมีสภาพที่ใคร่ได้ ยึดไว้ ในกามคุณทั้งหลาย
มีความคาดหวัง อยากได้ในสิ่งต่างๆ หรือการกระทำต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของตน
และโลภะนี้ยังติดข้องได้แม้ในบุญ เช่น ทำบุญเพื่อหวังผลของบุญ ฯลฯ เป็นต้น

ส่วน ฉันทเจตสิก เป็นสภาพที่เกิดได้ทั้งกับอกุศลจิต และ กุศลจิต
มีลักษณะน้อมไปในอารมณ์นั้นด้วยความพึงใจที่จะกระทำ
ซึ่งขณะใดที่เป็นโลภมูลจิต ย่อมมีทั้งโลภเจตสิก และ ฉันทเจตสิก ประกอบร่วมกัน
จึงมีความชอบใจที่จะกระทำ และติดข้องยินดีเพลิดเพลินไปกับสิ่งนั้น

หากแต่ขณะใดที่เป็นกุศลจิต จะไม่มีโลภเจตสิก
จะมีแต่ฉันทเจตสิกที่น้อมไปด้วยความพึงใจกระทำ แต่ไม่ติดข้องยึดไว้เหมือนอย่างโลภะ
เช่น ทำบุญสละทรัพย์หรือช่วยเหลือสิ่งต่างๆ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น
เพราะเห็นถึงประโยชน์ที่ผู้นั้นจะได้รับ
จึงมีจิตน้อมไปที่จะกระทำ ช่วยเหลือ ให้เค้าได้พ้นจากความทุกข์เดือดร้อน
ไม่ใช่ทำด้วยความคาดหวังว่าตนจะได้บุญมากตั้งเท่านั้น...หรือน้อยเพียงเท่านี้

ดังนั้น การทำบุญเพื่อหวังจะได้รับความสุขสบายในภพภูมิที่สูงกว่า
ก็ย่อมเป็นไปด้วยโลภมูลจิตที่เกิดแทรกสลับกับกุศลจิต

หรือแม้การร่ำร้องอยากจะนิพพาน
บางครั้งก็ถึงกับคาดหวังว่าจะได้นิพพานในชาตินั้นชาตินี้เลยทีเดียว
ก็ไม่พ้นไปจากโลภมูลจิต ที่ติดข้อง คาดหวัง

สภาพธรรมที่เป็นจริงอย่างไร ก็ต้องเป็นจริงอย่างนั้นน่ะคับ
โลภะ ย่อมเป็นโลภะ เกิดขึ้นครั้งใดก็ต้องเป็นโลภะ
จะเลี่ยงไปเป็นอื่นไม่ได้เลยอ่ะคับ

ดังนั้น จึงไม่ใช่การคิดสรุปเอาเพียงตามเรื่องราว
ว่าหากปรารถนาในนิพพานแล้วละก็
จะเป็นกุศลจิตไปเสียหมด...ซึ่งหาใช่เช่นนั้นเสมอไป
หากแต่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ว่าอาจเป็นได้ทั้งอกุศลจิต (โลภมูลจิต) ที่ติดข้อง คาดหวัง ใคร่ได้
หรือขณะนั้นเป็นไปด้วยกุศลจิตที่ประกอบด้วยกุศลฉันทะ
เนื่องด้วยเห็นโทษภัยในสังสารวัฏ และรู้ว่าผลทั้งหลายนั้นย่อมไหลมาแต่เหตุ
จึงเกิดความพึงใจน้อมไปในการเจริญกุศลทั้งหลาย
ลดละคลายอกุศล ขัดเกลากิเลสในใจตน
ดำเนินไปบนเส้นทางมรรคด้วยความเพียร
และเมื่อถึงกาลอันควรแก่เหตุที่ได้กระทำสั่งสมจนสมบูรณ์พร้อม...ผลย่อมปรากฏ

ดังนั้น สภาพจิตขณะนั้นเป็นจริงอย่างไร
เป็นโลภมูลจิต หรือ กุศลจิตที่ประกอบด้วยกุศลฉันทะ
สติปัฏฐานต้องเกิดระลึกรู้ในขณะนั้นตรงตามสภาพจิตที่เป็นจริงน่ะคับ

ทีนี้บางครั้ง...เราก็อาจจะอดสงสัยไม่ได้ใช่มั้ยคับว่า
ก็ถ้าไม่มีความคาดหวัง ปราราถนา ใคร่ได้ ซะเลย
แล้วจะเอาความเต็มอกเต็มใจที่ไหนไปทำบุญกันล่ะ
จะทำบุญไปเพื่ออะไร หรือจะมุ่งหวังนิพพานกันทำไม
ก็ต้องเอาความอยาก ความปราราถนาคาดหวังในผลนี้แหละเป็นตัวนำเสียก่อนสิ
แล้วเดี๋ยวค่อยไปสละออกเอาทีหลังก็แล้วกัน

ประการนี้...ก็เป็นไปได้อยู่เหมือนกันอ่ะนะคับ
เพราะสำหรับผู้ที่ไม่รู้ ก็อาจจะใช้โลภะนำไปก่อน
แต่อย่าลืมว่า โลภะนี้เหมือนนายช่างผู้สร้างเรือน คือต่อภพต่อชาติไปไม่สิ้นสุด
กว่าจะกลับตัวสลัดออกจากโลภะในภายหลังได้นั้นก็ยากยิ่ง
เสมือนหวังน้ำบ่อหน้า...จะสละได้หรือกลายเป็นยิ่งพอกทับทวีคูณขึ้นก็มิอาจรู้ได้

แต่สำหรับผู้ที่รู้
ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยโลภะนำหน้าเลย
เพราะชื่อว่าอกุศลทั้งหลายแล้ว...ละได้ก็ควรละเสียทันที...ไม่รีรอว่าเมื่อนั่นเมื่อนี่ค่อยละ
หากแต่เกิดฉันทะที่น้อมไปในการเจริญกุศลนั้นๆ
ประพฤติปฏิบัติดำเนินไปด้วยความหมั่นเพียร
โดยไม่ต้องอาศัยโลภะเป็นตัวนำอ่ะคับ






ทีนี้ มาที่คำว่า อธิษฐาน

อธิษฐาน หมายถึง การตั้งใจแน่วแน่
ตั้งเจตนาอย่างมั่นคง ตั้งใจอย่างแรงกล้า ในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ
ไม่ได้หมายถึงการวิงวอน ร้องขอ หรือบนบาน อย่างที่เราอาจจะเข้าใจผิดกันไปน่ะคับ

อย่างเช่น อธิษฐานว่า ขอให้สอบได้
ก็หมายถึง ตั้งใจขึ้นอย่างแน่วแน่ในการที่จะสอบให้ได้
และมุ่งมั่นกระทำตามที่อธิษฐาน
ลงมือกระทำเพื่อให้สอบได้ เช่น ดูหนังสือ ติวข้อสอบ เรียนพิเศษ ฯลฯ เป็นต้น

การอธิษฐานที่จะเป็น อธิษฐานบารมี นั้นมีลักษณะคือ...
โพธิสมฺภาเวสุ อธิฏฺฐานลกฺขณา อธิฏฺฐานปารมี
อธิฏฐานบารมี ย่อมมีการตั้งใจอันแน่นอนเพื่อโพธิญาณ เป็นลักษณะ

ดังนั้น อธิษฐานบารมี จึงเป็นไปเพื่อ...
1. สัจจาธิฏฐาน คือ ตั้งใจแน่วแน่มั่นคงเพื่อการรู้แจ้งในสัจจธรรม คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
2. จาคาธิฏฐาน คือ ตั้งใจแน่วแน่มันคงที่จะสละคลายกิเลสออกจนหมดสิ้น
3. อุปสมาธิฏฐาน คือ ตั้งใจแน่วแน่มั่นคงเพื่อให้บรรลุซึ่งพระนิพพาน
4. ปัญญาธิฏฐาน คือ ตั้งใจแน่วแน่มั่นคงเพื่อให้แจ้ง
หมายถึง พระสัพพัญญุตญาณ ที่รู้สิ้นแทงตลอดในสังขตธรรมและอสังขตธรรม

(เฉพาะข้อ 4 นี้มีได้เฉพาะพระสัมมาสัมโพธิญาณ)
(สำหรับข้อ 1-3 เป็นสาธารณะ ทั้งพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระปัจเจกโพธิญาณ พระสาวกโพธิญาณ)


อีกทั้ง อธิษฐานบารมีนี้ จะไม่เกิดลำพังเดี่ยวๆ
แต่จะต้องเกิดร่วมกับบารมีอื่นเสมอ
เช่น เมื่ออธิษฐานว่าจะเป็นไปเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
ก็ต้องมีการกระทำตามที่อธิษฐาน จึงต้องมีบารมีอื่นๆ เข้าร่วมด้วย
หากมีแต่อธิษฐาน คือมีแต่ความตั้งใจ
แต่ไม่มีการลงมือกระทำตามที่ตั้งใจ ก็ไม่เป็นอธิษฐานบารมี
เป็นแต่เพียงการวิงวอน ร้องขอ บนบาน เท่านั้นเองน่ะคับ


ดังนี้แล้ว เมื่อประกอบกันทั้งหมด
คือการที่สติปัฏฐานระลึกรู้สภาพจิตที่เกิดขึ้น
ว่าเป็นโลภมูลจิต หรือ กุศลจิตอันประกอบด้วยกุศลฉันทะ ดังที่กล่าวในตอนต้น
จึงเห็นได้ว่า อธิษฐานบารมี อันเป็นไปเพื่อมรรคผล
ก็เสมือนจุดมุ่งหมายที่จะดำเนินไป (ด้วยกุศลฉันทะ ไม่ใช่ด้วยโลภะ)
และต้องมีการกระทำ คือ เกิดกุศลจิตน้อมไปด้วยฉันทะ
มีความพึงใจที่จะดำเนินไปให้ถึงตามที่อธิษฐานอย่างแน่วแน่มั่นคง
ประพฤติปฏิบัติสั่งสมอบรมให้กุศลธรรมเจริญยิ่งๆ ขึ้นจนสมบูรณ์พร้อม...ดับกิเลสสิ้น (จะกี่ภพกี่ชาติก็ตาม)
แต่ไม่ใช่ด้วยความติดข้อง คาดหวัง ใคร่ได้...ในผล
โดยไม่มีการกระทำเหตุอันสมควรแก่ผล
หรือกระทำไปด้วยโลภะอันต่อภพต่อชาติไปไม่รู้จบสิ้นน่ะคับ

พระอริยสาวกท่านทั้งหลาย ก็ไม่มีท่านใดล่วงรู้ว่าท่านจะบรรลุมรรคผลเมื่อใด
แต่ท่านมีจุดมุ่งหมายที่แน่วแน่มั่นคง...มีฉันทะน้อมไป ไม่ท้อถอย ประกอบด้วยความเพียร
ประพฤติปฏิบัติอบรมสั่งสมเหตุปัจจัยไปอย่างต่อเนื่องทุกภพทุกชาติ...จนท่านบรรลุมรรคผลน่ะคับ


ขอบคุนจารย์เดฟวัดเกาะที่เอื้อเฟื้อคำตอบครับ


การทำบุญไม่หวังสิ่งตอบแทนนั้นย่อมประมาณค่ามิได้ เพราะ ทำแล้วกำลังใจเต็ม100

แต่การทำบุญและยังหวังอยู่มันเป็นจิตที่คิดอกุศลเพราะ สมมุตินะทำบุญไป20บาทแบบ

ไม่คิดไรคือเขามาบอกบุญในการสร้างกองกลางมหากุศลก็ทำ จิตตอนนั้นมันไม่ได้ยึด

มั่นถือมั่น คือเป็นการสละ ยิ่งเป็นของที่สละได้ยาก ย่อมหาประมาณค่ามิได้

กับการทำบุญที่ทำ10000บาท เด๋วความคิดมันก็มาและ โอ้ตั้งหมื่นนึงทำไรได้ต้องเยอะ

ซื้อนู้นซื้อนี่ได้ตั้งเยอะ จิตมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ คือสละไม่ขาด ทำบุญย่อมไม่ได้ไร

แต่ถ้าบางคนทำจิตได้นั้นก็เป็นสิ่งที่ดีทำหมื่นนึงก็อาจเป็นการสละของที่สละได้ยากเลยก็ได้


แต่ไม่รู้จะสละไรก็สละร่างกาย สละชีวิตถวายพระพุทธศาสนาเลย

ยิ่งดีมาก

ข้าพเจ้าขออนุโมธนาต่อผู้ที่ทำได้


การทำบุญแล้วหวังน่าจะไม่ผิดมั้ง

ขนาดพระพุทธองค์ยังหวังเลย จริงป่าวคับ

แต่สุดท้ายก็ไม่เปนไปตามหวัง

ไม่รู้น่ะ คิดเอาเอง อย่าว่ากันหากว่าผิด อิอิ


 4,063 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย