การนั่งสมาธิทำอย่างไร?

     

การนั่งสมาธิทำอย่างไร?   






อ่านประสบการณ์ปฏิบัติ ๗ เดือนได้ที่ :

http://www.tlcthai.com/club/list_topic.php?club=buddhism&club_id=1278&table_id=1&cate_id=788




วิธีเจริญวิปัสสนาล้วน ๆ จากประสบการณ์ตรง ( เบื้องต้น )

๑) การเจริญภาวนาในอิริยาบถเเดิน เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึง ความรู้สึกของเท้าที่ค่อยๆยกขึ้น ค่อย ๆ ย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า(อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรด แนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวนั้น ๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบาๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอยๆ เบาๆ เมื่อ ๒-๓วินาที ก่อนก็ดับไป มีอาการตึงๆแข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึงๆแข็งๆ ด็ดับไป กลับ มีอาการลอยเบาๆ โล่งๆเข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้า ๆ ยิ่งเห็นอาการชัด และ ในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น

หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับ บริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆๆ” จนกว่าความคิดจะเลือนหายไป จึงกลับไปกำหนด เดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อย ๆ เคลื่อนไปเท่านั้น

ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า “เดินจงกรม” ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย


๒) การเจริญาภวนาในอิริยาบถนั่ง นั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอ เหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกต ได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหวๆ นั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อย ๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดู อย่างติดต่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอา ใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อย ๆ ชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพอง กำหนดในใจว่า “พองหนอ” ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” บางครั้งท้องนิ่งพอง-ยุบไม่ ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น “รู้หนอๆๆ” หรือ “นิ่งหนอๆๆ” บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการ “รู้หนอๆ” หรือ “พอง-ยุบ” ตัดหนอออก

ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพอง-ยุบไว้ก่อน ส่ง จิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆ” แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสน ใจว่าคิดอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการ ที่หายไป “รู้หนอๆๆ” แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่าง จากการกำหนดเด็ดขาด

ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้น มา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า “ปวดหนอๆ” พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๑๐ วันแรกให้กำหนดดูอาการปวดอย่างเดียว ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรกๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบายๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อยๆรุนแรงขึ้น จนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๕-๖ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อๆไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆเร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน๑๐-๒๐ วันเวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณของคุณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง(อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน..

ที่อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผล พึงแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด..



• สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ กลิ่นของสัตบุรุษ ย่อมทวนลมไปได้

• อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่

• รวมเพลง ธรรมะ

• น้ำพริกกากหมู

• ปาฏิโมกข์

• รูปขี้ร้ายทั้งรูปสวยรูปงามก็ล้วนแต่ไม่เที่ยง : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย