เกี่ยวกับ "มหาบุรุษ ลักษณะ ๓๒ ประการ"

 แสวงแสง    12 ต.ค. 2555

สืบเนื่องจาก http://www.dhammathai.org/buddha/g11.php

ข้อ 9 เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)

แต่ทำไม่เวลาทำรูปเหมือนพระพุทธองค์ ถึงไม่ทำตามลักษณะทั้ง 32 ครับ


.....

ถ้าผมใช้คำอะไรไม่เหมาะสมต้องขออภัยด้วยครับ

เพิ่งเริ่มตั้งกระทู้แรก เริ่มสนใจธรรมมะ อยากรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามากครับ


ขอบพระคุณครับ   




คำถามของคุณไม่ใช่จะไม่มีคำตอบเสียเลยนะครับ แต่ติดตรงที่ตอบไปแล้วจะไปกระทบกระเทือนต่อผู้อื่นมากกว่า

พระพุทธรูปนั้นตั้งแต่สมัยสุโขทัยมา(พระพุทธรูปที่หุบเขาบามิยันผมไม่ทราบจริงๆครับ)ล้วนเป็นรูปปั้นแทนองค์มหาบุรุษสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งนั้นซึ่งจะเป็นลักษณะของการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์และแน่นอนต้องไม่แสดงสัญลักษณ์ทางเพศใดๆที่เราเรียกว่า "อุเทสิกเจดีย์" ท่านผู้ปั้นไม่ว่าจะอยู่ในสมัยใด(หรือประเทศใด)แม้มีการสอดแทรกเอกลักษณ์ของยุคสมัยหรือสถานที่ลงไปมักจะไม่ไปทำลายลักษณะเดิมทิ้งเสียหรือตัดออกซึ่งในยุคสมัยใดนับกันว่าท่านผู้ที่มีความงดงามเพียบพร้อมสมบูรณ์แบบมีลักษณะเช่นไรผู้ปั้นจะทำได้เท่านั้นเพราะสมัยที่ผู้คนในสมัยนั้นๆเป็นเช่นนั้นผู้ที่งดงามที่สุดเป็นเช่นนั้น(คือได้แค่นั้นนั่นแหละ)ถ้าพยายามปั้นให้งดงามกว่าหรือตรงตามลักษณะความเป็นจริงที่ไม่ขึ้นอยู่กับยุคสมัยหรือกาลเวลาก็จะดูไม่ตรงตามสัดส่วนของผู้คนในยุคนั้น(ที่งามสุดได้แค่นั้น)คนส่วนใหญ่จะว่าปั้นผิดสัดส่วนและไม่เป็นที่เลื่อมใสของคนหมู่มากผู้ที่เลื่อมใสแล้วก็เลื่อมใสน้อยลงไป ดังนั้นช่างปั้นจึงไม่สามารถปั้นตามมหาปุริสลักษณะและอนุพยัญชนะทั้งหมดได้ ถ้าพระองค์งดงามอยู่เพียงรูปเดียวในขณะที่คนในสมัยนั้นถือลักษณะนี้ว่าไม่งาม(คือทั้งหมดผิดแต่พระองค์ถูก)ก็จะไม่ยังความเลื่อมใสให้ไพศาลออกไปซึ่งผิดพุทธประสงค์ ซึ่งแม้ว่าผู้ปั้นจะไม่สามารถปั้นตามลักษณะของมหาปุริสลักษณะทั้งหมดแต่เราก็ถือกันว่าลักษณะเช่นนั้นเป็นลักษณะทีี่งดงามที่สุดพึงเคารพบูชาอยู่ดี ถ้าคำนึงถึงสมมติบัญญัติทางโลกข้อจำกัดจะเยอะมาก คำถามจะมากมายไปหมด พระองค์จึงทรงสอนในสิ่งที่ไม่ควรเสียเวลาสงสัยไงครับว่ามีสิ่งใดบ้างเพราะดับทุกข์ก็ไม่ได้แถมยังเพิ่มทุกข์จากความสงสัยอีก พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ที่มีจารึกไว้ ความสูง พระชนม์มายุ ฯลฯ ของท่านก็ไม่เหมือนกัน สงสัยไปก็เสียเวลาเปล่า แต่สิ่งที่ทุกพระองค์ได้สอนและพระองค์ใหม่จะนำมาสอนในอนาคตจะเป็นเรื่องของทุกข์และการดับทุกข์มากกว่า

ไม่ขอใช้คำว่าคำตอบนะครับ ขอใช้คำว่าความเห็นหนึ่งซึ่งจะถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้ดีกว่า ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาดหรือกระทบกระเทือนท่านผู้ใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ


• ปฏิบัติธรรมวันสงกรานต์ แบบเจโตวิมุติ 12 - 15 เมษายน 2567 ณ ปัณฑิตารมย์สระบุรี

• พระครูภาวนารังสี ( เปลื้อง วิสฏฺโฐ ) วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา (2445 - 2536)

• 56(21/02/64) เวลา 18.30 น. บรรยายธรรม โดย อ.ธรรมธีระ ธรรมมะพิสุทธิ์

• ใครจะรู้จะเห็นหรือไม่ก็ตาม

• "มุ่งชำระจิตให้บริสุทธิ์" (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)

• ๑๑.ปางรับหญ้าคา

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย