อยากได้คำอธิบาย ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

     

อยากได้ความเห็นและคำอธิบายของความหมายผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานคะ โดยเฉพาะคุณ123ช่วยรบกวนอธิบายให้อ่านหน่อยและผู้รู้อื่นๆด้วยนะคะ ทำไมบางทีดิฉันรู้สึกว่าคนธรรมดาที่ครองเรือนมีใจใฝ่ธรรมรู้ธรรมสว่างมากมาย(จนเหมือนบวชอยู่)รู้ตำราละเอียด ทำบุญใส่บาตรเป็นประจำ ปลง วางอะไรจนหมดแต่จิตใจน่าจะเบิกบานกับทางสว่าง มีจิตที่เมตตาและอ่อนโยน มองและพิจารณาทุกอย่างด้วยสติ แต่กับดูเหมือนว่ายิ่งรู้ยิ่งแจ้งยิ่งอาการความรู้สึกนึกคิดเหมือนคนเป็นโรคซึมเศร้า มองอะไรหม่นหมองบวกระแวงและอคติไปซะหมด ดิฉันไม่เข้าใจคะ ซึ่งอย่างตัวดิฉันก็สวดมนต์ทำบุญใส่บาตรศึกษาธรรมะบ้างเข้าวัดฟังเทศน์ นั่งสมาธิ เข้าใจการปล่อยวางเข้าใจความสงบ แต่ดิฉันกับมีมุมความรู้สึกที่เย็นจนอยากจะส่งไปถึงคนข้างๆซึ่งแม้ไม่รู้จัก เข้าใจคนแบบเมตตา อยากจะช่วยคนที่ทุกข์ให้เขาหลุดพ้นเท่าที่ตัวเองทำได้แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ได้แต่มองแบบวางและจะยินดีเวลามีใครเข้ามาให้ความรู้และค่อนข้างจะทำอะไรแล้วนึกถึงคนอื่นๆซึ่งบางทีก็ไม่รู้จัก เช่นไปซื้อหนังสือธรรมะก็จะนึกถึงจะมีใครต้องการแบบนี้แบบนั้นมั้ย คือจะมีความอิ่มใจเย็นใจ(อย่าเรียกว่าความสุขเลยคะ)ถ้าเราช่วยหรือให้เขาได้ยิ่งเรื่องธรรมะหรือทำใจแก่เขา ทำหน้าที่ตัวเองก็จะมีสมาธิกับจุดนั้นและทำแบบมีสติที่จะมองพิจารณา แต่จะเย็นใจไม่ปลงหรือเบื่อหน่าย กับลูกๆก็จะสอนอบรมให้เขาเข้าใจการสูญเสียการพรากการจาก การเข้าใจธรรมชาติ ไม่ยึดติด อย่างร่างกายของดิฉันก็บอกลูกๆไว้ถึงเวลาให้บริจาครพเป็นครูใหญ่ให้นักศึกษาแพทย์ ก็คือสรุปร่มรื่นเย็นใจดีกับทางสายกลางและเข้าใจกับทางธรรมแต่ไม่เข้าใจอีกจุดของคนที่ใจถึงธรรมแล้วมีอาการแบบที่กล่าวข้างต้นคะ รบกวนขอความรู้ใหม่ๆให้ดิฉันด้วย




เอาแบบให้ความรู้ออกความเห็นพูดคุยกันนะคะ อย่ามาแบบการต่อว่าหรือเถียงกันเลย เข้าใจคะของแบบนี้ปฏิบัติรู้ได้เฉพาะตน


โดย : พ้นน้ำ [125.27.26.63] 1 มิ.ย. 2551 14:46 น.

คุณพ้นน้ำรู้หรือไม่ คำว่า "ผู้รู้" คำเดียวนี้มีความหมายกว้างขวางแค่ไหน

"ผู้รู้" มีหลายระดับ แต่ละระดับกว่าจะได้เป็นผู้รู้ มิได้อาศัยความรู้ที่มีเพียงชาตอเดียว

ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองปัจุบัน กว่าจะเป็นผู้รู้ ใช้เวลาถึงสี่อสงไขยกำไลแสนกัลป์

พระปัจเจกพุทธเจ้า กว่าจะเป็นผู้รู้ ใช้เวลาสองอสงไขกัลป์

พระอัครสาวก ซ้าย ขวา (พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร) ใช้เวลาหนึ่งอสงไขยห้าแสนกัลป์

พระสีติมหาสาวก พระอรหันต์ทรงอภิญญา ใช้เวลาเป็น "ผู้รู้" ห้าแสนกัลป์

พระอรหันต์ไม่ทรงอภิญญา ใช้เวลาเป็นผู้รู้ แสนกัลป์

ความเป็น "ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว" เป็นผลหลังจากได้เป็น "ผู้รู้"

แต่ที่ผู้รู้ทุกข์ระดับชั้นต้องรู้คือ "อาสวะขยฌาณ" คือรู้วิธีทำให้อาสวะกิเลสหมดสิ้นไป

ถ้าจะถามคำว่า "ผู้รู้" ในที่นี้เรื่องมันยาวมากเหลือเกิน มีความวิจิตรพิสดารที่ซ่อนอยู่

ในคำนี้มากมายมหาศาล สรุปคือ ค่อยๆ เจาะความรู้ไปเป็นจุดๆ น่าจะดีที่สุด

คงให้คำบรรยายแก่ท่านไม่ไหวจริงๆ ต้องขออภัยในความอยากรู้ของท่านด้วย





ธรรมดาผู้มีปีติในธรรมจะ มีอารมณ์ประมาณนั้นครับ


ตอบคำถามสั้นๆ ว่าในขณะนั้นๆ คุณพ้นน้ำรู้สึกอย่างไร ทำความรู้สึกตัวว่ามันเป็นอย่างนั้น ตามดูรู้ดูมันตามที่มันเป็น แล้วๆจะเข้าใจ ว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน



สาธุ สาธุ


ขอยกบทความมาวาง ให้คุณพ้นน้ำครับ

ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

บันทึกเมื่อ 10 เมษายน 2551

ก่อนหน้านี้การได้รับรู้และสัมผัสถึงความหมายของคำว่า “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” ที่ได้บัญญัติถึงความเป็นพุทธะ นั้นเป็นเพียงความเข้าใจเป็นตื้นๆ เท่านั้น หากในวันนี้ผมสามารถรับรู้และสัมผัสได้ถึงความไพเราะและความงดงามในความหมายของคำๆ นี้อย่างยิ่ง

“ผู้รู้” เท่ากับ “ปริยัติ” ได้แก่ หลักธรรมคำสอนต่างๆ ที่จะต้องเรียนรู้เพื่อจะได้นำมาเป็นคู่มือสำหรับการฝึกปฏิบัติต่อไป ซึ่งสำหรับผมนั้นไม่เคยผ่านการบวชเรียนมาก่อน และไม่เคยสนใจในพุทธศาสนามาก่อนเลยจนทำให้กลายเป็นความห่างไกลและความไม่เข้าใจอย่างยิ่ง ที่สำคัญคือไม่เคยเปิดอ่านหนังสือธรรมะเลย จนกระทั่งบัดนี้หลังจากที่มี “สติ” แล้วก็ได้มีโอกาสอ่านหนังสือของท่านพุทธทาสและน้อมนำสิ่งที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ในหนังสือ “แก่นพุทธศาสน์” ว่า สิ่งที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้น อาตมาอยากจะแนะถึงประโยคสั้นๆ ที่มีกล่าวอยู่ว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”

“ผู้ตื่น” เท่ากับ “ปฏิบัติ” ได้แก่ การฝึกฝนปฏิบัติการเจริญสติเพื่อให้จิตตื่นขึ้นมาจากความหลับไหล ซึ่งผมเองได้ค้นพบการเจริญสติในชีวิตประจำวันของพระอาจารย์ปราโมทย์ ปราโมชโช เท่ากับว่าผมได้ฝึกปฏิบัติตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอนอีกครั้งหนึ่ง นับว่าเป็นหนทางที่ชาญฉลาดอย่างยิ่งเพราะเป็นการใช้เวลาที่มากที่สุดและคุ้มค่าที่สุดต่อการฝึกปฏิบัติในแต่ละวัน เมื่อจิตผมตื่นจากความหลับไหลได้แล้วนั้น ทำให้ผมรับรู้ถึงความทุกข์ที่ลดลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งๆ ที่ผมเองก็ยังคงอยู่ในสภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นทุกข์อยู่เหมือนเดิม

“ผู้เบิกบาน” เท่ากับ “ปฏิเวธ” ได้แก่การได้รับผลจากการปฏิบัติ ผมสามารถรับรู้ความรู้สึกของจิตใจที่ เบา สบาย สว่าง สะอาด สงบ ได้บ้างแล้ว เป็นความมหัศจรรย์ที่คนธรรมดาๆ คนหนึ่งจะสามารถรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างวิเศษที่สุด โดยไม่ต้องเสียเงินเสียทองเสียเวลามากมายที่ไปค้นหาสถานที่ปฏิบัติธรรมแต่อย่างใด พอมาถึงตรงนี้ทำให้ผมมีความเพียรอย่างยิ่งที่จะไม่ลด ละ เลิกการฝึกปฏิบัติ ทำให้ระลึกถึงหนังสือเรื่อง “จอนะธัน ลิวิงสตัน นางนวล” เขียนโดย ริชาร์ด บาก แปลโดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ว่า “อย่าให้เลิกเรียน อย่าให้เลิกฝึกซ้อม และให้เพียรหาความเข้าใจในหลักการอันประเสริฐสุดแห่งชีวิตทุกอย่างที่มองเห็นด้วยตาไม่ได้”

กล่าวโดยสรุปคือ เราจะรู้แจ้ง และเข้าถึงในหลักธรรมของพุทธศาสนานี้ได้ด้วยการเรียนรู้ (ปริยัติ), การปฏิบัติ และการได้รับผลจากการปฏิบัติ (ปฏิเวธ) โดยเพียงการเฝ้ารู้ เฝ้าดูร่างกายและจิตใจของตัวเราเท่านี้นี่เอง

เจริญในธรรมครับ


ขอบคุณคุณ123และคุณชินมากนะคะ ที่ให้ความสว่างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคุณชินคราวนี้ตอบสุภาพเป็นงานเป็นการดีจัง น่ารักเชียวและขอขอบคุณคุณเด็กวัดที่ให้ความชัดเจนและกระจ่างมากขึ้นคะ เดี๋ยวสายๆค่อยมาคุยกันนะคะ ขอไปทำหน้าที่อันสูงส่งก่อน


แต่ละคนมีลำดับของบุญกรรม และจิตตั้งอานิสงค์ก่อนทำบุญต่างกัน บางท่านรู้ทางของบุญแล้วว่ามีจริงแต่ชาติก่อนเคยทำวิบากกรรมบางเรื่องไว้ก็เข้ามาตัดรอน คุณมีความเมตตาน่ะ สังเกตเห็นผู้อื่นแล้วยังหาวิธีการโดยการซักถามเหตุ อนุโมทนาบุญด้วยจ้ะ ถ้าคุณถามหาเหตุเพื่อช่วยเค้าด้วยลองแนะให้เค้าสวดเมตตาพรหมะวิหาระภาวนาจ้ะ (www.geocities.com/dhamma_web/B6.pdf)(ปล. บุญใดที่คุณได้กระทำก็ขอบุญนั้นเป็นผลให้มากด้วยสุขเช่นนี้ตลอดไป )



ขอบคุณนะคะ คุณd เป็นคำอธิบายที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายคะ ถ้ามีอะไรเป็นความรู้เพิ่มเติมช่วยชี้แนะมาอีกนะคะ ชอบเกี่ยวกับเรื่องจิตและบุญกรรม เพราะพยายามศึกษาในจิตหลายๆรูปแบบหลายๆบุญกรรม และจะเชื่อเรื่องกุศลจิตมากๆ บางทีค่อนข้างจะมากกว่าการนั่งสมาธิหรือมุ่งมั่นในทางนั่งภาวนา เคยเห็นบางคนปฏิบัติแบบชนิดรู้แจ้งเห็นจริงเรียกว่าพระสงฆ์บางรูปที่บวชยังไม่ขนาดนี้ แต่กลับกลายเป็นเหมือนคนเบื่อโลก(ในบางอารมณ์)และก็แข็งแกร่งทางอารมณ์แบบจริงจังขึ้นมา หรือไม่ก็ดูถูกพวกที่รู้อีกอุบายหรือรู้น้อยกว่า คือ อารมณ์ไม่คงที่ ก็เลยงงๆ ความเข้าใจของเราๆกลับเข้าใจว่าผู้ที่มีใจใฝ่ธรรม เขาน่าจะมีจิตที่เย็นที่เมตตา มีบารมีแผ่สิ่งรอบข้าง มองทุกอย่างด้วยสติที่มีแต่ความสงบเย็น ถึงจะรู้จริงรู้หมดแต่ตอนนี้เรายังท่องวัฏจักรนี้อยู่ ก็น่าจะมอบสิ่งดีๆสูงค่าความร่มเย็นให้กับวัฏจักรนี้ไปพลางๆมากกว่านิ่งเฉยหรือดูแคลนหรือเบื่อหน่าย คือสรุปน่าจะมีจิตสูงและมีบารมีมีพรหมวิหาร4ในจิตด้วยและทางสายกลางในชีวิต หรือจริตคนเราคงมาผิดกันนะคะ มีอะไรก็บอกเล่าเผื่อกันบ้างนะคะ ขอบคุณคะ


ผู้รู้ คือ สติ
ผู้ตื่น คือ จิตที่มีสติ
ผู้เบิกบาน คือ อเหตจิต เป้นอาการจิตยิ้มอย่างเบิกบาน เกิดขึ้นในทุกๆครั้งที่บรรลุธรรมขั้นพระอริยะเจ้า

เมื่อบรรลุโสดาบัน จะยิ้ม 1 ครั้ง
สกิทามี 1 ครั้ง
อนาคามี 1 ครั้ง
อรหันต์ 1 ครั้ง

ทั้งหมด 4 ครั้ง


เป็นอารมณ์ที่ปรากฎแก่จิต หลังจากที่จิตยิ้มครับ



 5,111 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย