มรรค ๘ กับ ไตรสิกขา

     

ทำไมเรียงลำดับไม่เหมือนกัน

มรรค ๘ = ปัญญา ศีล สมาธิ
ไตรสิกขา = ศีล สมาธิ ปัญญา

อย่างไหนถูกต้องค่ะ   




ปฎิบัติ เดินไป ตามบันใด ก็รู้แจ้งเองและขอรับ

ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา ๓
ศัพท์ว่า สิกขา แปลว่า ศึกษา คำว่า
ศึกษานี้ ทางพระพุทธศาสนาหมายความ
ถึงว่า ยังไม่รู้เรียนให้รู้ เมื่อรู้แล้วยังไม่
เข้าใจ พิจารณาให้เข้าใจ เมื่อพิจารณา
ให้เข้าใจ แล้วยังไม่ได้ปฏิบัติตามไปตาม
สมควรก็ปฏิบัติตามไป. ตั้งต้นแต่เรียน
พิจารณาให้เข้าใจตามเนื้อความ จนถึง
ปฏิบัติตาม เรียกว่าศึกษาทั้งหมด ไม่ใช่
เรียนอย่างเดียว. ที่เรียกกันว่ากระทรวง
ศึกษาธิการ นั่นหมายเอาการเรียนอย่าง
เดียว ซึ่งไม่ตรงกับที่มาเดิมทางภาษา
บาลี ศัพท์ว่าสิกขาหรือศึกษานี้ เป็น
ชื่อของธรรม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
หมายเอาข้อหรือทางที่จะพึงศึกษาอย่าง
หนึ่ง หมายเอาการศึกษาของบุคคล คือ
ศึกษาในข้อหรือในทางที่จะพึงดำเนินนั้น
อย่างหนึ่ง ประกอบกันไป. เหมือนดัง
ทางที่เดิน แต่ถ้าไม่มีผู้เดิน ทางก็อยู่
เปล่า ๆ มีผู้เดิน แต่ไม่มีทาง ก็ไปไม่ได้
ต้องมีทางเดินด้วย มีผู้เดินด้วยประกอบ
กันไป จึงจะให้สำเร็จประโยชน์ ข้อนี้
ฉันใด, สิกขาหรือศึกษาทางที่ศึกษานั้น
จะสำเร็จประโยชน์ได้ ก็เพราะบุคคลตั้งใจ
ศึกษา คือ เรียนพิจารณาปฏิบัติตาม ทำ
ศึกษาให้เกิดขึ้นในตน และก็ศึกษาไปใน
ทางที่จะพึงศึกษานั้น. เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็
ได้ชื่อว่า บุคคลนั้นดำเนินการในทางที่ควร
ดำเนินไป. ดำเนินได้เท่าไร ก็ลุล่วง
ไปได้เท่านั้น ไม่ดำเนินก็ไม่ลุล่วง. ทาง
พระพุทธศาสนา ถ้าว่าถึงไตรสิกขา ศีล
สมาธิ ปัญญา ท่านแสดงไว้ให้ตั้งใจเว้น
จากการประพฤติชั่ว ให้ตั้งตัวอยู่ในความ
ดีความชอบ อันได้แก่พระพุทธภาษิตที่
ตรัสไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ว่า สพฺพ-
ปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำชั่วทั้งปวง.
กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำดีให้ถึงพร้อม.
แต่ว่าถ้าจิตยังไม่ประกอบด้วยความรู้คือ
ปัญญา ก็จะสงบได้ชั่วคราว. เพราะฉะนั้น
ในข้อท้ายจึงทรงแสดงว่า สจิตฺตปริ-
โยทปนํ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว.
ทั้ง ๓ นี้เป็นอนุสาสน์ คือ คำสั่งสอนของ
พระพุทธะ ท่านผู้รู้จนเป็นผู้ตื่น หรือผู้ตื่น
อยู่เพราะรู้ ดังนี้ ตามนัยนี้เป็นอันให้เห็น
ว่า ท่านสอนว่าทำศีลให้เกิดขึ้น แล้วทำ
สมาธิให้เกิดขึ้นโดยลำดับ แล้วน้อมจิตที่
ตั้งมั่นเป็นสมาธิไปพิจารณา ดังพระพุทธ-
ภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้
ใน เทฺวธาวิตกฺกสูตร ว่าพระองค์ทรง
ทำจิตให้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว นี้แสดง
ว่าสืบเนื่องมาจากความตั้งจิตที่จะไม่ประ-
พฤติชั่วทางกาย วาจา ให้กำเริบขึ้นได้
ครั้นแล้วก็น้อมจิตที่ตั้งมั่นพิจารณาเพื่อให้
เห็นตามเป็นจริง เมื่อได้ทรงพิจารณา
เห็นตามเป็นจริงก็ได้บรรลุปุพเพนิวาส-
ญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ
แต่ถ้าแสดงตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ท่าน
กล่าวถึงปัญญาก่อน คือ สัมมาทิฏฐิ
ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความ
ดำริชอบอันเป็นตัวปัญญา เมื่อสัมมา-
ทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เกิดขึ้น สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ อันเป็นศีล
ก็เกิดขึ้นตาม สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ อันเป็นสมาธิ ก็ช่วย
อุดหนุนสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
เป็นอันแสดงว่า ปัญญา ศีล สมาธิ
ประกอบกันไปให้สำเร็จประโยชน์ คือ
หลุดพ้นหรือสงบจากความชั่ว ตั้งแต่
ส่วนหยาบ ส่วนท่ามกลาง จนถึงส่วน
ละเอียด. อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงว่า
เมื่อตั้งใจพิจารณาเห็นโทษของการล่วง
ศีลว่า ทำบุคคลให้เป็นคนเลว ทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน ตั้งใจสมาทานด้วยตนเอง
เว้นจากโทษนั้น อย่างต่ำเว้นจากการ
ประพฤติล่วงศีล ๕ ประการ เมื่อตั้งใจ
สมาทานเช่นนี้แล้ว ก็ควรพิจารณาดูจิต
ว่า จิตยังไม่คิดว่าล่วงศีลทั้ง ๕ ที่ได้ตั้งใจ
สมาทานนั้นหรือไม่ ถ้าคิดล่วงข้อใด
ก็พึงเตือนตนว่า นั่นเป็นโทษทำใจให้
เศร้าหมองไม่เป็นสุข เมื่อเห็นว่าไม่คิด
ล่วงทั้ง ๕ ประการแล้ว ก็จะสงบอยู่
ตั้งใจดูความสงบจากความคิดล่วงศีล ๕
ประการนั้น ดูให้เห็นตามเป็นจริง ก็
คือดูความสงบนั่นเอง เมื่อดูความสงบ
เช่นนี้สืบ ๆ ไป ความสงบหรือจะเรียก
ว่า วิมุตติ ก็จะประณีตยิ่งขึ้นได้โดย
ลำดับ เมื่อวิมุตติ ความหลุดพ้นหรือ
ความสงบปรากฏชัดขึ้นเพียงไร ปัญญา
ความรู้ก็รู้ตามเป็นจริงสืบเนื่องกันไป
เมื่อเป็นเช่นนี้ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เป็น
อันประกอบกันไป เป็นอันได้บำเพ็ญ
ศีล สมาธิ ปัญญา สืบเนื่องกัน ตรง
กับคำว่า ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรม
ปัญญา ปัญญาอบรมจิต จิตก็วิมุตติ
หลุดพ้น ตามภูมิตามชั้นด้วยประการ
ฉะนี้. ( วชิร. ๒๐๗-๒๑๐ ).


• วัดวังผาแดง ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

• พระทำวัตรสวดมนต์ เช้า แปล สวนโมกขพลาราม

• เปิดรับสมัคร บวชชี ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา

• ปรึกษา หาทางออกจากทุกข์

• พุทธชยันตีวันอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า

• วัดวังผาแดง ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย