ขอถวายความรู้ที่ยังศึกษาและปฏิบัติไปไม่ถึง แด่สยาดอ(ภัททันตะ วิโรจนะ) พระพรหมโมลี และพระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี ดังนี้ครับ
จากที่ท่านกล่าวว่า....ท่านจะได้พบกับสภาวะของวิปัสสนูปกิเลส( ๑๐ ประการ)ในสัมมสนญาณ อย่างน้อย ๓ ประการ ..
การที่ท่านรู้ท่านเข้าใจว่า โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ฐานะ 10 ประการนี้ เป็นกิเลส เป็นมิจฉาทิฏฐิของพวกท่านครับ
เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจสภาวะธรรมผิดของพวกท่านครับ
สภาวะธรรมในฐานะ 10 ประการเหล่านี้ไม่ใช่กิเลสครับ แต่เป็นสภาวะธรรมที่เป็นกุศล
อันอิงอาศัยเกิดร่วมกันเกิดพร้อมกันในกุศลจิตได้แก่ กามาวจรกุศลจิตที่สัปปยุตด้วยญาณ ( ประกอบด้วยญาณรู้ ) ปฐมฌานจิต ทุติยฌานจิต ตติยฌาน จตุตถฌานจิต
โสดาปัตติมัคคจิต โสดาปัตติผลจิต สกทาคามีมัคคจิต สกทาคามีผลจิต อนาคามีมัคคจิต อนาคามีผลจิต อรหัตตมัคคจิต และอรหัตตผลจิต
โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ จึงเป็นธรรมที่เป็นกุศลเพราะเกิดร่วมเกิดพร้อมกับกุศลจิต
แต่สิ่งที่เป็นกิเลสแก่ปุถุชนผู้มีจิตเป็นกามาวจรกุศลอันสัปปยุตด้วยญาณ ผู้บรรลุรูปฌาน 4 และพระอริยบุคคลเบื้องต้น 3 ได้แก่พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี คือ.....
ความกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะ โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา และนิกันติ .
ความกวัดแกว่งหวั่นไหวของจิตในฐานะ 10 นี้ที่เป็นกิเลสครับ
ส่วน โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ฐานะ 10 ประการนี้ เป็นสภาวะธรรมที่เป็นกุศลครับ ดูได้จากมัคคจิตแต่ละดวงครับ
โอภาส .....เจริญแล้วบรรลุจุตูปปาตญาณและรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 ได้ครับ
ญาณ .....เจริญแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 อภิญญา 6 และวิชชา 3 ครับ
ปีติ .....เจริญแล้วทำให้กายสงบระงับครับ
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.
เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน...ที่เป็นโลกุตตระในอรหัตตมัคคครับ
ปัสสัทธิ .....เจริญแล้วสงบจากอาสาวกิเลสครับ
สุข .....เจริญแล้วจิตตั้งมี่นครับ
อธิโมกข์ .....เจริญแล้วบรรลุอรหัตตผลครับ
ปัคคาหะ .....เจริญแล้วเกิดสัมมาวายามะในอรหัตตมัคคจิตครับ
อุปัฏฐานะ .....เจริญแล้วเกิดสัมมาสมาธิในอรหัตตมัคคจิตครับ
อุเบกขา .....เจริญแล้วย่อมบรรลุกำลังแห่งอภิญญาในอรหัตตผล บรรลุปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 อภิญญา 6 และวิชชา 3 มาเป็นของแถมครับ
นิกันติ .....เจริญแล้วอิทบาท 4 ในอรหัตตผลจิตบริบูรณ์ ทำให้เป็นดุจยานพาหนะคือบรรลุกำลังแห่งอภิญญาได้ครับ
ค่อย ๆ ศึกษาต่อไปนะครับ ยังมีสิ่งที่พวกท่านยังศึกษาและปฏิบัติไปไม่ถึงอีกมากมายครับ
ด้วยความปราถนาดีจากกัลยาณมิตรนะครับ
เจริญในธรรมครับ
อภิปัญโญ ภิกขุ
Apipanyo DT05479 [15 พ.ค. 2551 13:26 น.] คำตอบที่ 18
นำมาจากที่นี่เจ้าค่ะ.
http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=164
อุปกิเลส10 เป็นอุปสรรคสำหรับผู้กำลังเดินมรรคอยู่ ทำให้ไม่สามารถพิจารณาไตรลักษณ์ พลอยทำให้จิตของผู้นั้นเข้าไปยึดเอาอารมณ์ของอุปกิเลส
โทษของอุปกิเลส 10 มีดังนี้
โอกาส แสงสว่างปรากฏในมโนทวารวิถี ขณะเมื่อจิตเข้าถึงฌาน (ภวังค์) เมื่อจิตน้อมเชื่อไปตามแสงสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ขยายวงกว้างออกไป มีอาการแปลกๆ ต่างๆ ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ บางทีกำหนดตามไม่ทัน ไม่ทราบว่ารู้อะไรบ้าง ทั้งสิ่งที่เคยรู้เคยเห็น ทั้งสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น ไม่ใช่รู้กับสิ่งที่รู้ ยังสอดส่ายไปตามอาการรวมตลอดถึงคนอื่น สัตว์อื่น แรกก็จริงบ้างไม่จริงบ้าง นานๆ เข้าก็เหลว ปิติทำให้อิ่มใจจนลืมตัว ปัสสัทธิทำให้สงบจากอารมณ์ภายนอก กลับเข้ามายุ่งอยู่กับอารมณ์ภายในจนไม่เป็นอันกินอันนอน เมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า ธาตุก็กำเริบ จิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ และสุขทำให้สบายอยู่ด้วยอาการทั้งหลาย ถึงกับไม่ทานข้าวทานน้ำก็มี อธิโมกข์ทำให้จิตน้อมเชื่อไปในนิมิตและแสงสว่าง ความรู้มีมากเท่าไร อุปกิเลสทั้ง ๑๐ ก็ยิ่งมีกำลังรุนแรงเพิ่มขึ้น ปัคคาหะทำให้เพียงไม่หยุดหย่อนท้อถอย มีญาณความรู้คอยเตือนให้ทำอยู่เสมอ อุปัฏฐาน ช่วยให้สติแข็งแกร่งอยู่เฉพาะในอารมณ์นั้น แต่ขาดสัมปชัญญะไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร ถ้าอุปกิเลสทั้ง ๘ ตัวดังกล่าวมา หรืออย่างใดอย่างหนึ่งยังเกิดมีอยู่ อุเบกขาก็จะไม่เกิด ถ้าทั้ง ๘ นั้นสงบลงชั่วขณะหนึ่ง อุเบกขาและนิกันติจึงจะเกิดขึ้น อุปกิเลส ๑๐ นี้ไม่ใช่จะเกิดโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคน เมื่อจิตเข้าถึงฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถึงจะไม่เกิดทั้ง ๑๐ แต่ต้องเกิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคน บางคนอาจจะไม่เกิดเลย ถ้าเกิดทางแก้ก็คือ พึงทำความรู้ว่าอุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา อุปกิเลสเกิดจากฌานไม่ใช่อริยมรรค อย่าพยายามน้อมจิตว่าเป็นของจริง ให้เข้าใจว่านั้นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือ จิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น ให้ยกไตรลักษณ์ขึ้นมาพิจารณาว่าอุปกิเลสทั้งหมดเป็นโลกีย เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงแท้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ แล้วแตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งเรียกว่า อนัตตา เมื่อจิตน้อมไปสู่ไตรลักษณ์ ปัญญาก็ตามเห็นจิตก็ถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดในอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี
การเจริญฌานและสมาธิ แม้จะเดินทางสายเดียวกัน แต่เวลาถึงย่อมมีลักษณะอาการและประโยชน์ต่างกัน เป็นการฝึกหัดให้จิตยอมสละสิ่งที่สละได้ยาก ก็คือ อุปาทานขันธ์ ดังนั้นการฝึกหัดจะใช้กรรมฐานใดๆ มาเป็นอุบายฝึกหัด ถ้าปล่อยวางอุปาทานขันธ์ทั้งภายนอกและภายในได้แล้ว ก็ใช้ได้ ถ้าปล่อยไม่ได้ก็เป็น โมฆะ คือไร้ผล
มุมมองวิปัสสนูปกิเลสระหว่าง คห. 1 กับ คห. 2 ต่างกันโดยสิ้นเชิง
คห. 1 มองวิปัสสนูปกิเลส (ว่าไม่ใช่กิเลส) แต่ละตัวๆว่า มีผลให้ถึงความเป็น
พระอรหันต์
แต่คห. 2 มองว่ามีโทษหากหลงติดในวิปัสสนูปกิเลสนั้น
ขอความเห็นจากท่านผู้เป็นกลางว่าเพราะเหตุไร ทั้งสองท่าน (คห.1 กับ คห.2)
จึงมองกรณีนี้ต่างกัน ทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน
ตัวอย่างสภาวะธรรมที่เป็นกุศล ตามพระไตรปิฎก
โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระไตรปิฎกออนไลน์เจ้าค่ะ
http://www.tipitaka.com/tipitaka34.htm
ขอถวายความรู้ที่ท่านทั้งหลายยังศึกษาและปฏิบัติไปไม่ถึง แด่สยาดอ(ภัททันตะ วิโรจนะ) พระพรหมโมลี และพระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี ดังนี้ครับ
[๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดย ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร) อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุ นึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความ
เป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย ย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ
[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อม สิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ
จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึงความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจากจิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัดแกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ ฉะนี้แล ฯ
จบยุคนัทธกถา
อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยควรนำความรู้ที่ถูกต้องไปสอนให้นิสิตนักศึกษา ได้เรียนรู้และปฏิบัติครับ เพราะท่านเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือของชาวโลก เพราะปัจจุบันแม้พวกท่านสอนผิด แสดงธรรมผิดคนยังเคารพศรัทธาในตัวพวกท่านว่าทางนี้ถูกต้อง ซึ่งน่าเสียดายเวลาที่ต้องสูญเสียไปกับการหลงทางครับ
นำสิ่งที่ถูกต้องไปสอน ไปศึกษา และปฏิบัติกันดีกว่าครับ
เจริญในธรรมครับ
อภิปัญโญ ภิกขุ
Apipanyo DT05479 [15 พ.ค. 2551 13:42 น.] คำตอบที่ 19
จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ในขณะพระอนาคามี เมื่อใดอรหัตตมัคคปรากฎ ความฟุ้งซ่าน ความกวัดแกว่งหวั่นไหวต่อองค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้ง 10 ที่เกิดในจิต ย่อมถูกกำจัดหมดสิ้นไปเจ้าค่ะ
ความฟุ้งซ่าน ความกวัดแกว่งหวั่นไหวต่อองค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้ง 10 ที่เกิดในจิตต่างหากที่เป็นกิเลสคืออุทธัจจะ
ส่วนโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ สภาวะธรรมเหล่านี้คือองค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมด
ไม่ใช่กิเลสตามที่พระพม่าเข้าใจผิด แล้วเอามาสอนศิษย์ มจร.ไปแบบผิด ๆ เชื่อผิด ๆ กันทั้งประเทศ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระไตรปิฎกออนไลน์เจ้าค่ะ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://www.tipitaka.com/tipitaka31.htm
กระผมจำไม่ได้เลยว่ามีระบุไว้ในพระไตรปิฏกส่วนไหน ตอนไหน ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสระบุอย่างชัดเจนว่าคำสอนของเจ้าลัทธิไหนสอนผิด(เมื่อมีผู้มากราบทูลสอบถาม) มีแต่ถ้อยรับสั่งให้ผู้นั้นหยุดวิจารณ์คำสอนนั้นๆไว้ก่อน และให้ตั้งใจสดับฟังพระธรรมคำสอนของพระองค์ก่อนจนจบ (แล้วเขาผู้นั้นก็จะรู้เองว่าคำสอนใดถูกต้อง มีประโยชน์ โดยไม่จำเป็นต้องว่ากล่าวโจมตี ให้เกิดความขุ่นข้องแก่ผู้ใด)
น้ำพระทัยนี้ควรที่พวกเราซึ่งเป็นพุทธบริษัทควรที่จะน้อมนำมาถือปฎิบัติตามมิใช่หรือ
และยิ่งเป็นกรณีความเข้าใจผิดของพุทธบริษัทด้วยกันก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังกาย วาจา ใจ อย่าให้มีการกระทบกระทั่ง เสียดสีกันได้ หรือถ้ากระทบกระทั่งกันไปบ้างแล้วก็ควรให้อภัยทานเป็นธรรมเชื่อมโยง ร้อยรัดพวกเราพุทธบริษัทเข้าด้วยกันอีกครั้ง จะดีกว่ามั้ยครับ อย่างน้อยก็ขอให้ถือเสียว่ากระทำไปเพื่อเป็นพุทธบูชา นะครับ
ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงหากข้อเขียนนี้จะเป็นสาเหตุแห่งความขุ่นเคือง ไม่พอใจของท่านผู้ใดโดยมิได้เจตนา
มุมมองวิปัสสนูปกิเลสระหว่าง คห. 1 กับ คห. 2 ต่างกันโดยสิ้นเชิง
คห. 1 มองวิปัสสนูปกิเลส (ว่าไม่ใช่กิเลส) แต่ละตัวๆว่า มีผลให้ถึงความเป็น
พระอรหันต์
แต่คห. 2 มองว่ามีโทษหากหลงติดในวิปัสสนูปกิเลสนั้น
ขอความเห็นจากท่านผู้เป็นกลางว่าเพราะเหตุไร ทั้งสองท่าน (คห.1 กับ คห.2)
จึงมองกรณีนี้ต่างกัน ทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน
ชิน - 125.24.41.198 [11 มิ.ย. 2551 09:33 น.] คำตอบที่ 3
..............................
ความเห็นต่าง เพราะมุมมองต่างเท่านั้นขอรับ
ตรวจดูบทความทั้งสอง (หากไม่เติมตัวตนลงไปก็ไม่มีความต่าง)
คุณน้ำเค็ม ขออภัยด้วย พระพม่าที่ท่านกล่าวไม่ทราบหมายถึงรูปใด
เพราะพระอาจารย์ใหญ่ ผู้ให้บาลี ทำให้มีพระไตรปิฎก อ่านศึกษาอยู่ในวันนี้ท่านก็มาจากพม่า
ผู้แปล
พระไตรปิฎกทุกๆท่านก็ศึกษา บาลีมาจากพระพม่า
หากมีอะไรในใจกับพระพม่าก็ควรแก้ที่ตัวตน เพราะมีหลายครั้งที่ เห็นคำนี้
ต้องอภัยมานะโอกาสนี้
[๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา
ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้
พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว
ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้
เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่หนึ่งนี้ไว้ ฯ
***************************
[๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ
พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้
พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว
ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้ ฯ
***************************
[๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น
เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมา
เฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้
พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
และพระเถระเหล่านั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น
พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้ ฯ
***************************
[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น
เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมาได้รับมา
เฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้
พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้
พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน
และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้นพวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย
ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัยลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้
พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ฯ
เอาไว้เทียบนะครับ
จากพระไตรปิฎกนะครับ ไม่ใช่สำนักใด
[url]http:www//84000.org/tipitaka/read/?10/113-116/144[/url]
ความเห็นต่าง เพราะมุมมองต่างเท่านั้นขอรับ
ตรวจดูบทความทั้งสอง (หากไม่เติมตัวตนลงไปก็ไม่มีความต่าง)
คุณน้ำเค็ม ขออภัยด้วย พระพม่าที่ท่านกล่าวไม่ทราบหมายถึงรูปใด
เพราะพระอาจารย์ใหญ่ ผู้ให้บาลี ทำให้มีพระไตรปิฎก อ่านศึกษาอยู่ในวันนี้ท่านก็มาจากพม่า
ผู้แปล
พระไตรปิฎกทุกๆท่านก็ศึกษา บาลีมาจากพระพม่า
หากมีอะไรในใจกับพระพม่าก็ควรแก้ที่ตัวตน เพราะมีหลายครั้งที่ เห็นคำนี้
ต้องอภัยมานะโอกาสนี้
ดิน - 61.19.67.167 [11 มิ.ย. 2551 16:03 น.] คำตอบที่ 7
ตอบให้ตรงคำถามเจ้าค่ะอย่าเบี่ยงเบนประเด็น
อยากเข้าใจในเรื่อง....ตัวตน....หรือเรื่องใครเก่งบาลี หรือบาลีมาจากใครสอน....ให้ตั้งกระทู้ใหม่เจ้าค่ะ
ตอนนี้ท่านตอบมาก่อนว่า..ฐานะ 10 ประการคือ โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา และนิกันติ สภาวะธรรมเหล่านี้คือองค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมด
หรือว่าเป็นวิปัสสนูกิเลส กันแน่
แสดงความรอบรู้ออกมาได้เต็มที่เจ้าค่ะ
แสดงกิเลสของท่านออกมามันทำความกระจ่างให้ท่านผู้อ่านไม่ได้หรอกเจ้าค่ะ
น้ำเค็มมีเมตตาธรรมให้อภัยแด่ท่านเสมอเจ้าค่ะ
กระผมจำไม่ได้เลยว่ามีระบุไว้ในพระไตรปิฏกส่วนไหน ตอนไหน ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสระบุอย่างชัดเจนว่าคำสอนของเจ้าลัทธิไหนสอนผิด(เมื่อมีผู้มากราบทูลสอบถาม) มีแต่ถ้อยรับสั่งให้ผู้นั้นหยุดวิจารณ์คำสอนนั้นๆไว้ก่อน และให้ตั้งใจสดับฟังพระธรรมคำสอนของพระองค์ก่อนจนจบ (แล้วเขาผู้นั้นก็จะรู้เองว่าคำสอนใดถูกต้อง มีประโยชน์ โดยไม่จำเป็นต้องว่ากล่าวโจมตี ให้เกิดความขุ่นข้องแก่ผู้ใด)
สุ - 118.172.24.217 [11 มิ.ย. 2551 15:12 น.] คำตอบที่ 6
http://www.84000.org/tipitaka/read/?10/113-116/144
ตอบ คห 6 ของคุณ สุ
พอจะใช้ได้ไหมครับ แก้ตัวลิ้งค์ใหม่นะครับ ยังไม่ชำนาญ
วิปัสสนูปกิเลส วิปัสสนา + อุปกิเลส
อุปกิเลส แปลว่า สิ่งที่ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง
ถามต่อว่า กุศลทำให้วิปัสสนาเศร้าหมองได้ไหมครับ ถามคุณน้ำเค็ม
วิปัสสนูปกิเลส วิปัสสนา + อุปกิเลส
อุปกิเลส แปลว่า สิ่งที่ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง
ถามต่อว่า กุศลทำให้วิปัสสนาเศร้าหมองได้ไหมครับ ถามคุณน้ำเค็ม
ชิน - 125.24.41.198 [11 มิ.ย. 2551 18:04 น.] คำตอบที่ 12
วิปัสสนูปกิเลส เป็นศัพท์บัญญัติขึ้นใหม่ สอนกันในสำนักพอง-ยุบเจ้าค่ะ ไม่มีในพระไตรปิฎกเจ้าค่ะ
ก่อนอื่นท่านต้องเข้าใจคำว่าวิปัสสนาให้เข้าใจถูกต้องตามพระไตรปิฎกเสียก่อนเจ้าค่ะ
จะได้พูดภาษาเดียวกันตรงกับสภาวะธรรมที่เป็นจริงตามพระไตรปิฎกเจ้าค่ะ
ตอนนี้ท่านเข้าใจคำว่า วิปัสสนา ไม่ตรงกับสภาวะธรรมที่ถูกต้องเจ้าค่ะ
สมถะและวิปัสสนาเป็นองค์ธรรมที่เป็นกุศลอยู่แล้ว และเกิดในกุศลจิตเท่านั้น
ถ้าเศร้าหมองได้ก็ไม่เรียกว่ากุศลธรรมเจ้าค่ะ
ตอนนี้เราพูดในภาษาและสภาวะธรรมที่ไม่ตรงกันเจ้าค่ะ
เราไม่กล่าวว่ากุศลทำให้วิปัสสนาเศร้าหมองเจ้าค่ะ
แต่เรากล่าวว่าวิปัสสนาเป็นองค์ธรรมที่เกิดในกุศลจิตเจ้าค่ะ
[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.
[๒๕๔] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.
http://www.tipitaka.com/tipitaka34.htm
โลกุตตรกุศลจิต
[๓๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ ในสมัยใด
ในสมัยนั้น สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ชาติเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
http://www.tipitaka.com/tipitaka35.htm
มุมมองวิปัสสนูปกิเลสระหว่าง คห. 1 กับ คห. 2 ต่างกันโดยสิ้นเชิง
คห. 1 มองวิปัสสนูปกิเลส (ว่าไม่ใช่กิเลส) แต่ละตัวๆว่า มีผลให้ถึงความเป็น
พระอรหันต์
แต่คห. 2 มองว่ามีโทษหากหลงติดในวิปัสสนูปกิเลสนั้น
ขอความเห็นจากท่านผู้เป็นกลางว่าเพราะเหตุไร ทั้งสองท่าน (คห.1 กับ คห.2)
จึงมองกรณีนี้ต่างกัน ทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน
ชิน - 125.24.41.198 [11 มิ.ย. 2551 09:33 น.] คำตอบที่ 3
..............................
ความเห็นต่าง เพราะมุมมองต่างเท่านั้นขอรับ
ตรวจดูบทความทั้งสอง (หากไม่เติมตัวตนลงไปก็ไม่มีความต่าง)
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ไม่ใช่กิเลสตามที่พระพม่าเข้าใจผิด แล้วเอามาสอนศิษย์ มจร.ไปแบบผิด ๆ เชื่อผิด ๆ กันทั้งประเทศ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระไตรปิฎกออนไลน์เจ้าค่ะ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://www.tipitaka.com/tipitaka31.htm
...........................................
น้ำเค็ม DT02176 [11 มิ.ย. 2551 10:40 น.] คำตอบที่ 5
คุณน้ำเค็ม ขออภัยด้วย พระพม่าที่ท่านกล่าวไม่ทราบหมายถึงรูปใด
เพราะพระอาจารย์ใหญ่ ผู้ให้บาลี ทำให้มีพระไตรปิฎก อ่านศึกษาอยู่ในวันนี้ท่านก็มาจากพม่า
ผู้แปล
พระไตรปิฎกทุกๆท่านก็ศึกษา บาลีมาจากพระพม่า
หากมีอะไรในใจกับพระพม่าก็ควรแก้ที่ตัวตน เพราะมีหลายครั้งที่ เห็นคำนี้
ต้องอภัยมานะโอกาสนี้
ดิน - 61.19.67.167 [11 มิ.ย. 2551 16:03 น.] คำตอบที่ 7
ตอบให้ตรงคำถามเจ้าค่ะอย่าเบี่ยงเบนประเด็น
อยากเข้าใจในเรื่อง....ตัวตน....หรือเรื่องใครเก่งบาลี หรือบาลีมาจากใครสอน....ให้ตั้งกระทู้ใหม่เจ้าค่ะ
ตอนนี้ท่านตอบมาก่อนว่า..ฐานะ 10 ประการคือ โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา และนิกันติ สภาวะธรรมเหล่านี้คือองค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมด
หรือว่าเป็นวิปัสสนูกิเลส กันแน่
แสดงความรอบรู้ออกมาได้เต็มที่เจ้าค่ะ
แสดงกิเลสของท่านออกมามันทำความกระจ่างให้ท่านผู้อ่านไม่ได้หรอกเจ้าค่ะ
น้ำเค็มมีเมตตาธรรมให้อภัยแด่ท่านเสมอเจ้าค่ะ
น้ำเค็ม DT02176 [11 มิ.ย. 2551 16:24 น.] คำตอบที่ 10
เจริญในธรรมขอรับ ขอขอบพระคุณสำหรับเมตตาธรรมให้อภัย
เจริญในธรรมขอรับ
ขอเรียงลำดับให้ดูพอเข้าใจอย่างนี้นะครับ
ธรรมที่อิงอาศัยกัน สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ธรรมเป็นที่สิ้นไป ( อรหัตตผล )
^
^
วิมุตติ
^
^
วิราคะ
^
^
นิพพิทา
^
^
ยถาภูตญาณทัสสนะ
^
^
สมาธิ
^
^
สุข
^
^
ปัสสัทธิ
^
^
ปีติ
^
^
ความปราโมทย์
^
^
ศรัทธา " จุดเปลี่ยนอยู่ตรงนี้ครับคนที่มีมิจฉาทิฏฐิจะไม่มีศรัทธาในการประพฤติธรรมครับ "
^
^
ทุกข์
^
^
ชาติ
^
^
ภพ
^
^
อุปาทาน
^
^
ตัณหา
^
^
เวทนา
^
^
ผัสสะ
^
^
สฬายตนะ
^
^
นามรูป
^
^
วิญญาณ
^
^
สังขารทั้งหลาย
^
^
อวิชชา
แล้วแต่ผู้อ่านขอรับ
แล้วแต่ผู้อ่านขอรับ
ดิน - 61.19.67.78 [11 มิ.ย. 2551 19:05 น.] คำตอบที่ 15
ตามที่ท่านยกมานั้น
บัณฑิตกับบัณฑิตเขาสนทนากันเรื่องนี้เจ้าค่ะ
ของเต็ม ๆ สมบูรณ์แบบเป็นอย่างนี้เจ้าค่ะ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป (@๑. อรหัตผล ) เกิดขึ้นแล้ว ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่
อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า
สมาธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิควรกล่าวว่า สุข
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่า มีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่า ความปราโมทย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์ควรกล่าวว่า ศรัทธา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ ควรกล่าวว่า ภพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหาควรกล่าวว่า เวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งเวทนา ควรกล่าวว่า ผัสสะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ ควรกล่าวว่า สฬายตนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่า นามรูป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูปควรกล่าวว่า วิญญาณ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควรกล่าวว่า สังขารทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่า
อวิชชา
ด้วยเหตุดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย
นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย
เวทนามีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย
ตัณหามีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย
อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย
ภพมีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย
ชาติมีภพเป็นที่อิงอาศัย
ทุกข์มีชาติเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
ความปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย
ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อิงอาศัย
สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย
สมาธิมีสุขเป็นที่อิงอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไปมีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ
[๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขา ระแหง และห้วยให้เต็ม ซอกเขาระแหงและห้วยทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม หนองทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้วย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม บึงทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำน้อยๆ ให้เต็มแม่น้ำน้อยๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ๆ ให้เต็ม แม้น้ำใหญ่ๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ฯลฯ ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๓
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
มิจฉาทิฏฐ
ความเห็นผิดท่านแจกไว้เป็น
๒ อย่าง : สัสสตทิฏฐิ เห็นว่ายั่งยืน
คืออะไรเป็นอย่างไร ก็คงเป็นอย่างนั้น
อยู่เสมอ เช่นคนตายไปแล้วก็ต้องเป็น
คน สัตว์ชนิดอะไรตายไปแล้วก็ต้องเป็น
สัตว์ชนิดนั้น ไม่มีแปรปรวนเปลี่ยน
แปลง, นี่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ เห็นว่า
ยั่งยืน หรือเที่ยงอย่างหนึ่ง; อุจเฉททิฏฐิ
เห็นว่าขาดสูญ ตายแล้วสูญหมดไม่มีเกิด
ใหม่ และถึงเกิดใหม่ก็ไม่ใช่เรา เช่น
ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือ ๕
เติมอากาศเข้าด้วย ไปประชุมถูกต้อง
ตามส่วนเมื่อไร ก็เกิดมีวิญญาณ เวทนา
สัญญา สังขาร วนเวียนกันไป, เมื่อธาตุ
แยกจากกันไป ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ
ก็เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ คงอยู่
ตามธรรมดา ไม่เป็นเราไม่เป็นใคร, แต่
ถ้าไปประชุมกันเข้าใหม่ก็เกิดวิญญาณ
เวทนา สัญญา สังขาร ไปใหม่อีก, นี่
เป็นพวก อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าตายสูญ.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านแยกทิฏฐิเป็น ๓
คือ อกิริยทิฏฐิ เห็นว่าไม่เห็นอันทำ,
คนจะทำอะไรก็ทำไป แต่ว่าเท่ากับไม่
ได้ทำแล้วก็แล้วกันไป ไม่มีผลอะไร,
ทำดีก็ไม่ได้ผลดี ทำชั่วก็ไม่ได้ผลชั่ว สัก
แต่ว่าทำเท่านั้น อย่างหนึ่ง; อเหตุกทิฏฐิ
เห็นว่าไม่มีเหตุ คือคนจะได้ดีก็ได้ดีเอง
ได้ชั่วก็ได้ชั่วเอง ไม่มีเหตุไม่มีผล, ถึง
คนจะทำดีเท่าไร ๆ แต่ถ้าไม่มีใครยกย่อง
ก็ไม่ดี, ถึงคนจะทำชั่วเท่าไร ๆ แต่ถ้า
ไม่มีใครลงโทษก็ไม่ได้ชั่ว ไม่มีเหตุไม่มี
ผล, นี่อย่างหนึ่ง; นัตถิกทิฏฐิ เห็นว่า
ไม่มี คือไม่มีมารดาบิดา ไม่มีบุตร, เมื่อ
มารดาบิดามีลูกออกมาก็แล้วกันไป ต่าง
คนก็ต่างไป, มารดบิดาไม่มีคุณอะไรกับ
ลูก, ลูกก็ไม่ต้องเป็นกตัญญูกตเวทีต่อ
มารดาบิดา, แม้คนที่เป็นอยู่นี่ก็สักแต่ว่า
ธาตุอันหนึ่ง ๆ ที่รวมกันเข้า จะไปทำ
อะไรใคร ก็ไม่เป็นอะไร, คนหนึ่งไปตีหัว
คนอีกคนหนึ่ง ก็เป็นแต่ธาตุต่อธาตุกระทบ
กัน นี่อีกชนิดหนึ่ง. อกิริยาทิฏฐิ กับ
อเหตุกทิฏฐิ แย้งกับพระพุทธภาษิต
เพราะพระพุทธภาษิตสอนว่า คนที่ทำ
อะไรลงไป, การที่ทำนั้นมีดีมีชั่ว ถ้าทำดี
ก็ต้องมีผลดี ถ้าทำชั่วก็มีผลชั่ว, ไม่ใช่
เพียงสักแต่ว่าทำแล้ว ๆ ไป, และพระ-
พุทธภาษิตแสดงว่ามีเหตุมีผล คือคนที่เป็น
คนดีก็เพราะทำเหตุที่ดี ได้ผลดี เป็นคน
ชั่วก็เพราะทำเหตุชั่ว ได้ผลชั่ว อยู่ที่คน.
นัตถิกทิฏฐิ เห็นว่าไม่มีอะไรก็แย้งกับ
พุทธภาษิตที่แสดงว่ามีอยู่ คือ ดิน น้ำ
ไฟ ลม อากาศ และธาตุรู้ รวมเป็น
ธาตุ ๖, เพราะธาตุรู้นั่นแหละที่มีอยู่
รวมกับดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ที่เป็น
ธาตุไม่รู้จึงปรากฏเป็นคน. คนนั่นแหละ
เมื่อทำดีก็ได้เลื่อนชั้นเป็นดียิ่งขึ้นไปโดย
ลำดับ จนถึงเป็นพระอรยะ เมื่อทำชั่ว
ก็ได้ผลชั่ว.
ทิฏฐิเหล่านี้จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ความ
เห็นผิด เพราะได้ฟังมาจากอื่นบ้าง
เพราะคิดเอาเองบ้าง แต่ไม่ได้ทำให้มี
ให้เป็นปรากฏขึ้นชัด จึงขาดความเห็น
จริง, เมื่อขาดความเห็นจริง ก็ไปเห็น
ไม่จริงเห็นผิด จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ. ความ
ยึดทิฏฐิ ความเห็นอันผิดจากความจริง
เป็นทิฏ€ุปาทาน หรือ ทิฏฐิอุปาทาน
เป็นทิฏฐุปาทาน หรือ ทิฏฐิอุปาทาน
ยึดถือความเห็นอย่างหนึ่ง.
ศรัทธา
แปลตรง ๆ ก็แปลว่า ความ
เชื่อ แต่จะว่าตามหลักในพระบาลี
ที่ปรากฏเป็นพระพุทธภาษิตแสดงไว้
อย่างเดียว คือ ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อ
พระปัญญาตรัสรู้ของตถาคต อันหมาย
ความถึงพระพุทธเจ้า, แต่ว่าพระอาจารย์
ท่านแสดงออกไปอีก ๓ คือ :-
กัมมสัทธา เชื่อกรรม คือ กิจการ
งานที่บุคคลทำว่า ทำดีก็ให้ผลดี ทำชั่ว
ก็ให้ผลชั่วอย่างหนึ่ง.
วิปากสัทธา เชื่อวิบาก คือ เชื่อ
ผลที่สุกมาจากกรรม เช่น ผลที่ดีก็สุก
มาจากกรรมที่ดี ผลที่ชั่วก็สุกมาจาก
กรรมที่ชั่ว ศัพท์ว่า วิบาก นี้ ภาษา
บาลีแปลว่า สุก หรือ สุกวิเศษ หมาย
ถึงว่า ต่อเนื่องมาจากเหตุ เป็นส่วนผล
หรือ ผล, ที่เราเรียกว่าผลไม้ เพราะ
เป็นส่วนที่ผลิตออกมา, วิบากหรือผล
หมายความอย่างเดียวกัน. แต่คนไทย
เข้าใจอีกอย่างหนึ่งก็มี คือ วิบากหมาย-
ถึงลำบาก ลำบากยากเข็ญอย่างไร เรา
ก็เรียกว่าวิบาก นี่ผิดเรื่องผิดราว แต่ก็
นิยมใช้กันไป ในที่นี้วิบาก หมายถึงผล
ที่สุกมาจากกรรม, วิปากสัทธา เชื่อผล
ที่สุกมาจากกรรม ว่าผลที่ดีมาจากรรม
ที่ดี ผลที่ชั่วมาจากกรรมที่ชั่ว นี่อีก
อย่างหนึ่ง.
กัมมัสสกตาสัทธา, กัมม ก็กรรม
กัมมัสสกะ มีกรรมเป็นของ ๆ ตน กัม-
มัสสกตา ความที่สัตว์ที่กรรมเป็นของ ๆ ตน
รวมกันเข้าเป็น กัมมัสสกตาสัทธา, เชื่อ
ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน หมาย
ความว่า ทั้งเหตุ ทั้งผล รวมลง ที่คน,
เมื่อคนทำเหตุคือกรรมดี ก็เผล็ดผลดี
กรรมและผลที่ดีก็รวมลงอยู่ที่บุคคล, เมื่อ
บุคคลทำกรรมที่ชั่ว เผล็ดผลที่ชั่ว เหตุผล
ที่ชั่วก็รวมลงที่บุคคล, จึงเรียกว่า กัมมัส-
สกตา ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน,
เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน ชื่อ
ว่า กัมมัสสกตาสัทธา อีกอย่างหนึ่ง.
รวมเป็น ๓, เป็น ๔, ทั้ง ตถาคต-
โพธิสัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระ
ตถาคต. นี้ท่านแยกออกไปเป็น ๔, แต่
เมื่อพิจารราแล้วจะเห็นว่ารวมกันได้ คือ
เมื่อเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
ก็ต้องเชื่อคำสั่งสอนของพระตถาคต. คำสั่ง
สอนของพระตถาคตก็แสดงกรรมแสดง
วิบาก คือ ผล และแสดงว่าทั้งกรรมทั้ง
วิบากก็รวมลงที่บุคคล. เพราะฉะนั้น เชื่อ
กรรม เชื่อวิบาก เชื่อความที่สัตว์มีกรรม
เป็นของตน ก็รวมอยู่ในตถาคตโพธิสัทธา
เชื่อพระปัญญาตรัสรู้และพระตถาคตนั่น
เอง. และความเชื่อนั้นท่านก็แยกออกเป็น
ชนิด แล้วแต่เหตุ:
เชื่อตามคำเขาบอกเล่า ได้ฟังเกิดความ
รู้ขึ้น ความรู้นั้นเรียกว่า สุตามยปัญญา
ปัญญาที่เกิดแต่การฟัง, ความเชื่อที่เกิด
เพราะปัญญาที่สำเร็จมาแต่การฟัง ไม่ได้
พิจารณาสอบสวนเลือกฟั้นให้แน่นอน
ท่านจัดว่าเป็น อธิโมกข์ คือน้อมใจเชื่อ
ไปตาม เช่นเขาบอกว่ากาขาวมีที่นี่ที่นั่น
ก็เชื่อ หรือเขาบอกว่านกยางดำก็เชื่อ
เช่นนี้ไม่เป็นสัทธาแท้. แต่ " เชื่อ " ตาม
ศัพท์ก็ว่า สัทธา สัทธาเช่นนี้ท่านเรียนว่า
อธิโมกข์ คือน้อมใจเชื่อไป นี่อย่างหนึ่ง.
พิจารณาด้วยตัวเอง จับเหตุจับผลมา
พิจารณาจนเห็นจริงเกิดความรู้ขึ้น ความรู้
นั้นเรียกว่า จินตามยปัญญา ปัญญาที่
สำเร็จด้วยความคิด. ความเชื่อที่สืบเนื่อง
มาจากจินตามยปัญญา เป็นสัทธาความเชื่อ
แต่ว่าไม่แน่ ไม่มั่นคง เพราะบางคราวคิด
พิจารณาสอบสวน เห็นอย่างหนึ่งก็เชื่อ
ไปอย่างหนึ่ง ต่อมาพิจารณาสอบสวน
เห็นเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็เชื่อไปอีกอย่าง
หนึ่ง, เพราะฉะนั้น สัทธาความเชื่อเช่นนี้
จึงเป็น จลสัทธา ความเชื่อที่หวั่นไหวได้.
ภาวนา การทำให้มี ให้เป็น ให้เกิด
ขึ้น และเกิดความรู้ขึ้นตามที่ทำให้มี ให้
เป็น เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ปัญญา
ที่สำเร็จเพราะภาวนา, สัทธา ความเชื่อที่
สืบเนื่องมาจากภาวนามยปัญญานี้เป็น
อจลสัทธา เชื่อแน่นอนไม่หวั่นไหว,
เทียบตัวอย่างได้เช่น เขาบอกว่าไฟร้อน
เราได้ยินเกิดความรู้ขึ้น ความรู้นั้นเป็น
สุตามยปัญญา เชื่อตามนั้นไม่ได้พิจารณา
จึงเป็นอธิโมกข์, พิจารณาดูอาการของไฟ
ที่เผาเชื้อ ร้อน ไหม้ อะไรต่าง ๆ ทำให้
เป็นถ่านเป็นเถ้า แล้วก็มอดหมดไป,
พิจารณาจับเหตุจับผลเช่นนี้ ก็ดูท่าว่าจะ
ร้อนจริง ๆ จึงทำให้เป็นเช่นนี้. ความรู้
ที่เกิดจากพิจารณาเช่นนี้ เป็นจินตามย-
ปัญญา, เชื่อที่สืบเนื่องมาจากจินตามย-
ปัญญาจึงเป็นจลสัทธา เพราะไม่แน่เป็น
แต่พิจารณาจับเหตุจับผลเท่านั้น, ต่อเมื่อ
เอามือทิ่มไฟเข้า หรือไฟลนมือเข้า เป็น
ภาวนา, ปัญญาความรู้ที่เกิดขึ้นเรียกว่า
ภาวนามยปัญญา. ความเชื่อที่สืบมาจาก
ภาวนามยปัญญา จึงจัดเป็นอจลสัทธา
เชื่อที่แน่นอนไม่หวั่นไหว นี่อย่างหนึ่ง.
( โอ. ๑/๑๔๓-๑๔๖ ).
อนึ่ง ศรัทธานั้น ได้แก่ความเชื่อการณ์
ที่ควรเชื่อ อันประกอบด้วยเหตุผล คือ
ไตร่ตรองด้วยปัญญา หาเหตุหาผลให้เห็น
จริงแก่ใจจึงเชื่อ. ความเชื่อที่เป็นศรัทธานี้
เป็นไปแต่ในส่วนข้างดีอย่างเดียว เพราะ
ฉะนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงทรง
สรรเสริญว่า เป็นกำลังอย่าง ๑ คือ สทฺธา-
พลํ, เป็นอินทรีย์อย่างหนึ่ง คือ สทฺธินฺ-
ทฺรียํ, เป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง คือ สทฺ-
ธาธานํ. และว่า สทฺธาย ตรติ โอฆํ
บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยสัทธา, สทฺธีธ
วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺ€ํ ศรัทธาเป็นทรัพย์
อันประเสริฐของบุรุษเป็นต้น. ศรัทธา
ความเชื่อ ที่ประกอบด้วยเหตุผลนี้ ท่าน
จำแนกไว้หลายประการ คือ กัมมสัทธา
เชื่อต่อกรรม คือ เชื่อว่ากรรมดีที่เป็น
กุศล เป็นเหตุแห่งสุขโสมนัส กรรมชั่ว
เป็นอกุศล เป็นเหตุแห่งทุกข์โทมนัส ดังนี้
ชื่อกัมมสัทธา ๑, วิปากสัทธา เชื่อต่อผล
ของกรรม คือ เชื่อว่าสุขโสมนัสเป็นผล
ของกุศลกรรม, ทุกข์โทมนัสเป็นผลของ
อกุศลกรรม, ดังนี้ ชื่อว่า วิปากสัทธา ๑,
กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าความที่สัตว์มี
กรรมเป็นของตน คือ เชื่อว่าสัตว์เมื่อทำ
อะไรลงไปดีหรือชั่วก็ตาม ก็จะได้รับผล
ของกรรมนั้น สัตว์ที่ได้ดีมีสุขสบายต่าง ๆ
ก็เพราะได้ทำกรรมดีไว้ สัตว์ที่มีความ
ทุกข์ยากไม่สบายต่าง ๆ ก็เพราะได้ทำ
กรรมชั่วไว้ สัตว์จะได้ดีหรือชั่วก็เพราะ
กรรมที่ตนได้ทำไว้นั่นเองให้ผล ดังนี้ ชื่อ
กัมมัสสกตาสัทธา ๑ ตถาคตโพธิสัทธา
เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต ๑,
เมื่อบุคคลมีสัทธาความเชื่ออยู่ในสันดาน ก็
จะละกรรมชั่วต่าง ๆ ด้วย กาย วาจา ใจ ให้
เจริญมาก กุศลวิบาก คือ ผลอันดีก็จะเกิด
มีแก่ผู้นั้นมิได้ขาดสาย ทั้งเป็นเหตุให้ประ
กอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ สัจจะ ทมะ
ธิติหรือขันติ และจาคะ ก็จะได้ประสบสุข
ยิ่ง ๆ ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า. ( วชิร.
๑๗๙ ).
อนึ่ง ถ้อยคำที่สดับฟังนั้นก็มีเป็นอัน
มาก เป็นถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตคือกล่าวดี
ก็มี เป็นถ้อยคำที่เป็นทุพภาษิต คือ กล่าว
ชั่วก็มี, และผู้พูดให้ฟัง ก็มีความประสงค์
ต่าง ๆ กัน ที่ประสงค์ดีก็มี ที่ประสงค์ร้าย
ก็มี. เหตุฉะนี้ ผู้ฟังจึงควรใช้ปัญญาใคร่
ครวญให้รู้ทั่วถึงถ้อยคำนั้น ๆ ว่าเป็นเช่น
ไร, และผู้พูดมีความประสงค์อย่างไร
เพราะการสดับฟังนี้แล เป็นเหตุให้เกิด
สัทธาความเชื่อ ความเชื่อเป็นเหตุให้ได้
สมาทานคือถือตาม, สัทธาและสมาทาน
รวมเรียกว่าเชื่อถือ เนื่องมาจากสุตะการ
สดับฟัง เป็นเบื้องต้น ถ้าฟังแล้วเชื่อ
ด้วยไม่ใช้ปัญญาใคร่ครวญก่อน ความเชื่อ
ก็เป็นสัทธาญาณวิปปยุต คือความเชื่อที่
ไร้ปรีชาหยั่งรู้, ข้อนี้เป็นเหตุให้ถือผิด
เป็นเครื่องชักนำผลร้ายทุกอย่างมาสู่ตน
และผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยโดยไม่มีประมาณ. แต่
ถ้าฟังแล้ว ใช้ปัญญาใคร่ครวญก่อนแล้ว
จึงเลือกเชื่อแต่สิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อก็
เป็นสัทธาญาณสัมปยุต คือความเชื่อที่
ประกอบด้วยปรีชาหยั่งรู้, ข้อนี้เป็นเหตุ
ให้ถือชอบเป็นเครื่องชักนำผลดีทุกอย่าง
มาให้โดยไม่มีประมาณดุจเดียวกัน. ในทาง
พระพุทธศาสนา สมเด็จพระบรมศาสดา
ทรงสอนให้เชื่อด้วยปัญญา คือใคร่ครวญ
ก่อนแล้วจึงเชื่อ มิให้เชื่อโดยงมงาย. แม้
ธรรมเทศนาของพระองค์ก็ทรงมุ่งให้เชื่อ
ด้วยปัญญาของตนดุจเดียวกัน. ความข้อนี้
ปรากฏในกาลามสูตร อันมีเรื่องเล่าว่า.
พวกกาลาม ชนชาวเกสปุตตนิคม
กราบทูลสมเด็จพระบรมศาสดาผู้เสด็จมา
ถึงว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมาถึงเกส-
ปุตติคมนี้ พูดแสดงถ้อยคำของตนเชิดชู
ให้เห็นว่าดีว่าชอบ ควรจะถือตามฝ่าย
เดียว, พูดคัดค้านถ้อยคำของผู้อื่น ดูหมิ่น
ว่าไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ควรจะถือตาม, ทำถ้อย
คำของตนให้เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้อื่น. ครั้น
สมณพราหมณ์พวกอื่นมาถึงอีก ก็พูด
เหมือนสมณพราหมณ์พวกก่อน. เป็นอยู่
อย่างนี้, จนพวกข้าพเจ้ามีความสงสัย ไม่
ทราบว่าท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้ใครพูด
จริง ใครพูดเท็จ ดังนี้. พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสตอบว่า ท่านควรจะสงสัย. ความ
สงสัยของท่านเกิดขึ้นในเหตุควรสงสัย ต่อ
แต่นั้น ก็ตรัสสอนพวกกาลามชน ไม่ให้
ถือโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ
มา อนุสฺสเวน อย่าได้ถือด้วยการได้
ฟังตามกันมา.
มา ปรมฺปราย อย่าได้ถือโดยลำดับ
สืบ ๆ กันมา.
มา อิติกิราย อย่าได้ถือโดยความตื่น
ว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ ๆ.
มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าได้ถือโดย
อ้างตำรา.
มา ตกฺกเหตุ อย่าได้ถือโดยเหตุนึก
เดาเอา.
มา นยเหตุ อย่าได้ถือโดยนัยคือคาด-
คะเน.
มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าได้ถือ
โดยความตรึกตามอาการ.
มา ทิฏฺ€ินิชฌานกฺขนฺติยา อย่าได้
ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิของตน
( หรือควรแก่การเพ่งออกไปด้วยความเห็น ).
มา ภพฺพรูปตาย อย่าได้ถือโดยเชื่อ
ว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้.
มา สมโณ โน ครุ อย่าได้ถือโดย
ความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา.
เมื่อใด ท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรม
เหล่านี้เป็นอกุศลมีโทษท่านผู้รู้ติเตียน,
ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อ
ผลอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์,
ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสียเมื่อนั้น,
อนึ่ง เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรม
เหล่านี้เป็นกุศล ไม่มีโทษ ท่านผู้รู้สรร-
เสริญ ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็น
ไปเพื่อผลอันเป็นประโยชน์สุข, ท่านควร
ถึงพร้อมด้วยธรรมเหล่านั้นอยู่ทุกเมื่อ
ดังนี้.
ข้อความที่กล่าวมานี้ แสดงว่า ทาง
พระพุทธศาสนานิยมว่า แม้บุคคลจักต้อง
อาศัยการสดับฟังจากผู้อื่น หรืออ่านตำ-
รับตำราก็ตาม, แต่ก็ให้ใคร่ครวญแล้ว
จึงเชื่อถือด้วยปัญญาของตนเอง มิใช่ด้วย
ถ้อยคำของผู้อ่น หรือตำรับตำรานั้น ๆ
อย่างเดียว. ผู้เชื่อง่ายขาดปัญญาใคร่ครวญ
เรียกกันว่า คนหูเบา, ถ้าเชื่อถือในทาง
ที่ดี ก็พอเป็นไปได้ แต่ไม่มีหลัก. แต่ถ้า
เชื่อถือในทางที่ผิด ก็จักได้รับความเสื่อม
เสียไม่ใช่น้อยเลย. ถ้าเกี่ยวข้องด้วยผู้อื่น
ก็อาจเกิดความเสื่อมเสียถึงผู้อื่น มากหรือ
น้อยตามฐานะ. ความเป็นคนหูเขา ย่อม
นำให้ลุอำนาจอคติ โดยไม่รู้สึก. เหตุฉะนี้
จึงไม่เป็นที่ปรารถนาทั้งทางโลกและทาง
ธรรม ผู้ที่จักเป็นพลเมืองดีในฝ่ายอา-
ณาจักร และเป็นพุทธศาสนิกที่ดีในฝ่าย
พุทธจักร สมควรเว้นเสียให้ห่างไกล,
เมื่อได้ฟังถ้อยคำของใคร ๆ พึงใคร่-
ครวญให้รอบคอบก่อนแล้วจึงเชื่อถือ.
อันผู้พูด ตามปกติย่อมมีความประสงค์
อย่างใดอย่างหนึ่งในการพูดนั้น. ถ้ามี
ความประสงค์ในทางไม่ดี เขาก็ปกปิด
ด้วยคำพูดตรงกันข้าม แสดงให้เห็นว่า
เป็นการมุ่งดี. เหตุฉะนี้ จึงต้องใคร่-
ครวญให้รู้ถึงความประสงค์ของผู้อื่นด้วย.
ความใคร่ครวญนั้น อาศัยการเทียบ
เคียงด้วยเหตุและผล และพิจารณา
คาดคั้นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง. ถ้าใคร่-
ครวญจริง ๆ แล้ว ไม่ด่วนเชื่อเสียก่อน
ก็จักทราบได้ตามเป็นจริง, เพราะเมื่อ
ใคร่ครวญเพ่งพินิจ ความจริงเป็นอย่าง
ไร ย่อมปรากฏให้เห็นได้ง ( วชิร. ๕๓๓-
๕๓๖ ).
ขอบคุณครับ คุณ 456abcDT04238 [11 มิ.ย. 2551 16:51 น.] คำตอบที่ 11
ถูกต้องแล้วครับ ท่านให้ "...ไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน..." แต่ให้ "สอบสวนกับพระสูตร"และ"เทียบเคียงกับพระวินัย" ดูก่อน ชัดเจนครับ ถ้าไม่ใช่ก็ "ทิ้งไป" ไม่ต้องมีเรื่องมีราวกันให้เป็นที่มัวหมอง ขอบคุณครับที่ให้ความสว่าง
อ้อ ! ต้องขออภัยก่อนนะครับ เผื่อว่าจะเป็นการนำมะพร้าวห้าวมาขายสวน คือผมเคยได้ยินภาษิตทำนองว่า น้ำสามารถรองรับเรือได้ ก็สามารถล่มเรือได้เช่นกัน ผมมาย้อนคิดถึงกรณี โอภาส ญาณ ปิติ ฯลฯ ที่เป็นองค์ธรรมฝ่ายกุศล แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเกิดความฝักใฝ่ ความพอใจ ไม่รู้คลายในองค์ธรรมเหล่านี้ นั่นก็คือความอยาก เครื่องร้อยรัดอย่างหนึ่งมิใช่หรือ แล้วเราจะ "เบื่อหน่าย "จะ"คลายกำหนัด"จน"หมดสิ้นอาสวะกิเลสได้อย่างไร นอกเสียจากอริยะบุคคลผู้มากด้วยปัญญาเมื่อบรรลุถึงองค์ธรรมเหล่านี้แล้วไม่หลงเพลิน หลงติดอยู่ ก็จะก้าวล่วงสู่ลำดับขั้นที่สูงขึ้นไป จนบรรลุพระอรหัตในที่สุด
น้ำไม่ผิดหรอกครับ ผิดที่เราแล่นเรือไม่ระวังเองจนล่ม
โอกาส แสงสว่างปรากฏในมโนทวารวิถี ขณะเมื่อจิตเข้าถึงฌาน (ภวังค์) เมื่อจิตน้อมเชื่อไปตามแสงสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ขยายวงกว้างออกไป มีอาการแปลกๆ ต่างๆ ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ บางทีกำหนดตามไม่ทัน .....ฯลฯ.. .....
ประภัสสร DT05496 [11 มิ.ย. 2551 09:10 น.] คำตอบที่ 2
ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกก่อนนะครับว่า ฌาน ไม่ใช่ภวังค์ ครับ
หากเข้าใจเช่นนั้น สภาวะผิด ..ก็พลาดการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง น่าเสียดายครับ
และเสียหายต่อผู้อ่านแล้วเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น
ฌาน หรือ สัมมาสมาธิ ครับ เป็นกุศลครับ
***
.....ฌาน คือสมาธิจิตหรือคือคุณภาพของจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบด้วยนามขันธ์ 4 ได้แก่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์
ฌานจิตเป็นสมาธิ 2 อย่างคือ สมาธิที่เป็นเหตุ เรียกว่า กุศล และสมาธิที่เป็นผล
เรียกว่ากุศลวิบาก
หรืออาจแบ่งฌานเป็น 2 ประเภทคือ
1.โลกียะฌาน ( อารัมณูปณิชฌาน )
ได้แก่ รูปฌาน 4 (หรือรูปฌาน 5 สำหรับผู้มีปัญญาเล็กน้อย)
เป็นทั้งรูปาวจรกุศลและรูปาวจรกุศลวิบาก
.....อรูปฌาน 4 เป็นทั้งอรูปาวจรกุศล และอรูปาวจรกุศลวิบาก
2.โลกุตตระฌาน ( ลักขณูปฌิชฌาน )
ได้แก่ มัคค 4 คือโสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค
จิตเหล่านี้คือฌานที่เป็นเหตุ เรียกว่า โลกุตตระกุศล
.......ผล 4 คือ โสดาปัตติผล สกทาคามีผล อนาคามีผล และอรหัตตผล เหล่านี้คือฌานที่เป็นผล เรียกว่าโลกุตตระกุศลวิบาก
***
@ในพระพุทธพจน์บทหนึ่งได้พูดถึงฌานที่ทำให้เกิดปัญญาและปัญญา
ได้มาจากฌานว่า
" นัตถิ ฌานัง อะปัญฺญัสสะ "
นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน แปลว่า
แปลว่า ฌานไม่มีกับคนที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนที่ไม่มีฌานเหมือนกัน
และพระพุทธองค์ก็ยังทรงย้ำสรุปต่อไปอีกว่า ถ้าผู้ใดมีฌานจนทำให้เกิดปัญญาหรือมีฌานและมีปัญญา ผู้นั้นจะได้อยู่ใกล้นิพพาน (นิพพานสันติเก)
การเจริญฌานและสมาธิ แม้จะเดินทางสายเดียวกัน แต่เวลาถึงย่อมมีลักษณะอาการและประโยชน์ต่างกัน เป็นการฝึกหัดให้จิตยอมสละสิ่งที่สละได้ยาก ก็คือ อุปาทานขันธ์ ดังนั้นการฝึกหัดจะใช้กรรมฐานใดๆ มาเป็นอุบายฝึกหัด ถ้าปล่อยวางอุปาทานขันธ์ทั้งภายนอกและภายในได้แล้ว ก็ใช้ได้ ถ้าปล่อยไม่ได้ก็เป็น โมฆะ คือไร้ผล
ประภัสสร DT05496 [11 มิ.ย. 2551 09:10 น.] คำตอบที่ 2
หากฝึกได้ฌานได้แล้ว ถึงแม้จะยังละอุปาทานขันธ์ไม่ได้ ก็ไม่ใช่
"โมฆะ หรือ ไร้ผล" ครับ..
เป็นบุญเป็นกุศลครับ สั่งสมติดภพต่อๆไป ..หากเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม แล้วไม่
ติดสุขคือไม่ประมาท ก็เจริญฌาณปัญญาจนเข้าสู่นิพพานได้ครับ
**โปรดศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งธรรมให้ถูกต้องด้วยครับ**
ธรรมรักษาครับ
ประสบการณ์ตรง...
วิปัสสนูปกิเลส
วิปัสสนูปกิเลส คือ สภาวะธรรม(กิเลส)ที่ขวางกันไม่ให้วิปัสสนาญาณเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ซึ่งจะเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกตัองเท่านั้น....แต่ต้องข้ามไปให้ได้..อย่างหลงยึดติด มีอยู่ ๑๐ สภาวะด้วยกัน คือ ๑. แสงสว่าง ๒. ปีติ(ความอิ่มใจ) ๓.ความรู้(มาก) ๔.ความสงบนิ่งเฉย ๕. ความสุขสบาย ๖. ความศรัทธา(จนคิดฟุ้ง) ๗. ความเพียรที่มากเกิน ๘. สติที่มากเกิน ๙. ความวางเฉยจนลืมกำหนด ๑๐. ความยินดีพอใจในแสงสีและสภาวะที่ดีๆ
ประมาณวันที่ ๒๓-๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ (หลังปฏิบัติได้ ๑๕ วัน) สยาดอเริ่มถามว่า "นั่งไป ๆ มีแสงสว่างเข้ามาบ้างมั๊ย? เห็นแสงสีบ้างหรือเปล่า?" ตอบท่านว่า "ไม่เห็นอะไรเลยครับ" วันต่อ ๆมาก็ยังถามอยู่เช่นเดิม ทำให้ข้าพเจ้าเริ่มสงสัยว่า "นี่ เราต้องนั่งให้เห็นแสงสีกันเลยหรือ?" ฟังเพื่อนคนอื่น ๆ ส่งอารมณ์ก็ไม่มีใครเห็นกันสักคน ๒-๓ วันต่อมาเพื่อนหลายรูปส่งอารมณ์ว่า "เห็นแสงแล้วครับ เป็นดวง ๆ เป็นสีก็มี พอกำหนดว่า "เห็นหนอๆ" มันก็ดับไป" บางรูปบอกว่า "นั่งรู้สึกสว่างจ้าเหมือนมีไฟฉายมาส่องหน้า บางรูปบอกว่า "เกิดปีติซาบซ่านตามแขน ขา และแผ่นหลัง บางครั้งมีคันยุบยิบ" บางรูปบอกว่า "นั่งไป ๆๆ สมาธินิ่งสงบจนไม่รู้อะไรไปเลย"ก็มี ข้าพเจ้าฟังแล้วก็เกิดสงสัยตนเองขึ้นมาว่า ทำไมเราไม่มีอะไรเลย อาการปวดบีบรัดบนศีรษะก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม พอง-ยุบก็ไม่คงที่เดี๋ยวสั้นเดี๋ยวยาว อาการปีติก็ไม่แน่ใจว่ามีบ้างหรือเปล่า เพราะกำหนดแบบถี่ ๆ เร็ว ๆ แบบไม่สนใจอะไรมาโดยตลอด (ที่ต้องกำหนดเร็วๆ แรงๆ ถี่ๆ เพราะต้องดึงใจไม่ให้ไปรับรู้อาการบีบรัดบนศีรษะ จะทำให้มึนงง จนกำหนดอะไรไม่ถนัด) หลังจากนั้น ๔-๕ วันคนแปลก็ยังเฝ้าถามถึงแสงสีอยู่ทุกวัน ก็ตอบไปว่า " ไม่เห็น ถ้าเห็นก็คงมีนิดเดียวทำให้ไม่แน่ใจ" ยิ่งผ่านไปหลายวันก็รู้สึกหงุดหงิดตัวเองมากขึ้นว่า " ทำไมเราไม่เห็นแสงสีซะที? ตั้งใจปฏิบัติมาตลอด ทำไมญาณไม่ขึ้นเลย คงจะติดอยู่แค่นี้เสียแล้วละมัง.." จึงตัดสินใจถามสยาดอตรง ๆ ว่า ตอนนี้ตนเองถึงขึ้นไหนแล้ว ถึงญาณที่ ๔ แล้วหรือยัง? ท่านก็ตอบตรง ๆ ว่า "ผ่านแล้ว เข้าญาณที่ ๕ แล้ว" ข้าพเจ้าฟังแล้วก็ไม่เชื่อเพราะยังไม่เคยเห็นแสงสีแบบเต็ม ๆ ตาเลยสักครั้ง ในขณะที่เพื่อนเขารายงานกันว่า นั่งสว่างไสวเหมือนนั่งอยู่กลางแดดเลย บางรูปเห็นดวงสีระยิบระยับเหมือนพลุ เรากลับไม่เห็นอะไรเลย แต่ทำไมสยาดอบอกว่าเราผ่านญาณที่ ๔ แล้ว ท่านพูดเพื่อให้กำลังใจเราหรือเปล่า ตอนนี้กำลังใจไม่ต้องการแล้ว.. ต้องการญาณอย่างเดียวต้องการเห็นแสงดวงใหญ่ หญ่าย.. (พร้อมกับกางมือออก แสดงขาดที่ต้องการเห็น ประมาณเท่ากระด้ง)จึงขอดูใบเช็คสภาวะญาณ ท่านก็ใจดีให้ดูเลย พร้อมกับบอกว่า "สภาวะของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต่างคนก็ต่างสภาวะ จะให้เหมือนกันทุกคนไม่ได้หรอก บางคนก็มีสภาวะแปลกพิศดารมาก ในขณะที่บางคนแทบไม่มีสภาวะอะไรเลยจนเจ้าตัวเองก็ไม่รู้ โดยเฉพาะคนที่กำหนดถี่ ๆ เร็ว ๆ (กำหนดดะ) จิตรับรู้อะไรก็กำหนดดับทันที ไม่เผลอนั่งเหม่อ นั่งใจลอย ไม่ปล่อยให้ความพอใจในสภาวะต่าง ๆ เกิดขึ้น พบอะไรก็กำหนดดับหมด ทำให้ผ่านญาณที่ ๔ ไปได้แบบไม่รู้ตัว แต่ถ้าเผลอสติเพ่งดูแสงสีนั้น หรือนึกชอบใจอยากให้มีมาก ๆ ขึ้น ไม่พยายามกำหนดให้ดับๆไปซะ วิปัสสนาญาณก็จะติดอยู่เพียงญาณที่ ๔ ตลอดไป บางคนติดอยู่เป็นสิบๆปี จนตัวเองหลงคิดไปว่าได้บรรลุแล้ว
ข้าพเจ้าฟังสยาดออรรถาธิบายแล้วก็พอเข้าใจ แต่ก็ยังอยากเห็นแสงสีอยู่ดี จะได้ไม่น้อยหน้าเพื่อนๆ เพราะมีเพื่อนรูปหนึ่งชอบพูด(อวด)ว่า "ผมนั่งเห็นแสงระยิบระยับดวงแล้วดวงเล่า ดวงแรกยังไม่ทันดับ ดวงที่ ๒ ก็เกิดซ้อนขึ้นมาเรื่อย ๆ เต็มไปหมด บางครั้งแตกกระจายเหมือนพลุเลย พูดไปพวกท่านก็ไม่รู้หรอกว่ามันน่าอัศจรรย์ขนาดไหน? คนที่เห็นเท่านั้นจึงจะรู้"
ประมาณ ๑๕ วันต่อมา (ตอนนั้นข้าพเจ้าถึงญาณที่ ๑๑แล้ว) เวลาประมาณ ๓ ทุ่มครึ่ง ข้าพเจ้ากำลังเตรียมตัวจำวัด ก็ได้ยินเสียงคล้ายเด็กร้องให้ สะอื้นเบา ที่ระเบียงใกล้หน้าต่าง บางครั้งก็ร้องให้ บางครั้งก็หัวเราะบ่นพึมพำสลับกันไป ทำให้ข้าพเจ้าขนพองสยองเกล้าขึ้นมาทันที "เราโดยผีหลอกเข้าให้แล้ว" แต่ก็พยายามแข็งใจเดินออกไปดูให้เห็นกับตาว่าผีจริงหรือเปล่า (อยากเห็นมานานแล้ว จะได้นำไปเทศน์ให้โยมฟังได้เต็มปากเต็มคำว่า ผีมีจริง) พอออกไปดู เห็นหลวงพี่(ที่ชอบพูดอวดแสงสีของตนนั่นแหละ) กำลังนั่งร้องให้อยู่ ก็เลยนึกสงสาร เข้าไปตามว่า "หลวงพี่ มีอะไรหรือเปล่า ทำไมมานั่ง(ร้องให้)อยู่ตรงนี้" ท่านก็เดินกลับพร้อมกับพูดว่า " วันนี้จะร้องให้เป็นวันสุดท้ายแล้ว ต่อไปจะไม่ร้องอีกแล้ว" ข้าพเจ้าฟังแล้วก็งงว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ไม่กล้าถาม ท่านก็เดินร้องให้พึมพำเดินเข้ากุฏิไป นอนร้องให้ต่อ เวลาประมาณ ตี ๒ เสียงร้องก็ดังแรงขึ้นๆ จนได้ยินชัดเจน นึกสงสารอยากช่วย( .... ) จึงลุกขึ้นไปดู ได้ยินเสียงท่านบ่นพึมพำว่า "ไอ้เฮีย? กูเคยเห็นมึงแล้วมึงมาทำไมอีกวะ มึงไม่ต้องมาหรอก กูเคยเห็นมึงแล้ว ท้อง(พอง-ยุบ)ทำไมมันเบานักวะ" พร้อมกับเอากำมือทุบหน้าท้องไปด้วย ข้าพเจ้าบอกท่านว่า "กำหนดตามที่มันเป็นซิ เดี๋ยวมันก็ดับไปเอง รู้ก็ให้กำหนดว่ารู้ เห็นก็ให้กำหนดว่าเห็น" เสียงท่านก็เบาลงพักหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าหลังจากนั้นจะดังขึ้นอีกหรือเปล่า
รุ่งเช้า ท่านไปส่งอารมณ์ สยาดอบอกว่า "ไม่ต้องกลัว มันเป็นเพียงสภาวของภยญาณ (ญาณที่ ๖) สาเหตุเกิดจากการไม่ยอมกำหนดแสงสีตั้งแต่ต้น ปล่อยให้จิตเข้าไปยึดมั่นยินดีกับสิ่งที่เห็นจนปัญญา ญาณอ่อนกำลัง กำหนดเท่าไรก็ไม่ดับซะที บวกกับท่านเป็นคนขี้กลัวอยู่ด้วยจึงทำให้เป็นเช่นนี้"
ตั้งแต่บัดนั้น ข้าพเจ้าไม่เคยนึกอยากเห็นแสงสีอีกเลย ถ้าเห็นแล้วเป็นแบบนี้ขอไม่เห็นดีกว่า ต่อมาแม้จะเห็นอยู่บ้างในบางบัลลังก์ ก็พยายามเบี่ยงหน้าหนี และรีบกำหนดให้ดับไปในทันที .. ไม่อยากนั่งร้องให้ขี้มูกโป่ง..?
ประมาณ ๑๕ วันต่อมา (ตอนนั้นข้าพเจ้าถึงญาณที่ ๑๑แล้ว)
รุ่งเช้า ท่านไปส่งอารมณ์ สยาดอบอกว่า "ไม่ต้องกลัว มันเป็นเพียงสภาวของภยญาณ (ญาณที่ ๖)
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.216.185 [13 มิ.ย. 2551 05:21 น.] คำตอบที่ 20
***************************
ท่านมหาประเสริฐขอรับ
แบบนี้เขาเรียกว่าอวดอุตริฯ ไหมหนอ
ทั้ง ท่านและชยาดอของท่านน่ะ
ลองหัดอ่านพระไตรปิฎกสิท่าน แล้วจะรู้ว่า แม้แต่พระพุทธองค์ก็ไม่เคยประเมินใครว่าได้ ญาณขั้นไหน
ขั้นนั้นขั้นนี้ นี่แหล่ะผลของการไม่ศรัทธา ไม่เชื่อถือในคำสอนของพระพุทธองค์
แต่กลับเชื่อคำสอน คำรับรองจากพระปุถุชน ...... กรรม ของพระพุทธศาสนาที่ต้องมามีพระสงฆ์
ที่เป็น 1 ใน 3 ของรัตนะตรัย เช่นท่านนะ
หลายคน ช่วยกันเบรคท่านแล้ว ในหลายๆ กระทู้
อย่าสร้างหลักฐานมัดตัวเองเลยครับ
ประมาณ ๑๕ วันต่อมา (ตอนนั้นข้าพเจ้าถึงญาณที่ ๑๑แล้ว)
รุ่งเช้า ท่านไปส่งอารมณ์ สยาดอบอกว่า "ไม่ต้องกลัว มันเป็นเพียงสภาวของภยญาณ (ญาณที่ ๖)
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.216.185 [13 มิ.ย. 2551 05:21 น.] คำตอบที่ 20
**********************
ญาณ ๑๑ และญาณ ๖ เป็นอย่างไรครับท่าน
อยากรู้ครับ
ญาณ ๑๖
ญาณ ๑๖ คือ ความรู้สึกตัวด้วยปัญญา, หยั่งรู้, กำหนดรู้ ที่ได้มาจากการเจริญวิปัสสนา หรือเจริญสติปัฏฐาน โดยมีระดับของปัญญาเป็นขั้นๆ ไป ดังต่อไปนี้
(๑) นามรูปปริเฉทญาณ หรือเรียกว่า สังขารปริจเฉทบ้าง นามรูปววัฏฐานบ้าง ปัญญาที่กำหนด จนรู้เห็นรูปเห็นนามว่า เป็นคนละสิ่งคนละส่วน ซึ่งไม่ได้ระคนปนกันจนแยกกันไม่ได้ การรู้จักจำแนกรูปและนาม อันเป็นสิ่งที่ถูกรู้หรือเป็นอารมณ์เครื่องระลึกของสติออกจากจิตผู้รู้ หมายถึง ความรู้จักรูปธรรม-นามธรรมว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่พอนับได้ว่าเป็นของจริง ก็มีแต่รูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น และ กำหนดได้ว่าในการรับรู้และเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของตนนั้น อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม เช่น เมื่อเห็นรูป จักขุประสาท แสง และรูปหรือสี เป็นรูปธรรม จักขุวิญญาณ หรือการเห็นเป็นนามธรรม ดังนี้เป็นต้น
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏแต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเท่านั้น แต่ถ้าเราศึกษาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อันแสดงถึงวัตถุนานัตตญาณ (๑๕) โคจรนานัตตญาณ (๑๖) จริยานานัตตญาณ (๑๗) ภูมินานานัตตญาณ (๑๘) และธัมมานัตตญาณ (๑๙)
เมื่อกล่าวโดยเนื้อหาสาระแล้ว ย่อมมีความเหมือนกันกับการอธิบายในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวคือ อัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่มีเลย เมื่อว่าโดยปรมัตถธรรม (ความจริงแท้) มีแต่เพียงรูปนามเท่านั้น ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานถึงญาณนี้ก็จะเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า อัตตาตัวตนเป็นเพียงสภาวธรรม ไม่ยึดมั่นว่า มีอัตตาตัวตน (เป็นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา) ตามหลักพระพุทธศาสนา ความเห็นเช่นนี้ถือว่า เป็นทิฏฐิวิสุทธิ คือ มีความเห็นที่บริสุทธิ์
สภาวะของญาณนี้ : เป็นญาณ ที่รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งปวงว่า เป็นเพียง รูป กับนาม เท่านั้น ( รูปธรรม และ นามธรรม) คือ มองเห็นความต่างกันของธรรมชาติ ๒ อย่าง คือ เห็นรูปก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เห็นนามก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เช่นว่า เห็นว่า การเคลื่อนไหวก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้ตัวมันเองไม่สามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ เป็นเพียงแต่ธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาแล้ว ก็สลายตัวไป จัดว่าเป็นรูปธรรม ส่วนตัวที่เข้าไปรู้ เป็นธรรมชาติที่สามารถจะรับรู้อะไรได้ จัดเป็นนามธรรม สภาวะที่เห็นความต่างกันของธรรมชาติ ๒ อย่างนี้ คือเห็นว่า รูปก็อย่างหนึ่ง เห็นว่า นามก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า สามารถแยกรูปแยกนามได้ เห็นรูปเห็นนามต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นทวารอื่นก็ตาม ขณะที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกาย มีสติรู้ทัน ก็เห็นว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง นั้นก็เป็นแต่ธรรมชาติที่มากระทบแล้วก็สลายไป ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้ ส่วนตัวจิตใจเป็นตัวที่เข้าไปรู้ได้ เป็นธรรมชาติ ชนิดหนึ่ง เป็นนามธรรม หรือลมหายใจที่เข้าออก กระทบโพรงจมูก หายใจเข้าเย็น หายใจออกร้อน เป็นตัวที่ไม่สามารถจะไปรับรู้ อะไรได้ มีหน้าที่กระทบแล้วก็สลายไป เป็นรูปธรรม ส่วนตัวจิตที่เข้าไปรับรู้ลมหายใจ สามารถที่จะรับรู้ อะไรได้ ก็ไปรับรู้ลมหายใจ เป็นนามธรรม เห็นลมหายใจเป็นเพียงสภาวะอย่างหนึ่ง เห็นจิตที่เข้าไปรู้ลมหายใจก็เป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็เรียกว่า มีปัญญาแยกสภาวะรูปนามได้ ก็จะทำให้เข้าใจว่า ในชีวิตนี้มันไม่มีอะไร ในเนื้อแท้จริงๆ แล้วมีแต่รูปกับนามเกิดขึ้นเท่านั้น ปราศจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล ในขณะที่จิตไปสัมผัสรูปนามนั้น ก็ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนอะไรต่ออะไร เมื่อผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไป เจริญสติกำหนดรูปนามยิ่งขึ้นไป ก็จะขึ้นถึงญาณที่ ๒
(๒) ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นถึงปัจจัยที่ให้เกิดรูป เกิดนาม คือ รูปเกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนนามเกิดจาก อารมณ์ วัตถุ มนสิการ รู้ว่ารูปหรือนามปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อจิตไปรู้มันเข้า เรียกได้หลายชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง ยถาภูตญาณ บ้าง สัมมาทัสสนะ บ้าง และผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่าเป็น จูฬโสดาบันคือ พระโสดาบันน้อยเป็นผู้มีคติ คือ ทางไปก้าวหน้าที่แน่นอนในพระพุทธศาสนา
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏแต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ถ้าศึกษาคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เราก็จะพบว่า เนื้อหาสาระของญาณนี้ตรงกับธัมมัฏฐิตญาณ(ญาณในการกำหนดที่ตั้งแห่งธรรม)ที่ท่านพระสารีบุตรได้นำปฏิจจสมุปบาทมาจำแนกไว้
ผู้ปฏิบัติตามถึงญาณนี้จะทราบถึงสรรพสิ่งล้วนเกิดมาตามเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาท สำหรับผู้ปฏิบัติที่เคยนับถือในพระผู้สร้างโลก (God) เมื่อปฏิบัติมาถึงญาณนี้ ก็จะปฏิเสธเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง
สภาวะของญาณนี้ : คือ เห็นเหตุปัจจัยของรูป-นาม คือจะเห็นว่า รูป- นามนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีความเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยกัน เช่น ขณะที่การก้าวไปๆ การคู้ การเหยียด การเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นไปเพราะว่ามีธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นตัวเหตุปัจจัย คือมีจิต จิตปรารถนาจะให้ กายเคลื่อนไหว กายก็เคลื่อนไหวไป จิตปรารถนาจะยืน กายก็ยืน จิตปรารถนาจะเดิน กายก็เดิน จิตปรารถนาจะนอน กายก็นอน คือ ลมก็ไปผลักดันให้กายนั้นเป็นไป อย่างนี้เรียกว่า นามเป็นปัจจัย ให้เกิดรูป นามคือจิตใจเป็นปัจจัยให้เกิดรูป รูปที่ก้าวไป รูปที่เคลื่อนไหว เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าจิตเป็นปัจจัย ส่วนรูปบางอย่าง รูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เช่นเสียง เสียงมีมากระทบประสาทหู เสียงเป็นรูป เมื่อกระทบประสาทหู ซึ่งเป็นรูปด้วยกัน ก็เกิดการได้ยินขึ้น เกิดการรับรู้ทางหูขึ้น ก็จะมองเห็นว่ามันเป็นเหตุปัจจัยกัน เสียงมากระทบจึงเกิดการได้ยินขึ้น เรียกว่ารูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เย็นร้อน อ่อนแข็ง อ่อนตึง เป็นรูป มากระทบกาย ก็เกิดการรับรู้ซึ่งเป็นนามเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียร ดูรูปนาม เห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ ๓
ผู้ประกอบด้วยญาณนี้ ชื่อว่า จูฬโสดาบัน ดังคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า อิมินา ปน (ปจฺจยปริคฺคห)ญาเณน สมนฺนาคโต วิปสฺสโก พุทฺธสาสเน ลทฺธสฺสาโส ลทฺธปติฎฺโฐ นิยตคติโก จูฬโสดาปนฺโน นาม โหติ . (วิสุทธิ. ๒/๒๗๑)
คัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกา อธิบายอีกว่า อปริหีนกงฺขาวิตรณวิสุทฺธิโก วิปสฺสโก โลกิยาหี สีลสมาธิปญฺญาสมฺปทาหิ สมนฺนาคตตฺตา อุตฺตริ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต สุคติปรายโน โหตีติ วุตฺตํ นิยตคติโกติ ตโต เอว จูฬโสตาปนฺโน นาม โหติ. (วิสุทฺธิ. ฎี. ๒/๔๒๔)
ผู้เจริญวิปัสสนา ที่กำลังก้าวหน้าในกังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลสมาธิปัญญาที่ บริสุทธิ์แล้ว แต่ยังไม่ถึงขึ้นหลุดพ้น(เพราะเป็นโลกิยะ) ถึงแม้จะยังไม่บรรลุคุณธรรมพิเศษยิ่งๆ ขึ้นไปก็ตาม
แต่ก็เป็นผู้มีสุคติภพเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิยตคติโก (เป็นผู้มีคติภพที่แน่นอน)และด้วยเหตุที่เป็นผู้มีคติภพที่แน่นอนนี้ จึงไต้ชื่อว่า เป็นพระจูฬโสดาบัน
(๓) สัมมสนญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ คือ ความเกิดดับของรูปนาม แต่ที่รู้ว่ารูปนามดับไปก็เพราะ เห็นรูปนามใหม่เกิดสืบต่อแทนขึ้นมาแล้ว เห็นอย่างนี้เรียกว่า สันตติยังไม่ขาดและยังอาศัยจินตามยปัญญาอยู่ อีกนัยหนึ่งว่า สัมมสนญาณ เป็นญาณที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์ รู้ว่ารูปนามทั้งปวงนั้นปรากฏเป็นคราวๆ เมื่อถูกรู้ และรูปนามทั้งปวงนั้นล้วนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๕) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ คือ ผู้ปฏิบัติรู้ว่า รูปนามดับไป และเห็นรูปนามใหม่เกิดขึ้นสืบต่อกันไป แต่สันตติ(ความสืบต่อ)ยังไม่ขาด เพราะเป็นเพียงความรู้ด้วยจินตาญาณ(ความนึก พิจารณา)หลักฐานในคัมภีร์สัทธัมมปกาสินี : อิทานิ ยสฺมา เหฏฺฐา สรูเปน นามรูปววตฺถานญาณํ น วุตฺตํ, ตสฺมา ปญฺจธา นามรูปปฺเภทํ ทสฺเสตุ อชฺฌตฺตววตฺถาเน ปญฺญาวตฺถุนานตฺเต ญาณนฺติอาทีนิ ปญฺจ ญาณานิ อุทฺทิฏฺฐานิ
สัมมสนญาณ คือ ปัญญาญาณที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วของนามธรรมและรูปธรรมเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แยกออกเป็น ๔ นัย คือ
๑) กลาปสัมมสนนัย เห็นชัดถึงรูปอดีต ปัจจุบัน อนาคต รูปภายใน-นอก รูปหยาบ-ละเอียด รูปใกล้-ไกล รูปเลว-ประณีต ทั้งหมดเป็นอนิจจังสิ้นไปถ่ายเดียวไม่มีกลับ
๒) อัทธานสัมมสนนัย เห็นรูปนามในอดีตไม่เป็นปัจจุบัน รูปนามปัจจุบันไม่เป็นอนาคต รูปภายในไม่เป็นรูปภายนอก ฯลฯ เป็นต้น มีเหตุปัจจัยกันอยู่ ปัจจุบันดี อนาคตดี ปัจจุบันชั่ว อนาคตชั่ว อุปมาเหมือนดวงตราเมื่อประทับลงในกระดาษนั้นรูปตราปรากฏอยู่ แต่ดวงตราหาติดกระดาษไม่
๓) สันตติสัมมสนนัย พิจารณาเห็นรูปร้อนหายไปรูปเย็นเกิด รูปเย็น-ดับรูปร้อนเกิด รูปนามไม่เที่ยงเป็นอนัตตา
๔) ขณสัมมสนนัย เห็นความเกิดดับกันอยู่เรื่อยไป ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่งนอน และเห็นว่า ขันธ์ ๕ เกิด เพราะ อวิชชาเกิด ขันธ์ ๕ ดับ เพราะอวิชชาดับ
ตั้งแต่ญาณ ๑ ถึงญาณ ๓ นี้เรียกว่า ญาตปริญญา คือ ปัญญาที่ประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏโดยสภาพไม่ใช่ตัวตน เป็นพื้นฐานให้น้อมพิจารณา ลักษณะของรูปนามอื่นเพิ่มขึ้น
สภาวะของญาณนี้ : เป็นญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือ เห็นอนิจจัง ความ ไม่เที่ยงของรูป-นาม เห็นทุกขัง คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของรูป-นาม เห็นอนัตตา ความบังคับบัญชา ไม่ได้ของรูปนาม แต่ว่าการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในญาณที่ ๓ นี้ ยังเอาสมมุติบัญญัติมาปน ยังมีสุตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟัง) มาเอาจินตามยปัญญา (ความตรึกนึกคิด)มาปนอยู่ด้วย ยังไม่บริสุทธิ์ในความเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ทำให้รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังมีสมมุติบัญญัติ มีปัญญาที่ได้จากการได้ฟัง จากการคิดพิจารณาขึ้นมา ก็เกิดเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติ ได้ทำความเพียร กำหนดดูรูปนามเรื่อยไปก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ ๔
(๔) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจน โดยสันตติขาด คือ เห็นรูปนามดับไปในทันทีที่ดับ และเห็นรูปนามเกิดขึ้นในขณะที่เกิด หมายความว่า เห็นทันทั้งในขณะที่เกิดและขณะที่ดับ อุทยัพพยญาณนี้ยังจำแนกได้เป็น ๒ คือ ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ยังอ่อนอยู่ และพลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่แก่กล้าแล้ว รู้ว่ารูปนาม และปฏิกิริยาของจิตต่อรูปนามที่จิตไปรู้เข้า ล้วนแต่เกิดดับต่อเนื่องกันไป
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๖) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ญาณนี้แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ญาณช่วงที่ ๑ เป็นญาณระดับอ่อน (ตรุณะ) ช่วงที่ ๒ เป็นญาณระดับแก่ (พลวะ)
ในระดับอ่อนผู้ปฏิบัติกำหนดรู้สภาวะต่าง ๆ ของรูปนามแล้วเห็นชัดว่าสภาวะดับหายไปเร็วขึ้นกว่าเดิม แม้แต่เวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อกำหนดไปก็หายเร็วขึ้น สภาวะจิตก็เป็นสมาธิที่ดี ในญาณระดับนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะเห็นสภาวะที่แปลก ๆ มีภาพปรากฏให้เห็น มีแสงสว่างเข้ามาปรากฏอยู่บ่อย ๆ (โอภาส) เนื่องจากผู้ปฏิบัติไม่เคยเห็นแสงสว่างเช่นนี้มาก่อน ก็อาจจะเอาใจใส่ดู หรืออาจจะเข้าใจผิดว่า ตนเองได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ก็เป็นได้ ภาวะเช่นนี้ เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งเป็นเหตุให้วิปัสสนาเศร้าหมอง
วิปัสสนูปกิเลส มี ๑๐ อย่าง คือ แสงสว่าง(โอภาส) ความรู้(ญาณ) ความเอิบอิ่มใจ(ปีติ) ความสงบ(ปัสสัทธิ) ความสุข(สุข) ความน้อมใจเชื่อ(อธิโมกข์) ความเพียร(ปัคคาหะ) การตั้งสติไว้(อุปัฏฐานะ) ความวางเฉย(อุเบกขา) และความใคร่(นิกันติ) กระนั้นก็ตาม ผู้ปฏิบัติก็ยังกำหนดได้ดีกว่าระดับขั้นที่ผ่านมา
ในญาณระดับนี้ การมีกัลยาณมิตรที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติมาก เพราะถ้าผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดพลาด(ไม่มีผู้ชี้ทางให้ ) อาจคิดว่าตนเองได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน ก็จะพลาดโอกาสที่จะได้ผลการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในระดับสูงต่อไป การปฏิบัติในขั้นนี้ จะเป็นเครื่องทดสอบว่าผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติถูกหรือไม่ ในความเป็นจริง ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ยังไม่สามารถกำหนดให้เห็นไตรลักษณ์ได้แจ่มแจ้ง เพราะจิตมักจะถูกวิปัสสนูปกิเลสเข้าครอบงำอยู่เสมอ เมื่อผู้ปฏิบัติได้กัลยาณมิตรก็จะสามารถฟันฝ่าเอาชนะวิปัสสนูปกิเลสได้ ทำให้การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานดำเนินต่อไปได้ ครั้นปฏิบัติมาถึงญาณระดับอุทยัพพยญาณอย่างแก่ (พลวะ) ผู้ปฏิบัติจึงจะสามารถกำหนดรูปนามเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง
อุทยัพพยญาณ คือ ญาณที่เห็นอาการเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมแต่ละประเภทอย่างชัดเจนยิ่ง รูปนามที่เกิดสันตติขาดเป็นห้วงๆ ประหนึ่งคนแกว่งธูป เมื่อแกว่งเร็วก็เกิดดับติดๆ กันไป เราเห็นควันธูปเป็นไม่ดับ แต่ที่แท้ควันธูปดับอยู่เสมอ เรียกญาณนี้ว่า ตีรณปริญญาญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏเสมอกันทั้ง ๖ ทวาร ไม่เจาะจงฝักใฝ่มุ่งหวังเฉพาะรูปนามใดรูปนามหนึ่ง ความสมบูรณ์ของปัญญารู้ชัดเสมอกัน
อนึ่ง ญาณนี้เมื่อสมาธิมากขึ้น นึกอยากจะเห็นอะไรก็เห็นหมด จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นย่อมจะเป็นนิมิตมาให้เห็นได้ทั้งนั้น ฉะนั้นต้องระวังให้มากอย่าอยากเห็นเป็นอันขาด เพราะจะทำให้วิปัสสนารั่วและจะเสียปัจจุบันธรรม ทางนั้นเป็นสมถะไม่ใช่วิปัสสนา
สภาวะของญาณนี้ : ในอุทยัพพยญาณนี้ ก็แบ่งเป็น ๒ ตอนเป็น ตรุณอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง กับเป็นพลวอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง คือ เป็นอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน กับอุทยัพพยญาณ อย่างแก่ คือ ญาณที่ ๔ อย่างอ่อนกับญาณที่ ๔ อย่างแก่
ในขณะที่ญาณที่ ๔ อย่างอ่อน คือตรุณอุทยัพพย ญาณนี้ก็จะทำให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้น ที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง วิปัสสนูปกิเลส คือกิเลสที่จะทำให้ วิปัสสนาเศร้าหมอง คือทำให้วิปัสสนาไม่เจริญขึ้นจะไม่ก้าวหน้า จะหยุดชะงัก ทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นหลงติดอยู่ในวิปํสสนูปกิเลสเหล่านั้น วิปัสสนาก็ไม่เจริญขึ้น ทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ก้าวหน้า อยู่แค่นั้น เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติจะต้องทำความเข้าใจว่า เมื่อถึงขณะนั้นแล้ว มันจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นอย่างใดอย่าง หนึ่ง ก็ให้รู้ทันวิปัสสนูปกิเลสนี้ ที่จริงมันก็เป็นธรรมฝ่ายดี เช่น ปิติ ความสุข ความสงบ เป็นธรรมฝ่ายดี แต่มันเสียตรงที่ว่า เกิดความไปยินดี พอใจ ติดใจในสิ่งเหล่านั้น เรียกว่ามี นิกันติ (ความไปพอใจ) วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญ
วิปัสสนูปกิเลส ที่เกิดมี ๑๐ ประการนั้น
ประการที่ ๑ ก็คือ โอภาส โอภาส ได้แก่ แสงสว่าง เกิดความสว่างขึ้นในใจ จิตใจของบุคคลนั้น จะรู้สึกเกิดความพอใจ กับสิ่งอัศจรรย์ในใจ ที่มันปรากฏขึ้น มีความสว่างในจิตในใจขึ้น มีเหมือนเป็นแสงสว่างอยู่ทั่วตัว เกิดความยินดี พอใจ เมื่อเกิดความ ยินดี พอใจ รูปนามก็มองไม่เห็น ไม่เห็น รูปนาม เพราะมัวติดอยู่กับแสงสว่างเหล่านั้น เรียกว่ามี นิกันติ
ประการที่ ๒ เกิด ญาณะ ญาณะก็คือ ความรู้ เกิดความรู้แก่กล้าขึ้น มีความรู้สึกว่าตัวเองนั้นรู้อะไรทะลุปรุโปร่งไปหมด จะคิด จะนึก จะพิจารณาอะไร มันเข้าใจไปหมด ก็เกิดความพอใจยินดีติดใจในความรู้ของตนที่เกิดขึ้น วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญก้าวหน้า
ประการที่ ๓ ก็คือ ปีติ ได้แก่ความอิ่มเอิบใจ จะมีความอิ่มเอิบใจอย่างมาก อย่างแรงกล้า จิตใจมีความปลื้มอกปลื้มใจ ปิติ อิ่มเอิบ อย่างมาก แล้วก็เกิดความยินดีพอใจ ในปีติเหล่านี้ วิปัสสนาก็ไม่เจริญ
ประการที่ ๔ เกิด ปัสสัทธิ คือความสงบอย่างแรงกล้า จิตใจมีความสงบอย่างมาก มีความนิ่ง ความสงบ ลงไปอย่างมาก แล้วก็เกิดความพอใจ เกิดความยินดี พอใจในความสงบ ที่จริงความสงบมันเป็นเรื่องดี แต่มันไปเสียที่เกิดความยินดีพอใจ ตัวความ ยินดี พอใจ เป็นโลภะ มักจะเกิดขึ้น ถ้ารู้ไม่ทัน
ประการที่ ๕ เกิด สุขะ สุขะคือความสุขอย่างแก่กล้า คือ ความสบายใจ ใจเย็นสบายมาก แล้วก็เกิดนิกันติ คือความพอใจใน ความสบาย เป็นโลภะเช่นกัน วิปัสสนาญาณก็เจริญไม่ได้
ประการที่ ๖ เกิด อธิโมกข์ คือตัดสินใจเชื่อ เกิดความเชื่อลงไปอย่างมากเชื่อถือลงไป แล้วก็ติดใจในความเชื่อถือเหล่านั้น ไม่เห็นรูปนาม อีกเหมือนกัน
ประการที่ ๗ เกิดปัคคหะ คือความเพียรอย่างแรงกล้า ผู้ปฏิบัติจะเกิดความเพียรอย่างมาก เพราะทำให้ไม่มีความพอดี ก็ไม่เห็นรูปนามต่อไป เพราะเกิดความติดใจในความเพียรนั้น
ประการที่ ๘ เกิด อุปัฏฐานะ คือ สติ เกิดสติแก่กล้า มีความรู้สึกว่าสตินี้คล่องว่องไวเหลือเกิน ที่จะกำหนดรู้สภาวธรรมต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบในส่วนต่างๆ จุดต่างๆ สติมีความรับรู้ว่องไวมาก แล้วก็เกิดความพอใจในสติที่มีสติระลึกรู้ได้เท่าทัน ที่จริงสติเป็นเรื่องดี เป็นสิ่งที่ควรเจริญ ให้เกิดขึ้น แต่มันไปเสียตรงที่มีนิกันติ คือมีความยินดีพอใจในสติที่เกิดขึ้น วิปัสสนาก็ก้าวไปไม่ได้
ประการที่ ๙ เกิด อุเบกขา คือ ความเฉยๆ จิตใจมีความเฉยมาก ไม่รู้สึกดีใจเสียใจ ใจมีความเฉย แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดนิกันติ พอใจใน ความเฉยได้ สังเกตได้ยาก มันเฉยแล้วพอใจในความเฉย ไม่โลดโผน วิปัสสนาก็เจริญไม่ได้
ประการที่ ๑๐ นิกันติ ความยินดีติดใจ เป็นตัวสำคัญที่ทำให้วิปัสสนาญาณไม่เจริญ ฉะนั้น ก็เป็นที่เข้าใจว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ที่จริงเป็นเรื่องดี ปิติก็ดี ความสุขก็ดี ความสงบก็ดี ความรู้สติก็ดี มันเป็นเรื่องดีเกิดขึ้นมา แต่ว่ามันเสียตรงที่มีนิกันติ คือความเข้าไปยินดีติดใจ ทำให้การเจริญวิปัสสนานั้น ไม่ก้าวหน้า ไปติดอยู่แค่นั้น
วิธีที่จะผ่านวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไป จะทำอย่างไร? ผู้ปฏิบัติก็ต้องมีความแยบคายในการพิจารณาถึงลักษณะความยินดีพอใจที่เกิดขึ้น สังเกตให้ออกว่าขณะนี้เกิดความพอใจ เช่น เกิดความสงบ มีความรู้สึก พอใจในความสงบอยู่ ก็ให้รู้ทันว่า นี่ลักษณะของความพอใจ เกิดปีติ และเกิดความพอใจในปีติ ก็รู้ว่า นี่พอใจ ๆ เกิดสติ เกิดปัญญา แล้วพอใจ ก็รู้เท่าทันความพอใจ ถ้าเกิดการที่เข้าไปรู้เท่าทันลักษณะของความพอใจได้ ความพอใจนั้นก็จะหลบหน้าไป ก็กลับเป็นปกติขึ้น ก็จะก้าวขึ้นสู่อุทัพพยญาณอย่างแก่ คือ ญาณที่ ๔ อย่างแก่
ในญาณที่ ๔ อย่างแก่ ก็จะเห็นความเกิดดับของรูป-นาม มีความบริสุทธิ์ของการเห็น เห็นรูปเกิดขึ้น ดับไป เกิดขึ้น ดับไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ กำหนดไป ตรงไหน เห็นแต่ความเกิดดับไปหมด เสียงดังมากระทบหูได้ยิน กำหนดรู้ก็เห็นมันเกิดดับไปเลย ใจที่คิดนึก กำหนดรู้เห็น ความเกิดดับไป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกำหนดรู้ถึงความเกิดดับไปทันที ไม่ว่าจะอารมณ์ส่วนไหนก็ตามที่ปรากฏอยู่ เห็นความเกิดขึ้นดับไปอย่างรวดเร็ว นี่เป็นญาณที่ ๔ จากนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไปไม่ลดละ เพ่งดูรูป-นามที่เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้นเรื่อยไป ก็จะขึ้นสู่ญาณที่ ๕
(๕) ภังคานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นความดับแต่อย่างเดียว เพราะความดับของรูปนามเป็นสิ่งที่ตื่นเต้นกว่าความเกิด ต่อมาพอจิตมีปฏิกิริยาใดๆ ต่อสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ถ้าสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ปฏิกิริยานั้นจะดับไปทันที
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๗) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ อารมณ์ที่เป็นบัญญัติหายไป จะทำให้ผู้ปฏิบัติ เห็นอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ชัดเจนขึ้นตามลำดับ
ภังคญาณ คือ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความไม่มีสาระของการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมที่ปรากฏเป็น ปหานปริญญา คือ ปัญญาที่รอบรู้เพิ่มขึ้นละคลายความยินดีในนามรูป เห็นโทษของนามรูปเพิ่มขึ้น ละวิปลาสเสียได้ คือ ละความเห็นว่าเที่ยง ว่าสุข ว่าเป็นตัวตน ว่าสวย ว่างาม
สภาวะของญาณนี้ : ในภังคญาณนี้ ผู้ปฏิบัติจะเห็นแต่ฝ่ายดับ คือ เห็นรูป-นามนั้นดับไป ดับไป อย่างรวดเร็ว เพราะรูป-นามเกิดดับรวดเร็วถี่มาก เมื่อญาณแก่กล้า ความรู้สติปัญญาแก่กล้า เข้าไปทันกับรูป-นามที่ดับเร็ว มันก็เลยเห็นแต่ดับ ๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับไป ดับไป ท่านอุปมาเหมือนยืนอยู่ ในตรอก มองไปปากตรอก ปากตรอกนั้นเห็นรถวิ่งผ่านแว่บ ผ่านไปๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับๆ ๆ ๆ ไป นี่เป็นญาณที่ ๕ เมื่อมีความเพียร ไม่ท้อถอย กำหนดดูไปเรื่อยๆ เห็นรูปนามเกิดดับ ดับไป ดับไป ดับไป ก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ ๖
(๖) ภยตูปัฏฐานญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นภัย เป็นที่น่ากลัว เหมือนคนกลัวสัตว์ร้าย เช่น เสือ เป็นต้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่า ภพชาติทั้งปวง อันหมายถึงการที่จิตเข้าไปอิงอาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น เป็นของไม่ปลอดภัย เนื่องจากอารมณ์ทั้งปวงล้วนแต่เกิดดับ
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติมักเห็น(ภาพนิมิต)สภาพของร่างกายที่มีแต่เพียงกระดูกขาวโพลน กระบอกตากลวงโบ๋ น่าเกลียดน่ากลัวยิ่งนักจนเกิดความรู้สึกว่า ไม่อยากได้รูปนามอีกต่อไป เพราะถ้าได้มาอีก รูปนามก็จะตกอยู่ในสภาพเช่นนี้อยู่ต่อไป
สภาวะของญาณนี้ : เมื่อถึงญาณนี้ ผู้ปฏิบัติจะเห็นรูป-นามที่มันดับไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง จนเกิดความรู้สึกขึ้นในใจว่า เป็นภัยเสียแล้ว เห็นว่ามันเป็นภัย ก่อนนั้นเคยหลงใหล แต่ตอนนี้รู้สึกว่าเป็นภัย คือรูป-นามที่ประกอบเป็นชีวิต เป็นอัตภาพ เป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งดูไปแล้วเป็นแต่รูป-นาม มันจะเห็นว่าก็มันดับอยู่อย่างนี้ มันย่อยยับต่อหน้าต่อตา ไม่ว่าส่วนไหนมันก็ดับไปหมด สิ่งที่ปรากฏให้รู้ดับไป ตัวที่รู้ดับไป ตัวผู้รู้ดับไป มันมีแต่ความ ดับไป ดับไป มันรู้สึกว่าเป็นภัย เป็นภัยเสียแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่น่าอภิรมย์เสียแล้วในชีวิตนี้ เป็นภัย
(๗) อาทีนวญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่ารูปนามนี้เป็นโทษ เหมือนผู้ที่เห็นไฟกำลังไหม้เรือนตนอยู่ จึงคิดหนีจากเรือนนั้น ในระหว่างที่อิงอาศัยอารมณ์นั้น จิตไม่ได้มีความสุขจริง เพราะภพชาติทั้งปวงล้วนแต่มีทุกข์มีโทษในตัวของมันเอง
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะเห็น(ภาพนิมิต) ร่างกายที่ค่อย ๆ พองขึ้นอืดที่บริเวณท้อง ลำตัว แขน หลังมือ หลังเท้า เป็นต้นสักระยะหนึ่งอาการพองอืดก็จะค่อย ๆ ยุบลงตามปกติ
สภาวะของญาณนี้ : ผู้ปฏิบัติจะเกิดความรู้สึกว่า นาม-รูปนี้เป็นโทษ ในขณะที่เห็นรูปนามดับไป ดับไป เกิดความ รู้สึกว่าเป็นโทษ นอกจากจะเห็นภัยแล้ว ยังรู้สึกว่าเป็นโทษอีก
(๘) นิพพิทาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า เกิดเบื่อหน่ายในรูปนาม เบื่อหน่ายในปัญจขันธ์ จิตคลายความเพลิดเพลินพึงพอใจในภพชาติต่างๆ
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกเบื่อหน่ายต่อรูปนาม เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ล้วน ๆ มิใช่เกิดขึ้นเพราะนึกคิดเอาเอง
สภาวะของญาณนี้ : นิพพิทาญาณนี้จะรู้สึกเบื่อหน่าย ในเมื่อเห็นรูป-นาม เป็นภัย เป็นโทษ มันก็รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่ได้ติดใจเลยในรูปนามนี้ มันน่าเบื่อจริงๆ แต่ก็ไม่หนี ไม่ท้อถอย ก็ยังคงดูต่อไป แต่บางคนก็อาจจะเลิกรา เบื่อมาก ๆ เข้า เมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ ๙
(๙) มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าใคร่จะหนีจากรูปนาม ใคร่จะพ้นจากปัญจขันธ์ เปรียบดังปลาเป็น ๆ ที่ใคร่จะพ้นจากที่ดอนที่แห้ง จิตพยายามดิ้นรนแสวงหาทางออกจากภพ หรือการตกอยู่ใต้อำนาจของอารมณ์ต่างๆ
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะอยากหลุดพ้นจากรูป-นาม บางครั้ง ผู้ปฏิบัติเกิดอาการคันอย่างรุนแรง บางครั้งก็เกิดทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า จนอยากหนีไปให้พ้นจากรูปนาม แต่ก็ไม่ได้หนีไปไหน ยังคงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไปอีก
สภาวะของญาณนี้ : มีความรู้สึกใคร่จะหนีให้พ้น เมื่อมันเบื่อแล้วก็ใคร่จะหนี มีความรู้สึกอยากจะหนีไป เหมือนบุคคลที่อยู่ใน กองเพลิง มันก็อยากจะไปให้พ้นจากกองเพลิงเหล่านี้ จากนั้นเมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ ๑๐
(๑๐) ปฏิสังขารญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นเพื่อหาทางที่จะหนี หาอุบายที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากปัญจขันธ์ จิตพบว่าหนีจากอารมณ์หรือภพไม่ได้ เพราะมันไม่อยู่ในอำนาจบังคับของเรา จึงจำเป็นต้องอยู่กับมัน
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติได้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจนที่สุดกว่าทุกญาณที่ผ่านมา การหยั่งรู้ไตรลักษณ์ มีประโยชน์มาก เพื่อจะได้ยกจิตขึ้นสู่ไตรลักษณ์ต่อไป
สภาวะของญาณนี้ : ในปฏิสังขาญาณนี้มันจะหาทางว่าทำอย่างไร ถึงจะพ้นได้ ในเมื่อตอนแรกมันใคร่จะหนี พอถึงญาณอันนี้ ก็หาทาง ที่จะหลุดพ้นให้ได้ เมื่อเพียรพยายามต่อไป ก็จะขึ้นถึงญาณที่ ๑๑
(๑๑) สังขารุเปกขญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า จะหนีไม่พ้นจึงเฉยอยู่ไม่ยินดียินร้าย ดุจบุรุษอันเพิกเฉยในภริยาที่ทิ้งขว้างหย่าร้างกันแล้ว จิตเป็นกลางต่ออารมณ์ เพราะเห็นแล้วว่ามันเป็นของเกิดดับ และหนีมันไม่ได้ ยิ่งพยายามไปปฏิเสธมัน ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น จิตจึงไม่ปฏิเสธอารมณ์ เป็นกลางต่ออารมณ์
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจสงบวางเฉยไม่มีทุกขเวทนารบกวน และสามารถกำหนด สภาวะต่าง ๆ ได้ดียิ่ง ผู้ปฏิบัติได้เห็นคุณค่าของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างมาก
ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือเมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้น เป็นธรรมดา หรือเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพานเลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรคอันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึดหรืออกจากสังขาร
สภาวะของญาณนี้ : สังขารุเปกขาญาณนี้ มีลักษณะวางเฉยต่อรูป-นาม คือ เมื่อกำหนดรู้ หาทางหนี หนีไม่พ้น ยังไงก็หนีไม่พ้น ก็ต้องดูเฉยอยู่ การที่ดูเฉยอยู่นี้ทำให้ สภาวจิตเข้าสู่ความเป็นปกติ ในระดับสูง ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไปเวลาเห็นทุกข์เห็นโทษเห็นภัยนี้ สภาวะของจิตใจจะดิ้นรน ไม่ต้องการจะกระสับกระส่ายดิ้นรน แม้แต่ในวิปัสสนาญาณก่อนหน้าสังขารุเปกขาญาณ ก็ยังมีลักษณะความดิ้นรนของจิต คือยังมีความรู้สึกอยากจะหนี อยากจะให้พ้นๆ สภาวะของจิตยังไม่อยู่ในลักษณะที่ปกติ จริง ๆ มันก็หลุดพ้นไม่ได้ แต่เมื่อมันดูไปจนถึงแก่กล้า แล้วไม่มีทาง ก็ต้องวางเฉยได้ ซึ่งในขณะที่เห็นความเกิดดับเป็นภัยเป็นโทษน่าเบื่อหน่ายอยู่อย่างนั้น มันก็ยังวางเฉยได้ แม้จะถูกบีบคั้นอย่างแสนสาหัส แทบจะขาดใจ มันก็วางเฉยได้ เมื่อวางเฉยได้มันก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ ๑๒
(๑๒) สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นให้คล้อยไปตามอริยสัจจ จิตปล่อยวางอะไรจะเกิดมันก็เกิด ไม่ได้ปรารถนาแม้กระทั่งมรรคผลนิพพาน
ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ คือเมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๔๑) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะพิจารณารูปนามว่า เป็นไตรลักษณ์ ตั้งแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ ๔) ถึงสังขารุเปกขญาณ (ญาณที่ ๔๑) เหมือนพระมหากษัตริย์ ทรงสดับการวินิจฉัยคดีของตุลาการ ๘ ท่านแล้ว มีพระราชวินิจฉัยอนุโลมตามคำวินิจฉัยของตุลาการทั้ง ๘ ท่านนั้น ดังนั้น สัจจานุโลมิกญาณ จึงตรงกับขันติญาณ (ญาณที่ ๔๑) ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ดังที่ท่านพระสารีบุตรนำธรรม ๒๐๑ ประการ มาจำแนกเป็นขันติญาณเช่น รูปที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นอนัตตา รูปใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว รูปนั้น ๆ พระโยคาวจรย่อมพอใจ เพราะฉะนั้นปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่า ขันติญาณ (ญาณในความพอใจ)
สภาวะของญาณนี้ : เป็นญาณที่เป็นไปตามอำนาจกำลังของอริยสัจจ์ ที่จะสอดคล้องต่อไป ในโลกุตตรญาณ จากนั้นก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ ๑๓ เรียกว่า โคตรภูญาณ
(๑๓) โคตรภูญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน ตัดขาดจากโคตรปุถุชนเป็นโคตรอริยชน เมื่อจิตหมดความอยาก (ไม่มีตัณหา - พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ละตัณหาอันเป็นตัวสมุทัย แล้วนิโรธจะปรากฏเอง) จิตก็ปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวง ถอยเข้าหาจิตผู้รู้อย่างอัตโนมัติ
เมื่อว่าโดยชื่อญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๐) และในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ สภาวะจิตของผู้ปฏิบัติได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ข้ามพ้นโคตรปุถุชน บรรลุถึงอริยชน โดยไม่หวนกลับมาอีก ความจริงญาณนี้ แม้มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำลายกิเลสได้หมด เปรียบเหมือนบุรุษที่มาเข้าเฝ้าพระราชา ได้เห็นพระราชาแล้วแต่ที่ไกล เมื่อมีคนมาถามว่า คุณได้เห็นพระราชาหรือยัง เขาก็ตอบว่า ยัง เพราะเขายังไม่ได้เข้าเฝ้า และทำกิจในราชสำนักได้เสร็จสิ้นฉันใดก็ฉันนั้น
สภาวะของญาณนี้ : คือญาณที่มีหน้าที่โอนโคตรจากปุถุชนก้าวสู่ความเป็นอริยะ ในขณะนั้น จะทิ้งอารมณ์ที่เป็นรูปนาม ไปรับนิพพาน เป็นอารมณ์ แต่ว่าโคตร-ภูญาณยังเป็นโลกิยะอยู่ ตัวมันเอง เป็นโลกิยะ แต่มันไปมีอารมณ์เป็นนิพพาน แล้วจากนั้นก็จะเกิดมัคคญาณขึ้นมา
(๑๔) มัคคญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพาน และตัดขาดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาร สติ สมาธิ ปัญญา และธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวง รวมลงที่จิตดวงเดียวเป็นมรรคสมังคี กำลังของมรรคแหวกมโนวิญญาณซึ่งห่อหุ้มปิดบังธรรมชาติอันบริสุทธิ์ออก
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๖) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติได้เสวยนิพพานเป็นอารมณ์เป็นครั้งแรก เห็นแจ้งนิโรธสัจด้วยปัญญาของตนเอง รูปนามดับไปในญาณนี้ หมดความสงสัยในพระรัตน-ตรัยโดยสิ้นเชิง มีศีล ๕ มั่นคงเป็นนิจ กิเลสดับไปในญาณนี้ แม้มีโลภะ โทสะ โมหะ อยู่ แต่จางหายไปได้เร็วพลัน สามารถปิดอบายภูมิได้อย่างเด็ดขาด
สภาวะของญาณนี้ : มัคคญาณนี้เป็นโลกุตตรญาณ จะทำหน้าที่ประหารกิเลสระดับอนุสัยกิเลส ทำหน้าที่รู้ทุกข์ ละเหตุแห่งทุกข์ แจ้งนิโรธ ความดับทุกข์ เจริญตนเองเต็มที่ คือองค์มรรค 8 มีการประชุม พร้อมกัน ทำหน้าที่ละอนุสัยกิเลสแล้วก็ดับลง มีนิพพานเป็นอารมณ์
(๑๕) ผลญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นพระนิพพานโดยเสวยผลแห่งสันติสุข ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ปรากฏตัวขึ้น เป็นความว่าง สว่าง บริสุทธิ์ จิตหมดความปรุงแต่ง หมดการแสวงหา หมดกิริยาของจิต แต่ไม่ใช่หมดความรู้สึกอันเป็นการขาดสติสิ้นเชิง
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๒) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติถึงญาณนี้แม้กิเลสจะถูกประหาณไปได้อย่างเด็ดขาดด้วยมัคคญาณ แต่อำนาจของกิเลสก็ยังเหลืออยู่ เช่นเดียวกับที่เอาน้ำไปรดไอร้อนที่เหลืออยู่ในพื้นที่ไฟไหม้ แต่ไฟนั้นดับแล้ว การประหาณกิเลสด้วยผลญาณก็มีนัยเช่นนี้
สภาวะของญาณนี้ : ผลญาณเป็นโลกุตตรญาณ เกิดขึ้นมา ๒ ขณะ เป็นผลของมัคคญาณ ทำหน้าที่รับนิพพานเป็นอารมณ์ ๒ ขณะ แล้วก็ดับลง
คัมภีร์อรรถกถา อธิบายว่า
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระอริยเจ้าเหล่านั้นจึงเข้าสมาบัติ?
ตอบว่า เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. เหมือนอย่างว่า พระราชาทั้งหลายเสวยสุขในราชสมบัติ เทวดาทั้งหลายเสวยทิพยสุข ฉันใด พระอริยเจ้าทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมกำหนดกาลว่า จักเสวยโลกุตรสุข จึงเข้าผลสมาบัติในขณะที่ต้องการ.
ถามว่า ก็ผลสมาบัตินั้น เข้าอย่างไร หยุดอย่างไร ออกอย่างไร?
ตอบว่า ก่อนอื่นการเข้าผลสมาบัตินั้นมี ๒ อย่าง คือ ไม่มนสิการอารมณ์อื่นจากพระนิพพาน และมนสิการถึงพระนิพพาน เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติสมาบัติ อันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง
คือ การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง และการใส่ใจถึงธาตุที่หานิมิตมิได้.
ก็ในที่นี้ มีลำดับการเข้าผลสมาบัติดังต่อไปนี้ พระอริยสาวกผู้ต้องการผลสมาบัติ ไปในที่ลับ หลีกเร้นอยู่ พึงพิจารณาสังขารด้วยอุทยัพพยญาณเป็นต้น. เมื่อท่านมีวิปัสสนาญาณโดยลำดับ อันดำเนินไปอย่างนี้ จิตย่อมเป็นอัปปนาในนิโรธด้วยอำนาจผลสมาบัติ ในลำดับโคตรภูญาณมีสังขารเป็นอารมณ์. ก็ผลจิตเท่านั้นเกิดมรรคจิตไม่เกิดแม้แก่พระเสกขบุคคล เพราะท่านน้อมไปในผลสมาบัติ.
ส่วนอาจารย์เหล่าใดกล่าวว่า พระโสดาบันคิดว่าจักเข้าผลสมาบัติของตนแล้วเจริญวิปัสสนาเป็นพระสกทาคามี และพระสกทาคามีคิดว่าจักเข้าผลสมาบัติของตนแล้วเจริญวิปัสสนา ได้เป็นอนาคามี ดังนี้
อาจารย์เหล่านั้นพึงถูกต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พระอนาคามีก็จักเป็นพระอรหันต์, พระอรหันต์ก็จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้าก็จักเป็นพระสัมพุทธเจ้า ดังนี้ เพราะฉะนั้น วิปัสสนาจึงให้สำเร็จประโยชน์ตามความยินดีในจิตสันดานตามอัธยาศัย ด้วยเหตุนั้น แม้สำหรับพระเสกขบุคคลก็เกิดแต่ผลจิตเหมือนกัน มรรคจิตไม่เกิด. ถ้าท่านบรรลุมรรคจิตที่สัมปยุตด้วยปฐมฌานไซร้ แม้ผลจิตที่สัมปยุตด้วยปฐมฌานเท่านั้น ก็เกิดแก่ท่าน ถ้าท่านบรรลุมรรคจิตที่สัมปยุตด้วยฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาทุติยฌานเป็นต้นไซร้ ผลจิตที่สัมปยุตด้วยฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาทุติยฌานเป็นต้น ก็ย่อมเกิด.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ โคตรภูญาณจึงไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ เหมือนญาณที่เป็นปุเรจาริกของมรรคญาณ?
ตอบว่า เพราะผลญาณไม่เป็นนิยยานิกธรรม. ความจริง ธรรมคืออริยมรรคเท่านั้นเป็นนิยยานิกธรรม. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นนิยยานิกธรรม? อริยมรรค ๔ ที่เป็นอปริยาปันนะ เป็นนิยยานิกธรรม.
เพราะฉะนั้น ญาณอันเป็นอนันตรปัจจัยแห่งสภาวธรรมที่เป็นนิยยานิกะโดยส่วนเดียว ซึ่งดำเนินไปโดยสภาวะที่ออกจากทั้งสองฝ่าย พึงออกจากนิมิตได้เลย เพราะฉะนั้น โคตรภูญาณนั้น มีพระนิพพานเป็นอารมณ์จึงจะถูก แต่ว่า ญาณที่เป็นปุเรจาริกของผลญาณ ซึ่งมีสภาวะไม่ออกไป เพราะไม่เป็นนิยยานิกธรรม เหตุที่ไม่ตัดขาดกิเลส ซึ่งกำลังเป็นไปโดยเป็นวิบากของอริยมรรคนั้น เพราะได้เจริญอริยมรรคไว้ แม้บางคราวจะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ไม่ถูกไม่ควร เพราะอนุโลมญาณในทั้ง ๒ ฝ่าย มีอาการไม่เสมอกัน.
จริงอยู่ อนุโลมญาณในอริยมรรควิถี อันถึงความบริบูรณ์อย่างอุกฤษฏ์ด้วยโลกิยญาณ อันเป็นเครื่องทำลายกองโลภะเป็นต้น อันมากมายซึ่งไม่เคยแทงตลอดได้อย่างดี เกิดขึ้นอนุโลมแก่มรรคญาณ ส่วนในผลสมาบัติวิถีอนุโลมญาณนั้นๆ ไม่มีความขวนขวายในอริยมรรควิถีนั้น เพราะตัดกิเลสนั้นๆ ได้เด็ดขาด เกิดเป็นเพียงบริกรรมแห่งความพรั่งพร้อม ด้วยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายอย่างเดียว เพราะฉะนั้น อนุโลมญานเหล่านั้น จึงไม่มีการออกจากปัจจัยไหนๆ เพราะญาณในที่สุดแห่งอนุโลมญานเหล่านั้น อันมีสังขารเป็นนิมิต พึงมีพระนิพพานเป็นอารมณ์จากการออกจากสมาบัติ
(๑๖) ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นใน มัคคจิต,ผลจิต,นิพพาน, กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังคงเหลืออยู่
เมื่อว่าโดยชื่อ ญาณนี้ปรากฏในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๔) และในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติได้พิจารณากิเลสที่ตนละได้และที่ตนยังละไม่ได้ สำหรับกิเลสที่ยังละไม่ได้ ผู้ปฏิบัติก็จะมุ่งหน้าเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อที่จะได้บรรลุคุณธรรมที่สูงขึ้นไป จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์
สภาวะของญาณนี้ : ญาณพิจารณา มรรค ผล นิพพาน เป็นญาณพิจารณา เหมือนคนที่ผ่านเหตุการณ์อะไรมา ก็จะกลับพิจารณาสิ่งที่ผ่านมา แต่ญาณนี้ พิจารณามรรคที่ตนเองได้ พิจารณาผลที่ตนเองได้ พิจารณาพระนิพพาน และถ้าคนมีหลักปริยัติ ก็จะพิจารณากิเลสอันใด ที่ละ ไปได้แล้ว กิเลสอันใดที่ยังเหลืออยู่ และถ้าคนไม่มีหลักปริยัติก็พิจารณาแค่ มรรค ผล นิพพาน ในระหว่างที่ญาณ ก้าวขึ้นสู่อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณนี้ ท่านก็อุปมาให้ฟัง เหมือนกับ บุคคลที่จะก้าวกระโดดข้ามฝั่ง ฝั่งมันอยู่ไกล ก็โหนเถาวัลย์ ก็ต้องอาศัยกำลังที่วิ่งมาอย่างแรง วิ่งมาด้วยความไว แล้วก็เหนี่ยวเอาเถาวัลย์โยนตัวขึ้นไป ในขณะที่โยนตัวขึ้นไป ก็เหมือนเป็นอนุโลมญาณ คล้อยไป พอข้ามไปถึงฝั่งหนึ่งก็ปล่อยเถาวัลย์นั้น ในขณะที่ปล่อยนั้นเหมือนกับโคตรภูญาณ คือปล่อยอารมณ์ที่เป็นโลกิยะ ได้แก่รูปนาม ไปรับนิพพานซึ่งเป็นโลกุตตระเป็นอารมณ์ แล้วก็ตกลงถึงพื้น ในขณะตกลงถึงพื้น เหมือนเป็นมัคคญาณ แล้วพอตั้งหลักได้ ก็เป็น ผลญาณเกิดขึ้น หลังจากนั้นก็พิจารณา แต่ว่าในสภาวธรรมของโลกุตตระ มันเป็นธรรมที่พ้นโลก ผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงแล้ว ก็ไม่สามารถนำมาแสดง ให้แจ่มแจ้งได้ เพราะมัน เป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน บุคคลอื่นที่ยังเข้าไม่ถึงจะไม่สามารถจะทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง เพราะว่า ความคิดความอ่านของปุถุชน ก็จะมีความรู้สึกที่อยู่ในโลก เป็นไปในโลกนี้ มันจะมีขอบเขตของการนึกคิด ความเข้าใจอยู่ในโลก ส่วนสภาพโลกุตตรธรรมที่พ้นโลกนั้น ปุถุชนจะคิดไปไม่ถึงเลย จะไม่สามารถจะทำ ความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้
นี่ก็เป็นการแสดงลำดับความเป็นไปพอสังเขปของวิปัสสนาญาณ ที่ทำให้บรรลุความเป็นอริยบุคคล ผ่านญาณ ๑๖ รอบที่ ๑ ก็ได้สำเร็จเป็นโสดาบัน กิเลสยังไม่หมด แต่ว่าตัดออกไปได้ บางส่วน แต่ส่วนไหนที่ตัดขาดไปแล้ว จะไม่เกิดขึ้นในจิตใจอีกเลย เช่น ความสงสัยจะไม่เกิดขึ้นอีกเลย ความโลภที่ประกอบไปด้วยความเห็นผิด หมดไปเลยจากจิตใจ จะมีเห็นอย่างถูกต้อง เข้าใจอย่างถูกต้อง แต่ว่าก็ยังมีความโลภบางอย่าง มีโทสะบางอย่าง แต่ว่าไม่รุนแรงถึงขนาดที่จะกระทำอกุศลกรรม ชนิดที่จะนำไปสู่อบาย โสดาบันนี้ ศีล ๕ จึงบริสุทธิ์ จะไม่ล่วงศีล 5 เป็นเด็ดขาด แต่ก็ยังมีความโลภ ยังมีความโกรธ แต่ว่าไม่มีความอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความตระหนี่ นี่เป็นลักษณะของโสดาบัน ก็เท่ากับทำลายภพชาติ ไปมากมาย การที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปก็จะเกิดอย่างมาก ๗ ชาติ ก็จะสำเร็จเป็นอรหันต์ ถึงแม้จะขาดความเพียร เกิดไป ๆ ๗ ชาติยังไงก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วก็ปรินิพพาน ก็พ้นจากการเวียนว่าย ตายเกิด แต่ถ้าหากบุคคล ได้เพียร พยายามต่อไป สามารถที่จะดำเนินผ่านญาณ ๑๖ อีกรอบหนึ่ง ก็ลักษณะ เดียวกัน ผ่านญาณ ๑๖ รอบที่ ๒ ก็เป็น สกทาคามิบุคคล ผ่านญาณ ๑๖ รอบที่ ๓ ก็เป็น อนาคามิบุคคล ผ่านญาณ ๑๖ รอบที่ ๔ ก็หมดสิ้นกิเลส เป็นพระอรหันต์ เป็นอเสขบุคคล ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไป พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง
ฉะนั้น ในขั้นต้นนี้เป็นสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจให้ดี ส่วนบั้นปลายก็เป็นไปสอดคล้องของมันไปเอง ขอให้เราทำถูกในขั้นต้น คือ มีสติกำหนดรู้รูป-นามให้ตรง รูปนามที่เป็นปัจจุบัน เราจะเห็นว่า ในญาณทุกญาณ ที่จะส่งไปถึงโลกุตตรญาณนั้น ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ไปจนถึงอนุโลมญาณ จะมีรูปนาม เป็นอารมณ์ทั้งนั้นเลย มีรูปนามเกิดดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอารมณ์ ฉะนั้นรูป-นามจึงเป็นทางเดินของวิปัสสนา วิปัสสนาจะต้องมีรูป-นามเป็นอารมณ์ ถ้าขณะใดอารมณ์ตกไปจากรูป-นาม ไปดูอย่างอื่น ก็แสดงว่าตกไปจากทางของวิปัสสนา เช่น ไปดูภาพนิมิต ไปอยู่กับความว่าง ไปติดอยู่กับ ความสงบ ไม่เห็นรูป-นาม มันก็ไปได้แค่นั้น
ฉะนั้น จุดยืนของวิปัสสนา คือมีรูปนามเป็นอารมณ์ตลอดเวลา เราก็เพียรพยายาม ที่จะกำหนดรู้เท่าทันรูปนาม ที่เกิดขึ้นให้ได้ปัจจุบันๆ ก็จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นไปตามลำดับ ฉะนั้น ขั้นต้นเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจ อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม อะไรไม่ใช่รูปไม่ใช่นาม คือ สมมุติบัญญัติ เพื่อกำหนดจะได้ปล่อยวางจากสมมุติบัญญัติ คือ ชื่อต่าง ๆ ภาษา รูปร่าง ความหมาย ซึ่งเป็นสมมุติบัญญัติออกไป กำหนดให้ตรงปรมัตถ์ และให้ได้ปัจจุบัน และเข้าไปสู่ความปกติ ไม่บังคับ ไม่เคร่งเครียด มันก็จะเห็นธรรมะ เห็นความเป็นจริงของชีวิต
สรุปความว่า โสฬสญาณญาณ ๑๖ ประการนี้ได้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใด้ตรัสสอนลำดับญาณดังที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรก็เป็นผู้รู้พระพุทธประสงค์จึงได้ตั้งชื่อญาณต่าง ๆ ดังที่กล่าวแล้ว แต่กระนั้นก็มีเนื้อหาในพระสูตรบางแห่งที่สื่อให้เห็นสภาวะของ
กราบนมัสการท่าน อ.มหประเสริฐ
ท่านรู้จัก ขันธ์ ๕ อย่างชัดเจนแล้วเหรอครับท่านจึงว่าตนเองถึงญาณที่ ๑๑ แล้วขันธ์ ๕ที่ท่านรู้มีอาการอย่างไรครับ
ขอกราบเรียนตามตรงผมกำลังคิดว่าท่านกำลังหลงทาง
ขอท่านได้โปรดอธิบายให้ละเอียดด้วยครับ
ถือว่า กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง นะครับผม
กราบนมัสการครับ
กำหนดอาการพองของท้องว่า "พองหนอ"
อาการพองขึ้น..ตึงขึ้น..ขยายขึ้น..(ของท้อง.).เป็นวาโยโผฏฐัพพธาตุ... เป็นรูปขันธ์ครับ
จิตที่ส่งไปกำหนดรู้..ว่ากำลังพองออก ขยายออก..เป็นวิญญาณขันธ์
อาการที่จิตรู้ว่าพอง..เป็นสังขารขันธ์
ปราโมทย์ที่เกิดจากการเห็นอาการดับไปของอาการพองอย่างชัดเจน ...เป็นสังขารขันธ์
จิตที่กำหนดเห็นปราโมทย์..จนเห็นอาการดับ...เป็นวิญญาณขันธ์
เรื่องนี้ละเอียดมากครับ..ต้องปฏิบัติเองถึงจะรู้
และที่สำคัญ..ขณะปฏิบัติ..รู้โดยปรมัตถ์...ใช่ว่าทุกคนจะบรรยายออกมาเป็นภาษาบัญญัติได้...ถึงจะได้ก็ใช่ว่าจะตรงซะที่เดียว...เพราะเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าครับ...
คุณเชื่อหรือไม่..มีพระอรหันต์มากมายที่แสดงธรรมใด ๆ ไม่ได้เลย
ถ้าอยากรู้มากกว่านี้ อ่านที่นี้ครับ
http://www.tlcthai.com/club/list_topic.php?page=1&club=buddhism&club_id=1278&table_id=1&cate_id=788
สรุปความว่า โสฬสญาณญาณ ๑๖ ประการนี้ได้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใด้ตรัสสอนลำดับญาณดังที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรก็เป็นผู้รู้พระพุทธประสงค์จึงได้ตั้งชื่อญาณต่าง ๆ ดังที่กล่าวแล้ว แต่กระนั้นก็มีเนื้อหาในพระสูตรบางแห่งที่สื่อให้เห็นสภาวะของ
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.197.32 [13 มิ.ย. 2551 17:48 น.] คำตอบที่ 23
*******************************
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี
สรุปความว่า โสฬสญาณญาณ ๑๖ ประการนี้ได้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
*****************************
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ญาณ 16 (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ 16 นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=345
*********************************
เืชื่่อใครดี ระหว่าง มหาประเสริฐ ผู้บรรลุ ญาน ๑๑ กับ พระพรหมคุณาภรณ์ ผู้เขียนพจนานุกรมพุทธศาสตร์
และ ระหว่าง ญาณ ๑๖ ที่ มหาประเสริฐยกมา ซึ่งไม่มีในพระไตรปิฎก แต่อ้างว่าปรากฎในพระไตรปิฎก
กับ ๗๓ ญาณ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ท่านผู้อ่านพิจารณากันเองนะครับ ...... การโปรโมทตัวเองควรอยู่ในขอบเขต
และควรคำนึงถึงสถานภาพตนเองด้วยนะครับ ว่าท่านอยู่ในเพศบรรพชิต
การตู่พระธรรม การอวดอุตริมนุสสธรรม น่ะ พระวินัยกำหนดไว้อย่างไรกรุณาศึกษาด้วยนะครับ
ขอเตือนท่านด้วยความเจตนาดี เพื่อไม่ให้ศาสนาพุทธมัวหมองเพราะผู้ที่ได้ชื่อว่า "ภิกษุ" อย่างท่าน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=31&item=0&items=1&preline=0&pagebreak=0
ท่านเว็ปมาสเตอร์ิครับ เชื่อว่าท่านคงรักษากฎ กติกา ที่ท่านกำหนดขึ้น
๑.โปรดงดเว้นการแสดงหลักธรรมที่ขัดต่อหลักพระไตรปิฎก
เพื่อความถูกต้องของหลักธรรมขององค์พรสสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ
และเพื่อการป้องกันมิจฉาทิฏฐิที่จะมาระบาดในเว็ปนี้ครับ
กราบนมัสการครับ ท่าน อ.มหาประเสริฐ
ขอกราบเรียนกระผมปฏิบัติมาอย่างนี้ครับ เบื้องแรก นามรูปปริเฉทญาณ กระผมเกิดดังนี้ครับ ในขณะที่นั่งสมาธิจิตรวมในระดับหนึ่งนั่งนานไปแล้วเกิดเวทนาที่ขา ผมส่งจิตไปยังเวทนาปรากฎว่าเกิดความรู้แสดงขึ้นมาในขณะนั้นว่า เวทนาที่ขา ร่างกาย และจิตแยก ออกเป็น สามส่วนไม่เกี่ยวข้องกัน นั้นเป็นครั้งแรก ต่อมาผมก็ปฏิบัติสมาธิภาวนาไปเรื่อย แล้ววันหนึ่งผมนั่งสมาธิไปปรากฎว่าจิตรวมลงความรู้สึกว่าร่างกายหายไปเหลือแต่จิตผมจึงพิจารณาลงไปที่จิตปรากฎว่าเห็นสังขาร(ความคิดความปรุง) ผุดขึ้นแล้วดับไปแต่จับไม่ได้ว่าคิดอะไรบ้างเพราะสัญญา(ความจำได้หมายรู้) ไม่จับความคิด วันหนึ่งผมกำลังอาบน้ำในห้องน้ำพิจารณาธรรมไปเรื่อย ๆ แล้วมองรูปตัวเองในกระจก เห็นตัวเองในกระจกเหมือนกับอะไรที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ไม่ใช่ตัวตน คน สัตว์ หรืออะไรบอกไม่ถูก วันหนึ่งผมเห็นผู้หญิงเกิดความกำหนัดผมใช้สติจับสัญญาในรูปผู้หญิงคนนั้นไว้ในจิตแล้วทำใจโดยแยบคายเหมือนพลิกสัญญานั้นทำให้ความกำหนัดหายไป ปัจจุบันผมขับรถไปด้วยภาวนาไปด้วยมองดูร่างกายของตนเองเป็นคนละสิ่งกับจิต มองดูแขนตนเองเหมือนกิ่งไม้ยื่นออกไปรู้สึกว่าไม่ใช่ตนเอง ปัจจุบันถ้าผมย้อนความรู้สึกเข้ามาหาจิตผมสามารถแยกความรู้สึกระหว่างร่างกายกับจิตได้ทันที และผมพยายามพิจารณาที่จิตเพื่อค้น เวทนาใน สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ชัดเจนขึ้นเรื่อยครับ และมีอีกหลายเหตุการณ์ครับสาธยายไม่หมดเพราะ ปฏิบัติมาแล้ว ๗ ปี และต้องรู้ว่าขันธ์ทั้ง ๕ แยกจากกันอย่างชัดเจนครับ จึงเรียกว่ารู้จักขันธ์ ๕ ครับ ความรู้ตรงนี้จะสัมผัสสัมพันธ์ไปยัง อายตนะ 12 ด้วยครับ เป็นสันทิฏฐิโก และปัจจัตตังครับ
ส่วนอาการพองยุบที่ท่านว่าเป็นกายคตาสติครับ ถ้าเป็นวาโยธาตุเช่นอานาปานสติจะเห็นสติตั้งอยู่และความรู้สึกของร่างกายจะรับสัมผัสลมเองโดยอัตโนมัติครับไม่ได้ต้องไปบังคับการหายใจเลยครับ และความรู้สึกของวาโยธาตุจากอานาปานสติจะรู้สึกละมุนละไมแลนุ่มนวลในจุดสัมผัสลมครับ
อาการที่จิตรู้ว่าท้องยุบท้องพองเป็นกายคตาสติครับ สังขารขันธ์คือความคิดความปรุงครับ
วิญญาณขันธ์ เมื่อกำหนดจิตให้นิ่ง ส่งกระแสจิตไปที่เสียงจะรู้สึกว่าเสียงกระทบหู แต่คนละส่วนกับจิต (ส่วนของวิญญาณผมยังเห็นไม่ชัดเจนสติกำลังขุดคันอยู่ครับ)
นี่ครับคือวิถีปฏิบัติของผม และขันธ์ ๕ ที่ผมรู้ด้วยตนเองครับ
ขอความคิดเห็นของท่าน อ. ด้วยครับ
กราบนมัสการครับ
ส่วนอาการพองยุบที่ท่านว่าเป็นกายคตาสติครับ ถ้าเป็นวาโยธาตุเช่นอานาปานสติจะเห็นสติตั้งอยู่และความรู้สึกของร่างกายจะรับสัมผัสลมเองโดยอัตโนมัติครับไม่ได้ต้องไปบังคับการหายใจเลยครับ และความรู้สึกของวาโยธาตุจากอานาปานสติจะรู้สึกละมุนละไมแลนุ่มนวลในจุดสัมผัสลมครับ
**********************************************
สำนักไหน..สอนพองยุบ... แล้วให้บังคับลมครับ...สอนเช่นนั้นไม่ถูกต้องครับ...
ท่านมหาประเสริฐ ท่านถูกพระพม่าหลอกแล้วครับ
เป็นสภาวะที่พระพม่าเขียนกำหนดหลักสูตรขึ้นเองทั้งสิ้นครับ
ไม่อิงตามคำสอนครับ.. กำหนดสภาวะผิด ..ย่อมวิเคราะห์ไม่ถูกต้อง..
แก้อารมณ์(ศัพท์ใหม่ที่เขากำหนด) ..ปฏิบัติก็ผิดครับ
เพื่อนผมที่เคยบวชผ่านสำนักแบบนี้แล้ว(ที่เขาใหญ่) เล่าให้ฟังหลายอย่างครับ
พระที่ปฏิบัติด้วยกันหลายรูปต้อใช้วิธี "ลอกอารมณ์" (เหมือนลอกข้อสอบ
ยังไงยังนั้นเลย) กันเพื่อจะได้ผ่านญาณที่สะยาดอกำหนด
บางคน โดนจับได้ เพราะลอก(เล่า)สภาวะคล้ายๆกัน เหมือนกัน
สะยาดอ (หรือบางทีก็ให้คนแปลตรวจสอบอารมณ์) ก็เดาว่าลอกกัน..ไม่ผ่านให้
ก็มีครับ (เฮ้ย!!..ฟังแล้วกลุ้ม)
ไม่ว่าจะปฏิบัติแล้วเห็นอะไร สะยาดอจะต้องให้ลงท้ายว่า "หนอ" เอาไว้ทุกครั้ง
..ถ้าไม่ลงท้ายด้วย "หนอ" ท่านก็จะไม่ให้ผ่านครับ
เพื่อผมก็เลยต้องลงท้ายด้วย"หนอ" ก็ผ่านครับ
มาตรฐานตามความคิดของสะยาดอ และคนแปล(ล่ามแปลภาษาพม่า)ครับ
พระที่ปฏิบัติเครียดกันมากครับ ถึงจะเห็นหรือไม่เห็นแสงอะไร
เพื่อนผมก็ได้ญาณ 11ตามมาตรฐานของสะยาดอครับ
และถ้าปฏิบัติต่อ(โดยไม่สึก)อีกไม่กี่เดือน เพื่อนผมก็จะได้ญาณ 14ครับ
หลักสูตรนี้ พระพม่าจะขยายต่อไปภายหน้าจะให้ใบประกาศนียบัตรเป็นโสดาบัน
ถึงอรหันต์ ใครอยากได้เป็นพระโสดาบัน-พระอรหันต์ ต้องมาเข้าหลักสูตรนี้
..เขาเอากันขนาดนี้ครับ (เฮ้ย!!)
จะเอาตำรา(ที่ท่านมหาประเสริฐนับถือว่าไม่ตกหล่น)ไปจดทะเบียนเป็น
"สิทธิบัตร" ห้ามลอก ห้ามเลียนแบบ...(ขนลุก..คิดกันได้ครับ)
ตอนนี้ กำลังเผยแพร่ที่ออสเตรเลียครับ
ภัยของพระพุทธศาสนาชัดๆเลยนะครับ
ถอนตัวท่านออกมาเถิดครับท่านมหาประเสริฐ
เจริญในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิดครับ
ถึงคุณชาวพุทธครับ....
คุณรู้ขอบเขตของการอวดอุตริมนุสธรรมมากน้อยแค่ไหน....ถ้าคุณรู้จริง...ผู้ของความรู้ด้วยนะครับ..
และเรื่องญาณ ๑๑ ..คุณรู้กลไกเสื่อมถอยของญาณมากน้อยแค่ไหนครับ...ถ้ารู้..ผมของความรู้ด้วยนะครับ.....
อยากรู้จริง ๆ......กรุณาไขข้อของใจ..ของผู้ด้วยปัญญาด้วยนะครับ......
เมื่อปฏิบัติสภาวญาณสูงขึ้น ....หนอต้องตัดทั้งนะครับ...
รู้ไม่จิงนี่หน่า........
และบางขณะ....บางสภาวะ ...แม้แต่คำบริกรรมยังต้องตัดออกเลยครับ..
ท่านถูกพระที่เหลวไหลในการปฏิบติ...หลอกให้แล้วละครับ.......
ผมขอท้างอย่างนี้.....
ขอให้ท่านปฏิบัติแบบพอง-ยุบอย่างถูกวิธีดู....ภายในหนึ่งเดือน...หากไม่เกิดวิปัสสนูปกิเลส....ท่านจะเอาอะไร.....????....เพราะวิปัสสนูปกิเลสจะเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกวิธีเท่านั้น
....แต่เมื่อเกิดวิปัสสนูปกิเลสแล้วก็อย่ายึดติด..จึงจะข้ามเข้าสุ่ญาณต่อไปได้ครับ
กราบนมัสการท่าน อ.มหาประเสริฐครับ
ผมกราบเรียนว่า "ไม่ได้ต้องไปบังคับการหายใจเลยครับ" ช่วงเว้นวรรคทำให้เข้าใจผิดครับ ไม่ต้องบังคับลมตรับ สติจะจับจุดสัมผัสลมเองอัตโนมัติครับ
กราบเรียนตามตรงท่านสะยาดอท่านผิดทางแล้วครับ
ถ้าท่านยอมรับได้ในการแสดงออกของผมซึ่งถือว่าต่ำกว่าท่าน แสดงว่าจิตใจท่านเลิศใช่มั้ยครับ
กราบนมัสการครับ
การปฏิบัติแบบบังคับสภาวะ ...ไม่ว่าแบบไหน..ไม่จัดเป็นวิปัสสนาครับ
และการปฏิบัติแบบพองยุบที่ถูกต้อง...ก็ไม่ให้บับคับสภาวะครับ...ไม่ได้ต่างจากอานาปานสติ...ต่างแต่เปลี่ยนฐานกำหนดเท่านั้นเองครับ....
กราบนมัสการท่าน อ.มหาประเสริฐ
ไม่ว่าจะอะไรก็ตามขอให้ตั้งสติให้ได้นะครับ จับสติผูกไว้กับยุบหนอพองหนอนะครับ อุทธัจจะจะผ่อนคลายลงไปหรือหมดไปได้ครับ สำคัญที่สติครับ ต้องให้สติธรรมเด่นขึ้นมาครับ
ขออนุโมนาในความตั้งใจที่บริสุทธิ์ของท่านครับ
ขอกราบนมัสการครับ
สาธุ ครับ
๑. ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว
เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การฟัง]
1. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม )
๒. ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้
เป็นสีลมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล]
2. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ดี เป็นต้น)
๓. ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี
เป็นภาวนามยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ]
3. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)
๔. ปัญญาในการกำหนดปัจจัย
เป็นธรรมฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม]
4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด)
๕. ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้
เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการพิจารณา]
5. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด)
๖. ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบัน
เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
6. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น)
๗. ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป
เป็นวิปัสนาญาณ [ญาณในความเห็นแจ้ง]
7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์)
๘. ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย
เป็นอาทีนวญาณ [ญาณในการเห็นโทษ]
8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ)
๙. ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉยอยู่
เป็นสังขารุเบกขาญาณ
9. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น)
๑๐. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก
เป็นโคตรภูญาณ
10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป)
๑๑. ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง
เป็นมรรคญาณ
11. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้)
๑๒. ปัญญาในการระงับประโยค
เป็นผลญาณ
12. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป)
๑๓. ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว
เป็นวิมุติญาณ
13. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล)
๑๔. ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น
เป็นปัจจเวกขณญาณ
14. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น)
๑๕. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน
เป็นวัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ]
15. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ)
๑๖. ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก
เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร]
16. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)
ลองเทียบ โดยหมายเลขบอกลำดับของญาณ เริ่มจาก ๑๖ ญาณ ก่อน
เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจเรื่องญาณจะได้เปรียบเทียบ ระหว่าง ๗๓ ญาณในพระไตรปิฎก ของพระอริยะ
กับ ๑๖ ญาณ ของพระสายวิปัสสนาแต่งกันขึ้นมาสอน
ญาณที่ ๑๗ ถึง ๗๓ อ่านใน คห ต่อไปนะครับ
ในวิปัสนาญาก ๑๖ และ วิปัสนาญาณ ๙ พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านมีหมายเหตุไว้ข้างล่างดังนี้..
และอ่านตามลิงค์ที่ นำมาให้นะครับ
ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค
แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ 5
ตามแนวไตรลักษณ์) เข้ามาเป็นข้อที่ 1 จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ 10 และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้
คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ
ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=311
ในญาณ 16 นี้ 14 อย่าง (ข้อ 1-13 และ 16) เป็น โลกียญาณ, 2 อย่าง (ข้อ 14 และ 15)
เป็น โลกุตตรญาณ
ญาณ 16 (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ 16 นั่นเอง)
ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง
พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=345
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=31&item=0&items=1&preline=0&pagebreak=0
๑๗. ปัญญาในการกำหนดจริยา
เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา]
๑๘. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔
เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ]
๑๙. ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙
เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]
๒๐. ปัญญาที่รู้ยิ่ง
เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้]
๒๑. ปัญญาเครื่องกำหนดรู้
เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา]
๒๒. ปัญญาในการละ
เป็น ปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ]
๒๓. ปัญญาเครื่องเจริญ
เป็นเอกรสัฏฐญาณ [ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว]
๒๔. ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง
เป็นผัสสนัฏฐญาณ [ญาณในความว่าถูกต้อง]
๒๕. ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ
เป็นอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
๒๖. ปัญญาในความต่างแห่งธรรม
เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
๒๗. ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ
เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
๒๘. ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ
เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
๒๙. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม
เป็นวิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่]
๓๐. ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ
เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ]
๓๑. ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ
เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ]
๓๒. ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน
เป็น อานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ]
๓๓. ทัสนาธิปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรม
อันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต
เป็นอรณวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก]
๓๔. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒
ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙
เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ]
๓๕. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว
เป็นปรินิพพานญาณ
๓๖. ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ
เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน]
๓๗. ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา]
๓๘. ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป
เป็นวิริยารัมภญาณ
๓๙. ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ
เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม]
๔๐. ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกัน
และธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ
๔๑. ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น
เป็นขันติญาณ
๔๒. ปัญญาในความถูกต้องธรรม
เป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป]
๔๓. ปัญญาในการรวมธรรม
เป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง]
๔๔. ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี
เป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี]
๔๕. ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ
เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยใจ]
๔๖. ปัญญาในการอธิษฐาน
เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิต]
๔๗. ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า
เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน ความหลีกไปด้วยญาณ]
๔๘. ปัญญาในความสลัดออก
เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์]
๔๙. ปัญญาในความว่าธรรมจริง
เป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ]
๕๐. ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต
[จิตมีญาณเป็นบาท] เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา
[สัญญาประกอบด้วยอุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา
[สัญญาเบาเพราะพ้นจากนิวรณ์และปฏิปักขธรรม]
เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]
๕๑. ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว
ด้วยสามารถการแผ่วิตกไป
เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ]
๕๒. ปัญญาในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว
ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใส
แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
เป็นเจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน]
๕๓. ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย
ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว
เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้]
๕๔. ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว
ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ
๕๕. ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔
เป็นอาสวักขยญาณ [ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย]
๕๖. ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ
๕๗. ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ
๕๘. ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็น นิโรธญาณ
๕๙. ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ
๖๐. ทุกขญาณ [ญาณ ในทุกข์]
๖๑. ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์]
๖๒. ทุกขนิโรธญาณ [ญาณในความดับทุกข์]
๖๓. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับทุกข์]
. อรรถปฏิสัมภิทาญาณ
๖๕. ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
๖๖. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
๖๗. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
๖๘. อินทริยปโรปริยัติญาณ [ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย]
๖๙. อาสยานุสยญาณ
[ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย]
๗๐. ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์]
๗๑. มหากรุณาสมาปัตติญาณ
๗๒. สัพพัญญุตญาณ
๗๓. อนาวรณญาณ
ญาณเหล่านี้รวมเป็น 73 ญาณ ในญาณทั้ง 73 นี้
ญาณ 67 [ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก
ญาณ 6 [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก
เป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ .
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=31&item=0&items=1&preline=0&pagebreak=0
ถึงคุณชาวพุทธครับ....
คุณรู้ขอบเขตของการอวดอุตริมนุสธรรมมากน้อยแค่ไหน....ถ้าคุณรู้จริง...ผู้ของความรู้ด้วยนะครับ..
และเรื่องญาณ ๑๑ ..คุณรู้กลไกเสื่อมถอยของญาณมากน้อยแค่ไหนครับ...ถ้ารู้..ผมของความรู้ด้วยนะครับ.....
อยากรู้จริง ๆ......กรุณาไขข้อของใจ..ของผู้ด้วยปัญญาด้วยนะครับ......
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.197.32 [13 มิ.ย. 2551 20:21 น.] คำตอบที่ 30
************************
ตามที่ท่านมหาฯ ถามู้กลไกเสื่อมถอยของญาณ ๑๑ ของท่าน ผมไม่ทราบครับ เพราะไม่คิดที่จะศึกษา
สิ่งที่พระปุถุชนแต่งกันขึ้นมา เทียบเคียง ญาณที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎก
ปัญญาของผม มิอาจเทียบปัญญาของพระพุทธองค์ได้ครับ จึงต้องอาศัย พระไตรปิฎกเป็นแนวทางศึกษา
ส่วนการอวดอุตริฯ นั่น ท่านคงต้องศึกษาเองในพระวินัย จากพระไตรปิฎก เองครับ
อ่านจากที่ท่านถามมา ทำให้ทราบว่าท่านไม่เคยอ่านมา
ท่านมหาคงต้องค้นคว้าหาเองแล้วครับ
ผมนึกว่าท่านรู้..จึงมากล่าวหาผมรุนแรงซะขนานนี้...ที่แท้ก็แค่นักอ้างตำรา.....
ไม่รู้แล้วชี้...ปัญหาจึงเกิด....
**************
ประมาณ ๑๕ วันต่อมา (ตอนนั้นข้าพเจ้าถึงญาณที่ ๑๑แล้ว) เวลาประมาณ ๓ ทุ่มครึ่ง ข้าพเจ้ากำลังเตรียมตัวจำวัด ก็ได้ยินเสียงคล้ายเด็กร้องให้ สะอื้นเบา ที่ระเบียงใกล้หน้าต่าง บางครั้งก็ร้องให้ บางครั้งก็หัวเราะบ่นพึมพำสลับกันไป ทำให้ข้าพเจ้าขนพองสยองเกล้าขึ้นมาทันที "เราโดยผีหลอกเข้าให้แล้ว" ......
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.216.185 [13 มิ.ย. 2551 05:21 น.] คำตอบที่ 20
**************
ผมนึกว่าท่านรู้..จึงมากล่าวหาผมรุนแรงซะขนานนี้...ที่แท้ก็แค่นักอ้างตำรา.....
ไม่รู้แล้วชี้...ปัญหาจึงเกิด....
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.197.32 [14 มิ.ย. 2551 06:46 น.] คำตอบที่ 39
ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดูนะเจ้าค่ะ พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี มีเจตนาที่จะคุยโม้โอ้อวดจริงหรือไม่ ?
เราชาวเว็ปธรรมะไทยไม่ได้ตั้งใจจะปรับความผิดท่านเจ้าค่ะ
การที่ท่านชาวพุทธ..ตักเตือนท่าน ไม่ยกมาแสดงให้ท่าน บอกให้ท่านไปอ่านเองนั้น น้ำเค็มว่าเป็นการหวังดีต่อท่าน เป็นการรักษาหน้าของท่านเอาไว้เจ้าค่ะ ถ้ายังไม่เคยอ่านน้ำเค็มก็จะยกมาให้อ่านเจ้าค่ะ
บทภาชนีย์
[๒๓๖] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่
๑. ฌาน
๒. วิโมกข์
๓. สมาธิ
๔. สมาบัติ
๕. ญาณทัสสนะ ...ท่านกล่าวว่า(ตอนนั้นข้าพเจ้าถึงญาณที่ ๑๑แล้ว)....
๖. มัคคภาวนา
๗. การทำให้แจ้งซึ่งผล
๘. การละกิเลส
๙. ความเปิดจิต
๑๐. ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
พระวินัยปิฎกเล่ม 1 เจ้าค่ะ
ชาวเว็ปธรรมะไทยไม่ใช่นักอ้างตำราเจ้าค่ะ
ชาวเว็ปธรรมะไทยนำความรู้จากพระไตรปิฎกมาฝึกฝนปฏิบัติโดยตรงเจ้าค่ะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสให้พวกเราปฏิบัติไปสู่มัคคผลอย่างไร เราก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์เจ้าค่ะ
ไม่คิดค้นคำสอนขึ้นมาใหม่
ไม่บิดเบือนคำสอนของพระพุทะเจ้า
ไม่แก้ไขคำสั่งสอนของพระพุทะเจ้า
ไม่นิ่งดูดายต่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เราแค่ยกมาให้ท่านผู้อ่านดู ไม่มีเจตนาปรับความผิดท่านเจ้าค่ะ
แค่เตือนกันด้วยเมตตาธรรมเท่านั้นเองเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
การที่ท่านชาวพุทธ..ตักเตือนท่าน ไม่ยกมาแสดงให้ท่าน บอกให้ท่านไปอ่านเองนั้น น้ำเค็มว่าเป็นการหวังดีต่อท่าน เป็นการรักษาหน้าของท่านเอาไว้เจ้าค่ะ ถ้ายังไม่เคยอ่านน้ำเค็มก็จะยกมาให้อ่านเจ้าค่ะ
บทภาชนีย์
[๒๓๖] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่
๑. ฌาน
๒. วิโมกข์
๓. สมาธิ
๔. สมาบัติ
๕. ญาณทัสสนะ ... ท่านกล่าวว่า(ตอนนั้นข้าพเจ้าถึงญาณที่ ๑๑แล้ว)....
๖. .......
เราแค่ยกมาให้ท่านผู้อ่านดู ไม่มีเจตนาปรับความผิดท่านเจ้าค่ะ
แค่เตือนกันด้วยเมตตาธรรมเท่านั้นเองเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
น้ำเค็ม DT02176 [14 มิ.ย. 2551 09:01 น.] คำตอบที่ 40
ขอบคุณครับ ท่านน้ำเค็ม
เจริญในธรรมครับ
ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมซักนิดนะครับ
ตรงจุดใดใครจะผิดจะถูกยังไงก็ขอให้ลงใจกันด้วยธรรมนะครับ เมื่อยอมรับความเป็นจริงเราผิดก็ยอมรับผิด เราถูกก็ยอมรับว่าถูกนี่คือธรรมครับ แต่ไม่ได้ว่าหมายความว่าท่านที่คิดว่าตนเองถูกจะมีอำนาจบังคับคนนั้นคนนี้ให้เป็นดังใจตัวเองนะครับ ตรงนี้กิเลสแทรกเข้ามาแล้วครับ ส่วนท่านที่ถูกยกโทษยกกรณ์ขึ้นมาขออย่าให้ท่านได้ถือสีถือสาเอาโกรธผู้ใดเลยนี่คือโลกของ โลกธรรม ๘ ครับ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญมีนินทา มีสุขก็มีทุกข์ ถ้ายังอยู่ในโลกต้องเป็นเช่นนี้ แม้กระทั่งพระพุทธองค์ยังถูกคนจ้างมาด่าว่าพระองค์เลยครับ หรือแม้กระทั่งเรื่องนางจิณจมาณวิกายังกล่าวตู่ว่าตนเองท้องบุตรของพระพุทธองค์ครับ
ส่วนเรื่องธรรมวินัยของสงฆ์ท่านนั้น ท่านจะพิจารณาของท่านเอง ตรงนี้ละเอียดซับซ้อนครับ ไม่ใช่เรื่องที่เราฆราวาสจะไปปรับโทษปรับกรรมท่านครับ จะเป็นบาปเป็นกรรมนะครับ
ด้วยความเคารพทุกท่านครับ
แม้กระทั่งพระพุทธองค์ยังถูกคนจ้างมาด่าว่าพระองค์เลยครับ หรือแม้กระทั่งเรื่องนางจิณจมาณวิกายังกล่าวตู่ว่าตนเองท้องบุตรของพระพุทธองค์ครับ
ส่วนเรื่องธรรมวินัยของสงฆ์ท่านนั้น ท่านจะพิจารณาของท่านเอง ตรงนี้ละเอียดซับซ้อนครับ ไม่ใช่เรื่องที่เราฆราวาสจะไปปรับโทษปรับกรรมท่านครับ จะเป็นบาปเป็นกรรมนะครับ
ด้วยความเคารพทุกท่านครับ
guest - 125.26.139.233 [14 มิ.ย. 2551 13:01 น.] คำตอบที่ 42
เกี่ยวอะไรกับนางจิณจมาณวิกาล่ะครับท่าน guest
แล้วมีใครปรับท่านมหาประเสริฐหรือ เราต่างเตือนด้วยความปรารถนาดี ที่มากล่าวอย่างนี้
ส่วนการชงลูก ให้กันและกัน ไม่มีใครสนใจหรอกครับ
การอยู่สถานภาพพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นที่เครารพ กราบไหว้ ของชาวพุทธ
ควรจะกระทำให้สมกับมือที่เขาก้มกรา้บ ให้สมกับปัจจัยที่เขานำมาถวาย
ท่านต้องสำรวจตนเองล่ะครับว่าท่านเป็น
อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย หรือยังครับท่าน
แต่ยังยืนกราน มานะกล้าเช่นนั้น ก็นิมนต์ล่ะครับ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง พระบัญญัติ : อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็น อย่างประเสริฐ ….ฯลฯ………….(ข้อควา(เหมือนอนุบัญญัติ) อนุบัญญัติ : อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถน้อมเข้ามาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้เห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งเอาความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้นได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้นได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่าๆ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ
สังขารุเปกขญาณ ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่า จะหนีไม่พ้นจึงเฉยอยู่ไม่ยินดียินร้าย ดุจบุรุษอันเพิกเฉยในภริยาที่ทิ้งขว้างหย่าร้างกันแล้ว จิตเป็นกลางต่ออารมณ์ เพราะเห็นแล้วว่ามันเป็นของเกิดดับ และหนีมันไม่ได้ ยิ่งพยายามไปปฏิเสธมัน ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น จิตจึงไม่ปฏิเสธอารมณ์ เป็นกลางต่ออารมณ์
เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจสงบวางเฉยไม่มีทุกขเวทนารบกวน และสามารถกำหนด สภาวะต่าง ๆ ได้ดียิ่ง ผู้ปฏิบัติได้เห็นคุณค่าของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างมาก
ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือเมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้น เป็นธรรมดา หรือเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพานเลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรคอันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึดหรืออกจากสังขาร
สภาวะของญาณนี้ : สังขารุเปกขาญาณนี้ มีลักษณะวางเฉยต่อรูป-นาม คือ เมื่อกำหนดรู้ หาทางหนี หนีไม่พ้น ยังไงก็หนีไม่พ้น ก็ต้องดูเฉยอยู่ การที่ดูเฉยอยู่นี้ทำให้ สภาวจิตเข้าสู่ความเป็นปกติ ในระดับสูง ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไปเวลาเห็นทุกข์เห็นโทษเห็นภัยนี้ สภาวะของจิตใจจะดิ้นรน ไม่ต้องการจะกระสับกระส่ายดิ้นรน แม้แต่ในวิปัสสนาญาณก่อนหน้าสังขารุเปกขาญาณ ก็ยังมีลักษณะความดิ้นรนของจิต คือยังมีความรู้สึกอยากจะหนี อยากจะให้พ้นๆ สภาวะของจิตยังไม่อยู่ในลักษณะที่ปกติ จริง ๆ มันก็หลุดพ้นไม่ได้ แต่เมื่อมันดูไปจนถึงแก่กล้า แล้วไม่มีทาง ก็ต้องวางเฉยได้ ซึ่งในขณะที่เห็นความเกิดดับเป็นภัยเป็นโทษน่าเบื่อหน่ายอยู่อย่างนั้น มันก็ยังวางเฉยได้ แม้จะถูกบีบคั้นอย่างแสนสาหัส แทบจะขาดใจ มันก็วางเฉยได้ เมื่อวางเฉยได้มันก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ ๑๒
อ่านหลักฐานอ้างอิงได้ที่
http://www.wattamaoh.com/download/วิปัสสนานัย/เล่ม2/วิปัสสนานัย-เล่ม2-part3.pdf
coppy ไปวางได้เลยครับ
จากประสบการณ์....ขอให้ผู้รู้ช่วยตัดสินให้หน่อยก็แล้วกัน....หรือต้องการพิสูจน์ด้วยตนเองก็ติดต่อได้...จะแนะนำสถานที่ปฏิบัติให้
ปฏิบัติย่างเข้าเดือนที่ ๕
...............วันต่อมา ขณะที่กำลังนั่งบัลลังก์สุดท้าย นั่งไปได้ประมาณ ๑ ชั่วโมงครึ่ง รู้สึกเจ็บที่หัวใจ แล้วอาการค่อย ๆ แรงขึ้นๆ รู้สึกเหมือนกับมีบางสิ่งบางอย่างที่เล็กมากกำลังรุมกัดกินหัวใจอยู่ กำหนด "ปวดหนอๆๆ"ไป เรื่อยๆ ยิ่งกำหนดอาการปวดก็ยิ่งกระจายออก รู้สึกปวดๆ คันๆ จั๊กจี๊เล็กน้อย กระจายไปทั่วตั้งแต่ราวนมขึ้นมาจนถึงศีรษะ ทันใดนั้นก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า "นี่มันหนอนชัด ๆ " แต่ก็ไม่มั่นใจมากนัก อาการค่อย ๆ ชัดขึ้น ๆๆ มีอยู่ตัวหนึ่งไต่มาที่แก้มทำให้รับรู้ถึงสัมผัสของจังหวะการกระตึ๊บตัวของมันได้ชัดเจนขึ้น "นี่มันหนอนจริงๆ..หนิ?"
....... ความรู้สึกรังเกียจตัวเองค่อยๆเข้าเกาะกุมหัวใจ ยิ่งอาการปรากฎชัดก็ยิ่งรู้สึกรังเกียจ จึงบ่นรำพันอยู่ในใจว่า "เรายังไม่ตายเลยนะ เน่าแล้วหรือนี่?" ด้วยความที่ยังยึดร่างกายว่าเป็นของเราอยู่ จึงอยากจะสบัดให้ตัวหนอนเหล่านี้หลุดออกไปให้หมด แต่ยังมีสติรู้อยู่ว่า นี้เป็นเพียงสภาวะธรรม มิใช่ของจริง บางขณะจิตก็นึกอยากจะเปิดตาออกดูว่าเป็นหนอนจริงหรือเปล่า? แต่ก็กลัวว่า ถ้าเห็นเข้าจริงๆ คงจะเป็นบ้าไปแน่ จึงไม่กล้าเปิดตาออก พอออกจากบัลลังก์ อาการต่าง ๆ ก็หายไป แต่ความรู้สึกรังเกียจตนเองยังมีอยู่และรุนแรงขึ้นทุกครั้งที่เผลอคิดถึงความรู้สึกในช่วงนั้น เข้าใจเอาเองว่า เราน่าจะถึงนิพพิทาญาณแล้ว และเกิดอัศจรรย์ใจขึ้นมาว่า "ลำดับญาณ ๑๖ ที่มีอยู่ในตำรามันของจริงทั้งนั้น มิใช่พระสมัยก่อนเขียนขึ้นเอาเอง ในเมื่อประสบเข้ากับตนเองเช่นนี้ ถึงไม่อยากเชื่อก็จำเป็นต้องเชื่อแล้ว....." แต่ก็ยังนึกสงสัยอยู่ว่า "แล้วมรรคผล นิพพานละ เราจะไปถึงขึ้นนั้นได้หรือเปล่า?" จึงเร่งความเพียร่ขึ้นไปอีก กำหนดถี่ ๆ แรง ๆ อาการปวดก็ยังมีอยู่ จะรุนแรงขึ้นในชั่วโมงที่ ๒-๓ แทบทุกบัลลังก์ อาการปวดรัดซ่า ๆ บนศีรษะก็ปรากฎรุนแรงขึ้นบ้างในบางบัลลังก์ พยายามกำหนดไปเรื่อยๆ ช่วงนี้แทบไม่พูดคุยกับใครเลย กำหนดอย่างเดียวทุกอริยาบถแบบถี่ยิบ.. ที่เผลอสติหลุดกำหนดมีน้อยมาก
ปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนครบ ๑ เดือนเต็มพอดี สยาดอบอกว่า "ท่านถึงญาณที่ ๑๑ แล้วนะ เข้าสังขารุฯเป็นรูปแรกด้วย" ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจ ผสมดีใจและสงสัยว่า ท่านเอาอะไรมาตัดสิน แต่ไม่ได้สอบถาม ด้วยเข้าใจว่าท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้ชำนาญคงจะมีหลักในการตัดสินของท่าน"
นอนลอยอยู่ในอวกาศ
หลังจากเข้าสังขารุเปกขาญาณไปแล้ว มีอยู่หลายครั้งที่ข้าพเจ้าเอนหลังพักผ่อนหลังเที่ยงประมาณ ๔๐ นาที ทันทีที่ศีรษะถึงหมอนแล้วหลับตาลง รู้สึกเหมือนมีพัดลมตัวใหญ่เป่าใส่แผ่นหลังอยู่ตลอดเวลา เป่าแรงขึ้นเรื่อยๆ จนตัวค่อยๆลอยขึ้นๆ ครั้งแรกลอยขึ้นเฉพาะขาทั้งสองข้าง แต่แผ่นหลังยังติดพื้นอยู่ แล้วอาการต่างๆก็ดับหายไป วันต่อ ๆ มาลอยขึ้นได้ทั้งตัว มีอยู่วันหนึ่งลอยไปในอวกาศเห็นดวงดาว และอุกกาบาตมากมาย บางครั้งเห็นภาพแปลก ยิ่งลอยไปไกลก็ยิ่งรู้สึกกลัว ๆ เสียว ๆ จากนั้นตัวก็ค่อย ๆ หมุนลอยคว้างอยู่ในอวกาศ หมุนเร็วขึ้น ๆ ทั้งกลัวทั้งเสียวผสมกัน(บรรยายไม่ถูก..) จึงกำหนดในใจว่า "กลัวหนอๆๆ" เสียวหนอๆๆๆ" "รู้หนอๆๆ" เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา สักพักหนึ่งอาการหมุนก็ค่อย ๆ ช้าลง ๆ จนนิ่งแล้วเงียบไป รู้สึกตัวอีกที ตื่นจำวัด ตรงเวลาแทบทุกวัน คือ ก่อนบ่ายโมง ๕ นาที แล้วย้อนไปพิจารณาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า คิดว่า น่าจะเกิดจากกำลังสมาธิที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องกว่า ๑ เดือน ทำให้จิตและสภาวะธาตุในร่างกายรู้สึกเบาสบายมากว่า มิใช่ลอยไปในอวกาศจริง ๆ และมีอยู่หลายครั้งเช่นกันที่รู้สึกเหมือนกับนอนตกลงไปในเหวลึก แผ่นหลังปะทะกับลมอยู่ตลอดเวลา ยิ่งตกไปลึกลมที่ปะทะแผ่นหลังก็ยิ่งแรงขึ้นเรื่อยๆ กำหนดในใจว่า "กลัวหนอๆๆ" เสียวหนอๆๆ" ตกไปนานเท่าไหร่ก็ไม่ถึงก้นเหวสักที ทำให้เกิดสติระลึกขึ้นมาว่า นี่ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเพียงสภาวะเบาสบายของธาตุลมเท่านั้น จากนั้นสภาวะต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ หายไป รู้สึกตัวอีกที ตื่นก่อนบ่ายโมง ๕ นาที
ประมาณ ๒ เดือนต่อมา (รวมเป็น ๓ เดือน) คนแปลภาษาก็เฝ้าแต่จะถามว่า "ขณะนั่งอยู่มีอาการวูบไป ดับไปบ้างมั๊ย?" ก็ตอบไปว่า "มีนั่งโงกหลับบ้างในบางบัลลังก์ ส่วนมากจะนั่งมีสติดี ตัวตรง ไม่โงก ไม่ง่วงเลย บางบัลลังก์นั่งสว่างไสว สติคมชัดมาก" แต่มีเพื่อนหลายรู้ส่งอารมณ์ว่า บัลลังก์นี้ดับไป ๑๐ นาที บัลลังก์นี้ ๒๐ นาที บางรูปดับไม่รู้ไป ๑ ชั่วโมงก็มี มีอยู่รูปหนึ่งบอกว่า นั่งได้สัก ๔-๕ นาทีแล้วลุกขึ้น หันไปดูนาฬิกาปรากฏว่า เวลาผ่านไปแล้ว ๑ ชั่วโมงกว่าแล้ว พอข้าพเจ้าได้ยินเช่นนั้นทำให้ต้องย้อนกลับมามองตนเองว่า ข้าพเจ้าถึงสังขารุเปกขาญาณ(ญาณ ๑๑)เป็นรูปแรก แต่ตอน นี้เขาล้ำหน้าไปไกลแล้ว ทำไมเรายิ่งนั่งยิ่งสว่างไสวกลางคืนเหมือนกลางวันอยู่ ไม่มีทีท่าว่าจะวูบ จะดับเลย พอย่างเข้าเดือนที่ ๔ ก็ทำให้รู้สึกท้อแท้ และเข้าใจเอาเองว่า ตนเองคงไม่มีบุญกับเขาหรอก ชาตินี้คงจะบรรลุมรรคผลไม่ได้ หรือไม่ก็คงปรารถนาพุทธภูมิเอาไว้ กำหนดเท่าไหร่รูป-นามสังขารธรรมก็ยังไม่ดับเสียที ทำให้คิดจะเลิกปฏิบัติอยู่หลายครั้ง พอเข้าเดือนที่ ๕ รู้สึกท้อมากจึงนำความไปเรียนสยาดอ
สู้นี่ไม่ได้ร๊อก ได้เข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าสมณโคดม หลวงปู่แหวน และหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
http://board.palungjit.com/showthread.php?p=1280745#post1280745
กราบเรียนท่าน อ.มหาประเสริฐ
ท่านออกไปยืนกลางแดดแล้วมองดวงอาทิตย์ก็สว่างเหมือนกันครับ ไม่ต้องนั่งสมาธิก็เห็นได้ครับไม่เห็นจะวิเศษตรงไหน
ที่ท่านว่าบัลลังก์นี้ดับ ๑๐ นาที บัลลังก์นี้ดับ ๒๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง ไม่ต้องนั่งสมาธิก็ทำได้ครับ ไปนอนที่นอนเลยครับดับเหมือนกัน ๑๐ ชั่วโมงยังได้เลยครับ ไม่เห็นวิเศษตรงไหน
ส่วนเรื่องหนอนใคร ๆ ก็คิดได้ครับแบบนี้ เรื่องนอนลอยในอากาศคิดเอาเองทั้งนั้นครับ ไม่เห็นจะวิเศษตรงไหน
สังขารุเบกขาญาณที่ท่านรู้จักเป็นอย่างนี้เหรอครับ
**************************************************
อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณนิทเทส
อนึ่ง พระสารีบุตร ครั้นแสดงถึงสังขารุเปกขาญาณโดยลักษณะอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อแสดงโดยอรรถ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อุปฺปาโท สงฺขารา, เต สงฺขาเร อชฺฌุเปกฺขตีติ สงฺขารุเปกฺขา - ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร, ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเบกขาญาณ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาเร อชฺฌุเปกฺขติ - ญาณวางเฉยในสังขาร.
ความว่า เมื่อพระโยคาวจรนั้นเริ่มเจริญวิปัสสนา ละความขวนขวายในการค้นหาลักษณะ เพราะเห็นพระไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนาญาณแล้ว เห็นภพ ๓ ดุจไฟติดทั่วแล้ว มีความเป็นกลางในการถือสังขารวิปัสสนีญาณนั้น ย่อมเห็นสังขารเหล่านั้นโดยพิเศษ และเห็นคือมองดูญาณที่เว้นแล้วด้วยการถือเอา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเบกขาญาณ.
***************************************************
กราบนมัสการครับ
ที่ผมเล่าเป็นเพียงผลข้างเคียงของสังขารุเปกขาญาณครับ...
.....ส่วนสภาวขณะปฏิบัติจริง...ผมจะเล่าก็ต่อเมื่อ...ผู้ฟังอยู่ในระดับเดียวกับผมก่อน..
...ถ้าท่านอยากฟัง...สภาวะขณะปฏิบัติจริงจริง...ท่านต้องบอกมาก่อนว่า...สภาวะของท่านขณะปฏิบัติ...ได้ถึงขั้นไหนแล้ว....เมื่อผมฟังแล้วว่าใกล้เคียงกัน...ผมจะเล่าให้ฟังว่า...สภาวะจริงๆ ขณะปฏิบัติเป็นอย่างไร??
ส่งมาได้ที่ : montasavi_@hotmail.com
กราบเรียนท่าน อ.มหาประเสริฐ
ผมเคยกราบเรียนท่านไปแล้วครับ ผมคิดว่าถ้าท่านได้สังขารุเปกขาญาณจริง ท่านต้องพิจารณาการปฏิบัติของผมได้
****************
กราบนมัสการครับ ท่าน อ.มหาประเสริฐ
ขอกราบเรียนกระผมปฏิบัติมาอย่างนี้ครับ เบื้องแรก นามรูปปริเฉทญาณ กระผมเกิดดังนี้ครับ ในขณะที่นั่งสมาธิจิตรวมในระดับหนึ่งนั่งนานไปแล้วเกิดเวทนาที่ขา ผมส่งจิตไปยังเวทนาปรากฎว่าเกิดความรู้แสดงขึ้นมาในขณะนั้นว่า เวทนาที่ขา ร่างกาย และจิตแยก ออกเป็น สามส่วนไม่เกี่ยวข้องกัน นั้นเป็นครั้งแรก ต่อมาผมก็ปฏิบัติสมาธิภาวนาไปเรื่อย แล้ววันหนึ่งผมนั่งสมาธิไปปรากฎว่าจิตรวมลงความรู้สึกว่าร่างกายหายไปเหลือ แต่จิตผมจึงพิจารณาลงไปที่จิตปรากฎว่าเห็นสังขาร(ความคิดความปรุง) ผุดขึ้นแล้วดับไปแต่จับไม่ได้ว่าคิดอะไรบ้างเพราะสัญญา(ความจำได้หมายรู้) ไม่จับความคิด วันหนึ่งผมกำลังอาบน้ำในห้องน้ำพิจารณาธรรมไปเรื่อย ๆ แล้วมองรูปตัวเองในกระจก เห็นตัวเองในกระจกเหมือนกับอะไรที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ไม่ใช่ตัวตน คน สัตว์ หรืออะไรบอกไม่ถูก วันหนึ่งผมเห็นผู้หญิงเกิดความกำหนัดผมใช้สติจับสัญญาในรูปผู้หญิงคนนั้นไว้ ในจิตแล้วทำใจโดยแยบคายเหมือนพลิกสัญญานั้นทำให้ความกำหนัดหายไป ปัจจุบันผมขับรถไปด้วยภาวนาไปด้วยมองดูร่างกายของตนเองเป็นคนละสิ่งกับจิต มองดูแขนตนเองเหมือนกิ่งไม้ยื่นออกไปรู้สึกว่าไม่ใช่ตนเอง ปัจจุบันถ้าผมย้อนความรู้สึกเข้ามาหาจิตผมสามารถแยกความรู้สึกระหว่างร่าง กายกับจิตได้ทันที และผมพยายามพิจารณาที่จิตเพื่อค้น เวทนาใน สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ชัดเจนขึ้นเรื่อยครับ และมีอีกหลายเหตุการณ์ครับสาธยายไม่หมดเพราะ ปฏิบัติมาแล้ว ๗ ปี และต้องรู้ว่าขันธ์ทั้ง ๕ แยกจากกันอย่างชัดเจนครับ จึงเรียกว่ารู้จักขันธ์ ๕ ครับ ความรู้ตรงนี้จะสัมผัสสัมพันธ์ไปยัง อายตนะ 12 ด้วยครับ เป็นสันทิฏฐิโก และปัจจัตตังครับ
ส่วนอาการพองยุบที่ท่านว่าเป็นกายคตาสติครับ ถ้าเป็นวาโยธาตุเช่นอานาปานสติจะเห็นสติตั้งอยู่และความรู้สึกของร่างกายจะ รับสัมผัสลมเองโดยอัตโนมัติครับไม่ได้ต้องไปบังคับการหายใจเลยครับ และความรู้สึกของวาโยธาตุจากอานาปานสติจะรู้สึกละมุนละไมแลนุ่มนวลในจุด สัมผัสลมครับ
อาการที่จิตรู้ว่าท้องยุบท้องพองเป็นกายคตาสติครับ สังขารขันธ์คือความคิดความปรุงครับ
วิญญาณขันธ์ เมื่อกำหนดจิตให้นิ่ง ส่งกระแสจิตไปที่เสียงจะรู้สึกว่าเสียงกระทบหู แต่คนละส่วนกับจิต (ส่วนของวิญญาณผมยังเห็นไม่ชัดเจนสติกำลังขุดคันอยู่ครับ)
นี่ครับคือวิถีปฏิบัติของผม และขันธ์ ๕ ที่ผมรู้ด้วยตนเองครับ
ขอความคิดเห็นของท่าน อ. ด้วยครับ
กราบนมัสการครับ
guest - 125.26.148.223 [13 มิ.ย. 2551 19:53 น.] คำตอบที่ 27
*************************
ช่วยตอบด้วยนะครับผมระดับไหนครับ
กราบนมัสการครับ
ถาม...ในสภาวะสมาธิลึก...ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณแท้..จะมีแต่อาการรู้..รู้
....การที่รู้ไปถึงขึ้นที่ว่า..สภาวะที่ปรากฏอยู่นั้นมีนามบัญญัติ(ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติชื่อไว้) ...อย่างไร ...นั่นเป็นอาการพิจารณา(คิดชื่อ)ธรรม...จะเกิดหลังจากการรู้แจ้งธรรมแล้ว...
ถามว่า...ระหว่างการรู้แจ้งธรรม..(โดยที่ยังไม่รู้บัญญัติชื่อ) กับ การพิจารณาธรรม(พร้อมด้วยการบัญญัติชื่อ... ๒ อย่างนี้ อย่างไหนเกิดก่อน
....ถ้ารู้แจ้งธรรมก่อน แล้ว...พิจารณาบัญญัติชื่อ(ตามตำรา)ที่หลัง...ก็จัดว่าเป็นวิปัสสนาญาณแท้....ได้
ส่วนท่านถึงขั้นไหนแล้ว....ด้วยข้อมูลแค่นี้ยังตัดสินไม่ได้ครับ....
ต้องเล่าตั้งแต่ต้น...อย่างละเอียด...จึงจะเรียงลำดับได้...
แต่จากประสบการณ์....ไม่จำเป็นต้องรู้บัญญัติว่ามีชื่อว่าอะไรบ้าง..ว่าอย่าง่นี้เรียกว่าสัญญา อย่างนี้เรียกว่าเวทนา....แต่ขอให้แจ้งสภาวะปัจจุบัน...จนเห็นอาการดับไปอย่างชัดเจนของสภาวะนั้น...ก็สามารถเข้าถึงวิปัสสนาญาณแท้ได้....
ก็คือ..แม้แต่คนที่....อ่านหนังสือไม่ออก...ไม่เคยได้ยินคำว่า ขันธ์ ๔ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น...ก็สามารถเข้าถึงธรรมได้...ถ้ามีสติเห็นประจักษ์แจ้งอารมร์ปัจจุบัน...อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง..จนเห็นอาการตับไปของทุกข์อาการได้...
กราบนมัสการท่าน อ.มหาประเสริฐ
อาการรู้อย่างเดียวเป็นอาการของอัปนาสมาธิครับ จิตรวมถึงอัปนาพิจารณาไม่ได้ครับรู้อย่างเดีวยครับ จะเจริญปัญญาได้จิตต้องถอนออกจากอัปปนาครับ อันนี้มันจิตรวมถึงอัปปนาสมาธิมันเลยรู้อย่างเดียว หากไม่ใช่พระสัพพัญญูเจ้าเสียแล้ว เมื่อไม่ได้ฟังธรรม หรือ รู้ธรรมจากสัตตบุรษ จะสามารถถึงธรรมเองได้เหรอครับ
แล้วที่ท่านว่าอาการดับอะไรอาการอะไรดับครับ
มีเรื่องขอกราบเรียนอีกเรื่องผู้ปรารถนาเป็นพระทุทธเจ้า มีจำนวนมากมายจนนับไม่ได้ และในจำนวนผู้ที่ปรารถนาเป็นล้าน ล้านคน ฟังสิครับ เป็นล้าน ล้าน คน ในคนกลุ่มนี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาองค์หนึ่งก็ทั้งยาก นอกนั้นต่างล้มเหลวไป ท่านทราบมั้ยเวลากระแสพุทธภูมิพาดเข้าในใจเป็นยังไงครับ ผู้ที่ปรารถนาพุทธิต้องมีลวดลายของพุทธภูมิติดมาครับ สิ่งเหล่านี้ต้องบัญญัติได้ครับต้องรู้เพราะจะเป็นครูผู้สอนโลกครับ
กราบนมัสการครับ
กราบนมัสการท่าน อ.มหาประเสริฐ
ท่านไม่จำเป็นต้องตอบผมก็ได้ครับ ผมพิจารณาแล้วผมยังไม่บรรลุสังขารุเปกขาญาณ ในเมื่อผมยังไม่บรรลุญาณนี้แล้วมาวิเคราะห์วิจารณ์ไป ก็เหมือนตาบอดคลำช้างครับ ไม่เกิดประโยชน์อะไรดีไม่ดีกิเลสแทรกเข้ามาอีก
หวังว่าคงมีโอกาสสนทนาธรรมกับท่านอีกนะครับ
กราบนมัสการครับ
นมัสการครับพระมหาประเสริฐ
พระพุทธศาสนานั้น ยึดในคำสอนของพระอรหันต์ 500 รูป ที่ได้สวดสังคายนา
ครั้งแรก จวบจนกระทั่งปัจจุบัน คำภีร์ในพระไตรปิฎกได้สืบทอดจนถึงปัจจุบัน
ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่า เป็นคำภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และเที่ยงตรงที่สุด
นักปราชญ์และวิชาการศาสนศาสตร์ทั่วโลก ก็เห็นตรงกันเช่นนั้นครับ
เนื่องจากปัจจุบัน ชาวพุทธได้แตกแยกออกเป็นหลายลัทธิ
จึงได้เรียกผู้ทียึดถือ และปฏิบัติตามคำสอนในคำภีร์พระไตรปิฎกนี้ว่า "เถระวาท"
**แต่ทว่า ท่านได้ปฏิเสธ ไม่ได้ยึดถือปฏิบัติ และกล่าวโน้มน้าวให้พุทธศาสนิกชน
ลดความเชื่อถือตามพระไตรปิฎก แล้วหันไปยึดถือตามแนวพระพม่า ที่แต่งขึ้น
โดยยึดเอาตำรา 9 ปริเฉท ที่เขียนขึ้นมาภายหลังมาปฏิบัติ
กระผมจึงกราบขอแนะนำให้ท่านมหาประเสริฐ และสะยาดอก็ควรแยกไปตั้ง
อีกลัทธิหนึ่งนะครับ ใช้ชื่อลัทธิตามตำรา หรือชื่อของท่านสะยาดอ ก็สมควรอยู่นะครับ
เพราะตอนนี้ ตำราพระพม่า กำลังแพร่หลายอยู่มากครับ นับเป็นประโยชน์ต่อท่าน
และสะยาดอครับ
ในส่วนของพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก ก็ให้คงอยู่เช่นนี้ไปครับ อย่าได้ไปกระทำ
หรือกล่าวมิดีมิร้ายต่อพระสัทธรรม อวจีขุมไหน มีบัญญัติไว้ในพุทธพจน์ด้วยครับ
ไว้จะหามาให้อ่านนะครับ
นมันสการครับ