มารคืออะไร

 ศรัทธา    

มารคืออะไร

คำว่า “มาร” หมายถึงสิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรืออุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ ประเภทคือ

1. กิเลสมาร มารตามความหมายนี้หมายถึง กิเลสทั้งสามตระกูลใหญ่ๆ ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในจิตใจผู้ใด ล้วนทำใจให้เป็นบาปทั้งสิ้นความดีงาม เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น หายไปหมดสิ้นจากจิตใจ คือ ถูกกิเลสฆ่าตายสิ้นสิ้นนั้นเอง อย่างนี้ท่านเรียกว่า กิเลสมาร (มาร คือ กิเลส )

2. ขันธมาร หมายถึงขันธ์ 5 ขั้นทั้งห้าได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหตุที่เป็นมาร เพราะเป็นสภาพปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งทุกขืถูกปัจจัยต่างๆบีบคั้นเบียดเบียน เช่น การเจ็บป่วย เป็นต้น จนม่สามารถทำความดีงามได้เต็มที่

3. อภิสังขารมาร หมายถึง อภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม เหตุที่เป็นมารเพราะทำให้เกิดชาติ ชรา มรณะ ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ

4. เทวปุตตมาร มาร คือ เทพบุตรแต่เป็นเทพบุตรที่ชั่วร้าย (เทพอสูร) คอยมุ่งร้ายขัดขวาง เหนี่ยวรั้งบุคคลมิให้ละความสุขออกไปบำเพ็ญเพียร

5. มัจจุมาร มาร คือ ความตาย เพราะตัดโอกาสในการทำความดีโดยหมดสิ้นเมื่อความตายมาถึง ความตายจึงถือว่าเป็นมารชนิดหนึ่ง

ผู้ปฏิบัติธรรมะ จะต้องเอาชนะมารทั้ง 5 นี้ให้ได้และต้องใส่ใจไว้เสมอว่า


มารไม่มี บารมีไม่เกิด มารไม่มี บารมีไม่แก่กล้า




ข้อปฏิบัติที่จะให้เป็นอรหันต์


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพว่า ดูก่อนจอมเทพเจ้าทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดถือ

ดูกรจอมเทพเจ้าถ้าภิกษุได้ยินว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดถือดังนี้แล้วภิกษุนี้ก็รู้จักธรรมทั้งปวง ครั้นรู้จักธรรมทั้งปวงแล้วก็พิจารณาธรรมทั้งปวง ครั้นพิจารณาธรรมทั้งปวงแล้ว ก็เสวยเวทนาเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ภิกษุนั้นก็เล็งเห็นความไม่เที่ยง ความคลายความดับ ความสละในเวทนาทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นเล็งเห็นดังนั้น ก็ไม่ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในโลก เมื่อไม่ยึดถือ ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่ดิ้นรน ก็ดับเฉพาะตน ก็รู้ว่าสิ้นความเกิดแล้ว สำเร็จพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีสิ่งอื่นจะทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้อีก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แหละ จอมเทพเจ้า เมื่อว่าโดยย่อแล้วจึงชื่อว่าภิกษุหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาชื่อว่าสำเร็จ ชื่อว่าปลอดโปร่งจากเครื่องเกาะเกี่ยวอย่างเยี่ยม ชื่อว่าประพฤติพรหมจรรย์อย่างเยี่ยม ชื่อว่าประเสริฐสุดกว่าเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย


จูฬตัณหาสังขยสูตร. ม.มู.


คำว่า ธรรมทั้งปวงในที่นี้ได้แก่อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอก 6 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วจะเกิดเวทนาความเสวยอารมณ์ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง แล้วพิจารณาด้วยปัญญา ก็จะเห็นเวทนานั้น ไม่เที่ยง เห็นความคลาย ความดับ ความสละคืนในเวทนานั้นแล้ว ก็ไม่สะดุ้งดิ้นรน เมื่อไม่สะดุ้งดิ้นรนก็ดับไก้เฉพาะตน


“ นิพพานัง ปรมัง สุขัง ”

ดับกิเลสได้เป็นสุขอย่างยิ่ง ( นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง )


ที่มา หนังสือคู่มือการปฏิบัติธรรม ( ฉบับพิเศษ )

โดย หลวงพ่อ กันต สิริภิกขุ สำนักปฏิบัติธรรม ศิริธรรม (ถ้ำชี )


ผู้สนใจปฏิบัติธรรม ในสถานที่ที่เรียบง่าย แบบธรรมชาติ สามารถไปปฏิบัติได้ที่

สำนักปฏิบัติธรรม ศิริธรรม (ถ้ำชี ) ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.ราชบุรี 032-428522

ตัววัดตั้งอยู่บนภูเขา อากาศเย็ยสบาย ผู้ปฏิบัติต้องตื่นตั้งเเต่ ตี 4 และมีอาหารให้ทาน เป็นมังสวิรัติด้วย
   




ผู้สนใจปฏิบัติธรรม ในสถานที่ที่เรียบง่าย แบบธรรมชาติ สามารถไปปฏิบัติได้ที่

สำนักปฏิบัติธรรม ศิริธรรม (ถ้ำชี ) ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.ราชบุรี 032-428522

ตัววัดตั้งอยู่บนภูเขา อากาศเย็ยสบาย ผู้ปฏิบัติต้องตื่นตั้งเเต่ ตี 4 และมีอาหารให้ทาน เป็นมังสวิรัติด้วย

โดย..........ศรัทธา


• การทำเกินประมาณ (เภริวาทชาดก)

• น้ำพริกกากหมู

• หนูกัดผ้า (มงคลชาดก)

• เมื่ออะไรเกิดขึ้น ก็ เช่นนั้นเอง ให้มันทันท่วงที

• ยักษ์ 3 ตัว (ย)

• คิดส์ ออฟ เดอะ เวิลด์ 2012 ( Kids of the world 2012 )

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย