พุทธธรรม-ฉบับปรับขยาย-พจนานุกรม-โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

 oatvitsarut    9 ธ.ค. 2559



พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์เผยแพร่

หนังสือ ปกแข็ง หุ้มหนังอย่างดี เย็บกี่

กระดาษ ถนอมสายตาสีครีม

จำนวน 1360 หน้า

จัดพิมพ์ครั้งที่ 39 พ.ศ. 2557

พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน 15,000 เล่ม
---อนุโมทนา---

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันหลักที่ได้ตีพิมพ์หนังสือ

พุทธธรรมเผยแพร่มาตั้งแต่ระยะแรก เริ่มด้วยพิมพ์ พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ

ในพ.ศ.2529 อันเป็นครั้งที่ ๓ จนถึงวาระล่าสุดใน พ.ศ.2511 อันเป็นครั้งที่ 11



บัดนี้ หนังสือพุทธธรรมนั้นได้พัฒนาขึ้นมาเป็นฉบับที่ใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และตีพิมพ์

ในชื่อที่ตัดสั้นลงให้เรียกง่ายขึ้นว่า พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย



ณ โอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แจ้งว่า หนังสือพุทธธรรม

ที่พิมพ์เผยแพร่ครั้งก่อนนั้น หมดไปแล้ว จึงประจงค์จะตีพิมพ์ขึ้นใหม่ เพื่อมอบ

เป็นธรรมบรรณาการแก่ผู้มีอุปการคุณของมหาวิทยาลัย และเพื่อจัดจำหน่ายต่อไป



ขออนุโมทนากัลยาณฉันทะของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ในการส่งเสริมการศึกษา ช่วยกันแผ่ขยายความรู้เข้าใจธรรม อันจะมีผลเป็นการดำรงรักษาสืบ

อายุพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเป็นปัจจัยเสริมสร้างประโญชน์สุข

แห่งมหาชน ให้แพร่หลายเพิ่มพูน เพื่อสัมฤทธิ์ความไพบูลย์ ทั้งอามิสไพบูลย์ และธรรมไพบูลย์

ยั่งยืนนานสืบไป



พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

1 พฤษภาคม 2557

.........................................................




บทสัมภาษณ์ : พุทธธรรม’ นำชีวิต : โดย : พระไพศาล วิสาโล

............................................................

ต้อนรับคอลัมน์ใหม่ ด้วยหนังสือดีในชีวิตของพระไพศาล วิสาโล พระนักคิด นักเขียน

และนักอ่านผลงานเขียนของท่านมีมากมายกว่า 90 เล่ม

ทั้งในนามพระไพศาล วิสาโล และในนามปากกาอื่น ๆ ซึ่งล้วนแต่มีธรรมะเป็นหลักในการถ่ายทอด

‘พุทธธรรม’ ของพระพรหม-คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) คือหนังสือที่พระไพศาลยกย่อง ถึงขั้นที่ว่าถ้ามี

หนังสือเพียงเล่มเดียวที่สามารถติดตัวไปได้ในชีวิต ‘พุทธธรรม’ คือเล่มที่ท่านเลือก

“หนังสือเล่มนี้อาตมาอ่านจบช่วงเข้าพรรษาสมัยที่เป็นฆราวาส เมื่อ พ.ศ. 2525 ตั้งใจว่าอ่านให้ได้วันละ 10 หน้า

ก็อ่านได้ทุกวัน พรรษาหนึ่งประมาณ 90 กว่าวัน หนังสือมีความหนาประมาณพันกว่าหน้า

อ่านตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายก็พอดี เป็นการฝึกความเพียรและวินัยด้วย บางทีเรา

เดินทางไปต่างจังหวัดก่อนหน้านั้นวันหนึ่งจะต้องอ่านเพิ่มอีก 10 หน้าเพื่อชดเชยกับวันที่ต้องเดินทาง”

นอกจากความเพียรในการอ่านแล้ว ช่วงนั้นพระไพศาลซึ่งเป็นเพียงเด็กหนุ่มที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัย

ยังได้รับความเมตตาจากพระราชวรมุนี (พระพรหมคุณาภรณ์) อนุญาตให้เข้าพบเป็นประจำทุกเดือน

เพื่อสนทนาธรรมสอบถามข้อสงสัยจากหนังสืออีกด้วย

“อ่านหนังสือแล้วไปถามท่านเราก็ได้ความกระจ่างเยอะ ถือเป็นความโชคดีในฐานะนักอ่าน

ยิ่งได้คุยกับท่านยิ่งรู้ว่า ท่านเป็นผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศ ถ้าจัดเรตให้ต้องถือว่าเฟิร์สตเรต อัศจรรย์มาก”

พุทธธรรมเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนา ที่ได้รับการยอมรับว่าแสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

เถรวาทอย่างซื่อตรงต่อพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง นำเสนอหลักการและสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา

อย่างครบถ้วน และเป็นระบบอย่างชัดเจน พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525

ผู้เขียนได้ปรับปรุงและขยายความเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่หนาเป็นพันหน้า



“อ่านไปก็อดทึ่งคนเขียนไม่ได้ว่าทั้งฉลาดทั้งมีความเพียรสูง ค้นข้อมูลมามากทีเดียวกว่าจะเขียนได้อย่างนี้

คือไม่ใช่แค่สรุปความย่อความเหมือนหนังสือบางเล่ม แต่เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ โดยมีพระไตรปิฎก

เป็นพื้นฐาน นำเสนอด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ด้วยวิธีคิดของคนสมัยใหม่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เราจะไม่

เจอแบบนี้ในงานเขียนพระพุทธศาสนา บางทีเคยไปเจอหนังสือเกี่ยวกับสาระพระไตรปิฎก

เขียนโดยฆราวาสที่เคยบวชพระมาจะเห็นว่าลีลาสไตล์การเขียนแตกต่างกัน บางทีก็แค่ย่อความมาให้เราดู

การย่อความก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ท่านเจ้าคุณทำได้มากกว่านั้น จึงนำมาเสนอใหม่ ด้วยชนิดที่เรียกว่า

สามารถจะสื่อสารกับเราด้วยภาษาของเราได้ และพยายามโยงให้เข้าถึงปัญหาสังคมสมัยใหม่โดยใช้มุมมองแบบพุทธ

ซึ่งสมควรแล้วที่คนจะพูดว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดในยุครัชกาลที่ 9 และถือว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของรัตนโกสินทร์”



อาตมายกให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือดีของชีวิต ประการที่หนึ่งเพราะนำเสนอพุทธธรรมอย่าง

เป็นระบบและรอบด้านที่สุดภายในเล่มเดียว คือมีหลายท่านพูดถึงพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง

แต่พูดเป็นบางแง่ อย่างท่านพุทธทาสก็พูดเป็นบางแง่ เช่น ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา

แต่เล่มนี้พูดครบทุกแง่อย่างเป็นระบบ ทุกแง่ทุกมุมอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว ขอให้ค้นให้เป็น

อาตมาเคยพูดนะว่าหนังสือเล่มนี้มี 3 มิติ ทั้งลึก กว้าง ไกล

ลึกคือทำให้เราเข้าใจความจริงที่ลึกซึ้งของตัวเอง

และทำให้เราเห็นกว้าง เห็นโลกและสังคมได้อย่างกว้าง เล่มนี้จะพูดถึงสังคมสมัยใหม่ไว้พอสมควร

ทำให้เราได้เห็นมิติด้านไกล นั่นคือได้เห็นว่าการสอนพุทธศาสนานี้ผ่านการตีความมายังไงบ้าง

ประการต่อมาคือใช้ภาษาที่งดงามสละสลวย ภาษาท่านงดงามมาก และสามารถสื่อได้ตรงใจผู้เขียน

แม้ว่าเนื้อหาจะลึกซึ้ง คือทุกวันนี้แม้ตัวเองจะอ่านงานท่านเจ้าคุณมาเยอะ เวลาจะสื่ออะไรบางอย่าง



เรารู้สึกว่าเราจนต่อถ้อยคำ ไม่สามารถจะเขียนให้สุดความคิดได้ แต่หนังสือเล่มนี้ท่านเจ้าคุณสามารถ

บรรยายให้สุดความคิดได้ อาตมาคิดว่าเป็นแบบอย่างของงานเขียนในทางศาสนาและงานวิชาการได้

คือมีทั้งอรรถและรส อรรถคือเนื้อหา รสคือรสของภาษา”

ซึ่งพระไพศาลยอมรับว่าได้รับอิทธิพลจากพระพรหม-คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และท่านพุทธทาส

ในการใช้ชีวิตและเขียนหนังสือพอสมควร โดยเฉพาะจากหนังสือพุทธธรรมนั้นมีอิทธิพลต่องาน

เขียนและการค้นคว้าทางพุทธศาสนาอย่างมาก
“ถ้ามีเล่มเดียวที่สามารถติดไปได้ในชีวิตก็เล่มนี้แหละ ถึงแม้จะหนักหน่อยก็ตาม อาตมายังรู้สึกเลย

นะว่าหนังสือเล่มนี้ทำให้เราภูมิใจที่เป็นคนไทย การที่คุณเป็นคนไทยแล้วได้อ่านหนังสือเล่มนี้ถือว่า

โชคดีและคุ้มค่าในการที่ได้เป็นคนไทยแล้ว บางทีเราก็รู้สึกว่าเป็นฝรั่งโชคดีนะ ได้อ่านหนังสือที่ลึกซึ้ง

หนังสือเยอะแยะหลากหลาย แต่พุทธธรรมนี่แหละที่ทำให้เราสามารถเป็นที่อิจฉาของฝรั่งได้ เพราะฝรั่งอ่านเล่มนี้ไม่ได้

แต่คนไทยอ่านได้ ฉะนั้นถ้าในแง่ชาวพุทธและในแง่ความเป็นคนไทย หนังสือเล่มนี้จะทำให้เราภูมิใจ

และรู้สึกโชคดีที่ได้เป็นคนไทย ที่อ่านภาษาไทยออก”

และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีหนังสือพุทธธรรมในครอบครอง แต่ยังไม่เคยเปิดอ่าน

พระไพศาลบอกว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะรสชาติของหนังสือเล่มนี้แตกต่างจากหนังสือทั่ว ๆ ไป



“อ่านแล้วจะทำให้เกิดความพิศวงและความปีติเมื่อได้พบความจริง” ... นั่นคือพุทธธรรม

เครดิต คัดลอกบทความ จาก : นิตยสารขวัญเรือน

........................................................



ควรทราบก่อนอ่าน (บทคัดย่อ)

หนังสือนี้เรียงเนื้อหาตามลำดับหลักธรรม แต่อาจเลือกอ่านที่ใดๆ ตามที่ง่ายหรือสนใจ

เนื้อหาของหนังสือนี้ได้เรียงตามลำดับหลักวิชาทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าได้จัดไว้อย่างเป็นระบบ

จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาคามรู้เกี่ยวกับธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง

หรือศึกษาพุทธศาสนาอย่างเป็นวิชาการ แต่สำหรับผู้สนใจในทางปฏิบัติ ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกส่วน

โดยตลอดหรือต้องอ่านไปตามลำดับ ตรงข้าม จะเลือกอ่านส่วนใดตอนใด

และก่อนหลับกันอย่างไรก็ได้ สุดแต่สนใจหรือเห็นว่าเข้าใจง่าย

เช่นผู้ใหม่ อาจเริ่มด้วย บทที่ 22 (บทสรุป : อริยสัจ 4)

หรือผู้สนใจเรื่องสมาธิอาจอ่านเฉพาะบทที่ 21 ซึ่งว่าด้วยสมาธิ ดังนี้เป็นต้น



........................................................................................................................................................................



สารบาญ


ภาค 1 มัชเฌนธรรมเทศนา หลักความเป็นจริงตามธรรมชาติ หรือ ธรรมที่เป็นกลาง
ความนำ-สิ่งที่ควรเข้าใจก่อน-ลักษณะทั่วไปของพุทธรรม-พุทธธรรม หรือ กฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต
สิ่งที่ควรเข้าใจก่อน
ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรม

ตอน 1 ชีวิตคืออะไร : ก.ชีวิตตามสภาพของมันเอง
บทที่ 1 ขันธ์ 5 : ส่วนประกอบ 5 อย่างของชีวิต ตัวสภาวะ

สัญญา-สติ-ความจำ

สัญญา-วิญญาณ-ปัญญา

ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ

ขันธ์ 5 กับ อุปทานขันธ์ 5 หรือ ชีวิต กับ ชีวิตซึ่งเป็นปัญหา

คุณค่าทางจริยธรรม

บันทึกพิเศษท้ายบท : ความรู้ประกอบเกี่ยวกับ ขันธ์ 5


ตอน 1 ชีวิตคืออะไร : ข.ชีวิตตามความหมายของมนุษย์ และโดยสัมพันธ์กับโลก






บทที่ 2 อายตนะ 6 : แดนรับรู้และเสพเสวยโลก ตัวสภาวะ

-ประเภทและระดับของความรู้ ก.จำแนกโดยสภาวะ

ข.จำแนกโดยทางรับรู้

ค.จำแนกโดยพัฒนาการทางปัญญา

ง.จำแนกโดยกิจกรรมและผลงานของมนุษย์ หน้า 53 -ความถูกต้องและผิดพลาดของความรู้

ก.สัจจะ 2 ระดับ

ข.วิปลาส 3

-พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ

-คุณค่าทางจริยธรรม



ตอน 2 ชีวิตเป็นอย่างไร ? : ไตรลักษณ์ ลักษณะโดยธรรมชาติ 3 อย่างของสิ่งทั้งปวง

บทที่ 3 ตัวกฎหรือตัวสภาวะ



ตอน 3 ชีวิตเป็นอย่างไร ? : ปฏิจจสมุปบาท - การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมี


บทที่ 4 ตัวกฎหรือตัวสภาวะ

บทที่ 5 กรรม ในฐานะหลักธรรม ที่เนื่องอยู่ในปฏิจจสมุปบาท



ตอน 4 ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ? :
บทที่ 6 วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน

บทที่ 7 ประเภท และ ระดับ แห่ง นิพพาน และ ผู้บรรลุนิพพาน

บทที่ 8 ข้อควรทราบ เพิ่มเติม เพื่อเสริมความเข้าใจ : สมถะ-วิปัสสนา, เจโตวิมุตติ - ปัญญาวิมุตติ

บทที่ 9 หลักการสำคัญ ของการบรรลุนิพพาน

บทที่ 10 บทสรุปเกี่ยวกับเรื่อง นิพพาน

บทที่ 11 บทความประกอบที่ 1 : ชีวิตและคุณธรรมพื้นฐานของอารยชน

บทที่ 12 บทความประกอบที่ 2 : ศีล กับ เจตนารมณ์ ทางสังคม

บทที่ 13 บทความประกอบที่ 3 : ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร

เรื่อง เหนือสามัญวิสัย : ปาฏิหารย์ - เทวดา

บทที่ 14 บทความประกอบที่ 4 : ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ

บทที่ 15 บทความประกอบที่ 5 : ความสุข



ตอน 5 ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ? :


บทที่ 16 มัชฌิมาปฏิปทา ต่อเนื่องจาก มัชเฌนธรรมเทศนา

บทที่ 17 บุพภาคของการศึกษา หรือ บุพนิมิตแห่ง มัชฌิมาปฏิปทา ปรโตโฆษะที่ดี- กัลยาณมิตร

บทที่ 18 บุพภาคของการศึกษา 2 โยโสมนสิการ-วิธีการแห่งปัญญา



บทที่ 19 องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา 1 : หมวดปัญญา

บทที่ 20 องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา 2 : หมวดศึล

บทที่ 21 องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา 3 : หมวดสมาธิ

บทที่ 22 บทสรุป : อริสัจ 4

.........................................................................................

   


ที่มา : พุทธธรรม


 4,261 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย