ขอบคุณครับ
ขออนุโมทนาบุญที่ได้อ่าน และได้คิดตาม เกิดสติ สาธุ
พระธรรมไม่เคยทำให้ใครเสียใจค่ะ
เป้นการสอนที่ดีมากเลยครับ เพราะในธรรมะติดปีก
ท่าน ว.วชิรเมธีก็เขียนไว้ว่าท่านก็เคยโดนหลวงปู่ชา
ท่านถีบมาเหมือนกัน
สหธรรมิกวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๙๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี.
ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่พระสัตตรสวัคคีย์ พระสัตตรสวัคคีย์ หลบประหารแล้วร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า
อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ ทำไม?
พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่พวกผม.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอโกรธน้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ?
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้โกรธน้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๒๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุ เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุอื่น.
คำว่า เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้น ความว่า เงือดเงื้อกายก็ดี ของเนื่องด้วยกายก็ดี โดยที่สุดแม้กลีบอุบล(กลีบดอกบัว) ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ท่านใดสนใจ ลองอ่านหนังสือเรื่อง "พุทธวิธีในการสอน" หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป จะเข้าใจวิธีการสอนของพระพุทธองค์อย่างแจ่มแจ้ง
เจริญพร.
สุภัทโท ภิกขุ
คุณ laotamyae ครับ
หลวงพ่อชาไม่ได้ผิดศีลครับ
พระไตรปิฏกที่ว่าคือ "ภิกษุใด โกรธ น้อยใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นแก่ภิกษุ "
ตอนถีบลูกศิษย์ หลวงพ่อชาไม่ได้มีคำว่าน้อยใจอยู่ ไม่ได้มีคำว่าโกรธอยู่
จึงไม่เป็นอาบัติ
อธิบายอย่างนี้ครับ
ผมไม่ได้รู้ในใจท่านหลวงพ่อนะครับว่าเป้นยังไง
แต่ท่านสอนศิษย์ฝรั่งคนหนึ่งนั้น ท่านพูดภาษากันไม่รู้เรื่อง
คนหนึ่งพูดไทยไม่ได้ คนหนึ่งพูดฝรั่งไม่ได้
แต่ท่าน"อ่านใจ" ลูกศิษย์ได้ว่ากำลังคิดอะไร จึงได้ออกอุบายบาทาสั่งสอนไป
คือใช้เท้าพาลูกศิษย์ลงนรก ในขณะที่จิตเขากำลังยินดีในการปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อ
เรียกว่า ถีบให้ตกจากสวรรค์
จะศิษย์ได้สำนึกว่า กุศลจิต กับ อกุศลจิต แตกต่างกันอย่างไร ต้องวางหน้าที่อย่างไร
ทำให้ผู้โดนถีบ เกิดปัญญาขึ้น เจริญขึ้น
การที่ท่านอ่านใจคนได้ น่าจะเรียกว่ามี "เจโตปริยาญาน"
ซึ่งผู้จะได้อภิญญาข้อนี้ ต้องปราศจากแล้วซึ่งความโกรธ และ น้อยใจ
จึงไม่น่าจะเรียกว่าผิดศีลต้องอาบัติครับ