ถามเรื่องการอุทิศร่างกายให้แก่โรงพยาบาลได้บุญกุศลอย่างไรหรือไม่

     

การที่มีผู้อุทิศหรือบริจาคร่างกายเมื่อถึงแก่กรรมไปแล้วให้แก่ทางโรงพยาบาล เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ศึกษาและจะเป็นประโยชน์แก่วงการแพทย์และคนทั่วไปนั้น อยากรู้ว่าการอุทิศร่างกายเช่นนี้จะได้บุญกุศลหรือไม่ ถ้าได้ได้มากน้อยเพียงไร และอย่างไร บางคนบอกว่าการที่บริจาคร่างกายให้แก่วงการแพทย์นั้นที่ว่าเป็นมหากุศลนั้นเป็นเพียงกุศโลบายที่ต้องการให้คนมาบริจาคร่างกายกันเพื่อจะได้มีร่างกายไร้วิญญาณมาเพื่อศึกษาเท่านั้นเป็นอย่างนั้นจริงหรือ กราบขอโทษที่ถามหลายๆตอน ขอความเมตตาช่วยตอบคำถามนี้ให้ด้วยสงสัยเหลือเกินและสงสับมากๆมานานแล้วด้วย กราบขอบพระคุณในคำตอบล่วงหน้าเป็นอย่างสูง   




ที่มา http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=15687

พระพุทธศาสนากับการบริจาคอวัยวะ - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


การบริจาคอวัยวะ
---------------------

การ บริจาคอวัยวะเป็นเรื่องที่คนไทยยังไม่คุ้นเคยเท่าไรนัก และมีคำถามมากมายที่ทำให้ผู้คิดจะบริจาคยังมีความลังเลอยู่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย จึงต้องประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะความเชื่อที่ยังอาจมีหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น ถ้าบริจาคอวัยวะให้เขาไปแล้ว เกิดมาชาติหน้าจะมีอวัยวะไม่ครบ

ดัง นั้น เพื่อให้เกิดความกระจ่างต่อสาธารณชนทั่วไป น.พ. วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนายการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ ฯ จึงได้เข้านมัสการเรียนถามพระคุณเจ้าพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์และไขข้อข้องใจได้เป็นอย่างดี

น.พ.วิศิษฏ์ มีข้อห้ามในศาสนาพุทธหรือไม่เกี่ยวกับเรื่อง "การบริจาคอวัยวะ"

พระ ธรรมปิฎก ตามปกติแล้วไม่มีข้อห้าม มีแต่จะสนับสนุน เพราะการบริจาคอวัยวะเป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นต้องการให้ผู้ อื่นพ้นจากความทุกข์ และมีการบริจาคจึงเป็นหลักธรรมที่สำคัญของศาสนา ไม่ว่าจะเป็น "ทศพิธราชธรรม"ก็ดี การบำเพ็ญ "บารมี" ของพระพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ก็ดี ก็มีการบริจาคเป็นคุณธรรมข้อแรก เรียกว่า "ทาน" และ "ทานบารมี" คือการให้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

โดยเฉพาะในการบำเพ็ญของพระ โพธิสัตว์นั้น การบริจาคอวัยวะเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นความคิดที่จำเป็นเลยที่เดียวที่ต้องทำ เพราะการก้าวไปสู่โพธิญาณ ต้องมีความเข้มแข็งของจิตใจ ในการเสียสละเพื่อความดี ทั้งนี้ทานที่เป็นบารมี จะแบ่งเป็น ๓ ขั้น เช่นเดียวกับบารมีอื่นๆ คือ

ทานบารมีระดับสามัญ คือการบริจาคทรัพย์สินเงินทองถึงจะมากมายแค่ไหนก็จะอยู่ในระดับนี้

ทาน ระดับรอง หรือจวนสูงสุด เรียกชื่อเฉพาะว่า "ทานอุปบารมี" ได้แก่ ความเสียสละทำความดี ถึงขั้นสามารถบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้ เพื่อรักษาธรรม

แน่นอนว่า การบริจาคอวัยวะนั้นเป็นบุญธรรมสำคัญและเป็นบุญมาก ตามหลักพระพุทธศาสนานอกจากเป็นบารมีขั้นทานอุปบารมีแล้ว ยังโยงไปหาหลักสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "มหาบริจาค" คือการบริจาคใหญ่ ซึ่งพระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติอีก ๕ ประการ คือ บริจาคทรัพย์ บริจาคราชสมบัติ บริจาคอวัยวะ และนัยน์ตา บริจาคตัวเองหรือบริจาคชีวิต และบริจาคบุตรและภรรยา

น.พ.วิศิษฏ์ ถ้าถามว่าการบริจาคอวัยวะนั้นได้บุญหรือเปล่าและใครเป็นคนได้ อย่างเช่น คนหนึ่งแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะได้ แต่เสียชีวิตในภาวะที่ไม่สามารถบริจาคได้ กับอีกคนหนึ่งไม่ได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้ แต่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตาย แล้วญาติได้ตัดสินใจบริจาค อันนี้ไม่ทราบว่าใครจะเป็นคนได้บุญ หรือได้บุญมากน้อยอย่างไร

พระ ธรรมปิฎก ในแง่นี้ต้องแยกออกเป็น ๒ ประเด็น ประเด็นที่หนึ่งก็คือว่า "เป็นบุญหรือไม่?" ซึ่งตอบได้เลยว่าเป็นบุญอยู่แล้ว ดังที่พระโพธิสัตว์ท่านบริจาค และเป็นบุญชั้นสูงถึงขั้นเรียกว่าบารมีเลยทีเดียว แต่สำหรับคนทั่วไปจะมีความตั้งใจที่จะบรรลุโพธิญาณหรือไม่เป็นอีกเรื่อง หนึ่ง ถ้าเราไม่มีความตั้งใจไม่ได้ตั้งปณิธานอย่างนี้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นบารมี แต่เป็นบุญซึ่งจัดว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่เลยทีเดียว เพราะเป็นบุญที่ทำได้ยาก ต้องมีความเสียสละจริงๆ เป็นอันว่าได้บุญแน่นอน เพราะเกิดจากเจตนาที่เสียสละให้ด้วยความกรุณาปราถนาดีต่อผู้อื่นอันใหญ่หลวง

ใน ส่วนที่ว่า "ใครจะเป็นผู้ได้บุญ?" นั้น ตอบง่ายๆ ว่าใครเป็นผู้บริจาคคนนั้นก็ได้ เพราะมันอยู่ที่เจตนาของผู้นั้น ในกรณีที่เป็นคนตายไปแล้วและญาติบริจาค ก็เลยกลายเป็นว่าคนที่ตายไปแล้วไม่ได้รับ เพราะว่าไม่ได้ตั้งเจตนา ในแง่นี้ต้องพูดอีกขั้นหนึ่ง คือญาติที่บริจาคนั้นต้องอุทิศกุศลไปให้เขาอีกทีหนึ่ง ในทางธรรมถือว่า ถ้าบริจาคในขณะที่ตัวยังเป็นอยู่ ก็จะเป็นบุญขั้นสูง

น.พ.วิศิษฏ์ คนที่ได้รับอวัยวะไปแล้ว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เจ้าของอวัยวะจะได้รับผลบุญนั้นหรือไม่ เพราะทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ไม่ได้บอกชื่อของคนที่บริจาค ผู้ที่รับอวัยวะไปจะอธิฐานอย่างไรดี

พระธรรมปิฎก แม้จะไม่ระบุชื่อผู้ที่เราอุทิศส่วนกุศลให้ เพียงแต่ตั้งใจว่าอุทิศให้แก่เจ้าของอวัยวะที่บริจาคให้เรา ก็ถือว่าเราก็ได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับท่านเจ้าของที่บริจาคอวัยวะให้ เราแล้ว

น.พ.วิศษฏ์ ปัญหาที่เราเจอในการทำการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไป แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะคือ บางคนยังเชื่อว่าถ้าให้อวัยวะเขาไปแล้วในชาตินี้ เกิดมาชาติหน้าจะมีอวัยวะไม่ครบ

พระธรรมปิฎก อันนี้ไม่จริงเลย โดยมีแง่พิจารณา ๒ อย่างคือ

๑. ในแง่หลักฐานทางคัมภีร์แสดงว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบริจาคนัยน์ตา ก็เป็นเหตุให้พระองค์ทางได้สมันตจักษุ คือมีพระเนตรหรือดวงตาที่เป็นพิเศษสุดของพระพุทธเจ้า ซึ่งเราแปลว่าเป็นดวงตาที่มองเห็นโดยรอบ ไม่ได้หมายถึงดวงตาที่เป็นวัตถุอย่างเดียว แต่หมายถึงดวงตาทางปัญญาด้วย ในแง่พระคัมภีร์ก็สนับสนุนชัดเจนว่าในชาติหน้ามีแต่ผลดี

๒. ในแง่เหตุผลที่เข้าใจกันว่าบริจาคอวัยวะไปแล้ว เกิดมาอวัยวะจะบกพร่อง เหตุผลที่ถูกต้องมันไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องมองว่าชีวิตที่เกิดมานี้ จิตใจเป็นส่วนสำคัญในการปรุงแต่งสร้างสรรค์ ถ้าเรามีเมตตาคิดดีปรารถนาดีต่อผู้อื่น ยิ้มแย้มแจ่มใส ต่อไปตาเราจะถูกปรุงแต่งให้แจ่มใสเบิกบาน

ในทางกลับกัน ถ้าเราคิดร้ายต่อผู้อื่น มักโกรธ อยากจะทำร้ายรังแกเขาอยู่เรื่อย หน้าตาก็จะบึ้งตึงเครียด หรือถึงกับดูโหดเหี้ยมนี้เป็นผลมาจากสภาพจิตที่เคยชินในชีวิตประจำวัน แม้แต่ในชาติปัจจุบันนี้เอง

ทีนี้ชีวิตที่จะเกิดต่อไปก็จะต้องอาศัย จิต ที่มีความสามารถในการปรุงแต่ง ขอให้คิดง่ายๆ ว่า คนที่จะบริจาคอวัยวะให้คนอื่น ก็คือ ปราถนาดีต่อเขา อยากให้เขาเป็นสุข อยากให้เขาพ้นทุกข์ หายเจ็บป่วย จิตอย่างนี้ในตอนคิดก็เป็นจิตที่ดี คือจิตใจที่ยินดีเบิกบาน คิดถึงความสุขความดีงามความเจริญ จิตก็จะสะสมความโน้มเอียงและพัฒนาความสามารถในด้านนี้ ถ้าคิดบ่อยๆ จิตก็จะยิ่งมีความสามารถและมีความโน้มเอียงไปในทางที่จะปรุงแต่งให้ดี และคุณสมบัตินี้ก็จะฝังอยู่เป็นสมรรถภาพของจิต

เพราะฉะนั้นในการบริจาคเราจึงต้องทำจิตใจให้ผ่องใส ให้ประกอบด้วยคุณธรรม มีเมตตาปราถนาดี และอันนี้แหละที่จะทำให้เราได้บุญมาก

น.พ.วิศษฏ์ แพทย์ควรปฏิบัติตัวอย่างไรกับผู้บริจาคอวัยวะ

พระ ธรรมปิฎก เขาบริจาค เขาเป็นผู้เสียสละเป็นผู้มีคุณธรรม เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมองว่าเราต้องยกย่องให้เกียรติ และถือว่าเขาเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้สังคม ช่วยให้เพื่อนมนุษย์อยู่ดีหายโรค หายภัย และเป็นอยู่ดีขึ้น นั่นก็ควรแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการยอมรับหรือเห็นคุณค่า ซาบซึ้งในประโยชน์ที่เขาได้ทำไปแล้ว การปฏิบัติต่อกันก็ธรรมดา แต่หากว่าเรามีจิตดีแล้วการปฏิบัติการแสดงออกก็จะดีจริงๆ

--------------------------------------------
คัดลอกจาก: ธรรมเพื่อชีวิต
เล่มที่ ๒๕ ฉบับวันเข้าพรรษา ๒๕๔๓
มูลนิธิพุทธศาสนาศึกษา
วัดบุรณศิริมาตยาราม



• "ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าขรา" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)

• "สติ เปรียบหางเสือเรือชีวิต" (สมเด็จพระญาณสังวร)

• หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ (2125 - 2225)

• "หลงโลก หลงยึด" : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

• ขอเมตตาสร้างทางกันไฟรอบวัดเพื่อช่วยสัตว์น้อยใหญ่

• เทศกาลวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย