ความเข้าใจของกระผมต่อไปนี้ผิดหรือถูกอย่างไรหรือไม่

     

กระผมเคยบอกแล้วว่าเพิ่งศึกษาธรรมะ และที่ผ่านๆมาผมเข้าใจของกระผมเองในเรื่องต่อไปนี้ คือ (1) การนั่งภาวนากับการนั่งกรรมฐานคือความหมายอันเดียวกัน เข้าใจว่า คือการนั่งฝึกจิตให้แน่วแน่ สงบนิ่งไม่วอกแวกและกำลังฝึกปฎิบัติอยู่ถ้ามีโอกาส (2) ส่วนคำว่าวิปัสนากรรมฐานกระผมเข้าใจเอาเองอีก คือเข้าใจว่าการนั่งพินิจพิจารณาดูความเป็นตัวตนของตนเอง ว่าขณะนั้นกำลังทำอะไรอยู่ก็ให้รู้ว่าทำอะไร เช่นนั่ง นอน เกาหลัง ง่วงนอน ปวดหลัง แล้วมาพิจารณาว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นและไม่เป็นเช่นนั้นได้หรือไม่ พูดง่ายๆก็คือให้รู้จักตัวตนของตัวเองว่าทำไมจึงเป็นไปเช่นนั้น ทั้งสองข้อนั้นกระผมเข้าใจเอาเองมานานอย่างนั้น จะเป็นการเข้าใจที่ผิดหรือถูกเพียงไร หากผิดขอได้เมตตาช่วยแนะช่วยเสริมให้ด้วย เพื่อจะเป็นแนวทางปฎิบัติให้ถูกต้องต่อไปหากมีโอกาส ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ   




กรรมฐานคืออะไร กรรมฐาน เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐาน ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจร ตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆ ส่วนโยคาวจร คือ ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร

การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐานจึงหมายถึงการใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรหมั่นระลึกถึงกุศลและรักษากุศลนั้นอยู่มิให้เสื่อมไป

หากกล่าวถึง คำว่า กรรมฐาน เราจะเข้าใจกันว่า กรรมฐาน คือ สมาธิหรือการนั่งหลับตาท่องคำซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นการกระทำบางอย่างที่ต่างไปจากพฤติกรรม การให้ทาน การรักษาศีล

แต่สำหรับความหมาย ที่มีมาในพระบาลี ตามนัยแห่งมูลฎีกาแสดงวินิจฉัยคำ “กรรมฐาน” ไว้ว่า
กมฺมเมว วิเสสาธิคมนสฺส ฐานนฺติ กมฺมฐาน
แปลว่าการงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษชื่อว่า“กรรมฐาน”


เหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะนั่งหลับตาภาวนาดังกล่าว แต่มีองค์ประกอบและรายละเอียด อีกมากมาย ดังนั้น ความหมายของกรรมฐานเท่าที่เราเข้าใจ จึงยังคลุมเครือและยังต่างจากความหมายที่แท้จริงอยู่มาก การสร้างความบริสุทธิ์แห่งจิตนี้ จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ได้ สิ่งอิงที่ว่านี้มี ๒ ลักษณะ คือ อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่อยู่ภายนอกระบบร่างกายและจิตใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจก็ได้ สิ่งที่อยู่นอกระบบร่างกายและจิตอาจเป็นส่วนที่สร้างขึ้นหรือมาจากภาวะแวดล้อม เช่น ดวงกสิณ ซากศพ หรืออาหารที่รับประทานอยู่ทุกวัน ส่วนสิ่งที่มาจากภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจ ก็คือ อริยาบถต่าง ๆ และความคิด เป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำมาเป็นองค์ประกอบในการฝึกอบรมจิตที่เรียกว่ากรรมฐานได้

การปฏิบัติกรรมฐาน เป็นการกระทำด้วยความตั้งใจหรือจงใจลักษณะหนึ่ง แต่เป็นไปในฝ่ายกุศลส่วนเดียว เพราะมิได้มีเหตุจูงใจจากความต้องการในกามคุณอารมณ์ การปฏิบัติกรรมฐานจึงไม่ขึ้นกับโลกธรรมและกามคุณดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายพื้นฐาน คือ การอบรมจิตใจให้สงบจากนิวรณ์ธรรม คือ ตัณหา ความคิดมุ่งร้าย ความเกียจคร้าน ความเร่าร้อน ไม่สบายใจ และระแวงสงสัย เป็นต้น จิตที่สงบจากนิวรณ์ธรรมทั้งหลายจักเข้าถึงสภาวะแห่งปัญญาได้ไม่ยากนัก

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ link นี้ครับ

http://www.abhidhamonline.org/kammathana.htm


• เผชิญความตายด้วยใจสงบ

• บทสวดมหาเมตตาใหญ่ เสียงหลวงพ่อจรัญฯ สวดทุกวันอย่างน้อยวันละ 3 รอบ แก้กรรม

• สิ่งที่ก่อให้เกิดเป็นคุณและโทษ - หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีดว

• เผชิญความตายด้วยใจสงบ

• พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ (2399 - 2475)

• ฝึกสมาธิง่ายๆ 5 นาที ตามแบบฉบับคุณหมอสันต์ (5 Minutes Meditation)

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย