มีคำถามครับ รบกวนด้วยนะครับ อยากทราบว่าเพราะเหตุใดจึงใช้ภาษาบาลีในการบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกครับ ขอบคุณมากครับ
ผมขอคัดลอกคำตอบมาจากที่ต่างๆเพื่อความรู้ที่กว้างขางนะครับ
พระไตรปิฎกบันทึกด้วยภาษามาคธี (แขนงหนึ่งของภาษาตระกูลปรากฤต) ต่อมาได้เปลี่ยนมาเรียกเป็นภาษาบาลี หรือ ตันติภาษา เมื่อจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เนื่องจากภาษาบาลี เป็นภาษาถิ่น (ภาษาตลาด) ไม่มีอักขระเป็นของตน ผู้ประสงค์จะเรียนพระไตรปิฎก จึงต้อง "ถอด" (transliterate) เป็นอักขระของตน เช่น เรียนที่ประเทศตะวันตก ก็ถอดเป็นอักษรโรมัน เรียนที่ประเทศไทยก็ถอดเป็นอักษรไทย
ที่มา :
http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_05.htm
บาลี & สันสกฤต
พุทธมหายาน บันทึกด้วย ภาษาสันสกฤต
พุทธเถรวาท บันทึกด้วย ภาษาบาลี
ภาษาทั้งสองนั้นเกิดในประเทศอินเดีย โดยเมื่อประมาณ 2500ปี ก่อน คริสตกาล ชนชาติอารยันได้เข้ามาในอินเดีย โดยเข้ามาเป็นระลอกๆ ใช้เวลานับพันปี ทำให้มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมากมาย และได้มีบทสวดเพื่อสดุดีเทพพระเจ้าของตน เป็นร้อยกรองชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า " โศลก " โดยจะสืบทอดบทสวดนี้เป็นแบบสืบๆกันมา หรือ " มุขปาฐะ " โดยเรียกบทสวดทั้งหมดนี้ว่า " คัมภีร์พระเวท " ต่อมาปราชญ์ชาวอารยันท่านหนึ่งชื่อ " ปาณินิ " มีความเห็นว่า.. ถ้าปล่อยให้ภาษาพื้นเมือง ( อินเดีย ) มาปะปนอยู่ในภาษาพระเวทมากขึ้นอาจจะทำให้ลักษณะเดิมของภาษาตนเสียไป จึงเขียนตำราไวยกรณ์เล่มหนึ่งชื่อ " อัษฎาธฺยายี " แปลว่า " คัมภีร์แปดบท " แล้วจัดระบบภาษาใหม่เรียกว่า " สันสกฤต " แปลว่า ขัดเกลาแล้ว ภาษาสันสกฤตเกิดในระยะ 1500 ปี ก่อน คริสตกาล ส่วนภาษาบาลีนั้นก็มาจากภาษาปรากฤต ดังที่คุณ Scarecrow ได้กล่าวไว้ข้างต้นแหละครับ ภาษาบาลีเกิดในระยะ 250 ปี ก่อนคริสตกาล ภาษาบาลีถูกนำมาใช้บันทึกพุทธวัจนะเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อประมาณพุทธศรรตวรรษที่ 3 ปรากฎหลักฐานเป็นครั้งแรกในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช ถือเป็นภาษาประจำพุทธศาสนานิกายหินยาน ส่วนพุทธศาสนานิกายมหายานใช้ภาษาสันสกฤตบันทึกพุทธวัจนะ
ที่มา:
http://www.geocities.com/Athens/Troy/2909/Misc/K152361.html
เอาเท่าพอรู้นะครับอาจถูกผิดบ้าง
พระพุทธเจ้าเสด็จแสดงธรรมด้วยภาษาท้องถิ่นต่างๆ ตามแต่เสด็จไป(นั่นแปลว่าตรัสได้หลายภาษา) ภาษาบาลี เป็นภาษามคธโบราณที่พุทธเถรวาทใช้ในการ สังคยานาพระไตรปิฏก ปฐมสังคายนาก็ใช้ที่แคว้นนี้ เนื่องจากเป็นเมืองมหาอำนาจพอควร สมัยก่อนระดับอินเดียมีหรือจะไม่มีภาษาเขียนผมว่ามี แต่พระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้า ทรงไม่ให้ บัญญัติเป็นภาษาเขียน(เพราะมีการเขียนเมื่อไหร่ คนก็เขียนบิดเบือนกันแหลก ตามวิสัยมนุษย์โดยเฉพาะ ลัทธิอื่นที่พร้อมจะสวมรอย)ขนาดสมัยนี้วุฒิบัตรยังปลอมกันได้ เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของพระธรรม จึงใช้มุขปาฐะ ท่องจำซ้ำๆ นอกจากได้ผลทางสมาธิแล้วยังบิดเบือนยาก เวลาอ่านหนังสือเราจำประโยคไม่ได้หมดหรอก แต่ร้องเพลงทำไมเราจำได้และทัก อะ คนนี้ร้องผิด นีคืออัจฉริยภาพของพระองค์ หรือศิลปะในการรักษาธรรม และหมดยุคมุขปาฐะและแตกความเห็นต่างแยกนิกายไป ก็ใช้ภาษาแต่ละท้องถิ่นจารึกลงกระดาษ ก็แทรกเสริมคำสอนให้เหมาะสมไปตามสภาพบริบทแต่ละยุคสมัยครับ
ที่มา: :
http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y5276495/Y5276495.html
ผังแสดงเส้นทางภาษาบาลี ตั้งแต่ อดีต ถึง ปัจจุบัน
ลำดับยุคต้น
ลำดับกาล มี ๒ คือ
1. อาทิกัปปกาล
ภาษาที่ใช้ คือ มูลภาษา
กลุ่มบุคคลที่ใช้คือ มนุษย์ต้นกัป
2. อาทิกัปปตันติกาล
ภาษาที่ใช้ -- คือ มูลภาษา และ ตันติภาษา
กลุ่มบุคคลที่ใช้ -- คือ มูลสันตติวงศ์ , ผู้สืบเชื้อสายจากมนุษย์ต้นกัป และ นักพรตเจ้าลัทธิ
ลำดับยุคกลาง
ลำดับกาล มี 2 คือ
1. โบราณกาล
ภาษาที่ใช้ -- คือ มูลภาษา ตันติภาษา ธัมมนิรุตติ มคธ(มาคธี)
กลุ่มบุคคลที่ใช้ -- คือ มนุษย์ยุคโบราณ นักพรตเจ้าลัทธิ ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ พระปัจเจกพุทธเจ้า
2. พุทธกาล
ภาษาที่ใช้ -- คือ มูลภาษา ตันติภาษา ธัมมนิรุตติ สภาวนิรุตติ อริยภาษา และ มคธ(มาคธี)
กลุ่ม บุคคลที่ใช้ -- คือ นักพรตเจ้าลัทธิ โบราณจารย์ ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ ผู้รู้ถ้อยคำบัณฑิต พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระอริยสาวก พุทธบริษัท๔
ลำดับยุคปลาย
ลำดับกาล มี 1
1. อนุพุทธกาล
ภาษาที่ใช้ -- คือ มูลภาษา ตันติภาษา ธัมมนิรุตติ สภาวนิรุตติ อริยภาษา มคธ(มาคธี) และ บาลี(ปาฬิ)
กลุ่ม บุคคลที่ใช้ -- คือ โบราณจารย์ ผู้แสวงหาถ้อยคำของบัณฑิต ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ พระอริยสาวก พุทธบริษัท๔ พระคันถรจนาจารย์ และ นักศึกษานักค้นคว้า
ข้อมูลจาก
เอกสารประกอบคำบรรยาย"พระไตรปิฎกเบื้องต้น"
โดยพระมหาสมปอง มุทิโต : ชมรมนิรุตติศึกษา วัดมหาธาตุ คณะ๒๕
ที่มา::
http://larndham.net/index.php?showtopic=15933&st=0
ขอบพระคุณมากครับ รบกวนอีกนิดนะครับ แล้วเป็นไปได้หรือไม่ว่า การใช้ภาษาบาลีบันทึกพุทธวัจนะก็เพื่อรักษาความหมายที่แท้จริงของหลักธรรมไว้ เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่มีคนใช้ (ภาษาที่ตายแล้ว) ความหมายจะไม่เปลี่ยนแปลงไปอีก ไม่เหมือนกับภาษาที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน จะมีความหมายเปลี่ยนแปลงและมีคำใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น ภาษาไทยสมัยโบราณกับสมัยปัจจุบัน คำพูดคำเดียวกันแต่มีความหมายไม่เหมือนกัน เป็นต้น ช่วยตอบเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยครับ เด็กถามแล้วผมตอบไม่ได้ว่าทำไมต้องสวดเป็นภาษาบาลี เพราะฟังพระสวดภาษาบาลีแล้วไม่รู้เรื่อง
เป็นไปได้ตามที่คุณคิดและมุขปาฐะดีกว่าการจารึกเขียนลงแน่นอน ที่พระท่านสวดเป็นภาษาบาลีเพราะต้องการรักษาพระพุทธวัจนะให้เหมือนเดิมที่สุด การแปลเป็นไทยก็ดีควรทำคู่กันเพื่อให้รู้เรื่อง แต่ต้องอย่าลืมว่าการแปลขึ้นอยู่กับคนที่แปล พระไตรปิฎกภาษาไทยที่มีอยู่ขณะนี้ 4 ฉบับยังแปลไม่เหมือนกันเลย จึงต้องอาศัย พระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นหลัก
พระพุทธองค์ทรงเห็นเหตุแห่งความเจริญและเหตุแห่งความเสื่อมของพระธรรมคำสอน อันเปรียบเสมือนตัวของพระองค์เองในภายหลังการดับขันธปรินิพพาน จึงได้แสดงไว้แล้วใน "อปริหานิยธรรมทั้ง ๗" ซื่งมีอยู่หลายบท หาศึกษาได้ในพระไตรปิฎก และสิ่งที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงเหตุแห่งการเสื่อมที่สำคัญอีกสองประการ คือผู้ที่เกลียดและผู้ที่รัก ผู้ที่เกลียดไม่ต้องกล่าวถึง แต่ที่สำคัญคือผู้ที่รัก ที่อยู่ในพระพุทธศาสนานี้ ในเมื่อไม่ตั้งใจจริง ก็จะเรียนผิด ทรงจำผิด ถ่ายทอดผิด ที่ร้ายยิ่งคือตีความผิด ด้วยไม่พากเพียรปฏิบัติตามสำสอนของพระองค์ แต่กลับเรียนรู้จากผู้ที่ตีความไปตามกิเลสเหตุเพราะง่าย และได้สรรเสริญ เพราะมีวุฒิบัตรรับรอง แต่ไม่มีใครในส่วนมาก มีเพียงส่วนน้อยที่จะพากเพียรเรียนรู้ตามพระพุทธองค์ เหตุเพราะไม่มีวุฒิรับรอง
ฉะนั้น คำสอนของพระพุทธองค์ จึงต้องเป็นภาษาพูด เป็นภาษาที่ตายแล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงความหมายได้ คือภาษาบาลีหรือปาฬิ ถ้าเรียนรู้คำสอนของพระพุทธองค์แม้จะเป็นภาษาที่แปลมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดๆ ในโลกนี้ ควบคู่กับการปฏิบัติตามคำสอนที่ไม่ต้องตีความ เหตุเพราะทั้งหมดได้ยกตัวอย่างไว้อย่างชัดเจน เพียงมองดูและละวังความคิดของตนเอง เหตุเพราะว่า ความคิดนั้นเป็นนาย ส่วนการกระทำนั้นเป็นขี้ข้า (จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว) เมื่อรู้เช่นนี้ ก็เพียรพยามยามระมัดระวังความคิดของตนเองอย่าประมาท ดูตัวเองให้มากเข้าไว้ แก้ไขตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่ต้องขนขวายมากในการแก้ไขคนอื่น เท่านี้ก็พอแล้ว ที่ไม่ดีก็รู้ที่ดีก็รู้ พยายามหยุดที่ไม่ดี พยายามทำที่ดีให้มาก แก้ไขตัวเองไปเรื่องๆ อย่างไม่ยอมแพ้ เท่านี้ก็พอแล้ว ถ้าพ่ายแพ้ต่อกิเลสอย่างเบาบางที่พอแก้ไขได้ก็ยังพอมีทาง แต่ถ้าพ่ายแพ้ต่อตัวเองด้วยตัวหนักๆ ที่ไม่อาจแก้ไขได้ ก็เท่ากับปราชัย (ปราชิก) ต่อพระธรรมคำสอน อย่างนี้ก็ไม่เหลือดีแล้วละ ที่ยังทนห่มผ้ากาสาวะอยู่ก็ด้วยไม่มีที่ไป ต้องหน้าด้านทนห่อตัวอยู่ทั้งที่รู้ว่าไม่มีสิทธิ ก็เท่ากับคนที่ทำลายพระศาสนา ทำลายพระธรรมคำสอน อย่างนี้มีอยู่มากในยุคปัจจุบัน เพราะไม่เข้าใจ ไม่ศึกษาปฏิบัติสิ่งที่ถูกต้อง ตั้งความเพียรไว้ผิด ดุจดังตั้งเอาที่แหลมขึ้น เพียรเท่าไรก็ต้องระคายเคืองเป็นธรรมดา แต่ว่ามันตรงกับยุคสมัย มันเข้ากันได้กับกิเลส อะไรที่เป็นการทำลายกิเลส สิ่งนั้นคือความถูก อะไรที่ตามกิเลสสิ่งนั้นเป็นความผิด ไม่ควรพากเพียร เท่านี้ก็พอแล้ว ไม่ทำความเสื่อมให้กับพระศาสนาแล้ว ไม่ทำลายพระธรรมแล้ว