เผยแพร่งานวิจัยธรรมะ

 krudara    

ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้จากบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องพุทธธรรม
เพื่อชีวิตและสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน
ผู้วิจัย นางดารา ชื่นชม
ปีการศึกษา 2549

บทคัดย่อ

บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบการเรียนรายบุคคลที่เน้นให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ ทุกที่ทุกเวลาตามความสามารถและความสนใจโดยอาศัยประโยชน์จากทรัพยากรอินเทอร์เน็ตมาออกแบบบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน นักเรียนแต่ละบุคคลมีรูปแบบการเรียนรู้แตกต่างกัน การเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่องพุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคมในรายวิชาพระพุทธศาสนาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 90 คน ได้จากการสอบถามวัดรูปแบบการเรียนแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มทดลองที่ 1 การเรียนรู้แบบอิสระ กลุ่มทดลองที่ 2 การเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยง กลุ่มทดลองที่ 3 การเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มทดลองที่ 4 การเรียนรู้แบบพึ่งพา กลุ่มทดลองที่ 5 การเรียนรู้แบบแข่งขัน และกลุ่มทดลองที่ 6 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มละ 15 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่องพุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการเรียนและแบบทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test
ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
1. บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.80/80.06 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้นมีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.71 ซึ่งแสดงว่าบทเรียนนี้ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 71
3. นักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ทั้ง 6 กลุ่ม มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้หลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างกัน
4. นักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ทั้ง 6 กลุ่ม มีความคงทนในการเรียนรู้ ไม่แตกต่างกัน
โดยสรุปบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องพุทธรรมเพื่อชีวิตและสังคม ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเหมาะสมควรนำมาใช้สอนผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของการเรียน
   




เชิญท่านที่มีความสนใจในเรื่องของจิตที่เป็นธรรม ร่วมกันสนทนากันในกระทู้นี้นะครับ
uthenkhongmee - [DT05706]


• พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการและพุทธจริยา ๓ ประการ

• โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส ผู้ใดเป็นพาล แต่รู้สึกความที่ตนเป็นพาลได้ ผู้นั้นยังเป็นเห

• 113(28/04/64) เวลา 18.00 น. บรรยายธรรม โดย พระสมจิตร สุธมฺโม

• "การภาวนาเป็นอริยทรัพย์ภายใน" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)

• ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี บริวารปัจจัยตามกำลัง

• หนอน...กับเทวดา

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย