ยังสงสัยและสับสนกับคำว่า สมาธิ กับคำว่า ภาวนา สองคำนี้ต่างกันหรือไม่อย่างไรครับ ได้โปรดเมตตาอธิบายให้ด้วยครับ กราบขอบพระคุณล่วงหน้ามากๆครับ
ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา
ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ
1. สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา ก็ได้
2. วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า ปัญญาภาวนา ก็ได้
ภาวนา เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่าภาวนามัย คือบุญที่เกิดจากการภาวนา
โดยสรุปรวมใช้ในความหมายเหมือนกันครับว่าเป็นการเจริญกรรมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังกล่าวข้างบน
lสาธุๆๆ
การทำบุญ มี
1)ทาน
2)ศีล
3)การเจริญภาวนา
การเจริญภาวนา ก็แบ่งเป็น
1) การเจริญสมถะกรรมฐาน
2) การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
การเจริญภาวนา มีท่า ยืน เดิน นั่ง นอน
เช่น ยืนกำหนดรูปยืน ยืนหนอ ยืนหนอ..
นั่งก็กำหนดลมหายใจ คืออาณาปาณสติ
การนั่งสมาธิ ก็คือการเจริญภาวนาในท่านั่ง ใช้หลัก อาณาปาณสติ คือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
จะบริกรรม พองหนอ-ยุบหนอ / พุธโธ / หรือ สัมมาอรหัง ก็แล้วแต่
สมาธิ กับ ภาวนา นั้น สามารถใช้พร้อมๆกันได้ครับ อย่างที่เพื่อนๆได้กล่าวขึ้นแล้ว
สมาธิเป็นการทำจิตใจให้สงบให้เกิดสติที่ถึงพร้อมในสภาวะธรรม
ภาวนาเป็นการพินิจพิจารนาในสภาวะธรรมนั้นๆพร้อมทั้งอบรมจิตและยกระดับจิตให้บริสุทธิมากขึ้น
การภาวนาสมาธิมี 2แบบ 1. สมถกรรมฐาน 2. วิปัสนากรรมฐาน
การเริ่มต้นการทำสมาธิควรเริ่มที่ สมฐกรรมฐานก่อนคือการสร้างสติสัมปชัญญะ
เพื่อให้เกิดความรู้เท่าทันในกาลปัจจุบัน โดยมีกุศโลบายให้เลือกภาวนา คือ กรรมฐาน 40 กองด้วยกัน เมื่อภาวนาจนเกิดสติที่แน่วแน่มั่นคงรู้เท่าทันในปัจจุบันแล้ว จึงเริ่ม วิปัสนากรรมฐานต่อไป คือการพิจารณาให้เกิดปัญญารู้ซึ่งถึงการเปลี่ยนแปลงในสภาวะ ของ ไตรรัตน์ ( เกิดขึ้น ตั้งอยู่และ ดับไป ) หรือพิจราณาในความเป็นไปใน อริยสัจ 4 ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) เป็นต้น เมื่อภาวนาวิปัสนากรรมฐานอยู่เป็นประจำจะเกิดธาตูรู้ หรือตัวรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมือของการเกิดปัญญาญาน
ทั้งนี้ ควรเริ่มตามความถนัดในกองกรรมฐาน 40 กอง