"ปัญญาเกิดก่อน"
" .. ครั้นถ้าหากพูดถึงเรื่องปัญญาแล้ว
"หัดสมถะก็ต้องเกิดปัญญาเสียก่อน จึงค่อยเกิดสมถะ" อย่างพิจารณาอสุภะ พิจารณาธาตุ พิจารณาขันธ์อายตนะต่าง ๆ
"เห็นเป็นของไม่เที่ยง เห็นเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันนั้นละตัวปัญญา"
ปัญญาเกิดก่อนจึงค่อยมีสมถะ ครั้นเห็นชัดอย่างนั้นแล้วจิตก็รวมลงไปได้ ถ้าไม่เห็นชัดอย่างนั้นจิตไม่รวม
"อันเห็นชัดนั้นเรียกว่าปัญญา อันนี้เรียกว่าปัญญาเกิดก่อนสมถะ สมถะเต็มที่แล้วจึงค่อยเกิดปัญญาวิปัสสนา"
"ปัญญาวิปัสสนาอันหนึ่งต่างหาก ปัญญาธรรมดาสามัญนี้อีกอันหนึ่งต่างหาก"
อย่าว่าตั้งแต่สมถะเลย ทาน ศีล ภาวนา เบื้องต้นแหละ
"ทานนี้ต้องมีปัญญาจึงสามารถทําทานได้ เห็นว่า ทานเป็นของดีวิเศษ" เป็นของช่วยมนุษย์คนทั้งปวงหมดให้อยู่ได้ด้วยการทําทาน เฉลี่ยความสุขให้คนอื่น
"เห็นประโยชน์ของการเฉลี่ยความสุขให้คนอื่น นั้นจึงค่อยทําทาน"
"การเห็นประโยชน์อันนั้นน่ะ นั่นแหละเรียกว่าปัญญา" เห็นคุณค่าของการทําทานนั้นเรียกว่า
"มีปัญญาจึงค่อยทําทานได้ นั่นละเกิดปัญญาก่อน"
รักษาศีลก็เหมือนกัน
"ศีลห้า ศีลแปด เห็นโทษของการทําชั่วบาปต่าง ๆ จริงจังด้วยใจจริง ๆ ชัดเจนจริง ๆ อันนั้นละเรียกว่าปัญญา" จึงค่อยสามารถรักษาศีลให้มั่นคงถาวรต่อไปได้ .. "
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
http://tesray.com/afterhours-25