นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ..
นิทเทศแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนี้
เอง, องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะ
ชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท. ! ความรู้ ในทุกข์
ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ใน ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทาง
เป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.
ภิกษุ ท. ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท. ! ความดำริในการ
ออก(จากกาม) ความดำริในการ ไม่พยาบาท ความดำริในการ ไม่เบียดเบียน, นี้
เราเรียกว่า ความดำริชอบ.
ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการ พูด
เท็จ การเว้นจากการ พูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการ พูดหยาบ การเว้นจากการ
พูดเพ้อเจ้อ, นี้เรียกว่า วาจาชอบ.
ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ การเว้นจากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๑ นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.
ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ในนี้ ละ
มิจฉาชีพ เสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.
ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน
ศาสนานี้ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร
ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ท. อัน
ลามกที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความ
เพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรม ท. อัน
ลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว;
๑. คำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวที่เป็นกลางๆทั่วไป. แต่ในบางกรณีซึ่งมีน้อยมากกล่าวว่า เว้นจากกรรมอันมิใช่
พรหมจรรย์ ก็มี ; เข้าใจว่าเป็นการกล่าวมุ่งหมายบรรพชิต. (มหาวาร. ส. ๑๙/๑๑/๓๗).
ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อม
ตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ท. ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความ
พอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อ
ความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ
ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรม ท. ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า
ความเพียรชอบ.
ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน
ศาสนานี้เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นกายในกาย อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสีย
ได้; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา ท. อยู่, มีความเพียรเครื่องเผา
บาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก
เสียได้; เป็นผู้มีปรกติพิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่, มีความเพียรเผาบาป มีความ
รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็น
ผู้มีปรกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรม ท. อยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความ
รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุ
ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสติ.
ภิกษุ ท. ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน
ศาสนานี้ เพราะสงัดจากกาม ท. เพราะสงัดจากอกุศลธรรม ท., ย่อมเข้าถึง ฌาน
ที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. เพราะวิตกวิจาร
รำงับลง, เธอเข้าถึง ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิ
เป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้ว
แลอยู่ เพราะปิติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึง ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่ว
พร้อม” แล้วแลอยู่. เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่ง
โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, เธอย่อมเข้าถึง ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข
มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า
สัมมาสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่
เหลือแห่งทุกข์.
- มหา. ที . ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.
ที่มา : - มหา. ที . ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.