ค้นหาในเว็บไซต์ :
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ประวัติ - สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

• นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ณ ตลาดศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

• บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี ที่วัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ และอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์(นาคหลวง) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๔ ก.ค. ๒๕๐๔ สำเร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก ป.ธ.๙ (ขณะเป็นสามเณร) และพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑)

• ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม

• ผลงานอันเลื่องชื่อที่ท่านมอบไว้เป็นมรดกแก่ชาวโลกคือ หนังสือ "พุทธธรรม" และงานนิพนธ์อันทรงคุณค่าอีกไม่ต่ำกว่า ๓๕๐ เล่ม

• พ.ศ. ๒๕๓๖ โปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายก ปาพจนดิลกนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

• พ.ศ. ๒๕๓๗ องค์การยูเนสโกได้น้อมถวายรางวัล การศึกษาเพื่อสันติภาพ แก่พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ซึ่งท่านเป็นคนไทยคนแรกและคนเอเชียคนที่ ๑๔ ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติยิ่งนี้

• พ.ศ. ๒๕๔๗ พระราชทานโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

• พ.ศ. ๒๕๕๙ พระราชทานโปรดสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฎ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี


ธรรมบรรยาย โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
( คลิกที่ภาพ - เลือกชุดฟังธรรมบรรยาย )


ทุกวันสำคัญ ชวนกันเจริญธรรม


ความสุขทุกแง่ทุกมุม


หมา-นุษย์ สันดานกา


ธรรมมีลำดับ ๒๕๕๑


ถ้ารู้ขั้นนี้ได้ ก็เริ่มถึงเนื้อในพระพุทธศาสนา


หลักชาวพุทธ


ธรรมะกับการศึกษา


พอรู้ทางก็สุขแท้


ธรรมนี้ มิไกล ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐


ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม


จากอินเดียสู่เอเชีย


ธรรมะจากเหตุการณ์ ๒๕๔๔


จะถือพุทธและรักษาธรรมได้ เรื่องอย่างนี้ต้องเข้าใจอย่าให้เพี้ยน


จาริกบุญ จารึกธรรม


จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา


ฟังธรรมตามกาล ๒๕๔๕


ธรรมะหลากหลายในปี ๒๕๔๖


ธรรมะมองโลก ๒๕๔๗


ทันโลก ถึงธรรม ๒๕๔๘


ธรรมไม่ทิ้งโลก ๒๕๔๙



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย