วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร



วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร , วัดประจำรัชกาลที่ ๒ , สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย

   วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น "วัดมะกอกนอก" เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่ อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ "วัดมะกอกใน" ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัด นี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง

 

เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น ราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จ พระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้ อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒โดยโปรดให้อัญเชิญ พระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐาน

 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มี พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง ไว้ในมณฑป และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรด พระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์) แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน


ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทาน พระนามวัดว่า "วัดอรุณราชธาราม"

 

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรดให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้น จนสำเร็จเป็นพระเจดีย์สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นิ้ว ฐานกลมวัดโดยรอบได้ ๕ เส้น ๓๗ วา ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔

 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์ สิ่งต่าง ๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง ทั้งยังได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของ พระประธานในพระอุโบสถที่พระองค์ ทรงพระราชทานนามว่า "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้พระราชทานนาม วัดเสียใหม่ว่า "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

 

ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่เกือบทั้งหมด โดยได้โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองในการบูรณะ และโปรดเกล้าฯให้นำเงิน ที่เหลือจากการบริจาคของพระบรมวงศานุวงศ์ไปสร้างโรงเรียนตรงบริเวณกุฎีเก่า ด้านเหนือ ซึ่งชำรุดไม่มีพระสงฆ์อยู่เป็นตึกใหญ่แล้วพระราชทานนามว่า "โรงเรียนทวีธาภิเศก" นอกจากนั้นยังได้โปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานอำนวยการปฏิสังขรณ์พระปรางค์ องค์ใหญ่ และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองใหญ่รวม ๓ งานพร้อมกันเป็นเวลา ๙ วัน คือ งานฉลองพระไชยนวรัฐ งานบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล คือ มีพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ งานฉลองพระปรางค์

 

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการปฏิสังขรณ์ เป็นการใหญ่มีการประกอบพิธีบวงสรวงก่อนเริ่มการบูรณะพระปรางค์ใน วันพุธที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๐ และการบูรณะก็สำเร็จด้วยดีดังเห็นเป็นสง่างามอยู่จนทุกวันนี้





- พระอุโบสถ-

- พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถ -

 

วัดประจำรัชกาลที่ ๒

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  คือ “วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดแจ้ง”  เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ ๑  ที่ประทับของท่านจะอยู่ที่พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี และวัดที่อยู่ใกล้กับ พระราชวังเดิมที่สุดก็คือวัดอรุณราชวราราม พระองค์ท่านจึงได้โปรดเกล้าฯ  ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ และยังได้ทรงลงมือปั้นหุ่นพระพักตร์ ‘พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก’  พระประธานในพระอุโบสถ ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกด้วย  และเมื่อพระองค์ท่านทรงเสด็จสวรรคต พระบรมอัฐิของพระองค์ ก็ถูกนำมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามแห่งนี้


วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัดในสมัยโบราณ  ตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏมีเพียงว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา  มีมาก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช ๒๑๙๙-๒๒๓๑)  เพราะมีแผนที่เมืองธนบุรีซึ่งเรือเอก เดอ ฟอร์บัง (Claude de Forbin)  กับนายช่าง เดอ ลามาร์ (de Lamare) ชาวฝรั่งเศส ทำขึ้นไว้เป็นหลักฐานในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  อีกทั้งวัดแห่งนี้ยังมีพระอุโบสถและพระวิหารของเก่าที่ตั้งอยู่ ณ  บริเวณหน้าพระปรางค์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยา


มูลเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้แต่เดิมว่า “วัดมะกอก” นั้น ตามทางสันนิษฐานเข้าใจว่า คงจะเรียกคล้อยตามชื่อตำบลที่ตั้งวัด ซึ่งสมัยนั้นมีชื่อว่า ‘ตำบลบางมะกอก’  (เมื่อนำมาเรียกรวมกับคำว่า ‘วัด’ ในตอนแรกๆ คงเรียกว่า ‘วัดบางมะกอก’ ภายหลังเสียงหดลงคงเรียกสั้นๆ ว่า ‘วัดมะกอก’) ตามคติเรียกชื่อวัดของไทยสมัยโบราณ  เพราะชื่อวัดที่แท้จริงมักจะไม่มี จึงเรียกชื่อวัดตามชื่อตำบลที่ตั้ง  ต่อมาเมื่อได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่อีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกันนี้  แต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดที่สร้างใหม่ ว่า “วัดมะกอกใน” (ในปัจจุบันคือ วัดนวลนรดิศวรวิหาร)  แล้วเลยเรียก ‘วัดมะกอก’ เดิมซึ่งอยู่ตอนปากคลองบางกอกใหญ่ ว่า “วัดมะกอกนอก” เพื่อให้ทราบว่าเป็นคนละวัด


ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานี มาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้า  ‘วัดมะกอกนอก’ แห่งนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอก  เป็น ‘วัดแจ้ง’ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงการได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง


เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยา มาตั้ง ณ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ.๒๓๑๑ และได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่  มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตกเข้ามาอยู่กลางพระราชวัง จึงโปรดไม่ให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา  การที่เอาวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวังนั้น  คงจะทรงถือแบบอย่างพระราชวังในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ในพระราชวัง  การปฏิสังขรณ์วัดเท่าที่ปรากฏอยู่ตามหลักฐานในพระราชพงศาวดาร ก็คือ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ และพระวิหารหลังเก่าที่อยู่หน้าพระปรางค์ กับโปรดให้สร้างกำแพงพระราชวังโอบล้อมวัด  เพื่อให้สมกับที่เป็นวัดภายในพระราชวัง แต่ไม่ปรากฏรายการว่า  ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์หรือก่อสร้างสิ่งใดขึ้นบ้าง


ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง  ซึ่ง สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก  (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑)  ไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ในปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ (พ.ศ.๒๓๒๒)  แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์คือ พระแก้วมรกตและพระบาง  ลงมากรุงธนบุรีด้วย และมีการสมโภชเป็นเวลา ๒ เดือน ๑๒ วัน  จนกระทั่งถึงวันวิสาขปุณณมี วันเพ็ญกลางเดือน ๖ ปีชวด โทศก  จุลศักราช ๑๑๔๒ (พุทธศักราช ๒๓๒๓) โปรดเกล้าฯ  ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐานไว้ในมณฑป  ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถเก่าและพระวิหารเก่า หน้าพระปรางค์  อยู่ในระยะกึ่งกลางพอดี มีการจัดงานสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วันด้วยกัน


เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑  เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก  ด้วยเหตุนี้วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป  พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง  โดยนิมนต์ พระโพธิวงศาจารย์ จากวัดบางหญ้าใหญ่  (วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ) มาครองวัด พร้อมทั้ง พระศรีสมโพธิและพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งมาเป็นพระอันดับ


นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ ๒)  เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง  แต่การปฏิสังขรณ์คงสำเร็จเพียงกุฏิสงฆ์ ส่วนพระอุโบสถและพระวิหาร ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ก็พอดีสิ้นรัชกาลที่ ๑ ในปี พ.ศ.๒๓๕๒ เสียก่อน (เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน  ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง  ส่วนพระบางนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้โปรดพระราชทานคืนไปยังนครเวียงจันทร์ ประเทศลาว)


ต่อมาในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ  มีการจัดงานสมโภชใหญ่ถึง ๗ วัน ๗ คืน  แล้วโปรดพระราชทานพระนามวัดว่า ‘วัดอรุณราชธาราม’

ส่วนยอดสุดขององค์พระปรางค์ใหญ่ เป็น ‘ยอดนภศูล’ ครอบด้วยมงกุฎปิดทองอีกชั้นหนึ่ง


ในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓  ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรด ให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้นด้วย  ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว  แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒๓๙๔


เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ในวัดอรุณฯ  เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง อีกทั้งยังได้อัญเชิญ พระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  มาบรรจุไว้ที่ พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถ  ที่พระองค์ทรงพระราชทานนามว่า ‘พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก’  และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว  จึงได้พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า  ‘วัดอรุณราชวราราม’ ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

 

** สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ **


เจ้าอาวาส
พระเทพเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.๙)
เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา 
เลขที่ ๓๔ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ 
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐๒-๔๖๖-๓๑๖๗, ๐๒-๔๖๕-๗๗๔๐, ๐๒-๔๖๒-๓๗๖๒
ความสำคัญ - พระอารามหลวง ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร ๑ ใน ๖ วัดของไทย , วัดประจำรัชกาลที่ ๒
สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย
พระประธานในอุโบสถ : พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก
เว็บไซต์วัด
แผนที่วัด




• เธ‚เธญเน€เธŠเธดเธเธŠเธงเธ™เธฃเนˆเธงเธกเธ›เธเธดเธšเธฑเธ•เธดเธ˜เธฃเธฃเธก เน‚เธ„เธฃเธ‡เธเธฒเธฃ โ€œเธšเธงเธŠเธžเธธเธ—เธ˜เธชเธฒเธงเธเธชเธฒเธงเธดเธเธฒโ€ เน€เธˆเธฃเธดเธเธ เธฒเธงเธ™เธฒเธ•เธฒเธกเธซเธฅเธฑเธโ€œเธกเธซเธฒเธชเธ•เธดเธ›เธฑเธเธเธฒเธ™เธชเธนเธ•เธฃโ€ เธ”เน‰เธงเธขเธงเธดเธ˜เธต "เน„เธ•เธฃเธชเธดเธเธ‚เธฒ" เธงเธฑเธ™เธจเธธเธเธฃเนŒ, เน€เธชเธฒเธฃเนŒ, เธญเธฒเธ—เธดเธ•เธขเนŒ

• ZENSORA PLU+ HEARTLEAF PURIFYING BODY WASH 🌿 (เน€เธ‹เธ™เธ‹เธญเธฃเนˆเธฒ เธžเธฅเธนเธžเธฅเธฑเธช เธฎเธฒเธฃเนŒเธ—เธฅเธตเธŸ เน€เธžเธตเธขเธงเธฃเธดเธŸเธฒเธขเธญเธดเน‰เธ‡ เธšเธญเธ”เธตเน‰ เธงเธญเธŠ)

• "เธ™เธฒเธขเธžเธฃเธฒเธ™เธ„เธทเธ™เธจเธตเธฅ" เธ•เธญเธ™เธ—เธตเนˆ เน‘เน“. "เธ™เธฒเธขเธžเธฃเธฒเธ™ เน„เธ”เน‰เธ„เธฃเธญเธ‡เธฃเธฒเธŠเน€เธ›เน‡เธ™เธเธฉเธฑเธ•เธฃเธดเธขเนŒ"

• เธžเธตเนˆเธ™เน‰เธญเธ‡เธขเธฑเธ‡เธ•เนˆเธฒเธ‡เนƒเธˆเธเธฑเธ™ ( เธชเธฑเธ•เธ•เธดเธ„เธธเธกเธžเธŠเธฒเธ”เธ )

• เธ™เธดเธ—เธฒเธ™ เธงเธดเธ˜เธตเธฃเธฑเธšเธกเธทเธญเธเธฑเธšเธžเธงเธเธŠเธญเธšเธ™เธดเธ™เธ—เธฒ(เธžเธฃเธฐเธกเธซเธฒเธชเธกเธ›เธญเธ‡)

 เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ
 เธ—เธตเธกเธ‡เธฒเธ™เธ˜เธฃเธฃเธกเธฐเน„เธ—เธข
 เนเธœเธ™เธœเธฑเธ‡เน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒ
 เธ„เน‰เธ™เธซเธฒเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ
 เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธ˜เธฃเธฃเธกเธฐเน„เธ—เธข
 เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธก
 เธ˜เธฃเธฃเธกเธฐเนƒเธ™เธชเธงเธ™
 เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเธ˜เธฃเธฃเธกเธฐ
 เธจเธนเธ™เธขเนŒเธฃเธงเธกเธ เธฒเธž
 เธชเธฑเธเธฅเธฑเธเธฉเธ“เนŒเน„เธ—เธข
 เธกเธธเธกเธชเธกเธฒเธŠเธดเธเธ˜เธฃเธฃเธกเธฐเน„เธ—เธข
 Donation
 เน€เธ—เธจเธเธฒเธฅเธ‡เธฒเธ™เธงเธฑเธ”เธŠเนˆเธงเธขเธŠเธฒเธ•เธด
 เธ‚เนˆเธฒเธงเธ˜เธฃเธฃเธกเธฐ
 เธเธฒเธฃเน€เธœเธขเนเธœเนˆเธจเธฒเธชเธ™เธฒ
 เธ›เธฃเธฐเน€เธžเธ“เธตเน„เธ—เธข

เธˆเธตเธฃเธฑเธ‡ เธเธฃเธธเนŠเธ›    

 ธรรมะไทย