วัดไชโยวรวิหาร
อยู่บนเส้นทางสายอ่างทอง สิงห์บุรี ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองประมาณ
18 กิโลเมตร เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท
เดิมเป็นวัดราษฎร์โบราณสร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ
มีความสำคัญขึ้น มาในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต
พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรีได้สร้าง พระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง
ณ วัดแห่งนี้ ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯ
ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยในปี พ.ศ. 2430
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด) สมุหนายก
เป็นแม่กองปฎิสังขรณ์ทั้งหมด พุทธศักราช 2430-2437 การกระทุ้งฐานรากเพื่อสร้างโบสถ์และวิหารทำให้พระพุทธรูปองค์โตพังทลายลงอีก
หลังจากนั้น ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ช่างปั้นพระพุทธรูปฝีพระหัตถ์ยอดเยี่ยม
มาช่วยสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ สถาปนาวัดไชโยให้เป็นพระอารามหลวงชื่อ
"วัดไชโยวรวิหาร" และพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า
"พระมหาพุทธพิมพ์" อย่างไรก็ตาม
คนทั่วไปก็ยังคงเรียกว่า "วัดเกษไชโย"
องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่มีความสูงใหญ่สง่างามแปลกตากว่าวิหารแห่งอื่น
ๆ พุทธศาสนิกชนจากที่ต่าง ๆ มานมัสการอย่างไม่ขาดสาย ติดกับด้านหน้าของพระวิหาร
มีพระอุโบสถ หันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามเช่นกัน
ภายในพระอุโบสถมี ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่
5
ปัจจุบันวัดไชโยวรวิหารได้รับการบูรณะ
ปฏิสังขรณ์ใหม่ จนมีความงามอย่างสมบูรณ์ยิ่ง |