พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก คลังหนังสือธรรมะ คู่มือดับทุกข์
คู่มือดับทุกข์


 วิธีดับทุกข์ เพราะ.. พ่อแม่

          พ่อ-แม่ จัดว่าเป็น "ปูชนียบุคคล" ของลูกทุกคน พระพุทธเจ้าทรงเทียบฐานะของพ่อแม่ เท่ากับเป็น "พระ" ของลูก แม้บวชอยู่ถึงจะบิณฑบาต มาเลี้ยง ก็ยังไม่มีโทษ แถมยังได้รับการยกย่องสรรเสริญ จากพระพุทธองค์อีกด้วย

          ด้วยเหตุที่พ่อแม่ เป็นผู้มีพระคุณมากล้นเช่นนี้ ผู้ที่ปฏิบัติต่อพ่อแม่อย่างถูกต้อง จึงมีแต่ "สิริมงคล" เป็นที่ยกย่องสรรเสริญของคนดีโดยทั่วไป..ในทางตรงกันข้าม

          ถ้าปฏิบัติกับพ่อแม่ไม่พูกต้อง ก็ย่อมจะเกิด "อัปมงคล" หา ความเจริญทางจิตใจมิได้ และจะได้รับกรรมอันนี้สนองในชาตินี้เป็นส่วนมาก กล่าวคือลูกของเรา ก็จะทำต่อเราเช่นนี้เหมือนกัน

          ดังนั้น ในฐานะลูกที่ดี จึงควรมีความกตัญญูและกตเวทีต่อพ่อแม่ของตน สนองคุณด้วยการเลี้ยงดูตามธรรม อย่าให้ท่านได้รับความทุกข์ทั้งกายและใจ และผลแห่งกุศลกรรมนี้ ก็ย่อมจะสนองเราทันตาเห็นเช่นเดียวกัน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม

          วิธีดับทุกข์ เพราะพ่อแม่เป็นเหตุนี้ หมายเอาเฉพาะพ่อแม่ที่ขาดศีลและธรรม เป็นมิจฉาทิฐิ ตกเป็นทาสของสุรา การพนัน นารีหรืออบายมุขประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

          อันเป็นผลพวงที่ลูก ๆ พลอยเดือดร้อนไปด้วย ลูกๆ ที่ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้จะต้อง "ทำใจ" ให้ถูกต้อง และปฏิบัติตนให้สมกับเป็นลูกที่ดีอย่าได้เอา "น้ำเน่าไปล้างน้ำเน่า" เป็นอันขาด มิฉะนั้นจะได้ชื่อว่า "ลูกอกตัญญู" หรือ "ลูกเนรคุณ" ไป จะมีแต่เสนียดจัญไร เมื่อตายก็ไปนรกแน่นอน

          หลักความจริงมีอยู่ว่า ในชาตินี้เราไม่อาจจะเลือกเกิดเป็นลูกของคนนั้นคนนี้ได้ เพราะมันได้เกิดมาเสียแล้ว แต่เราก็สามารถเลือกเกิดในอนาคตได้

          การที่ทุกคนได้เกิดมาแล้ว เป็นผลจากกรรมเก่า ที่เราได้ทำเอาไว้เองก่อน ส่งผลให้มาเกิดในฐานะเช่นนี้ เราควรยินดี และพอใจในพ่อแม่ของตน แม้จะอยู่ในภาวะเช่นใดก็ตาม

          ถ้าเราไม่ยินดี ไม่พอใจพ่อแม่ ผู่ให้กำเนิดเรา เราก็ไม่อาจจะเลือกได้ การไม่ยินดีไม่พอใจ จึงเป็นความทุกข์ประการหนึ่ง

          นอกจากนั้น การคิดนึกเช่นนี้ ย่อมจะเป็น "เชื่อ" ให้เกิด "อกตัญญู" และเมื่อออกตัญญูเกิด อกตเวที และ "เนรคุณ" ก็อาจจะตามมาอีกด้วย จึงควรรับกำจัดความคิดเช่นนี้เสียโดยเร็ว

          แม้ว่าพ่อแม่ จะเป็นคนแสนเลวประการใด โหดร้ายเพียงใดก็จะต้องถือว่าเป็น "บุคคลต้องห้าม" สำหรับลูก ที่จะเข้าไปแตะต้องด้วยผิดก็เกิดโทษมหันต์

          พ่อแม่เปรียบประดุจพระอรหันต์ของลูก เพราะรักลูกด้วยความบริสุทธิ์ใจ ลูกทีมีสัมมาทิฐิ ต้องให้ความเคารพนับถือ เชื่อฟัง และตอบแทนคุณถ้าไม่ปฏิบัติก็จะเกิดมลทินไปชั่วชีวิต

          การที่พ่อแม่ทำผิดทำชั่ว อันเป็นผลพวงที่ตกมาถึงเรา ก็เป็นเพราะอกุศลกรรมของเรา ดลจิตใจให้ท่านทำเช่นนั้น เราอย่าได้เอาความชั่ว ไปตอบแทนพระคุณที่ท่านให้กำเนิดแก่เรา

          การที่เราได้มาเกิดเป็นลูกของท่าน ก็เป็นผลแห่งบาปกรรมที่เราทำเอาไว้เองให้เป็นไป ถ้าเราไม่ต้องการมาเกิดเช่นนี้อีก ก็ควรเร่งทำความดีให้มากขึ้น ในชาติต่อไป เราก็ย่อมพ้นสภาพเช่นนี้

          มีสีกาคนหนึ่ง บ้านอยู่ห่างถ้ำสติ มาเที่ยวแล้วถามว่ามีพ่อขี้เหล้ามักด่าและตบตีเป็นประจำ ส่วนแม่ก็เอาแต่เล่นไพ่ เล่นได้ก็หน้าบานใจดี วันไหนเล่นเสีย ก็พาลด่าจนเข้าหน้าไม่ติด
          เขาได้แนะนำให้พ่อเลิกเหล้า ให้แม่เลิกเล่นไพ่ ก็ถูกด่าเปิงแถมจะลงมือลงไม้เอาด้วย หาว่าอวดดีมาสอนพ่อแม่ มึงเป็นลูกอย่าเสือกมาสอนกู กูไม่ดีก็เลี้ยงมึงมาไม่ได้ ขอให้หลวงตาช่วยแนะนำ จะทำอย่างไร พ่อแม่จึงจะเลิกอบายมุขได้ ? ได้ให้คำแนะนำเขาไปว่า
          การที่ลูกจะแนะนำพ่อแม่ได้ พ่อแม่นั้นจะต้องมีความนับถือหรือเกรงใจลูกอยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว การสอนพ่อแม่ เป็นเรื่องทำได้ยากทั้งนี้เพราะ
          พ่อแม่มีสำนึกอยู่ว่า "กูเป็นพ่อ กูเป็นแม่ กูอาบน้ำร้อนมาก่อน มีหน้าที่ต้องสอนลูก เลี้ยงลูก ลูกมีหน้าที่เชื่อฟัง และทำตามอย่างเดียว จะมาสอนพ่อแม่ไม่ได้ แม้พ่อแม่จะทำผิดทำชั่วก็ตาม"
          คำแนะนำของลูกที่ต้อง จึงไม่มีน้ำหนักที่จะเรียกร้องให้ยอมรับฟังหรือทำตามได้ ยกเว้นแต่พ่อแม่ที่มีสัมมาทิฐิ แต่ได้หลงผิดไปชั่วคราวอาจยอมรับและกลับได้ง่าย
          ถ้าเป็นเช่นนี้ ทางปฏิบัติก็มีอยู่ ๒ ประการ คือวางอุเบกขาปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของท่านเอง หรือหาผู้ที่พ่อแม่เคารพนับถือ ช่วยแนะนำตักเตือนให้ อาจจะเลิกได้ถ้าหมดเร ขอแต่ว่าให้เราพยายามทำหน้าที่ของลูกให้ดีที่สุดก็แล้วกัน ถ้าท่านไม่รีบตายจากเราไปเสียก่อนหมดเวรกรรมท่านก็ต้องเลิกเอง

ทางแก้

          ๑. ศึกษาเรื่องกฏแห่งกรรม ให้เห็นความจริงว่า ที่เรามาเกิดกับพ่อแม่ที่ไม่ดีนั้น "เป็นผลของอกุศลกรรมของเราเอง" ถ้าไม่อยากมาเกิดกับพ่อแม่แช่นนี้ ก็ต้องเร่งทำความดีให้มาก ชาติหน้าก็ไม่มาพบกันอีก

          ๒. ต้องปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างลูกกับพ่อแม่ให้ถูกต้อง คือมีความกตัญญูและกตเวที พยายามให้พ่อแม่มีศีลธรรมให้ได้ อย่าได้เอาความชั่วไปต่อความชั่ว มิฉะนั้นในชาติหน้า เราจะต้องไปเกิดและชดใช้บาปกรรมร่วมกันอีก

          ๓. การทำให้พ่อแม่ทุกข์กายและใจ บ่น ด่า ทุบตี หรือ ฆ่าเป็นการปิดทางสวรรค์และนิพพานของลูกพร้อมกันนั้นก็เปิดทางอบายทุคติ วินิบาต และนรกไว้รอด้วย

          ๔. การที่เราอยู่กับพ่อแม่ ที่ขี้บ่นหรือด่านั้น ถ้าเจาะให้ลึกถึง "ก้นบึ้งหัวใจ" ก็จะพบความจริงว่า เกิดจากความ "หวังดี" คืออยากให้ลูกดี

          ถ้าท่านไม่รักเราจริง ท่านจะบ่นจะด่าทำไม? ให้มันเมื่อยปาก? ปล่อยให้เรา "ขึ้นช้าง-ลงม้า" คอหักพรอันประเสริฐ ที่ลูกควรรับฟัง และพิจารณาด้วยใจเป็นกลาง คือ
          ก. ถ้าท่านด่าหรือบ่น โดยเราไม่ผิดหรือไม่จริง ก็อย่าได้สวนขึ้นในขณะนั้น รอให้ท่านอารมณ์ดี แล้วค่อยชี้แจงเหตุผลให้ฟังภายหลัง
          ข. ถ้าท่านด่าหรือบ่น โดยเราเป็นฝ่ายผิด ก็ต้องรีบแก้ไขปรับปรุงตน อย่าได้ทำเช่นนั้นอีก ท่านก็จะเลิกบ่นไปเอง
          ค. ถ้าท่านบ่นหรือด่า โดยหาสาระมิได้ ก็ควรสงบใจ วางอุเบกขาเสีย มันเป็นการระบายอารมณ์ ของคนที่มีภาระมาก และวางไม่ลง ได้บ่นหรือด่าใครนิดหน่อย อารมณ์ก็จะดีขึ้น เป็นธรรมดาของคนที่ห่างวัดขาดธรรมะ จะต้องเป็น "เช่นนั้นเอง"

          ๕. คำบ่นหรือด่าพ่อแม่ไม่มีพิษภัยเท่ากับคำเยินยอของหนุ่มสาว ถ้าเราทนได้ ปล่อยวางอุเบกขาได้ ก็เป็นการบำเพ็ญ "ขันติบารมี" ไปในตัว ควรหัดทำให้ได้

พระในบ้าน

               เมื่อล้มกลิ้ง ใครหนอวิ่ง เข้ามาช่วย
          แล้วปลอบด้วย นิทาน กล่อมขวัญให้
          ทั้งจูบที่ เจ็บชะมัด ปัดเป่าไป
          ผู้นั้นไซร้ ที่แท้ แม่ฉันเอง
          ยามมีกิจ หวังให้เจ้า เฝ้ารับใช้
          ยามป่วยไข้ หวังให้เจ้า เผ้ารักษา
          ยามถึงคราว ล่วงลับ ดับชีวา
          หวังให้เจ้า ปิดตา เวลาตาย..

          นิมิตฺตํ สาธุรูปาน กตญูกจเวทิตา
          ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี


ที่มา : หนังสือคู่มือดับทุกข์
  บอกบุญ ~ ประชาสัมพันธ์