"พุทธกิจ
๔๕ พรรษา"
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ในระหว่างเวลา
๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ จวบจนทรงดับขันธปรินิพานเมื่อพระชนมายุ
๘๐ พรรษานั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่าง
ๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกตดังนี้
พรรษาที่
๑ (ปีระกา)
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ใกล้กรุงพาราณสี
ภายหลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
แล้วพระองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข คือสุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส
อาสวะ และปวงทุกข์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นเวลา ๗
สัปดาห์จากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินจากโพธมณฑล ดำบลอุรุเวลาเสนานิคม
แคว้นมคธ ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี แคว้นกาสี
ใช้เวลาเสด็จพุทธดำเนิน ๑๑ วัน เสด็จถึงป่าอิสิปตนฤคทายวันใน
เวลาเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ ปีระกา
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
"ธัมมจักรกัปปนวัตตนสูตร" ทำให้เกิดมีปฐมสาวกและพระอริยบุคคลคือ
พระอัญญาโกณฑัญญะเกิดสังฆรัตนะ คำรบพระรัตนตรัย มีพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ขึ้นโดยบริบูรณ์ ในวันเพ็ญเดือน ๘ อันเป็นที่มาขาองการบูชาในเดือน
๘ คือ"อาสฬบูชา"
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปัจจวัคคีย์
ได้บรรลุพระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์ จากนั้นทรงแสดงธรรมโปรดพระยสะภิกษุสาวกองค์ที่
๖ ของพระพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหัตถผล ครั้งนั้นมีบุตรเศรษฐีชาวเมืองพารณสี
๔ คน ซึ่งเป็นสหายรักของพระยสะ เข้าเฝ้าฟังธรรมได้อุปสมบท
๕๐ คน ได้สดับธรรมและอุปสมบทได้บรรลุพระอรหัตถผลด้วยกันทั้งหมด
จึงเกิดมีพระอรหันต์รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย ๖๑ องค์
ในตอนปลายพรรษาที่ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปยังดำบลอุรุเวลา
ตำบลใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ อีกครั้งหนึ่งทรงทรมานอุรุเวลากัสสปด้วยอิทิปาฏิหาริย์ต่าง
ๆ จนอุรุเวลกัสสปผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ของนักบวชชฏิล ละทิ้งลัทธิบูชาไฟยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา
ทำให้ชลฎิผู้น้องอีกสองคนพร้อมบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด
ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต
ทั้งสามพี่น้องคณาจารย์ชฏิลพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์
จากนั้นพระบรมศาสดาได้เสด็จสู่พระนครราชคฤห์
พรรษาที่
๒-๓-๔ (ปีจอ-กุน-ชวด)
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชกฤห์
พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษา
ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่มอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระนครราชกฤห์
พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ผู้ครองพระนครและแคว้นมคธ เข้าเฝ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก
ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอะบาสกและถวายพระเวฬุวัน
ซึ่งเป็นป่าไผ่สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร
อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล จากพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ
เป็นที่ร่มรื่นเงียบสงบ มีหนทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม
นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา
ที่ ๒-๓-๔ เป็นลำดับการแห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นในชมพูทวีป
พระบรมศาสดาพร้อมด้วย พระอรหันต์สาวกทรงทุ่มเทจนพระพุทธศาสนาสามารถสถิตตั้งมั่นหยั่งรากลงลึกและแผ่กิ่งก้านสาขาไปสู่ปริมณฑลด้านกว้างในชมพูทวีป
ในลำดับกาลนี้พระบรมศาสดาได้ทรงตั้งตำแหน่งคู่แห่งอัครสาวกคือ
พรสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย
พระพุทธเจ้าทรงเสด็จนครกบิลพัสดุ์ เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้
อนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งนครสาวัตถีประกาศตนเป็นอุบาสก และเริ่มต้นสร้างพระเชตุวันมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระบรมศาสดา
พรรษาที่
๕ (ปีฉลู)
ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี
ในพรรษานี้
พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่กูฏาคาร ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี
(ไพศาลี) ในกาลนี้พระองค์ทรงเสด็จจากกูฏาคารไปโปรดพระพุทธบิดาปรินิพานที่กรุงกบิลพัสดุ์
และโปรดพระญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ที่วิวาทเรื่องแย้งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อการเกษตรกรรม โดยประทับที่นิโครธารามอันเป็นพระอารามที่พระญาติทรงสร้างถวายอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธเจ้าได้เข้าเฝ้าทูลอนุญาตให้สตรีละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย
พระบรมศาสดาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง
ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์กลับไปประทับจำพรรษาที่กูฏาคาร
ป่ามหาวัน นครเวสลี ครั้นนี้พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ถึงกับปลงผมนุ่งผ้ากาสวะเอง
ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์มายังป่ามหาวัน
ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
โดยประทานอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวชเป็นภิกษุณีด้วยวิธีรับคุรุธรรม
๘ ประการ ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมดพระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้
พรรษาที่
๖ (ปีขาล)
ณ มกุลบรรพต
ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่มกุลพรรพต
(สันนิษฐาว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือบริเวณใกล้เคียง)
แต่ใน "ปฐมสมโพธิกถา" ระบุว่า "เสด็จไปสถิตบนมกุฎบรรพตทรงทรมานหมู่อสุร
เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้วและให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ในพรรษาที่ ๖ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถิคือ
การแสดงน้ำคู่กับไฟ เพื่อสยบพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ
ในที่สุดแห่งยมกปาฏิหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัทเพราะได้เห้นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก
พรรษาที่
๗ (ปีเถาะ)
ณ ดาวดึงส์เทวโลก
เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้นแล้ว
พระบรมศาสดาเสด็จขึ้นเทวพิภพชั้นดาวดึงส์ทันที โดยทรงยกพระบาทขวาขึ้นจากจงกรมแก้วก้าวขึ้นเหยียบยอดภูเขายุคันธร
แล้วยกพระบาทซ้ายก้าวขึ้นหยียบยอดเขาสิเนรุ ทรงประทับนั่งบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ร่มไม้ปาริชาต
ท้าวสักกะเทวราชจอมภพผู้ปกครองดาวดึงสเทวโลกสวรรค์ชั้นที่
๒ ป่าสวรรค์ ๖ ชั้น เสด็จขึ้นสู่สุสิตเทวพิภพสวรรค์ชั้นที่
๔ เข้าเฝ้าพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมารดา ทูลอัญเชิญให้เสด็จไปเผ้าพระบรมศาสดาตามพุทธประสงค์
พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือนเทพยาดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมอยู่ที่นั้นบรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ
ส่วนพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมาดา ได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผลสมพระประสงค์ของพระบรมศาสดา
พรรษาที่
๘ (ปีมะโรง)
ณ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี
เมื่อพระพุทธเจ้า
ทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจาดาวดึงสสวรค์ในท่ามกลางเทพยาดาและพรหมเป็นอันมาก
มหาชนทั้งหลายต่างแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว พระบรมศาสดาทรงเสด็จดำเนินสูป่าไม่สีเสียดใกล้เมืองสุงสุมารคีรี
แคว้นภัคคะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๘ ณ ป่าไม้สีเสียดเภสกลาวัน
ในกาลนั้นมีสองสามีภรรยาคฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี
มีนามว่านุกุลบิดา และนกุลมารดา เข้าเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่น
ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงทรรมโปรดทั้งสองสามีบรรยาได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย
ส่วนท่านนกุลมารดาก็เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกกาผู้สนิทสนมคุ้นเคย
พรรษาที่
๙ (ปีมะเส็ง)
ณ วัดโฆษิตาราม เมืองโกสัมพี
ในพรรษที่
๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่วัดโฆษิตารามซึ่งเป็นวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี
นครหลวงของแคว้นวังสะ พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดประชากรให้ตั้งอยู่นมรรคผลเป็นพุทธมามกะ
ปฏิญาณตนตั้งอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นจำนวนมาก
แต่ในกาลนั้น ภิกษุสงฆ์ในเมืองโกสัมพีเกิดแตกแยกกันแม้พระพุทธเจ้าประทานโอวาทแล้วก็ยังดื้อดึงตกลงกันไม่ได้
จนถึงกับแบ่งแยกกันทำอุโบสถ ฝ่ายหนึ่งทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายในสีมาแต่อีกฝ่ายหนึ่งออกไปทำอุโบสถทำสัฆกรรมภายนอกสีมา
ภิกษุสงฆ์ได้เกิดการแตกแยกกันขั้นนี้เรียกว่า "สังฆเภท"
พรรษาที่
๑๐ (ปีมะเมีย)
ณ ป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ
พระพุทธเจ้าทรงปลีกประองค์จากหมู่สงฆ์ผู้แตกแยกสร้างความวุ่นวายด้วยเหตุสังฆเภท
พระบรมศาสดาเสด็จจากวัดโฆษิตารม กรุงโกสัมพี เสด็จไปยังแดนบ้านแห่งหนึ่งชื่อ
"ปาริเลยยกะ" อยู่ใกล้กรุงโกสัมพี พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปประทับ
ณ ร่มไม้ภัทรสาละพฤกษ์ในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ ทรงประทับจำพรรษาที่
๑๐ ด้วยความสงบสุข โดยมีพญาช้างปาริเลยยกะคอยบำรุงดูแลพิทักษ์และรับใช้พระบรมศาสดาอย่างใกล้ชิด
พรรษาที่
๑๑ (ปีมะแม)
ณ ทักขิณาคีรี หมู้บ้านพราหมร์เอกนาลา
ในพรรษาที่
๑๑ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ ทักขิณาคีรี หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อว่า
เอกนาลา
พรรษาที่
๑๒ (ปีวอก)
ณ เมืองเวรัญชา
ในพรรษาที่
๑๒ นี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ปุจิมัณฑมูล ณ ควงไม้สะเดา
ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต อยู่ใกล้เมืองเวรัญชา จากนั้นเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา
จาริกผ่านเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยาคะ เสด็จออกจากเมืองโสเรยยะ
ผ่านเมืองท่าปยายาคะ เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาที่ท่าเมืองปยาคะ
แล้วเสด็จไปยังเมืองพาราณสี จากนั้นเสด็จจาริกไปนครเวสาลี
เข้าประทับที่กูฏิบัติสำหรับพระภิกษุเป็นประถม กำหนดเป็นปฐมบัญญัติจัดเข้าในอุเทศแห่งพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา
พรรษาที่
๑๓ (ปีระกา)
ณ จาลิยบรรพต
ในพรรษที่
๑๓ นี้ พระพุทธทรงประทับจำพรรษาที่จาลิยบรรพต
พรรษาที่
๑๔ (ปีจอ)
ณ พระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี
ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับที่พระเชตวันมหาวิหารเป็นพรรษาแรก
มหาวิหารแห่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นมหาอุบาสกคนสำคัญสร้างถวาย
เป็นมหาวิหารที่ใหญ่โตยังความสะดวกและความสงบได้ยิ่งกว่าวิหารใดในชมพูทวีป
พระพุทธเจ้าทรงประทับพรรษาอยู่ ณ มหาวิหารแห่งนี้ถึง ๑๙
ฤดูฝน พระธรรมส่วนใหญ่แสดงที่มหาวิหารแห่งนี้
พรรษาที่
๑๕ (ปีกุน)
ณ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์
ในพรรษาที่
๑๕ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธารามอารามที่พระญาติสร้างถวายอยู่ใกล้นรกบิลพัสดุ์
เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ว่า "กบิลพัสดุ์"
เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส ซึ่งเดิมอยู่ในดงไม้สักกะ
หิมพานต์ประเทศ พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกการาชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส
จึงขนานนามว่า "กบิลพัสดุ์" แปลว่า ที่อยู่หรือที่ดินของกบิลดาบส
พรรษาที่
๑๖ (ปีชวด)
ณ อัคคาฬวเจดีย์วิหาร เมืองอาฬวี
ในพรรษาที่
๑๖ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองอาฬวี ทรงแสดงพุทธอิทธานุภาพปราบฤทธิ์เดชของอาฬวกยักษ์
ทรงพยากรณ์แก้ปัญหาที่อาฬวกยักษ์ทูลถาม ทำให้อาฬวกเกิดปัญญาเห็นแจ้งในธรรมสิ้นความโหดร้าย
ตั้งอยู่ในภูมิโสดาปัตติผลมอบตนลงเป็นทาสพระรัตนตรัยตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม
ทรงช่วยให้ประชากรชาวเมืองอาฬวีตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมให้เป็นสมาบัติปลุกให้เกิดความเมตตาปรานีกันทั่วหน้า
พรรษาที่
๑๗ (ปีฉลู)
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์
ในพรรษาที่
๑๗ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ พระเวฬุวันวิหาร
พระนครราชคฤห์ อันเป็น สังฆารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง
พรรษาที่
๑๘-๑๙(ปีขาล-เถาะ)
ณ จาลิยบรรพต
ในพรรษาที่
๑๘ และพรรษาที่ ๑๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา
ณ จาลิตบรรพต ซึ่งพระบรมศาสดาเคยประทับจำพรรษามาแล้วในพรรษาที่
๑๓
พรรษาที่
๒๐ (ปีมะโรง)
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์
ในพรรษานี่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับมาประทับจำพรรษา
ณ สังฆารามแห่งแรกนี้เป็นการประทับจำพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระบรมศาสดาทรงโปรดองคุลิมาลโจรให้กลับใจได้ขอบวชและต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต
ในลำดับกาลพรรษานี้ พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์พระพุทธเจ้า
พรรษาที่
๒๑ - พรรษาที่ ๔๔
ณ พระเชตวันและบุพพาราม นครสาวัตถี
นับจากพรรษาที่
๒๑ ถึงพรรษาที่ ๔๔ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี
เป็นระยะเวลานานที่สุด พระบรมศาสดาทรงประทับจำพรรษา ณ
พระเชตวันมหาวิหาร ๑๙ ฤดูฝน (ในพรรษาที่ ๑๔ ทรงประทับจำพรรษาที่พระเชตวันมาแล้ว
๑ พรรษา) อีก ๖ ฤดูฝนเปลี่ยนไปประทับ ณ วิหารบุพพาราม
ที่นางวิสาขา มิคารมารดามหาอุบาสิกาสำคัญสร้างถวายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับมหาเชตวันโดยประทับสลับไปมา
แต่มีคำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า เวลากลางวันประทับ ณ วิหารแห่งหนึ่ง
และกลางคืนเสด็จไปแสดงธรรม ณ วิหารอีกแห่งหนึ่งเป็นสถานที่ประทับอันนับเนื่องด้วยชีวิตการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้าตลอด
๒๔ ฤดูฝน
พรรษาที่
๔๕ (ปีมะเส็ง)
ณ เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี
ในพรรษาสุดท้ายนี้
พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่ตำบล เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี
แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์เป็นครั้งสุดท้ายและทรงปลงอายุสังขาร
ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ณ ปาวาลเจดีย์ ว่าพระตถาคตจักปรินิพพานแต่นี้ไปอีก
๓ เดือน
ในการต่อมา พระบรมศาสดาทรงพาพระภิกษุสงฆ์
๕๐๐ เสด็จไปในครเวสาลี เสด็จประทับอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน
ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาโปดมวลกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย
จากนั้นทรงพาระภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากพระนคร เสด็จประทับยืนอยู่หน้าเมืองเสาลี
เยื้องพระกายผินพระพักตร์ มาทอดพระเนตรเมืองเวสาลีประหนึ่งว่าทรงอาลัยเมืองเวสาลีเป็นที่สุด
พร้อมกับรับสั่งกับพระอานนท์ผู้ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าความว่า
"อานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา"
คือเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย แล้วพระบรมศาสดาเสด็จกลับไปประทับยังกูฏาคารในป่ามหาวัน
สถานที่เสด็จประทับยืนทอดพระเนครโดยพระอาการที่แปลกจากเดิมพร้อมทั้งรับสั่งเป็นนิมิตเช่นนั้นเป็นเจดีย์สถานอันสำคัญเรียกว่า
"นาคาวโลกเจดีย์" นาคาวโลกคือ การเหลียวมองอย่างพญาช้าง
มองอย่างข้างเหลียวหลัง คือเหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมด
ซึ่งเป็นอาการที่พระพุทธเจ้าทรงทำเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว
ในลำดับกาลต่อมา พระบรมศาสดาทรงเสด็จพาพระภิกษุสงฆ์ออกจากกูฏาคาร
เสด็จไปยังบ้านภัณฑุคาม บ้านหัตถีคาม บ้านอัมพะคาม บ้านชัมพูคาม
และโภคนครโดยลำดับ ภายหลังจากแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองโภคนครและ
พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังเมืองปาวานคร เสด็จเข้าประทับพำนักอยู่ที่อัมพวันสวนมะม่วงของนายจุนกัมมารบุตรซึ่งอยู่ใกล้เมืองปาวานั้น
ครั้นนายจุนทะได้ทราบข่าว
รีบเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาฟังพระธรรมเทศนาโปรด นายจุนทะได้กราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้ากับทั้งพระภิกษุสงฆ์
ให้เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตยังนิเวศน์ของตน ครั้นรุ่งเช้าเมื่อได้เสด็จไปยังนิเวศน์ของนายจุนทะ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่นายจุนทะว่าสุกรมัททวะซึ่งท่านตกแต่งไว้นั้น
จงอังศาสเฉพาะคถาคตผู้เดียวที่เหลือนั้นให้ขุดหลุมฝังเสีย
และจงอังคาสภิกษุสงฆ์ทั้งหลายด้วยอาหารอย่างอื่น ๆ เถิด
ครั้นกลับสู่อัมพวัน พระบรมศาสดาทรงประชวรพระโรคโลหิตปักขัณทิกาพาธ
คือโรคท้องร่วงเป็นโลหิต มีพระกำลังล้าลงเกิดทุกขเวทนามาก
ทรงตรัสสั่งสอนพระอานนท์ว่า "อานนท์ มาเราจะไปเมืองกุสินารา"
พระอานนท์รับพระบัญชาแล้ว จึงรีบแจ้งให้พระสงฆ์ทั้งหลายเตรียมตามเสด็จไว้พร้อม
ระหว่างทางที่เสด็จไปยังนครกุสินาราพระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำ
ตรัสเรียกพระอานนท์ไปตักน้ำในแม่น้าสายเล็กมีน้ำน้อยและกองเวียน
๕๐๐ เล่มเพิ่งผ่านข้ามไป ครั้นพระอานนท์ไปตักน้ำที่ขุ่นข้นได้กลับกลายเป็นน้ำใสสะอาดปราศจากมลทิน
ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พระบรมศาสดาทรงขอน้ำเสวยในขณะเดินทางยังไม่ถึงที่พัก
พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านข้ามแม่น้ำกกุธานทุนี พระอานนท์ทูลเชิญให้เสวยและสรงชำระพระกายที่ตรากตรำมาในระยะทาง
แล้วเสด็จขึ้นมาประทับยังร่มไม้และเสด็จบรรทม ลำดับต่อมาพระบรมศาสดาทรงเสด็จพระพุทธดำเนินต่อพร้มด้วยพระภิกษุสงฆ์ทรงเสด็จดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญวดี
อันเป็นแม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม มุ่งสู่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
ในกาลนั้น เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญ
เดือน ๖ พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่
๒ ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์
แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือการนอนครั้งสุดท้ายไม่แปรเปลี่ยนจนกระทั่งสังขารดับ
ครั้งนั้น ต้นสาละทั้งคู่พลันผลิดอกออกบานเต็มต้น ร่วงหล่นลงมายังพระพุทธสรีระบูชาพระตถาคตเจ้าเป็นอัศจรรย์
แม้ดอกมณฑาในเมืองสวรรค์ตลอดจนทิพยสุคนธชาติก็ตกลงมาจากอากาศ ยังเทพเจ้าทั้งหลายก็ประโคมดนตรีทิพย์บันลือลั่นเป็นมหานฤนาท
บูชาพระตถาคตในอวสานกาล
ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
"อานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพานและหากจะมีภิกษุบางรูปดำริว่า
พระศาสนาของเราปรินิพพานแล้ว อานนท์ท่านทั้งหลายไม่ควรดำริอย่างนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น
แท้จริง วินัยที่เราได้บัญญัติแก่ท่านทั้งหลายก็ดี เมื่อเราล่วงไป
ธรรมและวินัยนั้น ๆแลจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย"
ลำดับต่อมา พระบรมศาสดาได้ประทานปัจฉิมโอวาทความว่า
"ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา
ท่านทั่งหลายจงบำเพ็ญไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระโอวาทประทาน
เป็นวาระสุดท้ายเพียงเท่านี้แล้วก็หยุด มิได้ตรัสอะไรอีกเลย
ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมลำดับ
จนกระทั่งทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๙ จากนั้นทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ถอยออกจากสมาบัตินั้น โดยปฏิโลมเป็นลำดับจนถึงปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน
และทรงเข้าทุติยฌาน อีกวาระหนึ่ง ออกจากทุติยฌานแล้วทรงเข้าตติยฌาน
ออกจากตติยฌานแล้วทรงเข้าจตุตถฌาน
เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว
พระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีสาขปรุณมี
เพ็ญ เดือน ๖ มหามงคลสมัย ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้วก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหวสั่นกลองทิพย์บันลือลั่น
กึกก้องสัททสำเนียงเสียงสนั่นในอากาศเป็นมหาโกลาหลในปัจฉิมกาล
ดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ ตกโปรยปรายละลิ่วลงมาจากฟากฟ้า
ดาดาษทั่วนครกุสินารา พร้อมกับขณะเวลาปรินิพพานของสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นนาถะของโลก
|